รหัสโครงการ : | R000000494 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท (Smart Local Government) |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The development of Local Government to the Smart Local Government |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,การบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์,การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 0 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 280,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 09 พฤศจิกายน 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 08 พฤศจิกายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยพื้นฐาน |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | รัฐประศาสนศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | แนวคิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยได้เข้าร่วมข้อตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของ อาเซียน (e–ASEAN Agreement) ในวันที่28 พฤศจิกายน 2542 โดยจุดประสงค์หลักของข้อตกลง ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน คือ การเสริมสร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศสมาชิกจะต้องมีการดําเนินการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะทําให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการผลักดันให้เกิดระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละประเทศ สมาชิก สําหรับประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาโครงการที่ เรียกว่า e–Thailand ขึ้น โดยแนวคิดของ e–Thailand คือ แนวทางการพัฒนาประเทศ เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างเป็นธรรม และพัฒนาสังคม บุคลากร และสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการค้า การลงทุน การสร้างความเชื่อมั่น และ อํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและภาคเอกชน รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นปัจจัยหนึ่งสําคัญในการนําไปสู่ความสําเร็จของ e-Thailand เนื่องจาก การทําให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นในหน่วยงานของรัฐจะเป็นกลไกที่สําคัญของภาครัฐในการพัฒนา ประเทศ เพราะรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการพัฒนาระบบราชการให้มีความรวดเร็ว ทันสมัย การนําเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพในรูปแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ จะทําให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ประชาชนมีโอกาสได้เลือกใช้บริการ ที่หลากหลายผ่านอินเตอร์เน็ต ได้รับบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้นแม่นยําขึ้น สะดวกขึ้น เสียเวลาน้อยลง และกระจายความเสมอภาค และความเจริญไปสู่ประชาชนในชนบทที่ห่างไกล(สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร, 2558) ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้มีการกําหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 – 2561) มาเป็นกรอบแนวทางหลักในการพัฒนาระบบราชการไทย ซึ่งหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว คือ การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งกลยุทธ์สําคัญที่จะนําไป สู่ความสําเร็จของยุทธศาสตร์ดังกล่าวคือ การส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานของรัฐไปสู่การเป็นรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ การส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานของรัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เป็นการส่งเสริมให้ ส่วนราชการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ภายในหน่วยงาน เพื่อปรับปรุงระบบบริหารจัดการงานภาครัฐ ทําให้ การบริหารงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยในการบริหารราชการทุกภาคส่วนได้มีความพยายามในการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นองค์กรของรัฐระดับหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการนำระบบการบริหารงานทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ภายในองค์กรหลากหลายระบบ ทั้งการบริหารคน บริหารเงิน และการบริหารจัดการด้านๆ เช่น การนำมาใช้ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการเงินการคลังอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการวางแผนและประเมินผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยการดำเนินการในการบริหารงานภายในด้วยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) แต่ระบบได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้งาน และวิธีการดำเนินการใหม่หลายครั้ง ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยดูจากข้อมูลในการประเมินผลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องการบริหารจัดการองค์กร พบว่ามีคะแนนด้านการบริหารจัดการอยู่ในเกณฑ์ไม่สูงนัก (กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, 2558) ดังนั้นการศึกษาสำรวจสภาพ ปัญหา อุปสรรคของการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนำมาสู่การกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับการบริหารจัดการท้องถิ่นที่แท้จริง จะทำให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพในการพัฒนาองค์กรของรัฐให้ตอบสนองต่อการบริหารงานภายใต้แนวคิดรัฐบาล 4.0 ต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | สามารถนำไปพัฒนาระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้กับอปท.ได้ |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 6.1 เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคในการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ
6.2 เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท (Smart Local Government) และการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ของการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการบริหารงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ขอบเขตของโครงการ : | อปท. 4 ภาค |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 6.1 ได้ทราบสภาพปัญหา อุปสรรคในการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6.2 ได้แนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท (Smart Local Government) และได้พัฒนารูปแบบใหม่ๆ ของการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการบริหารงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6.3 นำไปพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายการขับเคลื่อนการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยมีรายละเอียดวิธีการดำเนินการในแต่ละช่วยดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจาก เอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคในการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคในการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) แบบสอบถาม หลังจากได้ประเด็นปัญหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนำมาสู่การพัฒนาออกเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมี 2 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับปัญหา อุปสรรคในการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประมาณค่า 5 ระดับ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามเกี่ยวกับสำรวจสภาพปัญหา อุปสรรค มีขั้นตอนในการสร้างและพัฒนา ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาค้นคว้า และสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ดำเนินการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ (Index of Item Objective Congruence : IOC) และความครอบคลุมของเนื้อหา จำนวน 5 ท่าน โดยแบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ 4. ปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือ หลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้ว โดยปรับปรุง ภาษาและข้อความบางตอนของเครื่องมือ 5. นำเครื่องมือที่ได้ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Tryouts) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 6. นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแก้ไขโดยสมบูรณ์แล้ว ไปดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวกับการการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ประเด็นมาสู่การสร้างแบบสอบถาม 3. ลงพื้นที่สำรวจปัญหา อุปสรรคในการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย และข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ความเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ของการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางในการนำระบบการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ของการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) การประชุมกลุ่ม เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ของการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบริหารงานทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบต่างๆ 3. การลงพื้นที่ประชุมกลุ่ม จาก ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานทางอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 398 ครั้ง |