รหัสโครงการ : | R000000493 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การศึกษาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public service) ให้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในเขตจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The potential of local government to provide public services in electronic (e-Public service) to people and socially disadvantaged groups in Nakhon Sawan Province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 354200 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 354,200.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | รัฐประศาสนศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | องค์กรปกครองท้องถิ่นทุกแห่งทั่วไปประเทศ ได้มีการนำระบบการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริหารขับเคลื่อนงานในพื้นที่ เช่น การให้บริการเบี้ยยังชีพทางอิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการงานทะเบียนราษฏร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบออนไลน์ การชำระภาษีออนไลน์ เป็นต้น แต่ด้วยศักยภาพของแต่ละท้องถิ่นนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งดูได้จากผลการประเมินผลในการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลายแห่งไม่ตกการประเมินจำนวนมาก และบางแห่งไม่เข้ารับการประเมิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นในเบื้องต้นว่า การบริหารจัดการในองค์กรบางแห่งยังคงมีความไม่พร้อมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดนครสวรรค์ในเรื่องการจัดบริการสาธารณะได้ผลการประเมินในภาพรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้คะแนน 62.68 ซึ่งต่ำกว่าเฉลี่ยรวมการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งประเทศได้ 71.68 (กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, 2558) จากข้างต้นเป็นการศึกษาจากการจัดบริการสาธารณะในรูปแบบทั่วไปมีผลการดำเนินงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนัก แต่ยังไม่มีการศึกษาวัดผลประสิทธิภาพโดยเฉพาะจากการบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการศึกษาศักยภาพจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Public service) ให้แก่ประชาชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส จึงทำให้เกิดความเข้าใจและพัฒนาการจัดบริการสาธารณะได้อย่างครอบคลุม นอกจากนั้น จังหวัดนครสวรรค์ถือเป็นจังหวัดอยู่กึ่งกลางระหว่างในเขตภาคเหนือตอนล่างหรือภาคกลางตอนบน ซึ่งมีความหลากหลายในความต้องการของประชากรสูงมาก เนื่องจากมีประชากรหลายกลุ่มเข้ามาประกอบอาชีพในพื้นที่ เช่น มาจากจังหวัดอุทัยธานี พิจิตร กำแพงเพชร และจังหวัดอื่นๆ ซึ่งการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นเรื่องยาก หน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นต้องมีการเตรียมการศึกษาการพัฒนาการให้บริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่หลากหลาย
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public service) ให้แก่ประชาชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการหรือเพื่อตองสนองต่อการต้องการของประชาชนที่แท้จริง และครอบคลุมได้มากยิ่งขึ้น และเป็นการรองรับยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามแผนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 สืบต่อไป
|
จุดเด่นของโครงการ : | หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public service) ให้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในเขตจังหวัดนครสวรรค์ |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อสำรวจรูปแบบและระดับศักยภาพการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-Public service) ให้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในเขตจังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-Public service) ให้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในเขตจังหวัดนครสวรรค์
3. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public service) ให้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในเขตจังหวัดนครสวรรค์
|
ขอบเขตของโครงการ : | ขอบเขตในการศึกษาครั้งนี้ คือ
1. ศึกษารูปแบบและระดับศักยภาพการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public service) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแก่ประชาชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในเขตจังหวัดนครสวรรค์
2. ศึกษาสภาพปัญหาการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public service)ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแก่ประชาชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในเขตจังหวัดนครสวรรค์
3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public service)ให้แก่ประชาชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในเขตจังหวัดนครสวรรค์
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1) รูปแบบและระดับศักยภาพการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Public service)ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในเขตจังหวัดนครสวรรค์
2) ปัญหา อุปสรรคของการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Public service)ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในเขตจังหวัดนครสวรรค์
3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Public service)ให้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์
4) เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Public service) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ให้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 333 ครั้ง |