รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000489
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Model of Integration of Learning Activities Using Digital Technology to Create Innovations that Enhance Learning Skills in the 21st Century of Students in the Faculty of Education
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้, เทคโนโลยีดิจิทัล, สรรค์สร้างนวัตกรรม,ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :35000
งบประมาณทั้งโครงการ :35,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :15 พฤศจิกายน 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2563
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าได้นั้น จะต้องมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและมีการศึกษา จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาให้กับ เด็ก เยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป จึงได้กำหนดไว้ใน แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นพัฒนาคน “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” (สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2550 : ความนำ)ดังนั้นเพื่อการพัฒนาประเทศให้มีความสมดุลและยั่งยืน จึงได้มี พระราชบัญญัติการศึกษาพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตราที่ 6 โดยระบุไว้ว่าการจัดการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจและสติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมใน การดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้นถ้าบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เด็กและเยาวชนได้อย่างครบ ครัน สังคมบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพสามารถพัฒนาประเทศให้มีความเจริญได้อย่างมั่นคง สอดคล้องกับ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, (2558 : 7) ซึ่งกล่าวว่า กิจกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 นั้นนับว่ามีความสำคัญมาก หากครูยังใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเดิมที่ถ่ายทอดผ่านตัวครูไปสู่เด็กเป็นสำคัญแล้ว ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จะไม่มีคุณลักษณะตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้ การจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่าซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนา สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้(หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 : 182) ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ซึ่งขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี ความคิด สร้างสรรค์ และนวัตกรรมไปสู่ความ “มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน” เน้นภาคการผลิตไปสู่ภาคบริการมากขึ้นและ ประชากรมีรายได้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยจะต้องมีการสร้างนวัตกรรมเป็นของตนเอง ดังนั้น การศึกษาจึงต้องเร่งด าเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อก้าวเข้าสู่ “การศึกษา 4.0” อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเช่นกันการศึกษาในยุค Thailand 4.0 ไม่ใช่เป็นเพียงการให้ความรู้กับคนหรือผู้เรียนเท่านั้น แต่เป็นการเตรียมมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ กล่าวคือ ในการเรียนรู้ใด ๆ ก็ตาม นอกจากความรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับแล้ว ผู้เรียนจะต้อง ได้รับการพัฒนาทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตไปด้วย และการจะก้าวเข้าสู่ยุค Thailand4.0 ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา นอกจากการปรับปรุงเรื่องของหลักสูตร ตำรา และบทบาทของครูผู้สอนแล้ว เราก็ควรจะต้องส่งเสริมทักษะแห่งอนาคตให้กับผู้เรียนด้วย เพราะเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการรับมือต่อการ เปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมในอนาคต ซึ่งทักษะที่สำคัญเหล่านี้ได้แก่ ทักษะการคิดเชิงบริหาร ทักษะการใช้ Internet ทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณทักษะการแก้ปัญหาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะด้านคณิตศาสตร์ และทักษะด้านจิต สาธารณะ เป็นต้น ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะดังกล่าว นอกจากกลวิธีและกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ แล้ว ครูผู้สอนควรนำแนวทางของ STEM Education, Active Learning และ Problem Based Learning มา ใช้ในการจัดการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน เพื่อหล่อหลอมให้ผู้เรียนเกิด “ทักษะ” ด้านต่าง ๆ ที่คงอยู่และมีพัฒนาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่สามารถนำไปเป็นฐานในการสร้างผลผลิตหรือนวัตกรรม (innovation) ได้ในอนาคต(พาสนา จุลรัตน์,2561) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเป็นยุคที่โลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน ดังนั้นกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 จึงส่งผลต่อวิถีการดำรงชีวิตผู้คนในสังคมอย่างทั่วถึง ด้วยเหตุนี้ครูผู้สอนจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไป จากศตวรรษที่ผ่านๆ มาสำหรับทักษะที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21 ก็คือทักษะการเรียนรู้(learning skill) ดังนั้นจึงทำให้มีการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ และทักษะจำเป็นในศตวรรษที่21ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ที่เป็น ปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้โดยนอกจากนี้ ในปัจจุบันเป็นยุคแห่งการแข่งขันทางสังคมค่อนข้างสูง จึงส่งผลต่อการปรับตัวให้มีความทัดเทียมและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริบททางสังคมในทุกมิติรอบด้าน ดังนั้น การเสริมสร้างองค์ความรู้(content knowledge)ทักษะเฉพาะทาง (specific skills)ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(expertise) และสมรรถนะของการรู้เท่าทัน (literacy)จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนในการเรียนรู้ยุคสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่21 นี้ด้วยเหตุที่กระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคแห่งความเป็นโลกาภิวัตน์ (the globalization) ที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการความก้าวหน้าในทุก ๆ มิติอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การกำหนดยุทธศาสตร์และการสร้างความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายศักยภาพและความสามารถของมนุษย์ที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นและสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (วิจารณ์ พานิช ,2555) การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล เป็นแนวคิด กลวิธี และแนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อหาทางออกให้แก่การพัฒนาระบบการศึกษาของไทยให้มีความตระหนักรู้ต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและครอบครัวในยุคต่อไปที่กำาลังมาถึงพร้อมเป็นแนวทางการพัฒนาการศึกษาควบคู่กับการพัฒนาประเทศตามนโยบายของ รัฐบาลเกี่ยวกับเศรษฐกิจยุคดิจิทัลที่กำาลังเป็นนโยบายหลักในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในอนาคต การเสนอแนวทางพัฒนาองค์ความรู้หรือชุดโปรแกรมทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนนั้น ควรมุ่งเน้นเกี่ยวกับ การรู้หนังสือ (Literacy) เป็นสำคัญ ดังเช่น การรู้เกี่ยวกับการคิดคำนวณ ความเป็นเหตุเป็นผลกระบวนการแก้ปัญหา การรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สารสนเทศและเทคโนโลยีเศรษฐศาสตร์ ความรู้เสมือนจริง และความตระหนักต่อตนเอง และสังคมโลก ขณะเดียวกัน ควรเน้นการพัฒนาในเรื่องการคิดสร้างสรรค์ การปรับตัว การจัดการปัญหาที่ซับซ้อน การควบคุมตนเอง การจัดการความเสี่ยง การคิดใช้เหตุผล การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมการสร้างทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม หากเยาวชนมีความรู้ เจตคติ และทักษะเหล่านี้แล้ว จะสามารถนำาไปสู่ผลิตผล ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนในการเพิ่มศักยภาพ โดยเฉพาะความสามารถในการวางแผน การสรุป การใช้ทักษะควบคุมเครื่องมือและ อุปกรณ์ ตลอดจนการใช้กระบวนการทางปัญญาในการดำาเนินชีวิต องค์ประกอบดังที่กล่าวมานี้จะนำาไปสู่การพัฒนาการศึกษา แบบเป็นพลวัตรและแปรเปลี่ยนไปตามความผันแปรของสถานการณ์โลกทำาให้คนไทยเกิดความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังเป็นการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาได้ตระหนักต่อการเตรียมความพร้อมในการดำรงสถานะของสถาบันการศึกษาและดำาเนินไปควบคู่กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมถึงการตระหนักคิดเชิงปรัชญาที่เป็นฐานคติ ในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคมโลกที่นับวันจะก้าวสู่สังคมดิจิทัลทุกขณะเพื่อให้ก้าวทันต่อการ เปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป จึงควรอย่างยิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางในการจัดการศึกษาใหม่ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การอาชีวศึกษา และรวมถึงการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้มีความสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศที่จะก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต เพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับมือกับ สังคมในยุคดิจิทัล แนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนดังกล่าวคือ การนำ Digital Age Education เข้ามาเป็นแนวคิดเชิงปรัชญาในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ให้เป็นคนที่สมบูรณ์(เจษฎา กิตติสุนทร และวาสนา กีรติจำเริญ,2560) เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการเรียนรู้และการศึกษา ปัจจุบันมีสถานศึกษากว่า 30,000 แห่งที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย ยังประสบปัญหาด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และโรงเรียนอีกจำนวนมาก ยังมีปัญหาเรื่องความเร็วในการเชื่อมต่อ การให้บริการไม่ทั่วถึง นอกจากนี้จำนวนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การเรียนการสอนยังมีไม่เพียงพอต่อผู้เรียน และล้าสมัย รวมทั้งครูผู้สอนขาดความชำนาญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ากับการสอน ทำให้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ประเทศไทย ยังมีเนื้อหาในรูปแบบสื่อดิจิทัลที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของคนในประเทศไม่เพียงพอ กล่าวคือยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านเนื้อหา (content divide) ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งของความเหลื่อมล้ำดิจิทัล (digital divide) เนื้อหาที่สำคัญที่ยังขาดไป อาทิ สื่อการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ และสื่อที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในระดับท้องถิ่นทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม ที่ต่างกัน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในขณะที่ประชาชนเริ่มมีการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ และแท็บเล็ต แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความสนุกสนาน บันเทิง โดยไม่ได้นำเทคโนโลยีไปก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร และยังต้องมีการพัฒนาทักษะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับสังคมใหม่ ที่รวมถึงการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ สื่อต่าง ๆ และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย(สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2558) ในบริบทการศึกษาไทยเองมีความต้องการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมนักศึกษาวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง ดังมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรี ได้ระบุมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมไว้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะการจัดการเรียนรู้(กระทรวงศึกษาธิการ,2554) มาตรฐานวิชาชีพครูระบุการส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรมไว้ 2 มาตรฐานคือ มาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้ และมาตรฐานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา (คณะกรรมการคุรุสภา,2556) นอกจากนี้ยังส่งเสริมเป็นเชิงนโยบาย อาทิเช่น แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ได้ชี้แนะแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์ที่ 3 ว่าควรพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยส่งเสริมการเรียนรู้และการคิดของผู้เรียนมุ่งเน้นให้เกิดเป็นนวัตกรรม (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2560) แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2565) ได้กำหนดเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตให้สามารถพัฒนานวัตกรรมได้ สำนักงาน(คณะกรรมการอุดมศึกษา,2550) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถของเยาวชนในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2558) นอกจากนี้ โมเดลประเทศไทย 4.0 ยังได้ระบุว่าการที่คนไทยจะนำพาประเทศไปสู่ความยั่งยืนได้นั้น จะต้องพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม(กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา,2560) ในการนี้ วิจัยจึงสนใจศึกษารูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนยุคใหม่ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :บริบทการศึกษาไทยมีความต้องการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมนักศึกษาวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง ดังมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรี ได้ระบุมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมไว้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น การวิจัยเรื่องรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนยุคใหม่ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 2.เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตของโครงการวิจัย 6.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา 1) รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรม 2) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 6.2 ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 6.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 6.4 ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรม ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 2.ได้ทราบผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 3.ได้ทราบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4.เป็นแนวทางสำหรับพัฒนารูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมในการประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1.การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2.ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 3.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ 4.การจัดการเรียนการสอนในยุคโลกดิจิทัล 5.การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 6.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ปัจจัยนำเข้า -การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 -ทักษะในศตวรรษที่21 -การจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล -การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน -การสร้างสรรค์นวัตกรรม -การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์นวัตกรรม กระบวนการ -ศึกษารูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน -ออกแบบพัฒนารูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 -ศึกษาศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลผลิตที่ได้ ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 1)พฤติกรรมการเรียนรู้ 2)ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 3ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลฯ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research for Development) โดยดำเนินการพัฒนารูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรม 2.กลุ่มประชากร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 3.ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มุ่งพัฒนา ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ รวมถึงศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จำนวนเข้าชมโครงการ :672 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวเยาวเรศ ภักดีจิตร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด