รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000488
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Local Learning Units on the Nakhon Sawan Educational Base by Using Community Based Learning to Develop the Learning Process of Students in the 21st Century to Promote Cultural Tourism
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น,การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน,กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :52700
งบประมาณทั้งโครงการ :52,700.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :10 ธันวาคม 2563
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของคนทุกช่วงวัยจึงเป็นพันธกิจสำคัญร่วมกันของรัฐ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในการกำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษา มาตรฐานการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ สื่อ แหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลของผู้เรียนในทุกระดับการศึกษา ทุกกลุ่มเป้าหมาย และทุกช่วงวัย เพื่อสร้างและพัฒนาพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สามารถศึกษา เรียนรู้ และพัฒนา ศักยภาพของตนจนถึงขีดสูงสุดตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจ เพื่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขร่วมกับผู้อื่นในสังคม และการปรับปรุงระบบการผลิตและ พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในทุกระดับและประเภทการศึกษาเพื่อให้ได้ครูดี มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เข้าสู่ระบบการศึกษาของประเทศในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดสูงสุดของศักยภาพของแต่ละบุคคลต่อไป(กระทรวงศึกษาธิการ,2560) โลกศตวรรษที่ 21 เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี รวมถึงการเป็นโลกดิจิทัลที่ข้อมูลในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการเปลี่ยนแปลง เชื่อมต่อกันอย่างรวดเร็วในทุกมิติ การพัฒนาศักยภาพของคนถือเป็นหัวจสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ มุ่งสู่ความก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2560) หลายปีที่ผ่านมาระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆได้มีการปฏิรูปการศึกษาโดย ให้คำจำกัดความ “ทักษะในศตวรรษที่ 21”ว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบัน ที่ซับซ้อนซึ่งประกอบด้วยทักษะที่หลากหลายและแตกต่างกันไป เช่น มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้แบบร่วมมือเน้นทักษะทางด้านเทคโนโลยีรวมทั้งมีทัศนคติและค่านิยมที่พึงประสงค์อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ทักษะการคิดที่ซับซ้อนทักษะการเรียนรู้และทักษะการสื่อสาร โดยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าการท่องจำ(Saavedra and Opfer,2012) กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ถือว่า การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียนยังเป็นการเรียนแบบสมมติ “ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์”ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ ย้ำว่าการเรียนรู้ยุคใหม่ ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น“สอน”หรือสั่งสอนไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้แก่ศิษย์ ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 นี้ จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากทำโดดเดี่ยว คนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม โดยมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย อันได้แก่ กระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเป็นกลยุทธ์หรือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเนื้อหาตามหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับชุมชนโดยใช้การปฏิบัติงานเป็นฐานให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติงานจากสถานการณ์จริงในชุมชน ภายใต้การมีส่วนร่วมระหว่างครู ผู้เรียน และกลุ่มคนในชุมชน เช่น การไปศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การทำมาหากิน หัตถกรรม การศึกษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน จากบุคคล และองค์กรในชุมชนนอกเหนือไปจากการเรียนรู้ในห้องเรียนกระบวนการสำคัญของการเรียนรู้ ใช้การสะท้อนคิดเชิงวิพากษ์ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ในเนื้อหาตามหลักสูตรและเข้าใจชุมชนมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนด้านความรู้และทักษะอย่างหลากหลาย เช่น การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรม เจตคติที่พึงประสงค์ ตระหนักในความรับผิดชอบในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน รวมทั้งเพื่อตอบสนอง ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ชุมชนและผู้เรียนจะได้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งโดยการบรรลุวัตถุประสงค์ ของหลักสูตรและตามเป้าหมายที่กำหนดโดยชุมชน และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวก อันเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน (วิจารณ์ พานิช, 2557; กล้า ทองขาว,2561; Bednar and Simpson,2013 ; Bedri, Frein and Dowling,2017) สังคมในปัจจุบันมีความตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะ วัฒนธรรม เทศกาลรวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านมากขึ้นทั้งนี้การตื่นตัวต่อวัฒนธรรมประกอบกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของในแต่ละพื้นที่เป็นจุดกำเนิดของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมดังจะเห็นว่าการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมได้กลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในยุโรปอีกทั้งประเทศอื่นๆได้พยายามที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศของตนเอง นอกจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจะสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาคแล้วการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไปสำหรับประเทศไทยแล้วการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมบริการที่สร้างรายได้และการจ้างงานให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมากอย่างไรก็ดีท่ามกลางการแข่งขันของตลาดท่องเที่ยวที่สูงขึ้นกระแสการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจึงได้รับความสนใจเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากแหล่งท่องเที่ยว และมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและได้มีการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมสืบเนื่องมาเป็นเวลานาน(ภัทรา ชิณโพธิ์คัง : ออนไลน์,2562) จากความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นที่เน้นการพัฒนาการศึกษาจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา กลุ่มชาติพันธ์ุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน และเป็นแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ”เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจเห็นความสำคัญและรู้คุณค่าของทรัพยากรในชุมชน เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่น ตลอดจนสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษาที่จะส่งผลให้ผู้เรียนและคนในชุมชน สามารถพัฒนาได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน มีศักดิ์ศรีในเวทีโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์
จุดเด่นของโครงการ :เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2 เพื่อศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3.เพื่อเผยแพร่และขยายผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ขอบเขตของโครงการ :1. รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการสำรวจ สัมภาษณ์ ทดลอง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาและสร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการท่องเที่ยวของวัฒนธรรม 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา ขอบเขตด้านเนื้อหา คือ การวิจัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เรื่องราวทางศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตลุ่มแม่น้ำสะแกกรังเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม 3. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และ กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในชุมชน 4. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูล มี 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งที่ 1 ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาโดยตรงจากบุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน แหล่งที่ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาจากเอกสารวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5. ขอบเขตด้านพื้นที่ ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชน แหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ และโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษา เขต 42 กลุ่มจังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2.ได้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และการส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3.ทราบผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 4.ได้ทราบผลการเผยแพร่และขยายผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 5.เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนอื่นๆ ต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-ข้อมูลสารสนเทศจังหวัดนครสวรรค์ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถ่ินของจังหวัดนครสวรรค์ -การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น -การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 -การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน -การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ปัจจัยนำเข้า -ข้อมูลสารสนเทศด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและด้านศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์ -การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ -การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน -กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 -การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กระบวนการ -สร้างและหาคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน -ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน -เผยแพร่และขยายผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ผลที่เกิดขึ้น -ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเก็บข้อมูล โดยใช้เทคนิค AIC และหรือ PRA สำรวจ สัมภาษณ์เจาะลึก เสวนากลุ่ม การสังเกต จัดประชุมกลุ่มย่อย และทดลองปฏิบัติการตามแนวทางที่ได้ 2.ประชากร ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และ กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษา เขต 42 กลุ่มจังหวัดนครสวรรค์ 3.แหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูล มี 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งที่ 1 ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาโดยตรงจากบุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน แหล่งที่ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาจากเอกสารวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4.ขั้นตอนการวิจัย 4.1 พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4.2 ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4.3 เผยแพร่และขยายผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 5.พื้นที่ทำการวิจัย ได้แก่ ชุมชน แหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ และโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษา เขต 42 กลุ่มจังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สูการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มุ่งพัฒนา ศึกษาผลการใช้และเผยแพร่และขยายผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครสวรรค์
จำนวนเข้าชมโครงการ :472 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวเยาวเรศ ภักดีจิตร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด