รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000485
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาสารเสริมในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกร: กรณีศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Study of Feed Additive on Swine Performance and Cost Production : A Case Study in Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :สารเสริม,สมรรถนะและต้นทุน,สุกร,จังหวัดนครสวรรค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และการประมง
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :55000
งบประมาณทั้งโครงการ :55,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :10 ธันวาคม 2563
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :ทรัพยากรสัตว์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับนานาชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การผลิตเนื้อสุกรของประเทศต่างๆ พ.ศ. 2555 - 2559 พบว่า เพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 0.48 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2559 การผลิตเนื้อสุกรของโลกมีปริมาณรวม 108.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2558 ซึ่งมี ปริมาณ 111.38 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 2.86 ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิต ที่ส าคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย เวียดนาม และแคนาดา ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13 ร้อยละ 1.95 ร้อยละ 2.74 ร้อยละ 5.86 ร้อยละ 2.36 และร้อยละ 1.80 ตามล าดับ ส่วนจีนมีสัดส่วนของ การผลิตลดลงร้อยละ 0.34 27 ปีพ.ศ. 2560 คาดว่าการผลิตเนื้อสุกรจะมีปริมาณรวม 111.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 2.60 (กรมปศุสัตว์, 2560) การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันได้มีการพัฒนาในรูปการค้ามากขึ้นเพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตเร็ว และการ ให้ผลผลิตสูง ต้น ทุนต่ำ มีการนำ เอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้มากขึ้นซึ่งมีผลทำ ให้สุกรเกิดความเครียด เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการสูญเสียสุกรเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะลูกสุกรที่เพิ่งหย่า นม เนื่องจากลูกสุกรเหล่านี้มักอ่อนแอและการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เกษตรกรส่วนใหญ่มักนิยมใช้สารปฏิชีวนะต่างๆ มาเสริมในสูตร อาหารเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต, ลดความเครียด และป้องกันการเกิดโรค ซึ่งสารปฏิชีวนะเหล่านี้มีข้อเสียเท่าๆกับประโยชน์ทั้งนี้เพราะสารปฏิชีวนะเป็นสารที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์จะมีฤทธิ์ไปทำ ลายเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษ และถ้าหากใช้เป็นระยะเวลานานๆจะมีผลทำ ให้เชื้อโรคเกิดการดื้อยาและ มักมีผลตกค้างในตัวสัตว์อีกด้วย ต่อมาจึงได้มีการหันมาใช้สารอีกชนิดซึ่งมีบทบาทคล้ายกับ สารปฏิชีวนะ คือช่วยให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงและมีการเจริญเติบโตดีขึ้นด้วย นั่นคือจุลินทรีย์พวกโปรไบโอติกจะมีข้อ ดี กว่าตรงที่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วจะเจริญในระบบทางเดิน อาหารและสร้างสภาวะสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ซึ่งมักเสียสมดุลไปในสภาวะที่เกิดความเครียด ช่วยปรับ ให้จุลินทรีย์ที่ เป็นโทษลดปริมาณลงจนไม่สามารถเกิดอันตรายต่อสัตว์ได้นอกจากนี้โปรไบโอติกยังช่วยให้ ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากอาหารดีขึ้นอีกทั้งไม่มีผลตกค้างในตัวสัตว์โปรไบโอติกเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตและนำมาใช้เป็นอาหารเสริมในสัตว์โดยที่บทบาทของจุลินทรีย์เหล่านี้ช่วยให้ลำไส้เกิด ความสมดุลในลำไส้ของสัตว์และก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆอีกมากมาย นอกจากนี้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น ทางด้านอาหาร พันธุ์การจัดการ และการป้องกันโรค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การหย่านมลูกสุกรให้เร็วขึ้นก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งเพื่อเพิ่มจำนวนครอกต่อปีของแม่สุกรอย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าการหย่านมลูกสุกรที่เร็วไปเป็นสาเหตุของการเกิดความเครียดอีกทั้งระบบทางเดินอาหารของสุกรในระยะดังกล่าวยังมีการพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมสารอาหารต่ำ ลูกสุกรมีอาการท้องร่วง สุขภาพอ่อนแอ การสร้างภูมิต้านทานและการเจริญเติบโตลดลง ปัจจุบันได้มีการนำเอนไซม์ชนิดต่างๆ มาใช้ผสมอาหารสัตว์มากขึ้นเพื่อทำให้สัตว์ได้รับประโยชน์จากองค์ประกอบในอาหารสัตว์อย่างคุ้มค่า โดยหนึ่งในเอนไซม์ที่นิยมนำมาผสมในอาหารสัตว์ได้แก่ เอนไซม์ phytase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติในการย่อย phytase ที่พบมากในส่วนประกอบของอาหารสัตว์ให้ได้เป็น phosphorus ที่อยู่ในรูปที่กระเพาะสัตว์สามารถดูดซึมไป ใช้ได้ ซึ่งเอนไซม์ phytase ที่เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์นั้น ควรจะต้องทำงานได้ดี ในสภาวะที่มีความเป็นกรดที่สูง หรือในสภาวะที่เหมือนสิ่งแวดล้อมในกระเพาะสัตว์นั้นๆ รวมทั้ง สามารถทำงานได้ดีในอุณหภูมิร่างกายของสัตว์ และที่สำคัญคือต้องมีความสามารถในการทน ร้อนได้ดี เนื่องจากในการผลิตอาหารสัตว์ต้องผ่านกระบวนการอัดเม็ดที่มีการใช้ความร้อนสูง (80-90?C)กรดไฟติก (Phytic acid) เป็นรูปแบบของ ฟอสฟอรัสที่พบในเมล็ดธัญพืชประมาณ 1-5% ของน้ำหนักเมื่อกรดไฟติกจับกับแร่ธาตุประจุ บวก เช่น Ca, Mg, Fe และ Zn จะอยู่ในรูปของ ไฟเตส (Phytase) ไฟเตส ถือเป็นปัญหาของการผลิตสัตว์กระเพาะเดี่ยว เนื่องจากสัตว์กระเพาะเดี่ยวผลิตเอนไซม์ไฟเตส (Phytase) ที่ทำหน้าที่ย่อยไฟเตสได้น้อย สัตว์จึงใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในอาหารสัตว์ได้น้อย เกิดการตกค้างของฟอสฟอรัสในมูลและนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ เอนไซม์ phytase มักถูกเสริม ในอาหารสุกรทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในลูกสุกรหย่านม การเสริมไฟเตสทางการค้าในอาหารสุกร หย่านมช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์ได้ของ ฟอสฟอรัสและลดการขับฟอสฟอรัสออกในมูลและช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตในลูกสุกร
จุดเด่นของโครงการ :วิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาระดับการเสริมเอนไซม์และโปรไบโอติกในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะรุ่น- ขุุนที่เหมาะต่อการเลี้ยงต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1 เพื่อศึกษาระดับเสริมเอนไซม์ในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะรุ่น 2 เพื่อศึกษาระดับเสริมโปรไบโอติกในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตในสุกรขุน
ขอบเขตของโครงการ :การทดลองที่ 1 การศึกษาการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตในสุกรระยะรุ่น โดยสัตว์ทดลองใช้สุกร 3 สายพันธุ์ (พันธุ์ลาร์จไวท์, แลนด์เรซ, ดูร็อค) จำนวน 36 ตัว วางแผนการทดลองแบบทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบรูณ์ (Complete Randomized Design ; CRD) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ซ้ำๆ ละ 4 ตัว การทดลองที่ 2 การศึกษาการเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp.ในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะขุนโดยมีสัตว์ทดลองใช้สุกร 3 สายพันธุ์ (เป็นลูกผสม พันธุ์ลาร์จไวท์,แลนด์เรซ,ดูร็อค) โดยวางแผนการทดลองแบบ (Complete Randomized Design ; CRD ) การทดลองที่ 3 เพื่อจัดทำเอกสารการใช้สารเสริมในอาหารสุกรเผยแพร่ให้หน่วยงานปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอ, จังหวัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อทราบถึงปริมาณของผลการเสริมโปรไบโอติกในอาหารที่มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตสุกรขุนสูงสุด 2.ข้อมูลที่ได้เป็นแนวทางในการนำไปแนะนำให้เกษตรกรที่เลี้ยงสุกรรุ่น-ขุนและผู้ที่สนใจทั่วไปได้ 3.เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาความสำคัญของโปรไบโอติกที่มีคุณสมบัติที่ดีและสามารถนำไปใช้ในกระบวนการการผลิตอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ไปปรับปรุงต่อยอดโปรไบโอติก 5.ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนทำให้สุกรมีสุขภาพที่ดีลดการเกิดโรคท้องเสีย 6 เพื่อทราบถึงปริมาณของผลการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในสูตรอาหารข้นที่มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตของสุกรรุ่นสูงสุด 7. เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาความสำคัญของเอนไซม์ไฟเตส ที่มีคุณสมบัติที่ดีและสามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 8. นำความรู้ที่ได้ศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อไปต่อยอดในการปรับปรังเอนไซม์ ไฟเตส 9. ช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ทำให้สุกรย่อยอาหารได้มากขึ้น ช่วยให้ผลผลิตมากขึ้น 10. เพื่อรักษาการผลิตได้คงที่ ลดความแปรปรวนของคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ช่วยให้อาหารสัตว์มีความสม่ำเสมอ ทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี 11. ช่วยรักษาสุขภาพของทางเดินอาหาร โดยปรับปรุงการย่อยได้ของโภชนะ ทำให้เหลือโภชนะสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคน้อยลง 12. สิ่งแวดล้อมดีขึ้นการย่อยและการดูดซึมอาหารดีขึ้น ลดปริมาณมูลที่เกิดขึ้น 13. เพื่อลดปัญหามลภาวะเรื่องกลิ่นและการทำลายดิน 14.สามารถเพิ่มอัตราส่วนของวัตถุดิบคุณภาพต่ำราคาถูกในอาหารผสม และเปิดโอกาสให้มีการนำวัตถุดิบอาหารใหม่ๆ มาใช้ในอาหารสัตว์ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตจากธรรมชาติโดยตรง วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือผลิตผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม 15. ทราบถึงความรู้ และทัศนคติของเกษตรกรผู้เลี้ยงในชุมชนต่อการผลิตในสภาวะปัจจุบัน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :โปรไบโอติก ( Probiotics ) คือ จุลินทรีย์มีชีวิตและเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีอยู่ในอาหาร เมื่อเราบริโภคเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการแล้วจะส่งผลดีให้สุขภาพ คำว่า “ โปรไบโอติก ” เป็นคำที่มา จากภาษากรีก มีความหมายว่า “ เพื่อชีวิต ” โปรไบโอติกพบได้ในอาหารหมักดอง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต แหนม กิมจิ แตงกวาดอง นอกจากในอาหารหมักดองที่กล่าวมา แล้วเรายังสามารถพบโปรไบโอติกใน ชีส Dark Chocolate ซุปมิโซะ อีกด้วยโปรไบโอติก ( Probiotics ) มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ชนิดที่พบว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและมีการนำมาบริโภคกันอย่างแพร่หลาย คือ แลคโตบาซิลลัส ( Lactobacillus ) บิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) เพราะว่าจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้เราสามารถพบได้ในร่างกายอยู่แล้ว โดยแลคโตบาซิลลัส ( Lactobacillus ) พบได้ในลำไส้เล็กและบิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) พบได้ที่บริเวณลำไส้ใหญ่โดยปกติแล้วร่างกายคนเรานั้นมีจุลินทรีย์อยู่ในร่างกายและผิวหนังหลายล้านชนิดอยู่แล้ว โดยเฉพาะที่ระบบทางเดินอาหาร อย่างลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ เราจะพบจุลินทรีย์จำนวนมากที่สุด ซึ่งจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ 1.จุลินทรีย์ก่อโรค จุลินทรีย์ชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นจุลินทรีย์ที่ร่างกายรับเข้ามาจากภายนอก ทั้งจากอาหารและอากาศ เช่น วิบริโอ พาราฮีโม ไลติคัส ( V.cholerae ) ที่เป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค ชิเจลลา ( Shigella ) ที่ทำให้เกิดโรคบิด เป็นต้น เมื่อจุลินทรีย์ชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่น้อย ร่างกายจะสามารถขจัดออกไปได้จึงไม่ก่อให้เกิดโรคขึ้น แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินกว่าที่จะกำจัดออกได้โดยเฉพาะบริเวณทางเดินอาหารจะทำให้เกิดโรค เช่น อหิวาตกโรค โรคท้องเสีย อาหารเป็นพิษ โรคบิด เป็นต้น 2.จุลินทรีย์กลุ่มก่อการอักเสบหรือกลุ่มฉวยโอกาส เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว แต่มีอยู่ในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดดี จึงไม่ส่งผลเสียหรือสร้างอันตรายต่อร่างกาย แต่ทว่าเมื่อใดก็ตามที่จุลินทรีย์ชนิดดีมีปริมาณน้อยกว่าจุลินทรีย์กลุ่มนี้แล้ว จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็จะแสดงผลที่เป็นอันตายต่อร่างกายทันที โดยการทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อ Pseudomonas การติดเชื้อ Staphylococcus ที่ทำให้เกิดตุ่มหนองตามผิวหนัง เป็นต้น 3.จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่เป็นกลาง คือ จุลินทรีย์ที่สามารถทำหน้าที่ทั้งป้องกันไม่ให้เกิดโรคและรอโอกาสที่จะทำให้เกิดโรค ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์และปริมาณของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในขณะนั้น เช่น เชื้ออีโคไล ( E.Coli ) ทำหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหารภายในลำไส้เมื่อมีในปริมาณน้อย และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคท้องเสียได้เมื่อมีปริมาณมากกว่าจุลินทรีย์ชนิดดี 4.จุลินทรีย์ชนิดดีหรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะทำหน้าที่ในการช่วยปกป้องดูแลทางเดินอาหารไม่ให้เชื้อโรคหรือจุลินทรีย์กลุ่มที่ก่อโรคเข้ามาทำร้ายลำไส้ได้ นับว่าจุลินทรีย์ชนิดนี้เป็นชนิดที่ทำให้เรามีสุขภาพที่ดี เช่น แลคโตบาซิลลัส ( Lactobacillus ) บิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) ยูแบคทีเรีย (Eubacteria) ร่างกายของคนเรานั้นโดยเฉพาะที่ลำไส้จะมีจุลินทรีย์อาศัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเราเรียกจุลินทรีย์เหล่านี้ว่า “ จุลินทรีย์เจ้าถิ่น ” ( Normalfloral ) จุลินทรีย์เจ้าถิ่นมีทั้งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และจุลินทรีย์ที่อาจก่อโทษได้ทั้งสองชนิด โดยโปรไบโอติกจัดเป็นจุลินทรีย์เจ้าถิ่นชนิดหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งประโยชน์ของโปรไบโอติกต่อสุขภาพ การศึกษาการใช้โปรไบโอติกในสัตว์ การใช้โปรไบโอติกเป็นการเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เกิดความสมดุลของประชากรแบคทีเรียในลำไส้และเกิดผลดีต่อสุขภาพในด้านต่างๆดังนั้นกลไกที่ก่อให้เกิดประโยชน์ของโปรไบโอติกจึงเป็นกลไกเดี่ยวกับที่ได้อธิบายไว้ซึ่งกล่าวเกี่ยวกับประโยชน์ของจุลินทรีย์ในท่อทางเดินอาหารอย่างไรก็ตามหากมองในแง่ของการใช้โปรไบโอติกในการผลิตปศุสัตว์สามารถแบ่งประโยชน์ออกได้ตามจุดประสงค์หลักของการใช้ 2 จุดประสงค์ โดยในบทนี้จะเน้นประโยชน์ในสุกรเป็นหลัก โดยการใช้โปรไบโอติกในปศุสัตว์มักคาดหวังผลในด้านใหญ่ๆได้แก่1.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต2.เพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการผลิตและเพิ่มความปลอดภัยของสินค้าปศุสัตว์การใช้โปรไบโอติกในปศุสัตว์มีหลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปวิธีการให้มักผสมในอาหารและน้ำ สเปรย์ หรือปั๊มปาก โดยรูปแบบวิธีการให้ขึ้นอยู่กับชนิดสัตว์ อายุ และวงจรการผลิต เช่น การให้ในแม่พันธุ์สุกรและสุกรขุนให้ในรูปแบบผสมอาหาร การให้ในลูกสุกรให้โดยการปั๊มปากและผสมในอาหารเลียราง เป็นต้น แม้ว่าวิธีการใช้จะแตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์ของการให้คือเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เข้าไปในท่อทางเดินอาหารให้เกิดการสมดุลของจุลินทรีย์เป็นสำคัญประโยชน์ของโปรไบโอติกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Advantages of probiotic on animal production)การเพิ่มประสิทธภาพการผลิตของปศุสัตว์โดยการเสริมโปรไบโอติกในอาหารและน้ำเป็นการคาดหวังผลทางอ้อมของการเสริมจุลินทรีย์เพื่อให้ระบบทางเดินอาหารเกิดสภาวะสมดุล โดยเมื่อประชากรจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารเกิดความสมดุลจะส่งผลให้สุขภาพสัตว์ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 1. เพิ่มประสิทธภาพในการย่อยอาหารจุลินทรีย์โปรไบโอติกมีคุณสมบัติในการสร้างเอมไซม์หลายชนิด ซึ่งเป็นเอมไซน์บางชนิดร่างกายของสัตว์ไม่สามารถสร้างได้ ดังนั้นการเสริมจุลินทรีย์โปรไบโอติกในทางเดินอาหารจึงมีผลเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารของสัตว์ ตัวอย่างเอมไซน์ที่พบการสร้างจากโปรไบโอติก ได้แก่ amylase protease lipase cellulose ?–glucanase xylanse phytase 2. สร้างและช่วยในการดูดซึมสารอาหาร a. สร้างวิตามินจุลินทรีย์ที่สร้างกรดแลคติค (Lactic Acid Bacteria/ LAB) ในทางเดินอาหารเป็นแหล่งในการสร้างวิตามินที่จำเป็นหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินในกลุ่มวิตามิน Bซึ่งการศึกษาจำนวนมากพบว่าจุลินทรีย์เหล่านี้มีความสามารถในการสร้างวิตามินที่มีโมเลกุลซับซ้อน (เช่น วิตามิน B12) ได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าจุลินทรีย์กลุ่มBifidobacterium สามารถสร้างวิตามินหรือส่วนประกอบของวิตามินหลายชนิด ได้แก่ วิตามินK, วิตามินB12, biotin, folate, riboflavin และ pyridoxine นอกจากนี้สามารถ b. ช่วยในการดูดซึมสารอาหารจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหารจำเป็นหลายชนิด เช่น ช่วยในการดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมันช่วยในการดูดซึมกลูโคสและควบคุมการทำงานของสมดุลกลูโคสในร่างกายผ่าน Intestine-brain-liver neural axis 3.ลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของสัตว์การลดลงของจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารมีผลให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารในสัตว์ดีขึ้น เนื่องจากสภาวะที่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ เอื้อให้สัตว์สามารถใช้อาหารได้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและเอื้อให้มีการดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น 4.เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันการใช้โปรไบโอติกมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์อยู่ในสภาวะสมดุล โดยพบว่าจุลินทรีย์ในโปรไบโอติกมีการสร้างสารที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ เช่น พบว่าBifidobacterium สร้างสารที่ช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ซึ่งจากผลการศึกษาโปรไบโอติกทั้งในสัตว์และในมนุษย์พบว่า การใช้โปรไบโอติกมีผลต่อภูมิคุมกันที่ผิวเยื่อเมือก secretory IgA การหลั่งของ cytokine หลายชนิด และการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน การศึกษาในหนูทดลองพบว่าการพัฒนาของ regulatory Tlymphocyte (CD4+ FoxP3+) เกี่ยงข้องกับปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์ในอาหาร อย่างไรก็ตาม กลไกของโปรไบติกในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ซึ่งจากผลดังกล่าว สามารถระบุประโยชน์ของการใช้โปรไบโอติกในด้านการเพิ่มความปลอดภัยของกระบวนการผลิตและเพิ่มความปลอดภัยของสินค้าปศุศัตว์ได้ ดังนี้ 1.ลดปริมาณจุลินทรีย์ตัวก่อโรคในระบบทางเดินอาหารในทางเดินอาหารของสัตว์ (Reduction of foodborne pathogens colonization in Gltract) เช่น Salmonella, Pathogenic E.coli 2.ลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคเข้าสู่กระบวนการผลิต 3. ลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคเข้าสู่โรงงานแปรรูป 4. ลดการส่งผ่านของจุลินทรีย์ก่อโรคระบบทางเดินอาหารจากสัตว์มาสู่คน กลไกที่โปรไบโอติกสามารถลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารอาจแบ่งเป็น 2 กลไกหลัก คือ ลดการเกาะของจุลินทรีย์ก่อโรคในทางเดินอาหารของสัตว์การยึดเกาะจุลินทรีย์โปรไบโอติกในลำไส้สัตว์ มีผลให้จุลินทรีย์ก่อโรคไม่สามารถเกาะติดกับผิวลำไส้ได้ ซึ่งการยึดครองพื้นที่ทางเดินอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีส่งผลให้จุลินทรีย์ก่อโรคไม่สามารถเพิ่มจำนวนภายในลำไส้สัตว์ได้และการสร้างที่มีผลต่อจุลินทรีย์ก่อโรคจุลินทรีย์โปรไบโอติกสามารถสร้างสารหรือเมตาบอไลท์ที่มีผลยังยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคได้ เช่น สารจำพวกกรดอินทรีย์ซึ่งทำให้สภาวะของทางเดินอาหารไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค สารจำพวก bacteriocin ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อื่น และ reactive oxygen species (ROS)ผลอื่นๆ ที่ได้จากการใช้โปรไบโอติก ได้แก่ สร้างกรดไขมันระเหยโมเลกุลสั้น (short chain volatile fatty acid) สลายสารพิษ ลดปัญหาลำไส้อักเสบ ลดอาการแพ้ ป้องกันการเกิดภูมิแพ้ สลายและลดการดูดซึมคลอเรสเตอรอล ลดมะเร็งลำไส้ เป็นต้น ความสำคัญของเอนไซม์ในปัจจุบัน เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวเคมีในสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันได้มีการนำเอนไซม์จากสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :10. ทฤษฎี สมมติฐาน และ/หรือกรอบแนวความคิดของการวิจัย การศึกษาการใช้เอนไซม์ในอาหารสัตว์ การเสริมเอนไซม์ที่ให้สัมฤทธิ์ผลที่สุด คือ การเสริมในสัตว์เล็กหรือลูกสัตว์หลังหย่านม ซึ่งจะสามารถช่วยให้สัตว์หลังหย่านมได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเอนไซม์ที่เสริมจะเข้าไปช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการย่อยและการดูดซึมให้พัฒนาดีขึ้น และเพื่อรองรับการย่อยอาหารประเภทโปรตีนจากพืชหลังหย่านมได้ดีขึ้น (สาโรช, 2547) ปัจจุบันบางฟาร์มจะหย่านมลูกสุกรก่อนกำหนด ดังนั้นจึงจำ เป็นต้องให้อาหารแก่ลูกสุกรตั้งแต่ลูกสุกรอยู่ในระยะดูดนม ปกติทั่วไปแล้วจะหย่านมที่อายุ 4 หรือ 5 สัปดาห์ ถ้าหากลูกสุกรหย่านมที่ 8 สัปดาห์ ขณะนั้นในสัปดาห์สุดท้ายลูกสุกรจะกินอาหารเป็น 70–80 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการ แต่ถ้าลูกสุกรหย่านมที่ 6 สัปดาห์ ในสัปดาห์สุดท้ายก่อนหย่านมลูกสุกรจะกินอาหารได้ 50–60 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการ ดังนั้นจึงต้องทา ให้ลูกสุกรกินอาหารแข็งให้ได้มากที่สุดก่อนหย่านม เพื่อลดการเปลี่ยนอาหารให้น้อยที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้เกิดความเครียดเมื่อหย่านม ความเครียดจะมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายรวมถึงระบบการย่อยอาหารด้วย (นิรนาม, 2554) ลูกสุกรในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 5 สัปดาห์ จะมีเอนไซม์ต่างจากสุกรที่โตเต็มที่แล้ว เนื่องจากในระยะดูดนมแม่ 1-2 วันแรก ลำ ไส้เล็กจะยอมให้มีการดูดซึมโปรตีนได้ ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่ทำ ให้ลูกสุกรได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ในรูปของ immunoglobulin ซึ่งมีอยู่ในนมน้ำเหลือง ความสามารถในการดูดซึมโปรตีนจะลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังจากลูกสุกรเกิดได้ 24-ชั่วโมง ระบบการย่อยอาหารของลูกสุกรยังไม่สมบูรณ์ การพัฒนาการทำงานของเอนไซม์มีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำนมที่แม่สุกรผลิตได้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เช่น สุกร ไก่ เป็นต้น มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้มาก เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูงการนำเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ มามาใช้เสริมในอาหารสัตว์ก็เป็นวิธีการทางชีวภาพวิธีหนึ่งที่นำมาใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เอนไซม์นำมาใช้ได้แก่ ไฟเตส (phytase), เซลลูเลส (cellulase), โปรติเอส (protease), และอะไมเลส (amylase) เป็นต้น ซึ่งเอนไซม์ คือสารโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่มีสมบัติในการย่อยสารอาหาหารที่เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ ๆ ให้เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลง ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารนั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถใช้สารอาหารจนหมดธุรกิจปศุสัตว์ต้องการพัฒนาวิธีการเลี้ยงให้สัตว์เจริญเติบโตเร็วในขณะที่สัตว์ยังมีอายุน้อย แต่เนื่องจากปัจจัยการย่อยสลายอาหารของสัตว์ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำย่อยที่สัตว์สร้างออกมาในทางเดินอาหารซึ่งปริมาณน้ำย่อยที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับอายุของสัตว์ สัตว์อายุน้อยมีการพัฒนาระบบทางเดินอาหารน้อยทำให้การผลิตน้ำย่อยน้อยตามไปด้วย เมื่อสัตว์มีอายุมากขึ้นการพัฒนาระบบทางเดินอาหารก็จะดีขึ้น แข็งแรงขึ้น การผลิตน้ำย่อยก็จะมากขึ้นด้วย ดังนั้นสัตว์ที่มีอายุน้อยจึงมีความสามารถในการย่อยสารอาหารด้อยกว่าสัตว์ที่โตเต็มที่แล้ว แต่ผู้เลี้ยงไม่สามารถปรับปรุงให้สัตว์ที่มีอายุน้อยมีการผลิตน้ำย่อยเพิ่มมากขึ้นจนมีการย่อยวัตถุดิบอาหารจนหมดได้ ดังนั้นจึงมีแนวคิดปรับปรุงอาหารสัตว์ให้มีการย่อยดีขึ้นการเสริมเอนไซม์ลงไปในอาหารนับ เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น มีการศึกษาการเสริมเอนไซม์ในอาหารของลูกสุกรหย่านมและสัตว์ปก พบว่าการย่อยอาหารของลำไส้เล็กเร็วขึ้นเนื่องจากมีปริมาณเอนไซม์เพิ่มขึ้น การดูดซึมในส่วนลำไส้เล็กตอนต้นเพิ่มมากขึ้น มีอาหารตกค้างในลำไส้เล็กตอนปลายน้อยลง ทำให้การเจริญและการหมักของ จุลินทรีย์ในลำไส้น้อยลงด้วย การเสริมเอนไซม์ในอาหารสัตว์นอกจากจะช่วยให้สัตว์ดูดซึมอาหารได้ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหา มลภาวะจากการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้อีกด้วย ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่คือของเสียที่ขับออกมา เช่น มูล, ปัสสาวะ และ น้ำล้างคอก เป็นต้น หากสัตว์สามารถใช้อาหารได้เต็มที่จนหมด มีปริมาณหรือกากของมูลขับออกมาน้อย และมูลที่ขับออกมามีปริมาณอาหารที่ย่อยไม่หมดอยู่น้อย ก็จะเป็นวิธีการลดมลภาวะได้มาก จึงได้มีการศึกษาการเสริมเอนไซม์ลงในอาหารสัตว์โดยการเติม เอนไซม์ไฟเตสในอาหารสัตว์ พบว่าสามารถแก่ปัญหาของสัตว์ที่ไม้สามารถนำธาตุฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปของไฟเตส (phytate) มาใช้ได้หมด ซึ่งฟอสฟอรัส ส่วนมากอยู่ในพืช เป็นเหตุให้ต้องเติมฟอสฟอรัสจากแหล่งอื่น เช่น กระดูกป่น ลงในอาหารซึ่งมีปริมาณฟอสฟอรัสมากเกินความจำเป็นสัตว์จะถ่ายมูลที่มีฟอสฟอรัสประกอบอยู่สูงสะสมลงในดิน ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดจากการเกิดกรดไฟติก (phytic acid) การเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารสัตว์จะทำให้ฟอสฟอรัสในอาหารถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เหลือขับออกมาในมูลน้อยลง ในขณะเดียวกันก็สามารถลดระดับฟอสฟอรัสที่จะเติมลงในอาหารได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่า เอนไซม์ได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้เอนไซม์ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นวิธีทางชีวภาพที่ช่วยให้การผลิตสัตว์เพิ่มผลผลิตสูงและมีคุณภาพที่ดีอีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่พบว่ามีการตกค้างในเนื้อสัตว์เป็นปริมาณมากอีกด้วย การเสริมโปรไบโอติกให้สุกรการใช้โปรไบโบติกในสุกรมีการใช้ในทุกระยะของการผลิตโดยการเสริมโปรไบโอติกจะช่วยให้จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารเกิดความสมดุลส่งเสริมให้สุกรเกิดสุขภาพที่ดีและมีผลให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้นเนื่องจากเป้าหมายสุกรในแต่ละระยะแตกต่างกันจึงขอระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้โปรไบโอติกในสุกรระยะต่างๆ ตามระยะการผลิตได้แก่ประโยชน์ของการเสริมโปรไบโอติกในแม่สุกรการใช้โปรไบโอติกในแม่สุกรมีผลดีในระบบการผลิตทั้งในตัวแม่สุกรเองและลูกสุกรที่ได้จากแม่ที่เสริมโปรไบโอติกจากการศึกษาและเก็บข้อมูลจริงในฟาร์มพบว่าการเสริมโปรไบโอติกในแม่สุกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ดังนี้ประโยชน์ต่อประสิทธิภาพของแม่สุกรสร้างสมดุลในทางเดินอาหารของแม่กระตุ้นการกินอาหารกระตุ้นการผลิตน้ำนมลดปัญหาการโทรมหลังหย่านม ลดการสูญเสียไขมันสันหลัง ลดระยะเป็นสัดหลังหย่านม (wean-to-first service interval/ PSI) เพิ่มอัตราเข้าคลอดและอัตราผสมติด เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในน้ำนม (IgA) ลดการปล่อยเชื้อทางมูลของแม่สู่ลูกในเล้าคลอดประโยชน์ต่อคุณภาพของลูกสุกรเพิ่มน้ำหนักแรกเกิดลดการสูญเสียของลูกสุกรระยะดูดนมเพิ่มน้ำหนักหย่านมเพิ่มอัตราการเลี้ยงรอดประโยชน์ของกการเสริมโปรไบโอติกในลูกสุกรดูดนมลดปัญหาท้องเสียในลูกสุกร ลด E.coli ในเล้าคลอด เพิ่มน้ำหนักหย่านม เพิ่ม ADG ลดการสูญเสียลูกสุกรในเล้าคลอดประโยชน์ของการเสริมโปรไบโอติกในสุกรอนุบาลและสุกรขุนกระตุ้นการกินอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพการใช้และดูดซึมอาหาร เพิ่มอัตราการเจริญเติบโต เพิ่ม ADG และลด FCR ลดปัญหาระบบทางเดินอาหารประโยชน์ของโปรไบโอติกในการเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการผลิตและเพิ่มความปลอดภัยของสินค้าปศุสัตว์ (Advantages of probiotic on food safety and quality of animal products)ปัจจุบันความปลอดภัยทางอาหาร (Food safety) มีการคำนึงถึงและให้ความสำคัญอย่างแพร่หลายทั้งในส่วนของผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการค้าทั้งในแง่ของการเพิ่มมูลค่าของอาหารโดยอาหารที่มีคุณภาพดีความปลอดภัยสูงก็สามารถขายได้ในตลาดโดยใช้ราคาสูงขึ้น และนอกจากนี้ปัญหาด้าน Food safety เช่น การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์อาหารยังเป็นปัญหาหลักที่ถูกใช้ในการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศอีกด้วยเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการใช้โปรไบโอติกมีส่วนช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคอาหารเป็นพิษ โดยจุลินทรีย์ชนิดดีในโปรไบโอติกจะทำให้เกิดสมดุลในลำไส้ ลดการเกาะติดของจุลินทรีย์ก่อโรค เป็นการเพิ่มสัดส่วนของจุลินทรีย์ที่ดีในทางเดินอาหารของสัตว์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การศึกษาสารเสริมในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกร : กรณีศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ สามารถแบ่งการทดลองเป็นดังนี้ การทดลองที่ 1 การศึกษาการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตในสุกรระยะรุ่น โดยสัตว์ทดลองใช้สุกร 3 สายพันธุ์ (พันธุ์ลาร์จไวท์, แลนด์เรซ, ดูร็อค) จำนวน 36 ตัว วางแผนการทดลองแบบทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบรูณ์ (Complete Randomized Design ; CRD) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ซ้ำๆ ละ 4 ตัว สามารถจัดเป็นทรีตเมนต์ดังนี้ ทรีตเมนต์ที่ 1 : กลุ่มควบคุม ไม่เสริมเอนไซม์ไฟเตส ทรีตเมนต์ที่ 2 : กลุ่มเสริมเอนไซม์ไฟเตส 0.5 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร ทรีตเมนต์ที่ 3 : กลุ่มเสริมเอนไซม์ไฟเตส 1.0 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร อาหารสัตว์ โดยผสมตามความต้องการของสุกรระยะรุ่น 18%CP วัตถุดิบหลักคือ มันหมักยีสต์ 12% CP และหัวอาหารสุกรสำเร็จ 20% CP การวางการทดลอง เพื่อศึกษาระดับการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารสุกรระยะรุ่น น้ำหนักเฉลี่ย 30 กิโลกรัม โดยอาหารและนำให้อย่างเต็มที่ ad libitum การเก็บข้อมูลและตัวอย่าง ประสิทธิภาพการผลิต บันทึกปริมาณการกินได้ทุกสัปดาห์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์เพื่อนำไปคำนวณ ปริมาณอาหารที่กิน (Feed Inteke : FI) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น(Weight gain) อัตราการแลกเนื้อ (Feed Conversion Ratio : FCR) อัตราการเจริญเติบโต (ADG) และนำข้อมูลการผลิตคำนวณต้นทุนค่าอาหาร เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มทางสถิติ Duncan s new multiple range test โดยโปรแกรม Sttistical Analysis System (SAS) (มนชัย,2544) การทดลองที่ 2 การศึกษาการเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp.ในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะขุนโดยมีสัตว์ทดลองใช้สุกร 3 สายพันธุ์ (เป็นลูกผสม พันธุ์ลาร์จไวท์,แลนด์เรซ,ดูร็อค) โดยวางแผนการทดลองแบบ (Complete Randomized Design ; CRD ) สามารถจัดเป็นทรีตเมนต์ดังนี้ ทรีตเมนต์ที่ 1 : กลุ่มควบคุม ไม่เสริมโปรไบโอติก ทรีตเมนต์ที่ 2 : กลุ่มเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp. 0.5 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร ทรีตเมนต์ที่ 3 : กลุ่มเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp. 1.0 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร อาหารสัตว์ผสมตามความต้องการของสุกรระยะขุ่น 16%CP วัตถุดิบหลัก คือ มันหมักยีสต์ 12% CP และหัวอาหารสุกรสำเร็จ 20%เปอร์เซ็นโปรตีน ดังนั้นในการจัดการสุกรระยะขุน 16 เปอร์เซ็นโปรตีนต้องผสมมันหมักยีสต์และหัวอาหารอัตตรา1:1 โดยอาหารและนำให้อย่างเต็มที่ ad libitum เพื่อศึกษาการเสริมโปรไบโอติกในอาหารสุกรในระยะขุนสามสาย(พันธุ์ลาร์จไวท์,แลนด์เรซ,ดูร็อค) น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 48 กิโลกรัม จำนวน 36 ตัว คละเพศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละ 3 ซำละๆ 4 ตัวโดย อาหารสัตว์ผสมตามความต้องการของสุกรระยะขุ่น 16%CP วัตถุดิบหลัก คือ มันหมักยีสต์ 12% CP และหัวอาหารสุกรสำเร็จ 20%เปอร์เซ็นโปรตีน การเก็บข้อมูลและตัวอย่าง หาประสิทธิภาพการผลิตบันทึกปริมาณการกินได้ทุกสัปดาห์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์เพื่อนำไปคำนวณปริมาณอาหารที่กิน (Feed Inteke: FI) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (Weight gain) อัตราการแลกเนื้อ (Feed Conversion Ratio: FCR) อัตตราการเจริญเติบโต(ADG)นำข้อมูลการผลิตคำนวณต้นทุนค่าอาหารและเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มทางสถิติ Duncan s new multiple range test โดยโปรแกรม Sttistical Analysis System (SAS) (มนชัย, 2544) ทดลองที่ 3 เพื่อจัดทำเอกสารการใช้สารเสริมในอาหารสุกรเผยแพร่ให้หน่วยงานปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอ, จังหวัด
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การศึกษาระดับการเสริมเอนไซม์และโปรไบโอติกในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะรุ่น- ขุุนที่เหมาะต่อการเลี้ยง การทดลองที่ 1 การศึกษาการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตในสุกรระยะรุ่น การทดลองที่ 2 การศึกษาการเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp.ในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะขุน
จำนวนเข้าชมโครงการ :517 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายธันวา ไวยบท บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย80
นายปิยลาภ มานะกิจ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ช่วยผู้วิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด