รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000483
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แบบจำลองค่าสุดขีดของอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Modeling of Extreme Value for the Rate of Dengue Hemorrhagic Fever in Nakhon Sawan
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แบบจำลองค่าสุดขีด, โรคไข้เลือดออก, ระดับการเกิดซ้ำ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :55000
งบประมาณทั้งโครงการ :55,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :10 ธันวาคม 2563
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตสาศตร์
กลุ่มวิชาการ :สถิติ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในปัจจุบันนี้โรคได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นและก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านทรัพยากรต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ทรัพยากรแรงงาน ทรัพยากรทางด้านสาธารณสุข (อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรค) โดยเฉพาะกับโรคอุบัติซ้ำที่พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี การระบาดของโรคเกิดจากปัจจัยหลัก 3 ประการ กล่าวคือ สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent) มนุษย์ (Host) และสิ่งแวดล้อม (Environment) ขาดความสมดุลซึ่งกันและกัน ซึ่งรูปแบบของการเกิดโรคจำแนกตามลักษณะของเวลาและสถานที่ ดังนี้ 1) โรคที่เกิดขึ้นอย่างประปราย (Sporadic disease) คือ โรคที่เกิดไม่บ่อยนัก นานๆครั้งจึงจะเกิดขึ้นในชุมชน เช่น โรคตาแดง หรือกรณีที่พบผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อบางชนิดที่ไม่เกิดบ่อยในชุมชน 2) โรคประจำถิ่น (Endemic disease) คือ โรคที่เกิดขึ้นบ่อย และเป็นประจำในท้องถิ่นนั้น เช่น โรคพยาธิใบไม้ตับ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโรคพยาธิปากขอ พบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย 3) โรคระบาด (Epidemic disease) คือ โรคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสถานที่หนึ่ง และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากอย่างผิดปกติ การระบาดของโรคโดยทั่วไปพิจารณาจาก จำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นเกินกว่าผลรวมของค่าเฉลี่ยของการป่วยในปีที่ผ่านมา และ 2 เท่าของค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นเกณฑ์ตัดสินว่ามีการระบาดเกิดขึ้น และ 4) โรคที่มีการระบาดแผ่กว้าง (Pandemic disease) คือ โรคที่แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ข้ามประเทศ หรืออาจระบาดไปทั่วโลก การคมนาคมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคแพร่กระจายได้อย่างกว้างขวางและรวมเร็ว เช่น อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น (ณัฐจาพร พิชัยณรงค์ และคณะ, 2549) ในประเทศไทยนั้นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขคงหนีไม่พ้นโรคไข้เลือดออก เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี และยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคไข้เลือดออกได้โดยเฉพาะ เพียงแต่ต้องให้ยารักษาไปตามอาการเท่านั้น จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคโดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 20 ตุลาคม 2561 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 43,433 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 66.38 ต?อ แสนประชากร เสียชีวิต 6 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.01 ต่อแสนประชากร อัตราส่วน เพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.95 กลุ?มอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ 15-24 ป? (24.02 %) 10-14 ป? (21.50 %) 25-34 ป? (12.47 %) จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ เชียงราย (181.20 ต่อแสนประชากร) นครนายก (172.13 ต่อแสนประชากร) นครสวรรค์ (158.90 ต่อแสนประชากร) แม่ฮ่องสอน (155.57 ต่อแสนประชากร) นครปฐม (150.58 ต่อแสนประชากร) ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ 88.25 ต่อแสนประชากร ภาคกลาง 72.72 ต่อแสนประชากร ภาคใต้ 64.82 ต่อแสนประชากร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 48.62 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2561) และจากการศึกษางานวิจัย พบว่ายุงพาหะโดยเฉพาะยุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ ในการทำให้โรคไข้เลือดออกแพร่ระบาด การปรับตัวและจำนวนประชากรยุงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประกอบกับผลกระทบของโลกร้อนทำให้มีขยายวงกว้างเข้าไประบาดในทุกพื้นที่ (Martens et al.,1997; Gubler, 2002; Hales et al.,2002) การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา เช่น สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้น จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรและพฤติกรรมของยุงหลายชนิด จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยตระหนักได้ว่าการคาดการณ์การเกิดโรคและภัยสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความแม่นยำในการคาดการณ์ และการทราบถึงลักษณะของข้อมูลทางด้านระบาดวิทยา เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการอธิบายการระบาดของโรค จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ใช้วิธีการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลากับข้อมูลทางด้านระบาดวิทยา มักจะพบปัญหาความคลาดเคลื่อนไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ซึ่งเมื่อพบข้อมูลที่มีจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่สูงมาก ๆ นั้น ข้อมูลในลักษณะดังกล่าวจะถูกมองว่าเป็นข้อมูลผิดปกติ เมื่อนำมาวิเคราะห์จึงถูกตัดออก แต่ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยสูงสุดนั้นเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการวางแผนเตรียมความพร้อมของทรัพยากรเพื่อป้องกันและรับมือกับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการนำทฤษฎีค่าสุดขีด (Extreme valve theory: EVT) มาประยุกต์ใช้กับข้อมูลลักษณะดังกล่าวด้วยการแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป (Generalized extreme value distribution: GEVD) จะสามารถคาดการณ์อัตราการป่วยสูงสุดและอัตราการเสียชีวิตสูงสุดได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาแบบจำลองค่าสุดขีดของอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งผลของการคาดการณ์ได้จะเป็นประโยชน์ต่อสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทำให้เกิดการเฝ้าระวังและทราบถึงโอกาสของการเกิดโรคในอนาคต นำไปสู่การวางแผนเตรียมการป้องกันและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสร้างแบบจำลองค่าสุดขีดของอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อหาระดับการเกิดซ้ำในรอบการเกิดซ้ำ 5 ปี 10 ปี และ 20 ปีสูงที่สุด 3. เพื่อนำผลการวิจัยและตัวแบบที่ได้จากการวิจัยไปใช้กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อการวางแผนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตพื้นที่ที่จะศึกษาวิจัย ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบจำลองค่าสุดขีดของอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีพื้นที่ที่จะศึกษาวิจัยทั้งหมด 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ หนองบัว โกรกพระ พยุหะคีรี ชุมแสง เก้าเลี้ยว แม่วงศ์ แม่เปิน ไพศาลี บรรพตพิสัย ท่าตะโก ชุมตาบง ตากฟ้า ลาดยาว และตาคลี 2. ขอบเขตด้านข้อมูลที่จะศึกษาวิจัย ในงานวิจัยนี้ ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลฑุติยภูมิของข้อมูลอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดนครสวรรค์ โดยผู้วิจัยใช้ข้อมูลอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกต่อประชากรแสนคนรายเดือนของแต่ละอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 15 อำเภอ ตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2562 จำนวน 120 เดือน จากกรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ผลการวิจัยและแบบจำลองค่าสุดขีดของอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งนำไปสู่การกำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อวางแผนเฝ้าระวังและเตรียมการป้องกันโรคไข้เลือดออก 2. ได้นำแนวทางที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปพัฒนาและต่อยอดให้กับข้อมูลด้านอื่น ๆ 3. ได้นำงานวิจัยที่ได้นี้ไปเผยแพร่ในวารสารระดับชาติ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ขั้นตอนการวิเคราะห์ค่าสุดขีดตัวแปรเดียว (Univariate Extreme Value Theory) ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการวิเคราะห์ค่าสุดขีดตัวแปรเดียวโดยแยกตามการแจกแจงของค่าสุดขีด รายละเอียดดังนี้ การแจกแจงค่าสุดขีดวางนัยทั่วไป (Generalized Extreme Value Distribution : GEV) มีขั้นตอนการวิเคราะห์ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การเลือกข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลรายเดือน นำมาพิจารณาค่าสูงสุดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า block maxima ใช้กับข้อมูลที่เป็นคาบเวลาที่สนใจ เช่น สัปดาห์ เดือนหรือปี เป็นต้น ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยพิจารณาค่าสูงสุดในแต่ละเดือน ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาประมาณค่าพารามิเตอร์โดยใช้วิธีภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood Estimation) ขั้นตอนที่ 3 หาการแจกแจงที่เหมาะสมโดยใช้ GEV - ถ้า xi = 0 จะเรียกว่า การแจกแจงกัมเบล (Gumbel Distribution) - ถ้า xi > 0 จะเรียกว่า การแจกแจงฟรีเชท (Frechet Distribution) - ถ้า xi < 0 จะเรียกว่า การแจกแจงไวล์บูล (Weibull Distribution) ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบการแจกแจงว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยใช้การทดสอบ Kolmogorov-Smirnov (K-S test) และ Diagnostic plots ในกรณีพบว่าการแจกแจงไม่เหมาะสมต้องทำการแปลงข้อมูลก่อน และทำตามขั้นที่ 2 อีกครั้งเพื่อการแจกแจงที่เหมาะสม ขั้นตอนที่ 5 หาระดับการเกิดซ้ำ (Return Level) ในแต่ละรอบปีการเกิดซ้ำ ของแต่ละการแจกแจงสำหรับพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย การแจกแจงพาเรโตวางนัยทั่วไป ( Generalized Pareto distribution : GPD) มีขั้นตอนการวิเคราะห์ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การเลือกข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลรายเดือน ใช้กับข้อมูลที่เป็นแบบรายเดือน จะพิจารณาข้อมูลที่เกินเกณฑ์ที่กำหนด หรือเรียกว่า Threshold ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาประมาณค่าพารามิเตอร์โดยใช้วิธีภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood Estimation) ขั้นตอนที่ 3 หาการแจกแจงที่เหมาะสมโดยใช้ GPD - ถ้า xi = 0 จะเรียกว่า การแจกแจงเอกโพเนนเชียล (exponential distribution) - ถ้า xi > 0 จะเรียกว่า การแจกแจงพาเรโต (Pareto distribution) - ถ้า xi < 0 จะเรียกว่า การแจกแจงแกมมา (Gamma Distribution) ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบการแจกแจงว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยใช้การทดสอบ Kolmogorov-Smirnov (K-S test) และ Diagnostic plots ในกรณีพบว่าการแจกแจงไม่เหมาะสมต้องทำการแปลงข้อมูลก่อน และทำตามขั้นที่ 2 อีกครั้งเพื่อการแจกแจงที่เหมาะสม ขั้นตอนที่ 5 หาระดับการเกิดซ้ำ (Return Level) ในแต่ละรอบปีการเกิดซ้ำ ของแต่ละการแจกแจงสำหรับจังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :355 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายชม ปานตา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด