รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000482
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การประยุกต์ใช้พอลิไดอะเซทติลีนรีเอเจนต์ในระบบโฟลอินเจคชันสเปกโทรโฟโตเมทริกอย่างง่ายสำหรับการวิเคราะห์ไอออนตะกั่ว
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Application of polydiacetylene reagents in simple flow injection spectrophotometric system for determination of lead ions
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :โฟลอินเจคชันอะนาไลซิส สเปกโทรโฟโตเมทริก ตะกั่ว พอลิไดอะเซทติลีน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :67000
งบประมาณทั้งโครงการ :67,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :10 ธันวาคม 2563
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
กลุ่มวิชาการ :เคมีวิเคราะห์
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีความเป็นพิษและส่งผลกระทบมากต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยอาการของพิษตะกั่วจะเกิดขึ้นได้กับอวัยวะหลายระบบ เช่น ระบบประสาท สมอง หัวใจ ปอด ตับ เป็นต้น และรวมถึงอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งกับอวัยวะต่างๆได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ที่อาจทำให้เกิดภาวะแท้งได้อีกด้วย สำหรับสาเหตุการได้รับสารตะกั่วนั้นส่วนใหญ่จะมาจากการบริโภค โดยการปนเปื้อนของตะกั่วจะพบได้จากในอาหาร น้ำ เครื่องดื่มและภาชนะที่ใช้ นอกจากนี้อาจได้รับสารตะกั่วจากการสัมผัสหรือสูดดมจากที่มีอยู่ในดินและอากาศ สำหรับวิธีการวิเคราะห์ตะกั่วในน้ำมีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันมากคือ Atomic absorption spectrophotometry (AAS) และ Inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-MS) ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำสูง แต่เครื่องมือมีราคาแพง ค่าใช้จ่ายการวิเคราะห์สูง และต้องมีความรู้ในการใช้งานเครื่องมือนี้ ทำให้ได้มีการพัฒนาเทคนิควิธีการอื่นๆ ในการวิเคราะห์ตะกั่ว เช่น วิธีอิเล็กโทรเคมิคอล (electrochemical method) และวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริก (spectrophotometric) ซึ่งวิธีดังกล่าวมานี้ใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน มีหลายขั้นตอนในการวิเคราะห์ตัวอย่าง ในการวิเคราะห์ตะกั่วโดยใช้ระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริกได้มีรายงานวิจัยที่อาศัยปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของตะกั่วกับรีเอเจนต์ต่างๆ เช่น 1,5-diphenylthiocarbazone, 2-(5-bromo-2-pyridylazo)-5-dimethylaminophenol, 4-(2-pyridylazo) resorcinol, iodide-ethylviolet-polyvinyl alcohol, dithizone, pyridyazo, thiazolylazo, reazurin และ arsenazo III เป็นต้น แต่ในระบบโฟลอินเจคชันนั้นยังไม่พบรายงานวิจัยใช้สารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนสำหรับการตรวจวัดตะกั่ว สารกลุ่มดังกล่าวสามารถตอบสนองกับตะกั่วด้วยการเปลี่ยนสีได้อย่างชัดเจน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะออกแบบระบบโฟลอินเจคชันอย่างง่ายร่วมกับเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ โดยอาศัยสารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนเป็นรีเอเจนต์สำหรับตรวจวัดตะกั่ว ข้อดีของการนำระบบโฟลอินเจคมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อเป็นการวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ สะดวก รวดเร็ว ใช้สารเคมีน้อย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และราคาถูกเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูง
จุดเด่นของโครงการ :ออกแบบระบบโฟลอินเจคชันอย่างง่ายร่วมกับเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ โดยอาศัยสารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนเป็นรีเอเจนต์สำหรับตรวจวัดตะกั่ว เพื่อเป็นการวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ สะดวก รวดเร็ว ใช้สารเคมีน้อย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และราคาถูกเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อออกแบบระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริกในการตรวจวัดตะกั่ว 2. เพื่อประยุกต์ใช้สารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนเป็นรีเอเจนต์ในระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริกในการตรวจวัดตะกั่ว 3. เพื่อนำสารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนกับโรงเรียนในชุมชน
ขอบเขตของโครงการ :การออกแบบระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริก ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริก เช่น อัตราการไหลของสารละลาย ปริมาตรของรีเอเจนต์ ความยาวของท่อส่วนผสมความยาวคลื่นในการตรวจวัด ความเข้มข้นของรีเอเจนต์ ศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือ เช่น ขีดจำกัดการวิเคราะห์ ช่วงการวิเคราะห์ ความไวในการวิเคราะห์ (sensitivity) และประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ตะกั่วในน้ำตัวอย่าง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริกในการตรวจวัดตะกั่ว 2. สามารถประยุกต์ใช้สารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนเป็นรีเอเจนต์ในระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริกในการตรวจวัดตะกั่ว 3. สามารถนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา เคมีเครื่องมือ เคมีวิเคราะห์ และโครงการวิจัย
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : สำหรับวิธีการวิเคราะห์ตะกั่วในน้ำมีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันมากคือ Atomic absorption spectrophotometry (AAS) และ Inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-MS) ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำสูง แต่เครื่องมือมีราคาแพง ค่าใช้จ่ายการวิเคราะห์สูง และต้องมีความรู้ในการใช้งานเครื่องมือนี้ ทำให้ได้มีการพัฒนาเทคนิควิธีการอื่นๆ ในการวิเคราะห์ตะกั่ว เช่น วิธีอิเล็กโทรเคมิคอล (electrochemical method) และวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริก (spectrophotometric) ซึ่งวิธีดังกล่าวมานี้ใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน มีหลายขั้นตอนในการวิเคราะห์ตัวอย่าง ในการวิเคราะห์ตะกั่วโดยใช้ระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริกได้มีรายงานวิจัยที่อาศัยปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของตะกั่วกับรีเอเจนต์ต่างๆ เช่น 1,5-diphenylthiocarbazone, 2-(5-bromo-2-pyridylazo)-5-dimethylaminophenol, 4-(2-pyridylazo) resorcinol, iodide-ethylviolet-polyvinyl alcohol, dithizone, pyridyazo, thiazolylazo, reazurin และ arsenazo III เป็นต้น แต่ในระบบโฟลอินเจคชันนั้นยังไม่พบรายงานวิจัยใช้สารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนสำหรับการตรวจวัดตะกั่ว สารกลุ่มดังกล่าวสามารถตอบสนองกับตะกั่วด้วยการเปลี่ยนสีได้อย่างชัดเจน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะออกแบบระบบโฟลอินเจคชันอย่างง่ายร่วมกับเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ โดยอาศัยสารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนเป็นรีเอเจนต์สำหรับตรวจวัดตะกั่ว ข้อดีของการนำระบบโฟลอินเจคมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อเป็นการวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ สะดวก รวดเร็ว ใช้สารเคมีน้อย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และราคาถูกเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ถ้านำสารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนเป็นรีเอเจนต์สำหรับตรวจวัดตะกั่ว ประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบโฟลอินเจคชันนั้นจะทำให้การตรวจวิเคราะห์ตะกั่วได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีความถูกต้องมากขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.ทบทวนและสืบค้นเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตะกั่วในน้ำด้วยระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริก 2.วางแผนและดำเนินการออกแบบระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริก 3.ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริก เช่น อัตราการไหลของสารละลาย ปริมาตรของรีเอเจนต์ ความยาวของท่อส่วนผสมความยาวคลื่นในการตรวจวัด ความเข้มข้นของรีเอเจนต์ 4.ศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือ เช่น ขีดจำกัดของการตรวจวัด ค่าความถูกต้อง ค่าความแม่นยำในการวิเคราะห์ ช่วงความเข้มข้นที่ใช้ในการวิเคราะห์ และ ความไวในการวิเคราะห์ (sensitivity) 5.ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ตะกั่วในน้ำตัวอย่าง 6.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของระบบโฟลอินเจคชันอะนาไลซิสร่วมกับวิธีสเปกโทรโฟโตเมทริกในการตรวจวัดตะกั่วในน้ำโดยเปรียบเทียบผลวิเคราะห์กับวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ 7.เขียนรายงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :ออกแบบระบบโฟลอินเจคชันอย่างง่ายร่วมกับเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ โดยอาศัยสารกลุ่มพอลิไดอะเซทติลีนเป็นรีเอเจนต์สำหรับตรวจวัดตะกั่ว เพื่อเป็นการวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ สะดวก รวดเร็ว ใช้สารเคมีน้อย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และราคาถูกเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูง
จำนวนเข้าชมโครงการ :136 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายอภิชาติ บุญมาลัย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวธนัชพร พัฒนาธรชัย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด