รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000481
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากัด กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The guidelines for promotion and Developing of Fighting Fish culture : a case study Siamese Fighting Fish Farmers Group, Bang Muang Sub-district, Mueang District, Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การส่งเสริมและพัฒนา (promotion and Developing ) เกษตรกรเพาะเลี้ยงปลากัด (Siamese Fighting Fish Farmers Group) จังหวัดนครสวรรค์ (Nakhon Sawan Province)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :100000
งบประมาณทั้งโครงการ :68,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 ธันวาคม 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :10 ธันวาคม 2564
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :ทรัพยากรประมง
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปลากัดปลากัดไทย (Betta splendens Regan, 1910) เป็นปลาสวยงามและเป็นปลาที่ใช้เพื่อเกมกีฬาชนิดพื้นเมืองของไทย การผลิตปลากัดเพื่อการค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการส่งออกปลาสวยงามเป็นอันดับหนึ่ง โดยในปี 2561 มีการส่งออกปลากัดเฉลี่ยเดือนละประมาณ 1.6 ล้านตัว คิดเป็นมูลค่าเดือนละประมาณ 14 ล้านบาท (ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, 2561) จังหวัดนครสวรรค์ ถือเป็นแหล่งเลี้ยงปลากัดขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ และปลากัดได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสันที่สวยงามและหลากหลายขึ้น เรียกว่า “ปลากัดหม้อ” นิยมเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กและแคบ เช่น ขวดโหล ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ของความเป็นปลาสวยงามพร้อมกับดึงสายพันธุ์ปลากัดหลายสายพันธุ์ เช่น ปลากัดจีน ที่มีเครื่องครีบยาว หรือปลากัดแฟนซี ที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม ปลากัดคราวน์เทล หรือ ปลากัดฮาร์ฟมูน เป็นต้น มาผสมพันธุ์แบบไขว้เพื่อหาพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะสวยงามตามความชอบปริมาณอาหารที่ให้ เกษตรกรในเขตตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีผู้เพาะเลี้ยงปลากัดมากกว่า 60 ราย มีการผลิตลูกปลามากกว่า 2,000 บ่อ ปลาที่มีราคาจำหน่าย ปลาเกรดเอ ตัวละ 300 บาท ขนาดรองลงมา ตัวละ 200 บาท ตลาดขายส่งอยู่ที่ตลาดนัดจตุจักร มีทั้งแบบมารับเอง ไปส่ง หรือบางครั้งไปขายเอง ตลาดปลากัดสวยงามยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากนิยมเลี้ยงกันแพร่หลาย โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่สนใจและมีกำลังซื้อปลามาก แต่ส่วนมากประสบปัญหาในเรื่อง การเพาะและการอนุบาลลูกปลามีอัตราการรอดตายต่ำ อาหารมีชีวิตไม่เพียงพอ โรคและการรักษาโรคปลา ความรู้ทางด้านธุรกิจและการขายต่างประเทศ เป็นต้น ดังนั้น จึงเห็นว่าการศึกษาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลากัด มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการในการพัฒนาและส่งเสริม นำไปแก้ไขปรับปรุง กระบวนการผลิตเพื่อให้ฟาร์มเข้าสู่ระบบที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสร้างความมั่นใจในด้านมาตรฐานการผลิตที่สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้การเพาะเลี้ยงปลากัดที่สำคัญเพื่อเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดกลุ่มอื่น ๆ ทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และใกล้เคียง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลากัด 2.เพื่อศึกษาสภาพการเพาะเลี้ยงปลากัดและปัญหาในการเพาะเลี้ยงปลากัด 3.เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและการแก้ปัญหาในการเพาะเลี้ยงปลากัด 4.เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมและพัฒนาแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรในอนาคต 5.กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดบางม่วง ได้ทราบปัญหาและแนวทางการพัฒนา เพื่อหน่วยงานภาครัฐได้ช่วยเหลือในอนาคต
ขอบเขตของโครงการ :เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนากลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลากัด 2. ทราบปัญหาของและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดในจังหวัดนครสวรรค์ 3. ได้แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากัด เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลากัดต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ปลากัดมีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens (Nelson, 1994) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง เป็นต้น อยู่ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้น ๆ ซึ่งช่วยลดอันตรายจากนักล่าที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึก (Winemiller and Leslie, 1992) แหล่งน้ำธรรมชาติที่ปลากัดอาศัยมีพีเอชในช่วง 5.3–5.8 อุณหภูมิ 27.0–31.5 องศาเซลเซียส และมีความลึก 2.0–9.4 เซนติเมตร (Jaroensutasinee and Jaroensutasinee, 2001) ลักษณะที่สำคัญของปลากัดคือ มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนอกจากเหงือก เรียกว่า labyrinth organ (Smit, 1954; Whitern, 1962) ทำให้ปลากัดสามารถอาศัยในน้ำมีไม่มีออกซิเจน สามารถเลี้ยงในภาชนะที่แคบ ๆ ได้ ปลากัดไทยที่เจริญเติบโตเต็มที่ โดยปลาเพศผู้จะมีขนาดใหญ่ สีสันสวยงามและครีบที่ยาวกว่าเพศเมีย ขณะที่เพศเมียมีลักษณะทั่วไปที่สังเกตได้ คือ มีสีจางครีบสั้น ขนาดเล็ก นอกจากนี้ เมื่อปลาเพศเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมีลักษณะที่ปรากฏ คือ ขอบเหงือกมีสี แดงเข้ม มีลายชะโดเกิดขึ้นในแนวขวางข้างลำตัวอวัยวะช่วยวางไข่ (ovipositor) มีสีขาวขุ่น และส่วนท้องมีลักษณะบวมเหมือนคนท้อง (ชัย และบุญชัย,2548; Jaroensutasinee and Jaroensutasinee, 2001) ในการเพาะพันธุ์ปลากัดนิยมเทียบคู่เพื่อให้มีความพร้อมของไข่และน้ำเชื้อ ซึ่งปลากัดโดยปกติปลาเพศเมียจะสร้างไข่และวางไข่ได้ทุก 2 สัปดาห์ การผสมพันธุ์จะเริ่มเมื่อปลาเพศผู้สร้างหวอดเสร็จ โดยปลาเพศผู้จะพองตัวกางครีบ และไล่ต้อนปลาเพศเมียให้ไปอยู่ใต้หวอด รัดปลาเพศเมีย หากปลาเพศเมียมีไข่ที่เจริญเต็มที่พร้อมที่จะวางไข่ ไข่ก็ จะหลุดออกมาทางช่องอวัยวะสืบพันธุ์ ขณะเดียวกันปลาเพศผู้ก็จะปล่อยน้าเชื้อเข้าผสม เมื่อไข่จมลงสู่ก้น ภาชนะที่ใช้เพาะพันธุ์ ปลาเพศผู้ก็จะเก็บไข่และอมไว้ จนเต็มปาก และว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่ไว้ในหวอด พร้อมกับพ่นฟองอากาศใหม่ติดไว้ใต้หวอด หลังจากนั้นจึงว่ายน้ำลงไปอมไข่ที่เหลืออยู่ขึ้นมาเก็บไว้ในฟองอากาศจนหมด สำหรับปลาเพศเมียหลังจากวางไข่แล้ว ก็จะลอยตัวนิ่งและพลิกตัวว่ายน้ำเป็นระยะ พฤติกรรมดังกล่าวจะเกิดขึ้นหลายครั้งจนกว่าจะวางไข่หมดระยะเวลาที่ใช้ในการวางไข่ของปลากัดจะแตกต่างกันไปตามขนาดของเพศเมีย ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 1–6 ชั่วโมง เมื่อสิ้นสุดการวางไข่ ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่ และจะไล่ต้อนปลาเพศเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะ ดังนั้นผู้เพาะเลี้ยงปลากัดจะต้องนำปลาเพศเมียออกจากภาชนะเพาะพันธุ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศเมียกินไข่ที่ผสมแล้ว และปล่อยให้ปลาเพศผู้ดูแลไข่ต่อไปประมาณ 2 วัน แล้วจึงแยกปลาเพศผู้ออก (วันเพ็ญ และคณะ, 2531) ปลากัดเพศผู้ที่ทำหน้าที่เฝ้าหวอดจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้บุกรุกในระดับที่แตกต่างกัน เพื่อป้องกันการทำลายไข่และลูกปลาแรกฟัก (Jaroensutasinee and Jaroensutasinee, 2003) สำหรับอาหารมีชีวิตที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงปลากัดวัยอ่อน คือการให้ไข่แดงในตอนเช้าและให้อินฟิวโซเรียในตอนเย็นทำให้มีอัตราการรอด 83 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าการเลี้ยงด้วยไรแดงร่วมกับไข่แดง (68 เปอร์เซ็นต์) หรือการเลี้ยงด้วยไรแดงร่วมกับอินฟิวโซเรีย ไรแดง หรือไข่แดงเพียงอย่างเดียว (66 เปอร์เซ็นต์) สำหรับการเลี้ยงปลากัดวัยอ่อนแบบหนาแน่นในตู้กระจก การให้ไรแดงในตอนเช้าร่วมกับไข่แดงในตอนเย็นจะทำให้มีอัตราการรอดสูงถึง 81.5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงปลากัดประกอบด้วยอาหารมีชีวิตซึ่งได้จากการเพาะเลี้ยง หรือเก็บจากแหล่งธรรมชาติและอาหารสังเคราะห์ อาหารมีชีวิตที่ใช้เลี้ยงปลากัดโดยทั่วไป ได้แก่โรติเฟอร์ (rotifer) ไรแดง (water fleas) ไรสีน้ำตาล (brine shrimp) หนอนแดง (blood worm) และลูกน้ำ (mosquito larva) เป็นต้น (ธวัช, 2530) เช่นเดียวกับเกษตรกรกลุ่มเพาะเลี้ยงปลากัดบางม่วง นครสวรรค์ ส่วนมากอาหารมีชีวิตที่นิยมใช้คือ ไรแดง ซึ่งนิยมไปช้อนตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทำให้ปริมาณไม่เพียงพอ มีเกษตรกรบางรายผลิตไรแดงใช้เองภายในฟาร์ม แต่มีปัญหาสำหรับเกษตรกรบางรายไม่มีพื้นที่ในการสร้างบ่อเพื่อทำอาหารมีชีวิต จึงทำให้การผลิตลูกปลาไม่ต่อเนื่องและมีอัตราการรอดตายต่ำ และอีกปัญหาที่พบคือโรคที่เกิดขึ้นทำให้ปลาตาย อาจเนื่องจากมีหลายสาเหตุ เช่น การเตรียมบ่อ น้ำที่ใช้เลี้ยง รวมถึงอาหารที่ช้อนมาจากแหล่งธรรมชาติอาจไม่ได้ทำการฆ่าเชื้อให้สะอาดก่อนนำมาเป็นอาหารปลากัด เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับ Monvises et al. (2009) ที่รายงานว่ากระบวนการเพาะเลี้ยงและการจัดการฟาร์มยังเป็นแบบพื้นบ้าน เกษตรกรใช้ความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาโดยขาดหลักอ้างอิงทางวิชาการ ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ และไม่สามารถควบคุมคุณภาพของการผลิตได้ ดังนั้นผู้วิจัย จึงสนใจศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากัด กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดตำบลบางม่วง อำเภอเมือง ในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้การเพาะเลี้ยงปลากัดของกลุ่มเกษตรกรดังกล่าวมีความยั่งยืนต่อไป
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.วิธีการดำเนินการวิจัย การศึกษาได้กำหนดระเบียบการศึกษาโดยการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นหลัก เพื่อนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขใช้ในการวิเคราะห์อ้างอิงนัยสำคัญทางสถิติ และการใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามมาสนับสนุนเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้มากยิ่งขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการศึกษา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้ 1.1 ประชากร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดในตำบลบางม่วงจังหวัดนครสวรรค์ 1.2 เครื่องมือในการศึกษา 1) ชนิดของเครื่องมือ การศึกษาครั้งนี้ใข้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีการสัมภาษณ์ 5 ขั้นตอนคือ ตอนที่ 1 ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัด ตอนที่ 2 สภาพการเพาะเลี้ยงปลากัดของเกษตกร ตอนที่ 3 สภาพการได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากัดของเกษตรกร ตอนที่ 4 สภาพปัญหาการเพาะเลี้ยงปลากัดของเกษตกร ตอนที่ 5 สภาพความต้องการรับการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาธุรกิจของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัด 2) ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ การสร้างเครื่องมือในการศึกษามีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 2.1) ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา ขอบเขตการศึกษา วรรณกรรม และผลการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์ 2.2) จัดทำแบบสัมภาษณ์ ซึ่งปะกอบด้วยคำถามและคำตอบที่ได้จากเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการศึกษา 2.3) นำแบบสัมภาษณ์ให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ เพื่อขอคำชี้แนะและปรับปรุงแก้ไข 2.4) ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ทำการทดสอบเครื่องมือ (pre-test) โดยนำแบบสัมภาษณ์ไปทดสอบกับประชากรที่ไม่ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย เพื่อ พิจารณาความยากง่ายและความเหมาะสมของภาษา และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ให้สัมภาษณ์ เพื่อความสมบูรณ์ของแบบสัมภาษณ์และข้อมูลที่ต้องการ 2.5) ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบสัมภาษณ์ที่ยังไม่สมบูรณ์ และให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจาณาตรวจสอบก่อนนำไปเก็บรวบรวมข้อมูล 1.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ประสานกับหน่วยงานเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ และ จัดเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ประมงจังหวัด ประมงอำเภอในพื้นที่ นัดหมายเกษตรกรเพื่อรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์พบกันระหว่างเกษตกรและผู้สัมภาษณ์ โดยใช้ผู้วิจัยและนักศึกษาจำนวน 4 คนเป็นผู้สัมภาษณ์ ในขั้นตอนของการรวบรวมสภาพปัญหาของเกษตรกรอาจจำเป็นต้องมีการ KM เพื่อสรุปปัญหาต่าง ๆ อาจมีการลงมือปฏิบัติเพื่อทดลองและแก้ปัญหาให้เกษตรกรเบื้องต้น และ KM สรุปปัญหาและการแก้ไขปัญหารวมทั้งการพัฒนาในด้านความรู้ต่าง ๆ 1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรจนครบตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างแล้ว ทำการตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของข้อมูลในแบบสัมภาษณ์แต่ละชุด จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธทางสถิติ โดยใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของค่าตัวแปรบางตัวอาจจมีการเปลี่ยนรูปแบบ หรือการตัดกลุ่มเพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล 2. สถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดตำบลบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1679 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจามรี เครือหงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวจงดี ศรีนพรัตน์วัฒน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวสุรภี ประชุมพล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายปริญญา พันบุญมา บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด