รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000479
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การบริหารจัดการสินค้าคงคลังภายในฟาร์มสุกรขนาดใหญ่
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Inventory Management Within Large Pig Farm.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง, ความสูญเปล่า, ต้นทุน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :100000
งบประมาณทั้งโครงการ :100,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 เมษายน 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :31 มีนาคม 2563
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมอุสาหกรรมวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจจะเพิ่มยอดขายแล้วเมื่อจะต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการกำหนดราคาขายสินค้า รวมถึงการเพิ่มผลกำไรให้แก่ธุรกิจ ซึ่งโดยปกติแล้วต้นทุนการดำเนินงานธุรกิจนั้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และต้นทุนแปรผัน (Variable Cost) เช่น เดียวกับในธุรกิจทางด้านปศุสัตว์ที่เกษตรกรต้องมีความรู้ในการบริหารจัดการต้นทุนในการดำเนินงานทางธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันนั้นเกษตรกรได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นต้นทุนแฝง ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจไม่มองว่าเป็นต้นทุนในการดำเนินงานนั่นก็ คือ ต้นทุนสินค้าคงคลัง เนื่องจากสินค้าคงคลังถูกมองว่าเป็นวัตถุดิบหรือเป็นสินค้าที่จะต้องถูกนำไปใช้สอยในกระบวนการผลิตอยู่แล้ว จึงไม่เห็นความจำเป็นในการบริหารจัดการหรือไม่ได้มีความใส่ใจในการบริหารจัดการต้นทุนสินค้าคงคลังนั้น ๆ นอกจากต้นทุนสินค้าคงคลังยังเป็นต้นทุนแฝงแล้ว การบริหารสินค้าคงคลังที่ไม่เหมาะสมนั้นอาจส่งผลต่อความสูญเสียในด้านต่าง ๆ เนื่องจากสินค้าคงคลังสามารถปกปิดความสูญเปล่าในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น การทำงานโดยไม่จำเป็น การเคลื่อนไหวที่มากเกินไป หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือวัตถุดิบที่ไม่จำเป็น ดังนั้นในการบริหารสินค้าคงคลังจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ ในธุรกิจของการเลี้ยงสุกรขุนในฟาร์มขนาดใหญ่นั้น จำเป็นต้องมีวัตถุดิบหลากหลายประเภทที่ใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งในบางครั้งวัตถุดิบบางประเภทมีต้นทุนที่สูงและมีความเสี่ยงในการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบสูง ซึ่งเมื่อมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังไม่ดีแล้วย่อมก่อให้เกิดปัญหาในด้านต้นทุน แก่เกษตรกรผู้เลี้ยง ผลกำไรที่ควรได้กับรถลง ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ให้แก่ธุรกิจการเลี้ยงสุกรในไฟล์ขนาดใหญ่เพื่อลดต้นทุนในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และมีแนวทางในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังอย่างเหมาะสม
จุดเด่นของโครงการ :- มีระบบติดตามการบริหารสินค้าคงคลัง - สามารถลดต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อลดต้นทุนในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังภายในฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ 2. เพื่อให้ได้แนวทางในการปฏิบัติในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังอย่างเป็นระบบ
ขอบเขตของโครงการ :ในการศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มุ่งศึกษาค้นคว้าเพื่อศึกษากระบวนการวิธีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของฟาร์มสุกรขุนขนาดใหญ่ โดยมีขอบเขตดังนี้ 1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง • ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรขุนในฟาร์มขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณสุกรมากกว่า 5,000 ตัว • ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรขุนในฟาร์มขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณสุกรมากกว่า 5,000 ตัว 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ โดยมุ่งเน้นไปที่ • แนวคิดในการบริหารสินค้าคงคลัง ของเจ้าของฟาร์มสุกรขุนขนาดใหญ่ • การเลือกสินค้าคงคลังขึ้นมาบริหารจัดการ ของเจ้าของฟาร์มสุกรขุนขนาดใหญ่ • กระบวนการบริหารสินค้าคงคลัง ของเจ้าของฟาร์มสุกรขุนขนาดใหญ่ • แนวทางในการแก้ไขปัญหาในการบริหารสินค้าคงคลัง ของเจ้าของฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ • ดำเนินงานและแก้ไขปัญหาตามทฤษฎีการบริหารงานสินค้าคงคลัง • ไม่คำนึงถึงวิธีการบริหารงานสินค้าคงคลังในกรณีที่เกิดภาวะผิดปกติ เช่น ภัยพิบัติ โรคระบาด เป็นต้น 3. ขอบเขตด้านเวลา • ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ตั้งแต่ 1ตุลาคม 2561 ถึง 30กันยายน 2562
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้แนวทางในการลดต้นทุนในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ 2. ได้แนวทางในการปฏิบัติในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของฟาร์มสุกรขนาดใหญ่
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การนำความรู้หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินค้าคงคลังมา ประยุกต์ใช้ในระบบการจัดการ และบริหารคลังสินค้าภายในฟาร์มสุกร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาและปรับปรุงฟาร์มสุกร ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. ศึกษาทฤษฎีจัดการคลังสินค้า (Inventory Management) 2. ศึกษาทฤษฎีการพยากรณ์ความต้องการใช้สินค้าคงคลัง (Forecasting demand) 3. ศึกษาทฤษฎีการสั่งซื้อแบบประหยัด (Economic Order Quantity :EOQ) 4. ศึกษาทฤษฎีการหาจุดสั่งซื้อสินค้าคงคลังใหม่ (Reorder Point) 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. สามารถบริหารติดตามความต้องการสินค้าคงคลัง 2. สามารถค้นหาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของความต้องการ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ดำเนินการศึกษาวิธีการปฏิบัติงานในด้านการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ 2. ทำการคัดเลือกสินค้าคงคลังที่มีผลกระทบสูงต่อโครงสร้างต้นทุนในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง โดยใช้หลักการของพาเรโตในการคัดเลือก 3. ดำเนินงานเก็บข้อมูลของสินค้าคงคลังที่ถูกเลือกขึ้นมาบริหารจัดการ โดยการพิจารณาข้อมูลจากอดีต รวมถึงความสำคัญและผลกระทบของสินค้าคงคลังนั้น 4. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลของสินค้าคงคลังที่ถูกเลือก 5. ทำการหาปริมาณความต้องการของสินค้าคงคลังที่ถูกเลือก ระยะเวลาในการนำส่งสินค้า จุดสั่งซื้อสินค้าคงคลังใหม่ 6. ดำเนินการสร้างสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ถูกเลือก 7. นำสมการทางคณิตศาสตร์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้จริงในงานบริหารจัดการสินค้าคงคลัง 8. ตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมจากผลที่ได้จากการดำเนินงานจริง 9. วิเคราะห์และอภิปรายผลที่ได้จากการดำเนินงานจริง 10. จัดทำรูปเล่มและเผยแพร่ความรู้ลงในบทความทางวิชาการหรือการประชุมทางวิชาการ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมาตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการทำงานของฟาร์มสุกร ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เพื่อที่จะนำข้อมูลในอดีตเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในด้านการพยากรณ์จำนวนสุกรตายเพื่อหาความต้องการอาหาร การหาจุดสั่งซื้อที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน การลดผลกระทบจากเหตุการณ์อาหารเหลือและขาด ซึ่งช่วยให้การบริหารสินค้าคงคลังเป็นไปได้ด้วยความถูกต้องแม่นยำ และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการเลี้ยงสุกรโดยตรง ทั้งนี้เนื้อหาที่จะกล่าวในบทนี้จะเป็นการสรุปภาพรวมทั้งหมดที่เกิดขึ้น และอภิปรายผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละประเด็น รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังจะชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการนำผลที่ได้ไปใช้เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการขยายผลในการทำวิจัยต่อไป
จำนวนเข้าชมโครงการ :572 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด