รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000476
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :สิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน : ศึกษากรณี การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Farmers Rights the management Variety Sustainable : A case Study participation of Community In area NakhonSawan And UthaiThani
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :สิทธิเกษตรกร , การจัดการพันธุ์พืช
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชานิติศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :325000
งบประมาณทั้งโครงการ :325,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขานิติศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :กฎหมายมหาชน
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพมากมายกระจัดกระจายอยู่ตามถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งทางบกและทางน้ำ มีพรรณไม้ที่ศึกษาแล้วประมาณ 20,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์ประมาณ12,000 ชนิด นักวิชาการคาดคะเนว่าน่าจะมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมาย อาจมีถึง100,000 ชนิด ที่ยังไม่ได้มีการนำมาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลกันอย่างจริงจัง และสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันนั้น อาจมีจำนวนไม่น้อยที่มีคุณค่าทางด้านทรัพยากรพันธุกรรม ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นยาและอาหาร และผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ได้ (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,2553: 18) จากการสำรวจและประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพคาดการณ์ว่าประเทศไทยมีชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตถึงร้อยละ 10 ของชนิดพันธุ์ ที่ถูกค้นพบแล้วทั่วโลก และยังมีชนิดพันธุ์ที่ไม่ถูกค้นพบอีกเป็นจำนวนมาก (สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557) และจากการสำรวจพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย ประจำปี 2558 พบว่ามีพื้นที่ป่าทั้งหมดจำนวน 102,240,981.88 ไร่ คิดเป็นร้อยละ31.60 ของพื้นที่ประเทศ (ข้อมูล กรมป่าไม้.เข้าถึงhttp://forestinfo.forest.go.th/Content.aspx?id=10284 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561) แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต ทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และยังเป็นกลจักรสำคัญในการศึกษา วิจัย พัฒนา สร้างนวัตกรรมและผลิตสินค้าออกสู่ตลาด อันจะนำไปสู่ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมวิถีชีวิตของมนุษย์ มีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยแหล่งน้ำ ป่าไม้ และระบบนิเวศต่างๆ ที่ประกอบด้วย พืชและสัตว์ เพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว แหล่งผลิตอากาศและความชุ่มชื้นเสมอมา แม้กระทั่งในปัจจุบันแหล่งธรรมชาติเหล่านั้นก็ไม่อาจอยู่โดยลำพังโดยปราศจากการดูแลรักษาและคุ้มครองโดยมนุษย์ ดังนั้น การดำรงอยู่ของมนุษย์และระบบนิเวศจึงมีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและเกื้อกูล ซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่นจนกลายเป็นวิถีชีวิตที่สืบเนื่องยาวนาน ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาได้มีการบัญญัติรับรองคุ้มครองให้บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล และยั่งยืน เสมอมา จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ฉบับปัจจุบัน ยังคงหลักการรับรองและคุ้มครอง ให้ชุมชนมีสิทธิในการจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน บทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารัฐได้ให้การยอมรับถึงความมีตัวตนของชุมชนว่ามีสิทธิร่วมกันกับรัฐในการดูแล รักษาและใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของมนุษย์ การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองให้ชุมชนมีสิทธิอนุรักษ์และมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่มาของแนวความคิดตามหลักทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติที่ยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิติดตัวมาแต่กำเนิด สิทธิดังกล่าวถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกเพศ ฐานะ ชาติกำเนิด หรือเผ่าพันธุ์ที่ต้องมีโดยเท่าเทียมกันได้แก่ สิทธิในชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สิน ที่สมควรจะต้องได้รับความคุ้มครองจากรัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพมีค่าต่อมนุษย์มากมายมหาศาล แม้จะถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่เนื่องจากชุมชนเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับทรัพยากรเหล่านั้นโดยตรง หากเมื่อใดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายหรือเกิดความเสียหาย ชุมชนย่อมเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง นอกจากนี้ควรถือว่าทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นทรัพยากรร่วมหรือทรัพย์สินร่วมกัน ของชุมชน ที่ควรมอบหน้าที่บางส่วนให้กับชุมชนในการจัดการ ดูแล เข้าถึงและปกป้องผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรประเภทต่างๆ ภายในชุมชนด้วยตนเองเนื่องจากชุมชนย่อมจัดการตนเองได้ดีที่สุด ในความเป็นจริงแล้วชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น สิทธิของชุมชนกับสิทธิของเกษตรกรจึงเป็นสิทธิเดียวกัน หากกฎหมายให้การรับรองสิทธิชุมชนมากขึ้นเพียงใดย่อมเป็นการยอมรับและรับรองสิทธิเกษตรกรให้มากขึ้นเพียงนั้น ในความร่วมมือระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biodiversity: CBD) อนุสัญญาฯ ได้เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพภายรัฐต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม นอกจากนี้ยังเป็นการให้การรับรองสิทธิอธิปไตยเหนือทรัพยากรชีวภาพของตน ซึ่งหมายความว่า การเก็บรวบรวม ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพจะกระทำได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าของทรัพยากรก่อน แต่เนื่องจากการที่กฎหมายสิทธิบัตรได้เปิดโอกาสให้สิทธิแก่บุคคลผู้ทำการปรับปรุงพันธุกรรมพืชใหม่สามารถจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ ผู้ทรงสิทธิบัตรในพันธุกรรมพืชที่ถูกปรับปรุงจะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการขาย จำหน่าย นำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำไปขยายพันธุ์อันเป็นการแสวงหาประโยชน์จากพันธุกรรมพืชที่ถูกปรับปรุงนั้นได้อย่างเสรี ตามที่บัญญัติในมาตรา 33 (4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 สำหรับการใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืชที่ถูกปรับปรุงของเกษตรกรจะมีสิทธิใช้ได้ เพียงภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดเท่านั้น เช่น การเพาะปลูกหรือขยายพันธุ์สำหรับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครองให้เกษตรกรสามารถนำไปเพาะปลูกหรือขยายพันธุ์ได้ไม่เกินสามเท่าของปริมาณที่ได้มา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วพันธุกรรมพืชสายพันธ์ใหม่ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรมีที่มาจากทรัพยากรพันธุ์พืชภายในชุมชนที่ถูกนำไปต่อยอดนั่นเอง ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมการเกษตรไทยดั้งเดิมที่เกษตรกรควรมีสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างน้อยที่สุด 2 ประการ คือสิทธิของเกษตรกรในการเก็บรักษาสายพันธุ?พืชเอาไปปลูกต่อในไร?นาของตนเอง และสิทธิที่จะแลกเปลี่ยน แจกจ่าย หรือซื้อขายพันธุ?พืชกันระหว่างเกษตรกรกับเกษตรกรหรือระหว่างชุมชนกับชุมชน (ชยานันท? สังขสุวรรณ. 2551.) ดังนั้น การถูกจำกัดสิทธิในการจัดการและใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชทีเคยมีอยู่ตามธรรมชาติ ให้ลดน้อยลง จึงไม่ต่างจากการถูกโจรกรรมทางชีวภาพ ที่เป็นการกระทบสิทธิเกษตรกรที่มีต่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพในชุมชน จะเห็นได้ว่า จากกรณีข่าวบริษัทญี่ปุ่นยื่นเสนอจดสิทธิบัตรกระท่อม การจดสิทธิบัตรดังกล่าว นอกจากญี่ปุ่น จะได้รับสิทธิบัตรจำนวน 3 สิทธิบัตร คือ สิทธิบัตรสหรัฐ US patent 8247428 เมื่อปี 2555 สิทธิบัตรญี่ปุ่น patent 5308352 เมื่อปี 2556 และสิทธิบัตรสหรัฐ US patent 8648090 เมื่อปี 2557 แล้ว ขณะนี้ มหาวิทยาลัยชิบะ ยังได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรผ่านสนธิสัญญา ความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT เพื่อให้มีผลในประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นภาคีในสนธิสัญญาดังกล่าว 117 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยสิทธิบัตร (ผู้จัดการรายวัน. ค้นจากhttp://www.manager.co.th/Weekend/ViewNews.aspx?NewsID=9590000090948 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561) เบื้องหลังการจดสิทธิบัตรของญี่ปุ่นเกิดขึ้นจากงานศึกษาวิจัยของหัวหน้าคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิบะ และมหาวิทยาลัยโจไซของญี่ปุ่นซึ่งร่วมทำโครงการวิจัยสาร กลุ่มอัลคาลอยด์ในพืชกระท่อมของไทยร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชื่อดัง ในประเทศไทย (ฝ่ายข้อมูล มูลนิธิชีววิถี. http://www.biothai.net/node/30500 เข้าถึงวันที่ 19 กันยายน 2561) หรือ กรณีคัดค้านจดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิ ที่มีการเปิดช่องให้บรรษัท ยักษ์ข้ามชาติยึดครองฐานทรัพยากรไทย เจริญ คัมภีร กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศ ฐานทรัพยากรเขตร้อน ทรัพยากรชีวภาพเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของสังคมไทย การจดสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต เช่น การจดสิทธิบัตรยีนของข้าวหอมมะลินั้น เป็นการแปรรูปทรัพยากรพันธุกรรมของชาวนาและของประเทศให้เป็นทรัพย์สินเอกชน อันเป็นกระบวนการทำลายรากเหง้าทางวัฒนธรรม เป็นการยกสิทธิของคนทั้งแผ่นดินให้เป็นของหน่วยงานบางหน่วยงาน (ทีมข่าวผู้จัดการ online จากhttp://www.manager.co.th/ViewNews.aspx?NewsID=9520000075174, เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561) จากกรณีข้างต้นมีความชัดเจนว่าปัญหาเกษตรกรผู้ด้อยโอกาสถูกเอารัดเอาเปรียบโดยไม่เป็นธรรมจากนักปรับปรุงพันธุกรรมพืชหรือผู้ที่กุมความได้เปรียบทางจากเทคโนโลยีและองค์ความรู้ ที่เหนือกว่าได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ประเทศต่างๆ เกิดความต้องการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและพันธุกรรมพืชต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เกิดการแย่งชิงทั้งทางตรง และทางอ้อม เปรียบเสมือนการถูกฉกชิงทรัพยากรและภูมิปัญญาไปจากชุมชนอย่างน่าเสียดาย อันเป็นการกระทบกระเทือนอำนาจอธิปไตยเหนือทรัพยากรชีวภาพของประเทศและสูญเสียความมั่นคงทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรที่มีค่า หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนจะทำให้ปัญหาเหล่านี้ เกิดความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่น่าวิตกกังวลและสมควรได
จุดเด่นของโครงการ :วิเคราะห์หาแนวทางในการส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนอย่างยั่งยืน และนำเสนอมาตรการทางกฎหมายและนโยบายในการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.2.1 เพื่อศึกษาถึงหลักการ แนวคิด สิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืช 1.2.2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนภายในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี 1.2.3 เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนอย่างยั่งยืน 1.2.4 เพื่อนำเสนอมาตรการทางกฎหมายและนโยบายในการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนอย่างยั่งยืน
ขอบเขตของโครงการ :โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีขอบเขตการวิจัย ดังนี้ ขอบเขตด้านเนื้อหา : ในการศึกษาถึงสิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน : ศึกษากรณี การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี ผู้วิจัยได้ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ศึกษาถึงหลักการ ขอบเขตสิทธิเกษตรกร แนวคิดพื้นฐานการคุ้มครองสิทธิเกษตรกร สิทธิชุมชน ระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แนวคิดการมีส่วนร่วม พัฒนาการของสิทธิเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการพันธุ์พืชของต่างประเทศและในประเทศไทย โดยนำหลักการ แนวคิด ดังกล่าวนั้น มาใช้เพื่อวิเคราะห์ถึงคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรในการจัดการ การดูแลรักษา การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ จากพันธุ์พืชในประเทศไทยอย่างยั่งยืนและเพื่อให้การศึกษาถึงการคุ้มครองสิทธิเกษตรกรในพันธุ์พืชมีความสมบูรณ์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงต้องศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืช ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เป็นต้น ศึกษาถึงกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity) สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร (ITPGRFA) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ( International Convention on Protection of New Varieties of Plant ) เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การวิจัยมีความครอบถ้วนรอบด้านผู้วิจัยทำการศึกษาถึงการคุ้มครองสิทธิเกษตรกรในพันธุ์พืชและกฎหมายคุ้มครองสิทธิเกษตรกร ในพันธุ์พืชของต่างประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย เนื่องจากประเทศอินเดียมีลักษณะที่อยู่ในป่าเขตร้อน ที่มีอาชีพเกษตรกรรม ยึดถือวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม ซึ่งคล้ายคลึงประเทศไทย ซึ่งประเทศอินเดีย มีกฎหมายการคุ้มครองพันธุ์พืชและสิทธิเกษตรกรที่คำนึงถึงการดำรงวิถีชีวิต ของชุมชนเกษตรและระบบเกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเองของชาติเอาไว้เป็นตัวอย่างประเทศที่สะท้อนถึงบทบาทสำคัญของเกษตรกร ขอบเขตด้านพื้นที่ : ในการศึกษาถึงสิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน : ศึกษากรณี การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี ผู้วิจัยได้แบ่งพื้นที่ ในการศึกษา ออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และ พื้นที่จังหวัดอุทัย ดังนี้ 1) ศึกษาพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ (1) ชุมชนบ้านเขาใหญ่ ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นชุมชนมีป่าชุมชนที่มีความหลากหลายพันธุ์พืชและมีการจัดการอนุรักษ์ รักษาพันธุ์พืชพื้นบ้าน (2) ชุมชนบ้านเขาดิน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นป่าชุมชน ที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีกระบวนการบริหารจัดการป่าโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำลัดและกลุ่มชาวบ้านเขาดินจนประสบความสำเร็จ เป็นอย่างมาก 2) ศึกษาพื้นที่จังหวัดจังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ (1) ชุมชนบ้านห้วยหนามตะเข้ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีป่าชุมชนที่มีความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติและพันธุ์พืช และมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วม เน้นการพัฒนาระบบนิเวศและการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนและองค์กรภาคีท้องถิ่นต่างๆ (2) ชุมชนบ้านห้วยร่วม ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีความผูกพันกับป่าชุมชนที่มีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติและพันธุ์พืชพื้นบ้าน เช่น ผักกูดผักหนามและผักกุ่มชอบขึ้นอยู่ตามริมห้วย ลักษณะภูมิประเทศอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยทับเสลาและป่าห้วยคอกควาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเชิงเขามีความสูงโดยเฉลี่ย 200 – 250 เมตรดินมีสภาพเป็นดินร่วนปนทราย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.5.1 เพื่อทราบหลักการ แนวคิด สิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืช 1.5.2 เพื่อทราบบทบาท หน้าที่และการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืช ของชุมชน 1.5.3 เพื่อพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชน อย่างยั่งยืน 1.5.4 เพื่อปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายและนโยบายในการพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วม ของเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนอย่างยั่งยืน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1) แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิเกษตรกร องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ให้ความหมายสิทธิเกษตรกรว่า เป็นสิทธิที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของเกษตรกรจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในการอนุรักษ์ปรับปรุงพันธุ์ และการทำให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรพันธุกรรมพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งกำเนิดหรือแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพ Cullet and Kolluru (2003) ได้สรุปหน้าที่สำคัญของเกษตรกร ซึ่งครอบคลุมสิทธิเกษตรกรไว้ ดังนี้ (1) สิทธิเกษตรกร มีส่วนช่วยให้ระบบกฎหมายเป็นธรรมขึ้นด้วยการจัดให้มีสิทธิประโยชน์ในการจัดการพันธุ์พืช (2) สิทธิเกษตรกรมีส่วนช่วยให้มีการยอมรับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรต่อความมั่นคงด้านอาหาร การอนุรักษ์ และการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ตลอดจนนวัตกรรมการบริหารจัดการด้านการเกษตร (3) สิทธิเกษตรกรช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในด้านความมั่นคงด้านอาหาร โดยควบคุมและอุปถัมภ์ไม่เฉพาะทรัพยากรดินเท่านั้น แต่จะรวมถึงความรู้ของประชาชนที่ดำเนินกิจกรรมโดยตรงในการบริหารจัดการด้านการเกษตร (Cullet, P. and R. Kolluru. 2003. Plant Variety Protection and Farmers’ Rights. Towards a Broader Understanding. Delhi Law Review, Vol.24 : 41-59) สิทธิเกษตรกร เป็นสิทธิพื้นฐานของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย ที่พึงได้รับการรับรอง และส่งเสริม ให้มีการปฏิบัติในทางกฎหมาย อาจจำแนกได้ ดังนี้ (1) สิทธิในที่ดินทำกิน โดยสภาพข้อเท็จจริงแล้ว เกษตรกรไทยจำนวนมากไม่มีเอกสารสิทธิอันเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินโดยเฉพาะที่ทำกินอย่างเพียงพอ เนื่องจาก มีเกษตรกรจำนวนมากเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินทำกินจากนายทุน (2) สิทธิในน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูก ต้องมีการทำข้อตกลงร่วมกันกับชุมชนในการจัดการน้ำ ในทางภาคเหนือจะมีระบบเหมืองฝาย ทางภาคใต้ ในบางชุมชนก็มีการทำทำนบทดน้ำ เพื่อใช้ร่วมกัน สิทธิในน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร จึงเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินแต่ละแปลงและสิทธิของชุมชน แต่ในปัจจุบัน ปัญหาการแย่งชิงน้ำเป็นปัญหาใหญ่ คนที่อยู่ริมน้ำ คนที่อยู่ต้นน้ำก็มีสิทธิใช้น้ำก่อน คนที่มีทุนก็สามารถผันน้ำมาใช้ได้ (3) สิทธิในทรัพยากรทางพันธุกรรมพืช ซึ่งรวมถึงการคัดเลือกสรรพันธุ์ การเก็บ การรักษา วิธีการใช้ประโยชน์ ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ อยู่ในภาวะที่ถูกแย่งชิงประโยชน์ ในรูปแบบของการรับรองสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์ ผ่านข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งที่พันธุกรรมที่นำไปปรับปรุงนั้น คือ พันธุกรรมที่ได้จากท้องถิ่น และผ่านการปรับปรุง คัดสรร จนถึงการนำมาใช้ประโยชน์ จากบรรพบุรุษของแต่ละกลุ่มชน มาอย่างยาวนาน เช่น ปัญหาข้าวบาสมาติ (ข้าวพื้นเมืองของสาธารณรัฐอินเดีย) ข้าวหอมมะลิของไทย ในขณะที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ยอมรับว่าเกษตรกรมีสิทธิ์ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ไว้ใช้ปลูกต่อ (4) สิทธิในการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นสิทธิของชุมชนและเกษตรกร ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการจัดการและการใช้ประโยชน์ ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรอย่างอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นขุมทรัพย์ที่มีมูลค่ามหาศาลถ้าเรารู้จักนำมาใช้ (5) สิทธิในการกำหนดราคาพืชผลผลิตทางการเกษตร ที่ผ่านมาเกษตรกรมีสถานะเป็นเพียงลูกจ้างในแปลงเกษตรของตนเอง รับจ้างผลิตตามกระแสความต้องการของตลาด ราคาของพืชผลถูกกำหนดโดยกลไกทางการค้าทั้งในระดับโลก และในระดับประเทศ โดยอ้างความต้องการของผู้ซื้อ อย่างไม่คำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริงที่เกษตรกรได้ลงทุน สิทธิในการกำหนดราคาผลผลิตทางการเกษตร จึงเป็นสิทธิที่สำคัญมากต่อการนำไปสู่การพลิกเปลี่ยนวิถีของประเทศ ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศพ้นภาวะความจน ลดช่องว่างทางสังคม (6) สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันท่วงที การรับรู้ข่าวสารนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบันเพื่อเตรียมความพร้อม และเพื่อรับสถานการณ์ใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกร (สงกรานต์ จิตรากร,2552:5-6) 2) แนวความคิด ทฤษฎีการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมหมายถึง การมีส่วนเกี่ยวข้องในการพบปะสังสรรค์ทางสังคม อาจแบ่งเป็นการมีส่วนร่วมของปัจเจกบุคคล และการมีส่วนร่วมของกลุ่มคน (Reeder,1974:39) หรืออาจแบ่งเป็นการมีส่วนร่วมในลักษณะที่เป็นกระบวนการโดยให้ประชาชนเข้าร่วมในทุกขั้นตอนของโครงการ และการมีส่วนร่วมที่มีนัยการเมืองซึ่งเน้นการส่งเสริมและพลังอำนาจของพลเมือง โดยมุ่งการพัฒนาความสามารถของประชาชนในการจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชุมชน(ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ,2542:138) นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนยังนับว่าเป็นกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนข้องในการตัดสินใจของรัฐ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวสามารถทำได้ในหลายรูปแบบหลายระดับ คือ (พัชรี สิริโรรส,2546:5) (1) การมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการที่มีผลกระทบต่อประชาชน (2) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อมูล (3) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมปรึกษาหารือ (4) การให้อำนาจแก่ประชาชนในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมจะประสบความสำเร็จและนำมาซึ่งความยั่งยืนของประชาธิปไตยได้นั้นขึ้นอยู่กับ เงื่อนไขหลายประการเงื่อนไขแรก คือ การมีประชาสังคม(civil society) ที่เข้มแข็ง เงื่อนไขที่สองคือการสำนึก ตระหนักและยอมรับสิทธิ หน้าที่และการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐหรือภาคประชาชน (อานันท์ ปันยารชุน, 2544,หน้า 16-17) เงื่อนไขที่สาม เทคนิคและวิธีการที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ เงื่อนไขที่สี่ความสมดุลในการกำหนดนโยบาย ผู้กำหนดนโยบายต้องไม่ลำเอียงไปเพื่อประโยชน์คนบางกลุ่มบางพวก และละเลยผลประโยชน์ของกลุ่มอื่น ๆ ไปและเงื่อนไขที่ห้าการมีส่วนร่วมอาจมาจากหลายฝ่ายที่มีผลประโยชน์และจุดยืนต่างกันโดยการมีเทคนิค ทักษะในการบริหารจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงและขจัดความขัดแย้งโดยสันติวิธี (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2544, หน้า 24-25) นอกจากนี้การมีส่วนร่วมอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดไม่ใช่เป็นการจัดเวทีการมีส่วนร่วมเพียงครั้งเดียวประชาชนต้องมีความเต็มใจและตั้งใจเข้าร่วมในกระบวนการมีส่วนร่วมซึ่งต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคเสรีภาพโดยไม่เกิดจากการบังคับหรือขู่เข็ญจากผู้ที่เหนือกว่า (อรทัย ก๊กผล, 2547:18-19) ซึ่ง อคินรพีพัฒน์ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมมี 5 ทฤษฎี (อ้างถึงใน ยุพาพร รูปงาม, 2545:7-9) ได้สรุปไว้ดังนี้ 1. ทฤษฎีการเกลี้ยกล่อมมวลชน (Mass Persuation)ของ Maslow 2.ทฤษฎีการระดมสร้างขวัญของคนในชาติ (National Morale) 3. ทฤษฎีสร้างความรู้สึกชาตินิยม (Nationalism) 4. ทฤษฎีการสร้างผู้นำ (Leadership) 5.ทฤษฎีการใช้วิธีและระบบทางการบริหาร (Administration and Method) แนวคิดการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนโดยแนวคิดเหล่านี้สามารถปฎิบัติได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยโดยมีแนวคิดดังนี้ 1)ต้องยึดหลักความต้องการและปัญหาของประชาชนเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมหากกิจกรรมที่จะนำไปให้ประชาชนเป็นเรื่องใหม่ก็ต้องใช้เวลาในการกระตุ้นเร่งเร้าความสนใจ ให้ความรู้ความเข้าใจจนเขายอมรับความจำเป็นและประโยชน์จากกิจกรรมเหล่านั้น 2)กิจกรรมต้องดำเนินการในลักษณะกลุ่ม เพื่อสร้างพลังกลุ่มในการรับผิดชอบร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่มปลูกฝังทัศนคติและพฤติกรรมที่เห็นแก่ส่วนรวมทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว 3)แนวทางการพัฒนาในกิจกรรมต่างๆในชุมชน ต้องคำนึงถึงขีดความสามารถของประชาชนที่รับดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องพึ่งพาภายนอกโดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกต้องไม่ทุ่มเทในลักษณะการให้เปล่าโดยสิ้นเชิง ต้องทำให้ประชาชนเกิดความสำนึกเป็นเจ้าของกิจกรรมและต้องสามารถทำต่อไปเองได้ เมื่อการช่วยเหลือจากภายนอกสิ้นสุดลงการช่วยตนเองและการพึ่งตนเองเป็นหลักสำคัญที่ต้องเริ่มตั้งแต่ต้น 4)กิจกรรมพัฒนาที่นำเข้าไปในชุมชนต้องสอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อม ความพร้อมรับของชุมชน ซึ่งหมายรวมถึงการใช้ทรัพยากรชุมชน การสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน 5)การเริ่มต้นกิจกรรมต้องอาศัยผู้นำชุมชนซึ่งหมายถึงผู้นำตามธรรมชาติที่ชาวบ้านเคารพนับถือผู้นำทางศาสนาผู้นำที่ได้รับจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งจากทางกาเพื่อเป็นผู้บุกเบิกและชักนำชาวบ้านต่อไปผู้นำชุมชนโดยทั่วไปจะสามารถปรับทัศนะและการยอมรับสิ่งใหม่ๆได้เร็วกว่าและเป็นผู้ที่ชาวบ้านมีศรัทธาอยู่แล้วการเริ่มต้นจากผู้นำจึงไปได้เร็วกว่าและได้รับการยอมรับมากกว่าประชาชนทั่วไป 6)ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นต้น กล่าวคือร่วมหาข้อมูล ร่วมหาสาเหตุปัญหา ร่วมปรึกษาหารือทางแก้ไขปัญหา ร่วมการตัดสินใจ ร่วมการวางแผนงาน ร่วมการปฏิบัติงาน ร่วมการติดตามผลงานจนถึงขั้นร่วมการบำรุงรักษาในระยะยาว สำหรับการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชนควรเริ่มต้นจากการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสนใจและตระหนักถึงความจำเป็นของการเป็นชุมชน มีความสนใจร่วมและมีการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความสนใจและความต้องการของสมาชิกในชุมชนโดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้และความสามารถในการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากร รวมทั้งการเสริมข้อมูลช่วยประสานงานในเบื้องต้นให้เกิดการตัดสินใจ ความสามารถในการต่อรองและการพึ่งตนเองของชุมชนให้ได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :กรอบแนวความคิดในการวิจัยครั้งนี้ ศึกษาถึง“สิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี” ผู้ศึกษาถึงหลักการ แนวคิด สิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชน และวิเคราะห์การมีส่วนร่วมเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนภายในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการนำเสนอการมีส่วนร่วมในการจัดการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในพันธุ์พืชของชุมชนอย่างยั่งยืน นำไปสู่การเสนอมาตรการทางกฎหมายที่รับรองคุ้มครองสิทธิเกษตรในการจัดการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในพันธุ์พืชของชุมชนอย่างยั่งยืน ดังแผนภาพดังนี้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในการวิจัยเรื่องสิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน : ศึกษากรณี การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี มีวิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสังเกตจดบันทึก พูดคุย สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ 1) ชุมชนบ้านเขาใหญ่ ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี 2) ชุมชนบ้านเขาดิน อำเภอไพศาลี และประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ 1)ชุมชนห้วยหนามตะเข้ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ 2) ชุมชนบ้านห้วยร่วม ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต ซึ่งใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ เป็นวิธีการหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัย โดยมีรายละเอียดวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย แบ่งกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน : ศึกษากรณี การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี โดยแบ่งกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มประชากร ดังต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)อำนวยการสถาบันธรรมชาติพัฒนาและมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษา สาขาบ้านไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,ตัวแทนเครือข่ายองค์กรภาคเอกชน มีบทบาทในการส่งเสริมการจัดการ การอนุรักษ์รักษาพันธุ์พืชในพื้นที่ป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ในสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ 2 ผู้นำชุมชนในพื้นที่มีความเกี่ยวข้องการจัดการการคุ้มครองพันธุ์พืช ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านผู้ที่เกี่ยวข้องดูแล รักษาพันธุ์พืช กลุ่มที่ 3 ประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ (1) ชุมชนสวนป่าเขาดิน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ (2) ชุมชนบ้านเขาใหญ่ ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์และประชาชนพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีในเขตพื้นที่ ได้แก่ (1) ชุมชนห้วยหนามตะเข้ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี (2) ชุมชนบ้านห้วยร่วม ตำบลทองหลางอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี 3.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลและสถานที่ทำการเก็บข้อมูล วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Documentary Research) ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยตามลักษณะของการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังต่อไปนี้ 3.2.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัย ผู้ช่วยวิจัยที่จบด้านนิติศาสตร์ และนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ เป็นทีมผู้ช่วยวิจัยในการจัดทำ รวบรวมเอกสารวิจัย ร่วมสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างและร่วมจัดทำเวทีประชุมกลุ่มเพื่อระดมสมองร่วมกับผู้วิจัย โดยแบ่งการรวบรวมข้อมูลวิจัย ดังนี้ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ได้จากการสำรวจสภาพพื้นที่จริง เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทั่วไปของพื้นที่ที่ทำการศึกษา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ในการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการ คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการประชุมกลุ่มระดมสมองเพื่อวิเคราะห์หาแนวความคิด รูปแบบปัจจัยที่ส่งผลให้สิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืช อย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนของชุมชนในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี และวิเคราะห์หาแนวทางการมีส่วนร่วมสิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน ที่สอดคล้องกับบริบทสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งการสังเกตจากการเข้าร่วมประชุมกลุ่ม ของประชาชนในพื้นที่ และการประชุมปฏิบัติการ 2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ได้จากการวิจัยทางเอกสารที่ได้ถูกเก็บรวบรวมไว้แล้วโดยบุคคล กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน หน่วยงานต่าง ๆ โดยผู้วิจัยจะทำการศึกษา และวิเคราะห์สิทธิเกษตรกรในแนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการและคุ้มครองพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน ตามบทบัญญัติของกฎหมาย โดยศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพันธุ์พืช เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2548 ระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ และ ศึกษาตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิเกษตรกร แนวความคิดการมีส่วนร่วม สิทธิชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน และแนวความคิด ของ Elinor Ostrom ในการจัดการทรัพยากรร่วม เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน 3.2.2 สถานที่ทำการเก็บข้อมูล 1) ศึกษาพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ (1) ชุมชนบ้านเขาใหญ่ ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นชุมชนมีป่าชุมชนที่มีความหลากหลายพันธุ์พืช และมีการจัดการดูแลรักษาและอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้าน (2) ชุมชนบ้านเขาดิน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นป่าชุมชนที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีกระบวนการบริหารจัดการป่าโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำลัดและกลุ่มชาวบ้านเขาดินจนประสบความสำเร็จอย่างมาก 2) ศึกษาพื้นที่จังหวัดจังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ (1)ชุมชนบ้านห้วยหนามตะเข้ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีป่าชุมชนที่มีความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติและพันธุ์พืช และมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วม เน้นการพัฒนาระบบนิเวศและการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนและองค์กรภาคีท้องถิ่นต่างๆ (2) ชุมชนบ้านห้วยร่วม ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีป่าของป่าชุมชนที่มีความหลากหลายทรัพยากรธรรมชาติและพันธุ์พืชพื้นบ้าน เช่น ผักกูดผักหนามและผักกุ่มชอบขึ้นอยู่ตามริมห้วย ลักษณะภูมิประเทศอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยทับเสลาและป่าห้วยคอกควายพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเชิงเขามีความสูงโดยเฉลี่ย 200 – 250 เมตรดินมีสภาพเป็นดินร่วนปนทราย 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้แนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์แบบ กึ่งโครงสร้างและแบบเจาะลึก และประเด็นในการสนทนากลุ่ม โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของวิจัย โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ ได้ดังนี้ 1) ศึกษาถึงหลักการ แนวคิด สิทธิเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืช 2) ศึกษาและวิเคราะห์ถึงการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนภายในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี 3) วิเคราะห์หาแนวทางในการส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนอย่างยั่งยืน 4) นำเสนอมาตรการทางกฎหมายและนโยบายในการส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการพันธุ์พืชของชุมชนอย่างยั่งยืน 3.3.2 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพของเครื่องมือ ในการสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างเครื่องมือตามลำดับดังนี้ 1. ศึกษาหลักการแนวคิด ทฤษฎี จากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร ที่จะศึกษาเพื่อนิยามเป็นแนวทางในการสร้างแบบสัมภาษณ์ 2. สร้างแบบสัมภาษณ์ตามกรอบแนวคิดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย โดยแบ่งแบบสัมภาษณ์ตามกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แบบสัมภาษณ์ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ แบบสัมภาษณ์ผู้นำท้องถิ่น /ผู้นำชุมชน แบบสัมภาษณ์ตัวแทนภาคเอกชน และแบบสัมภาษณ์ประชาชนทั่วไป 3. นำแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 ท่าน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนิยามศัพท์ 4. นำแบบสัมภาษณ์ที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบมาแก้ไขปรับปรุงอีกครั้ง 5. นำแบบสัมภาษณ์ไปลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนามยังพื้นที่เป้าหมาย 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการนำข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจเอกสาร และนำมาประกอบข้อมูลจากภาคสนามที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกและจากการสังเกตปฏิกิริยาผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จากนั้นผู้วิจัยนำข้อมูลจากการศึกษาและรวบรวมมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้รับไปจำแนกหมวดหมู่ตามหัวข้อที่วางไว้ เพื่อตอบคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย เพราะในช่วงเก็บรวมรวมข้อมูลก็ได้มีการวิเคราะห์เป็นระยะๆ ตามที่กำหนดไว้ในแผน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มาตรา 3 กำหนดว่า พันธุ์พืชมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ พันธุ์พืชป่า พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น เกษตรกรมีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์และคุ้มครองพันธุ์พืชต่างๆ เหล่านี้ พันธุ์พืชได้กระจายอยู่ในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศไทย อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศต่างมีความผูกพันใกล้ชิดกับการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการหารายได้และการดำรงชีพ พันธุ์พืชจึงควรต้องได้รับการคุ้มครองโดยชุมชนเกษตรกรเป็นหลัก แม้มาตรา 47 ได้บัญญัติรับรองสิทธิเกษตรกรไว้ให้ชุมชน เป็นผู้ทรงสิทธิในการได้รับประโยชน์จากพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่จดทะเบียนแล้วก็ตาม แต่การใช้สิทธิดังกล่าวในทางปฏิบัติมีข้อจำกัดโดยเงื่อนไขของกฎหมาย นโยบายต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรและชุมชนได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเต็มที่สอดคล้องตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 57(2) บัญญัติว่า รัฐต้องอนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย
จำนวนเข้าชมโครงการ :424 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวอรทัย อินต๊ะไชยวงค์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด