รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000475
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน : การจัดการระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์ เมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Ethnicity Map: Management Information System on Local wisdom information online in Pak Nam Po District, NakhonSawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน, ระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์, เมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาเทคนิคการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :260000
งบประมาณทั้งโครงการ :260,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :25 พฤษภาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :01 มกราคม 2560
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :แผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน เป็นเครื่องมือศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน เช่น การค้นหาทุนทางสังคม การเข้าถึงชุมชนเชิงบวก การสำรวจขุมพลังชุมชนและสินทรัพย์ชุมชน การจัดทำแผนที่ ชาติพันธุ์ชุมชน เป็นการฝึกปฏิบัติการว่าด้วยการร่วมศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน และนำผลการค้นพบมาวิเคราะห์ถึงความเข้มแข็งในการออกแบบการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ทำให้มองเห็นภาพรวมของชุมชนได้อย่างครบถ้วนทั้งทางด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งแผนที่ชาติพันธุ์ชุมชนมีความสำคัญในการศึกษาชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจะเข้าถึงชุมชนในเชิงบวกเพราะการเรียนรู้และจัดทำแผนที่ทำให้สามารถบอกถึงเรื่องราว ความเป็นไปในชุมชนสถานการณ์สำคัญๆจุดแข็งขุมพลังของชุมชน สถานที่ที่ใช้ทำกิจกรรมต่างๆตามวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งจะทำให้เข้าใจมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ทำให้เข้าใจสังคมของชาวบ้านได้ดียิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น เมืองปากน้ำโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ 2 เพื่อจัดทำแผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน เมืองปากน้ำโพ (เทศบาลเมือง)จังหวัดนครสวรรค์ 3 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์ เมืองปากน้ำโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1 ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาด้านชาติพันธุ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น เมืองปากน้ำโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ 2 ขอบเขตด้านประชากร ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 2. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในชุมชน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน 3. ชุมชน ประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และบุคคลในชุมชน 4. ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ 5. สมาคมชาวจีน จังหวัดนครสวรรค์ 3 ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ การวิจัยนี้เน้นการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์แบบมีส่วนร่วม Community Based การวิเคราะห์บริบทชุมชน (Contextual Analysis) และการวางแผนติดตามและกำหนดตัวชี้วัด (Monitoring Program) โดยชุมชน ส่วนต่าง ๆ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) พร้อมนำขั้นตอนในการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือในการทำงานและวางแผนร่วมกันเพื่อพัฒนาเครือข่ายการมีส่วนร่วมแบบ PIC (Participatory, Incremental ,Collaborative Cooperative Planning) มาใช้ในกระบวนการวางแผนพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์ เมืองปากน้ำโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ผลผลิต 1. ได้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการศึกษาได้จริงในรูปแบบ บูรณาการองค์ความรู้สู่สถานศึกษา 2. ได้แผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิต และรู้จักจังหวะชีวิตของชุมชนและวางแผนทำงานร่วมกับชุมชนได้อย่างเหมาะสม 3. ได้สารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์เมืองปากน้ำโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4. ได้เครือข่าย นักวิชาการ ครู ชุมชน สมาคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันสร้างสารสนเทศชาติพันธุ์ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลลัพธ์ 1. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ และเครือข่ายการวิจัยแบบมีส่วนร่วม 2. ได้ระบบสารสนเทศชาติพันธุ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกต้องในการเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจได้สะดวกและรวดเร็ว 3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองปากน้ำโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการอนุรักษ์และสืบทอด
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.2 การเกิดภูมิปัญญาชาวบ้าน 1.3 ความส้าคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน 1.4 ประเภทและลักษณะของภูมิปัญญาชาวบ้าน 1.5 การก้าหนดขอบข่าย หรือสาขาของภูมิปัญญาชาวบ้าน 1.6 ลักษณะความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาไทย 1.7 ประโยชน์ของภูมิปัญญาชาวบ้าน 2. การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ 2.1 ความหมายและประเภทของระบบ 2.2 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 2.3 วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ 2.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ 2.5 การด้าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.6. การจัดการสารสนเทศ 3.แผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน 3.1 ค้าจ้ากัดความของแผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน 3.2 ความแตกต่างของแผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน 3.3 ขั นตอนการท้าแผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ลงพื นที่ศึกษาสภาพความเป็นอยู่และสภาพการด้าเนินชีวตของคนในชุมชนและศึกษา ข้อมูลด้านวัฒนธรรมของชุมชนจีนที่อยู่ในเมืองปากน้าโพ โดยการวิเคราะห์สถานภาพศึกษาสภาพความเป็นอยู่และสภาพการด้าเนินชีวตของคนใน ชุมชนและศึกษาข้อมูลด้านวัฒนธรรมของชุมชนจีน โดยการเจาะกลุ่มผู้น้าชุมชน ที่เป็นตัวแทน หรือ สมาคมคนจีน ในจังหวัดนครสวรรค์ ที่อยู่ในเมืองปากน้าโพ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา มี การศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ดังนี 1.1 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ หนังสือประวัติ สมาคม สิ่งพิมพ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้แนวคิดและแนวทางในการศึกษาชุมชนชาวจีนใน เทศบาลเมืองนครสวรรค์ และน้ามาพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1.2 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการศึกษาจากการเก็บข้อมูลโดยตรงจากประชากรที่ ศึกษา จากแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามความพึงพอใจ รวมทั งท้าการศึกษา รายละเอียดต่อเนื่องจากข้อมูลทุติยภูมิ ในการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคลที่มีความรู้เฉพาะด้าน กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั งนี ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจ้านวน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ประธาน คณะกรรมการ หรือผู้มีส่วนร่วมกับสมาคม ชาวจีน นครสวรรค์ (2) กลุ่มผู้รู้เฉพาะด้านวัฒนธรรมจีน ประเพณีของชาวจีน (3) กลุ่มประชาชนเชื อสายจีนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ 2. สัมภาษณ์เชิงลึกเจาะกลุ่มผู้น้าชุมชน ที่เป็นตัวแทน หรือสมาคมคนจีน ในเขตเทศบาล เมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2.1 คณะผู้วิจัยลงพื นที่ศึกษาบริบท ประวัติความเป็นมาและข้อมูลด้านวัฒนธรรม และประเพณีของชุมชนจีน เมืองปากน้าโพ 2.2 ท้าการสัมภาษณ์โดยเจาะกลุ่มผู้น้าชุมชนที่เป็นตัวแทน หรือประธานสมาคม คณะกรรมการ หรือสมาชิกของสมาคมคนจีน ในจังหวัดนครสวรรค์ โดยการส่งหนังสือขออนุญาตใน การมีส่วนร่วมสังเกตการณ์ในกิจกรรมประเพณีต่างๆที่ทางสมาคม ได้ด้าเนินการจัดขึ นมา และขอ สัมภาษณ์ส้าหรับการให้ข้อมูลเชิงลึก เพื่อศึกษาข้อมูล วัฒนธรรมประเพณี กิจกรรมประจ้าปี และ วิเคราะห์สถานภาพทางวัฒนธรรมของชุมชนจีน เทศบาลเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อน้าไปสู่การ พัฒนาระบบสารสนเทศ 3.เก็บข้อมูลความคิดเห็นของชุมชนเกี่ยวกับเชื อสาย ที่อยู่อาศัย ประเพณี วัฒนธรรมของคน ไทยเชื อสายจีน ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 3.1 คณะผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเชื อสายของชาวจีน สถานที่อยู่ อาศัย การปฏิบัติตนตามประเพณีและ วัฒนธรรมของคนไทยเชื อสายจีน ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด นครสวรรค์ โดยมีข้อค้าถาม 12 ข้อ 3.2 ท้าการเก็บข้อมูลของคนไทยเชื อสายจีนที่อาศัยในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด นครสวรรค์ โดยการเลือกแบบสุ่ม จ้านวน 120 คน 3.3 ท้าการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็น สถานภาพทางวัฒนธรรมของชุมชนจีน เทศบาลเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อน้าไปสู่การจัดท้าแผนที่ ชาติพันธุ์ชุมชนจีน และพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์ 4.จัดท้าแผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน ของชุมชนจีนปากน้าโพในในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด นครสวรรค์ แสดงถึงแผนที่การอยู่อาศัยในเขตชุมชนเมือง การกระจายตัวในการอยู่อาศัยของชุมชน จีนที่มีเชื อสายต่างๆ 4.1 คณะผู้วิจัยท้าการลงพื นที่และเก็บข้อมูล จัดท้าแผนที่ชาติพันธุ์ชุมชนของคนไทย เชื อสายจีนในในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยใส่ข้อมูลเป็นรูปแบบต่างๆลงในต้าแหน่ง ที่ตั งเสมือนจริง และจัดท้าออกมาในรูปแบบของแผนที่ชุมชน เพื่อให้ง่ายต่อการถ่ายทอดข้อมูลของ สถานที่อยู่อาศัย และการกระจายตัวของชุมชนของคนไทยเชื อสายจีนต่างๆ พร้อมต้าแหน่งของ สถานที่ส้าคัญที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณี 5.ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์ เมืองปากน้าโพ (เทศบาล เมือง) จังหวัดนครสวรรค์ 6.ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์ เมืองปากน้าโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ 6.1 คณะผู้วิจัยสร้างประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น ออนไลน์ เมืองปากน้าโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ เกี่ยวกับการใช้งานระบบสารสนเทศฯ โดยมีข้อค้าถาม 12 ข้อ 6.2 ท้าการเก็บข้อมูลของคนไทยเชื อสายจีนที่อาศัยในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด นครสวรรค์ โดยการเลือกแบบสุ่ม จ้านวน 120 คน 6.3 ท้าการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศภูมิปัญญา ท้องถิ่นออนไลน์ เมืองปากน้าโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์เพื่อน้าไปสู่การปรับปรุงระบบ สารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยเรื่อง แผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน: การจัดการระบบสารสนเทศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ออนไลน์ เมืองปากน้าโพ จังหวัดนครสวรรค์ คณะผู้วิจัยน้าเสนอผลการวิจัย แบ่งเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เมืองปากน้าโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ ตอนที่ 2 แผนที่ชาติพันธุ์ชุมชน เมืองปากน้าโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ ตอนที่ 3 ระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์ เมืองปากน้าโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์ ตอนที่ 4 ความพึงพอใจระบบสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์ เมืองปากน้าโพ (เทศบาลเมือง) จังหวัดนครสวรรค์
จำนวนเข้าชมโครงการ :800 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวกุลรภัส เทียมทิพร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายสุทธิกร แก้วทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวกัลยาภัสร์ อภิโชติเดชาสกุล บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด