รหัสโครงการ : | R000000473 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The Development of Enrichment English Skills Learning Management Model for Learning Disabilities Primary School Students |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนที่มมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 157000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 157,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 28 สิงหาคม 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยเพื่อการเรียนการสอน |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการศึกษา |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | เด็กที่มีความพิการ มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือ แอลดี (Learning Disabilities - LD) หมายถึง ความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือเด็กแอลดี จึงหมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตวิทยา ความบกพร่องทางการใช้ภาษา การพูด การอ่าน การเขียน การฟัง การสะกดคำ การคิด การให้เหตุผล การคำนวนทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ความบกพร่องทางการรับรู้ การสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การแก้ปัญหาการตอบสนอง การใช้สมาธิ การจำแนก การใช้สายตา การสัมผัส การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเด็กแอลดีจะเหมือนเด็กทั่วไปที่มีสติปัญญาและไอคิวปกติหรืออาจสูงกว่าปกติ แต่มีความบกพร่องในเรื่องบางอย่างโดยเฉพาะเรื่องการอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ และการคิดคำนวณ ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะมีความสามารถต่ำกว่าชั้นเรียนประมาณ 2 ชั้นปี คือ อาจเรียนอยู่ชั้น ป.4 แต่ความสามารถด้านการอ่านหรือการเขียนหรือการคำนวณอยู่ในระดับ ป.1 – ป.3 มีการวินิจฉัยกันว่า เป็นเรื่องของวงจรการทำงานของสมองคล้ายวงจรไฟฟ้าติดๆ ดับๆ (รศ.พญ.ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์, 2551) |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ขอบเขตด้านพื้นที่
พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท
2. ขอบเขตด้านประชากร ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์
3. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และผู้ปกครอง
3. ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่
การวิจัยนี้เน้นเนื้อหาภาษาอังกฤษตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามสาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย การอ่านและการเขียนตัวอักษร คำศัพท์ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ บอกความหมายคำศัพท์และกลุ่มคำที่มีความหมาย มาใช้ในกระบวนการวางแผนพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | กระบวนการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ (จรีลักษณ์ จิรวิบูลย์, 2551)
ขั้นตอนที่ 1 การรับรู้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่างๆ
ขั้นตอนที่ 2 การแปลความข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 ความจำและการดึงข้อมูลมาใช้
ขั้นตอนที่ 4 การนำข้อมูลมาใช้ในรูปแบบของภาษา
ขั้นตอนที่ 5 การเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัสทางการเคลื่อนไหว |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเก็บข้อมูล โดยใช้เทคนิค AIC และPRA สำรวจ สัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกต และทดลองปฏิบัติการตามแนวทางที่ได้ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 430 ครั้ง |