รหัสโครงการ : | R000000471 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์กรณีศึกษา ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Mobilizing the Sufficiency Economy Philosophy for Community Developmentin Nakhon Sawan Province Case Study on Tambon Nuen Sa La Ampou Kropra |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | เศรษฐกิจพอเพียง ,การพัฒนาชุมชน,การเสริมสร้างการเรียนรู้ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาสังคมวิทยา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 250000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 250,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2556 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2557 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยพื้นฐาน |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาสังคมวิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | พัฒนาสังคม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติบรมราชาภิเษก ซึ่งได้พระราชทานพระบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญาร่วมทุกร่วมสุขกับพสกนิกรของพระองค์ และบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของพระสกนิกรเป็นที่ตั้ง โดยใช้หลักคุณธรรม และความรู้ ความเข้าใจทางหลักวิชา ความชำนาญ และประสบการณ์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภูมิปัญญาสังคมของแต่ละพื้นที่ เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนา
จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา พบว่า พระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนา บนหลักแนวคิดพึ่งตนเอง เพื่อให้เกิดความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ของคนส่วนใหญ่ โดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุมีผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชา และการมีคุณธรรมเป็นกรอบในการปฏิบัติและการดำรงชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง
วิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาเป็นบทเรียนของการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ไม่คำนึงถึงระดับความเหมาะสมกับศักยภาพขององค์กร ภูมิสังคมของประเทศ หรือความพร้อมของคนและระบบ นอกจากนี้แล้ว การหวังพึ่งพิงความรู้ เงินลงทุน หรือตลาดจากภายนอกประเทศมากจนเกินไป โดยไม่เตรียมสร้างพื้นฐานภายในประเทศให้มั่นคงและเข้มแข็ง หรือสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อให้สามารถพร้อมรับความเสี่ยงจากความผันผวนของปัจจัยภายในและภายนอก (สมเกียรติ อ่อนวิมล , 2550 : 11)
ในขณะเดียวกันปัญหาซึ่งทับถมมาอย่างต่อเนื่องกลายเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ได้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการกระจายทุน กระจายความเจริญ และกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มคนและในเชิงพื้นที่ เกิดปัญหาทางสังคมย่อหย่อนทางศีลธรรม ความเสื่อมสลายของวัฒนธรรมที่ดีของสังคมไทย ตลอดจนความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วารสารเศรษฐกิจและสังคม พฤศจิกายน-ธันวาคม, 2548 : 41-47.)
ดังนั้น การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาทำให้สังคมไทยอ่อนแอ เนื่องจากเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนไม่สมดุล มุ่งที่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แต่มิได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับมนุษย์ที่เป็น
ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การดำเนินกิจกรรมการผลิตและการบริโภคที่ผ่านมาจึงขาด “ปัญญา” ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นแบบแยกส่วน ใช้ “เงิน” เป็น “เป้าหมาย” โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา จึงมักเกิดปัญหาหรือความทุกข์ (สุเมธ ตันติเวชกุล, 2544, น.284) การขาดปัญญาความรู้ผสานเข้ากับความโลภเห็นแก่ได้เพียงระยะสั้น ไม่นึกถึงอนาคตของทั้งตนเองและผู้อื่น จึงแข่งกันผลิตและบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย แย่งกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด เพื่อสนองความต้องการที่ไม่จำกัดและไม่รู้จักพอของมนุษย์ เมื่อไม่รู้จักพอก็ก่อให้เกิดความวิปริตทางธรรมชาติและวิปริตทางความคิด ก่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม เกิดความย่อหย่อนทางศีลธรรม ความเสื่อมสลายของวัฒนธรรม ตลอดจนความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) 2549, น. 6)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ
แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี (มูลนิธิ พัฒนาไท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2545)
“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่มุ่งเน้นให้ยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับนำหลักปรัชญาฯ ไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ประชาชนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขสังคมมีความเข้มแข็ง และประเทศชาติมั่นคง ซึ่งจะนำไปสู่การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจังในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้
มีส่วนร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดำ เนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่องการสร้างขบวนการขับเคลื่อนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ ฉบับที่ 8 จนถึงฉบับที่ 10 มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างกระแสสังคมให้มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิดหรือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ในหมู่ประชาชนทุกภาคส่วนและทุกระดับ โดยมีวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อน
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนและทุกระดับให้สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในลักษณะที่สอดคล้องกับหน้าที่และบทบาทของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสม และท้ายที่สุดนำไปสู่การปลูกฝังปรับเปลี่ยนจิตสำนึกและกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับระบบ และโครงสร้างการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
บทเรียนข้างต้นจากการพัฒนาดังกล่าว ทำให้ประชาชนชาวไทยทุกระดับในทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม นักวิชาการ ย้อนกลับมาพิจารณาในช่วงเวลาที่ผ่านมา แล้วหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาและดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในพระราชดำริของพระองค์ท่าน จนเกิดกลุ่มนักคิดและนักปฏิบัติจากหลายหน่วยงานและหลากหลายสาขาอาชีพ ในระดับรากหญ้าและส่วนกลาง ที่หันมาให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในเชิงกรอบแนวคิดทางทฤษฏี และใช้เป็นแนวทางประกอบการนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น
ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งในชุมชนชนบทที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนจนเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจากการปฏิบัติจริงในการจัดทำโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาชุมชนบนฐานทรัพยากรชุมชนที่มีอยู่ สำหรับองค์ความรู้ที่มีอยู่ในพื้นที่ ทั้งที่เป็นทรัพยากร ความรู้ ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถเรียนรู้และฝึกทักษะความชำนาญที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง โดยเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน ด้านการบริหารจัดการ การวิเคราะห์และวางแผน ภายใต้
การจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้การแก้ปัญหา ตรงกับความต้องการ โดยใช้เวทีชุมชน และกระบวนการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ในลักษณะของชุมชนต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อให้ประชาชนได้มาเรียนรู้ร่วมกัน และนำไปปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตหรือพึ่งตนเองได้อย่าง จากกิจกรรมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองในด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม พร้อมกันนั้นมีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้ชุมชนค้นพบแนวทางในการพึ่งตนเองนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษากระบวนการการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนของจังหวัดนครสวรรค์
|
ขอบเขตของโครงการ : | ขอบเขตด้านพื้นที่ งานวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะเขตพื้นที่ พื้นที่ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตประชากร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key- Information) ของงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่
ผู้นำชุมชน ทั้งที่เป็นทางการ ได้แก่
1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
2. กำนันตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
3. ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชนที่ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนพื้นที่ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
4. ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการผลิตหรือกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชน
ผู้นำไม่เป็นทางการ ได้แก่ อดีตผู้ใหญ่บ้าน , ผู้อาวุโส ในชุมชน , ปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับการยอมรับในชุมชน , พระสงฆ์ , ครู เป็นต้น
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคท้องถิ่น ได้แก่ พัฒนาการอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. พัฒนากรตำบลเนินศาลา เป็นต้น
ขอบเขตเนื้อหา เนื้อหาในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
1. เนื้อหาเกี่ยวกับบริบทชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพื้นที่ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่
1.1 ประวัติความเป็นมาของำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
1.2 ปัจจัยภายนอกที่เข้ามามีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงชุมชน
1.3 ปัจจัยภายที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชุมชน
2. เนื้อหา ลักษณะการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่
2.1 ลักษณะการจัดการตนเองของกลุ่มการผลิตหรือกลุ่มอาชีพในชุมชน เช่น ลักษณะการดำเนินงานของกลุ่ม , ลักษณะความสัมพันธ์ของสมาชิกทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม,
การมีส่วนร่วมของสมาชิก , ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับครัวเรือน ระดับกลุ่ม และระดับชุมชน เป็นต้น
2.2 ปัจจัยภายนอกที่มาส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มการผลิตหรือกลุ่มอาชีพ เช่น การส่งเสริมจากหน่วยงานราชการ เครือข่ายชุมชนอื่น , องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นต้น
2.3 ปัจจัยภายในที่ส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มการผลิตหรือกลุ่มอาชีพ เช่น ผู้นำ , สำนึกรักท้องถิ่น , ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
2.4 ปัญหาและอุปสรรค
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน เจ้าหน้าและผู้ที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมโครง มีความรู้ความสามารถและทักษะ การตั้งคำถามสืบค้น การเก็บข้อมูลชุมชน การบันทึก การจัดระบบข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และตีความ คิดและเขียนโครง รวมถึงสามารถบริหารโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เกิดกลไกความร่วมมือในกิจกรรมด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ
ด้านวัฒนธรรม ด้านการเกษตรและด้านพลังงานทดแทน และเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
3 ผู้นำชุมชนชุมชน แกนนำชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมโครงการวิจัย สามารถพัฒนาศักยภาพของตนให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิ มีความรู้
ความเข้าใจและเท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นได้
4. เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานภาคเอกชนอันเป็นเสมือนดังภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นในการรู้เท่าทันต่อกระแส
การเปลี่ยนแปลง
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 1. แนวคิดเกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง
2. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
3. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
4. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชน
5. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน
6. แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : |
|
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การเลือกพื้นที่ในการศึกษา
การเลือกพื้นที่ชุมชนบ้านเนินกลางในการศึกษาด้วยข้อพิจารณาที่ว่าพื้นที่นั้นมีประเด็นและปรากฏการณ์ที่ชัดเจนในเรื่องที่จะเข้าไปศึกษา ซึ่งผู้ศึกษามีความสนใจศึกษาเรื่ององค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวคือ ชุมชนบ้านเนินกลางมีความเข้มแข็งในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้เป็นฐานในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาภายในชุมชน และจากการศึกษาเบื้องต้น ทำให้ทราบว่าผลจากการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาชุมชนนั้น ทำให้ชุมชนเกิดความรัก ความหวงแหนหรือความรู้สึกเป็นเจ้าของตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรท้องถิ่นจนทำให้ชุมชนมีการจัดการ การดูแลทรัพยากรและความรู้สึกดังกล่าวได้ส่งผลให้มีการดำเนินกิจกรรมสาธารณะอื่นๆของชุมชนตามมา อย่างไรก็ตามแนวคิดด้านการพัฒนาชุมชนมีอยู่หลายแนวคิดแต่ทุกแนวคิดสามารถที่จะเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นองค์รวม ดังนั้นชุมชนบ้านเนินกลางที่มีความเข้มแข็งในด้านของการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนในด้านอื่นๆตามมาด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม
ประชากรที่ศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ซึ่งหน่วยการวิเคราะห์ คือ ชุมชนในตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ดังนั้นประชากรที่ศึกษาจึงประกอบด้วยบุคคลในชุมชน คือ
1. ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและผู้นำตามธรรมชาติ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมกลุ่มและกองทุนต่างๆ ในชุมชน
2. ผู้อาวุโสภายในชุมชน และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชน
3. สมาชิกของกลุ่มต่างๆ ภายในชุมชนที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาชุมชน และสมาชิกชุมชนทั่วไปนอกเหนือจากที่กล่าวไว้แล้ว
4. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปดำเนินงานในชุมชน อาทิ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
5. ภาคี/เครือข่ายภายนอกที่เข้ามามีส่วนร่มในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาชุมชน
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ศึกษาได้แบ่งวิธีการศึกษาไว้ 2 ขั้นตอน ซึ่งจะทำให้ผู้ศึกษาเห็นภาพการศึกษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็น ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและขั้นตอนการศึกษาจากพื้นที่ศึกษาจริง
1. ขั้นตอนการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Document Study) ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนและความชุมชน แนวคิดการพัฒนาชุมชน แนวคิดกระบวนการเรียนรู้ แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน จากรายงานการวิจัย รวบรวมบทความจากเอกสาร วารสารต่างๆ และจากหนังสือ ตำรา เอกสารทางวิชาการ เพื่อใช้เป็นกรอบในการศึกษา การวิเคราะห์ การอภิปรายผลการศึกษา
2. ขั้นตอนการศึกษาจากพื้นที่จริงหรือศึกษาภาคสนาม (Field Study) โดยลงศึกษาที่ชุมชนบ้านเนินกลาง หมู่ที่ 2 ตำบลเนินศาลา อำเภอเพื่อหาข้อมูลและข้อเท็จจริงที่จะนำมาวิเคราะห์และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษาตามกรอบแนวคิดที่ผู้ศึกษากำหนดไว้ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา
2.1 การสัมภาษณ์ และการพูดคุยแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการกับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) คือ ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและผู้นำตามธรรมชาติ ผู้อาวุโสภายในชุมชน สมาชิกของกลุ่มต่างๆภายในชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาชุมชน และสมาชิกชุมชนทั่วไปนอกเหนือจากที่กล่าวไว้แล้ว
2.2 สนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้ศึกษาใช้วิธีการนี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เป็นองค์ความรู้ในเรื่องของการปรับตัวของสมาชิกในชุมชน และสมาชิกกลุ่มต่างๆภายในชุมชน
2.3 วิธีการสังเกต ใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยที่ผู้ศึกษาถึงวิธีการ กระบวนการที่ผู้นำชุมชนและสมาชิกภายในชุมชนใช้ในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นผู้ศึกษาจึงศึกษาจากการเข้าไปส่วนร่วมในกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการ ตลอดจนเข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลร่วมกัน และร่วมวิเคราะห์ให้ความคิดเห็นบ้างในบางกรณี ซึ่งจะสามารถทำให้ผุ้ศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนและชาวบ้าน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เรื่ององค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านเนินกลาง ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ในครั้งนี้ประกอบด้วย แนวคำถามประกอบการสนทนา และการสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้ตอบหรือผู้ถูกสัมภาษณ์ได้พูดคุยและตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงเหตุผลและความคิดเห็นไป
ในตัวด้วย
แนวคำถามประกอบการพูดคุย และการสัมภาษณ์ มีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน อันได้แก่ จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร การนับถือศาสนา อาณาเขตหมู่บ้าน ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะการตั้งบ้านเรือน การศึกษา การประกอบอาชีพของคนในชุมชน การคมนาคม การปกครอง ประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร รูปแบบการใช้ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพยากรท้องถิ่นนับจากอดีตถึงปัจจุบัน การแลกเปลี่ยนทรัพยากรท้องถิ่นกับภายนอกชุมชนนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
2. การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ กรณีศึกษา ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
3. การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกชุมชนทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในการพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ
การประมวลผลข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาได้ทำการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณาความ (Descriptive Analysis) โดยใช้แนวคิดทฤษฎีต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นเป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยนำมาอธิบายสภาพทั่วไปของชุมชน องค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการตนเองของชุมชน เพื่อที่จะ สามารถอธิบายให้เห็นถึงภาพความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์และการวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าไว้ในตอนแรก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้น และ
จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาภาคสนามรวมทั้งการอ้างอิงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการศึกษาจากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์สมาชิกของชุมชนและผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนเพื่อให้เห็นภาพองค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 183 ครั้ง |