รหัสโครงการ : | R000000466 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | ความสอดคล้องของการจัดทำบริการสาธารณะกับความต้องการของประชาชน :กรณีศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The relevancy of public service to the needs of the people : a case study of Nakhon Sawan Municipality. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | - |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 50000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 50,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | อื่นๆ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
สาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | การจัดทำบริการสาธารณะเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐที่จะต้องจัดทำให้กับประชาชนที่อยู่อาศัยภายในประเทศให้ได้รับความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตตามปกติ การจัดทำบริการสาธารณะในประเทศไทยมีวิวัฒนาการอันยาวนานมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยในครั้งนั้นบริการสาธารณะทุกประเภท จะมีรัฐเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ.2475 ก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อจัดทำบริการสาธารณะ ทำให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบริการสาธารณะเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ มีทั้งกฎหมายที่จะต้ององค์กรขึ้น เพื่อจัดทำบริการสาธารณะ และกฎหมายที่กำหนดกติกาในการจัดทำบริการสาธารณะ (นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2555 : 1-2) กฎหมายต่าง ๆเหล่านี้นับวันจะมีจำนวนมากขึ้น นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช 2540 เป็นผลให้มีพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้มีการถ่ายโอนอำนาจการให้บริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นและปรับเปลี่ยนบทบาทของรัฐไปสู่การทำหน้าที่กำกับ และส่งเสริมการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดวงมณี เลาวกุล, 2555) ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเทศบาล เป็นหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวนมากที่สุด อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองและการให้บริการพื้นฐานของชุมชน เพื่อตอบสนองต่อประชาชนในท้องถิ่นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้น
ภารกิจและอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลต้องกระทำและอาจกระทำได้รวมทั้งภารกิจและอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการถ่ายโอนกระจายอำนาจมานั้น เรียกได้ว่า เป็นการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ซึ่งประยูร กาญจนดุล ได้ให้ความหมายของบริการสาธารณะ (Public Service) หมายถึง กิจการที่อยู่ในความอำนวยหรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองตอบต่อสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน (นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2547 : 34)
การจัดทำบริการสาธารณะโดยส่วนท้องถิ่น หมายถึง การจัดทำบริการสาธารณะโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารสวนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งบริการสาธารณะที่จัดทำโดยส่วนท้องถิ่นนั้น ได้แก่ บริการสาธารณะบางประเภทที่รัฐมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ โดยอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะ จะถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเภท และในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
การจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น สามารถสรุปและแบ่งออกเป็น 5 ด้านหลัก ๆ ได้ดังนี้ คือ ด้านระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการในชุมชน ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในชุมชน ด้านการสาธารณสุข อนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมอาชีพการลงทุน การจ้างงานและการท่องเที่ยว ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรม (โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น, 2544 : 25) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณะประโยชน์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การจัดบริการสาธารณะจะต้องสอดคล้องและสนองต่อสภาพปัญหาและความต้องการส่วนรวมของประชาชนทุกคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนที่จะมีชีวิตเป็นอยู่อย่างสุขสบาย และความต้องการที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมนั้นอย่างปลอดภัย (นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2547 : 159)
ดังนั้นการจัดการทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องสอดคล้องกับความต้องการและความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักของการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นที่ต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการ และปกครองดูแลตัวเองได้ มีความสามารถที่จะรับรู้สภาพการเปลี่ยนแปลงของปัญหาต่างๆและแก้ไขปัญหาเหล่านั้นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ดีและรวดเร็วกว่าราชการส่วนกลาง และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นให้ได้มากที่สุดอย่างแท้จริง
จากความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะเทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครสวรรค์ พ.ศ.2560-2564 ได้จัดทำขึ้นโดยยึดระเบียบกระทรวง มหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 มาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาล โดยกำหนดยุทธศาสตร์ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 2) ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ 3) ยุทธศาสตร์ด้านสวัสดิการสังคมและชุมชน 4) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพเมือง 5) ยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง และ 6) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขณะเดียวกันเทศบาลนครสวรรค์ได้จัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งอดีตที่ผ่านเทศบาลนครสวรรค์ได้ดำเนินการโดยนำยุทธศาสตร์มาเป็นตัวกำหนดถามความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น การจัดเวทีประชาคม เพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ก่อนนำมาจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่ก่อนนำมาจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่
ปัจจุบันสืบเนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของพื้นที่ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์แม้ในขณะอยู่ในช่วงการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาสามปีดังที่เทศบาลนครนครสวรรค์ได้วางไว้ก็ตาม หากรูปแบบในการจัดทำบริการสาธารณะได้เหมาะสมตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้กำหนดไว้หรือไม่อย่างไร การจัดทำบริการสาธารณะมีการมุ่งเน้นด้านหนึ่งด้านใดหรือไม่อย่างไร สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในแต่ละด้านได้ดีเพียงใดรวมทั้งบริการสาธารณะที่จัดทำขึ้นมีคุณภาพ และมาตรฐานตามหลักการจัดทำบริการสาธารณะที่ดีหรือไม่เพราะในอดีตที่ผ่านมาการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครนครสวรรค์ประสบกับปัญหาการจัดบริการที่ไม่ตรงกับความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการงานในต่าง ๆ โดยมีการมุ่งเน้นการจัดทำบริการสาธารณะด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่อย่างไร รวมถึงการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีเมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อน จึงทำให้ได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานอยู่บ่อยครั้ง จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาการให้บริการสาธารณะตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในช่วงสามปีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ต่อไป
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการบริการสาธารณะ และความต้องการการบริการสาธารณะของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์
2. เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดบริการสาธารณะที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์
|
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เน้นการศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการบริการสาธารณะ และความต้องการบริการสาธารณะของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ และแนวทางในการจัดทำบริการสาธารณะที่เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์
2. ขอบเขตด้านพื้นที่
การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดพื้นที่ศึกษาเฉพาะเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
3. ขอบเขตด้านประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ที่เป็นผู้นำชุมชนจำนวน 95,996 คน และคณะผู้บริหารเทศบาลนครนครสวรรค์และเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน โดยพิจารณาเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่และมีส่วนเกี่ยวข้อง
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | - |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 132 ครั้ง |