รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000464
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Approach for the Sub-district (Tambon) Council’s Roles in Empowering the Community in Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :สภาองค์กรชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชน แนวทางการพัฒนา
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :550000
งบประมาณทั้งโครงการ :550,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การพัฒนาประเทศกว่า 5 ทศวรรษ บทบาทของภาครัฐมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเน้นกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว อาศัยขั้นตอนการวางแผน การปฏิบัติงาน การติดตามและประเมินผล ทำให้ปิดช่องทางการเข้ามีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ส่งผลให้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นไม่ได้รับการแก้ไข อีกทั้งการสร้างค่านิยมการพึ่งพารัฐมากกว่าการพึ่งพาตนเอง ภาครัฐจึงกลายเป็นผู้จัดสวัสดิการสังคมแทนชุมชนแทบทั้งหมด เป็นเหตุให้ความเป็นชุมชนค่อย ๆ สูญสลายไป (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2544) ในขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 กำหนดกรอบการพัฒนาและทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”ของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ในทางเศรษฐกิจและสังคม การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ ชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ, 2560) ภายใต้การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอาศัยแนวทางการทำงานที่ยึดพื้นที่ตำบลเป็นตัวตั้งโดยมีองค์กรท้องถิ่น องค์กรชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ แกนนำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และสถาบันในท้องถิ่น (บ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ) ที่มีการจัดการทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง การจัดกองทุนสวัสดิการชุมชน การจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน เป็นต้น เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะของการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ อันนำไปสู่การสร้างเป้าหมายบนพื้นฐานการจัดการตนเองร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น โดยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์อันดีภายในชุมชนท้องถิ่น มีการสรรหาผู้นำที่เป็นทางการโดยไม่ต้องเกิดการแข่งขันก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกใช้เวทีและกระบวนการทำงานร่วมกัน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีใน การร่วมกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, 2550) จากสถานการณ์ดังกล่าว กฎหมายที่มีความสำคัญและเป็นช่องทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น คือพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีเจตนารมณ์สำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชน ซึ่งเป็นสังคมรากฐานมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น และเข้ามีมาส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ โดยที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีเจตนารมณ์สำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนซึ่งเป็นสังคมรากฐานมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิตวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นและเข้ามีมาส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศต่อไป ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้วางแนวทางสำคัญใน การขับเคลื่อนและพัฒนางานของสภาองค์กรชุมชนโดยมุ่งเน้นให้เครือข่ายองค์กรชุมชนในระดับจังหวัดโดยเน้นการรวบรวมและรับรองข้อมูลชุมชนร่วมกันในเวทีระดับหมู่บ้าน/ตำบลเน้นให้สภาองค์กรชุมชนเป็นเวทีเชื่อมโยงงานพัฒนาด้านต่างๆของชุมชนในระดับตำบลและจังหวัดประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สภาองค์กรชุมชนเพื่อการขยายผลโดยมีพื้นที่ที่แต่ละภาคได้วางเป้าหมายร่วมกันซึ่งส่วนใหญ่กำหนดจากฐานงานพัฒนาเดิมในแต่ละจังหวัดและจากพื้นที่ที่เห็นว่ามีฐานทุนงานพัฒนาด้านต่างๆที่สำคัญคือมีความพร้อมและสนใจที่จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล ทั้งนี้ พบว่า กลไกการขับเคลื่อนงานระดับต่าง ๆ ขาดการส่งเสริมจัดตั้งดำเนินการเรื่องการสื่อสาร/สร้างความเข้าใจการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการด้านกฎหมายและการจัดระบบงานสนับสนุนภายในของสถาบันฯ รองรับ ในขณะที่สภาองค์กรชุมชนที่ได้รับการจัดตั้งแล้วยังขาดการการสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดีของชุมชน การพัฒนาผู้นำ/กลไก เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับสุธิดา บัวสุขเกษม (2554) ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาตำบลหนองประดู่ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า สภาองค์กรชุมชนจำเป็นต้องอาศัยองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมและสนับสนุน โดยสภาองค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการของประชาชนและปัญหาต่อหน่วยงานในท้องถิ่น ทั้งนี้ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือการสร้างความเข้าใจให้กับคนในตำบลยอมรับสภาองค์กรชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสนับสนุนงบประมาณในการทำงานของสภาองค์กรชุมชน ทั้งนี้ สภาองค์กรชุมชนควรทำงานเชิงรุก มีการสรุปบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีการพัฒนาศักยภาพหรือความสามารถ บทบาทในการทำงานให้มีความเชี่ยวชาญ ควรจัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผน การดำเนินงาน การติดตาม และประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งเพิ่มศักยภาพในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และการวางแผน ดังนั้น การสร้างความเข้าใจเจตนารมณ์อุดมการณ์สภาองค์กรชุมชน การตั้งสภาองค์กรชุมชนเพื่อแก้ปัญหาสาธารณะที่เกิดในพื้นที่ เสนอทางแก้จัดความสัมพันธ์ใหม่เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสภาองค์กรชุมชน เป็นเครื่องมือในการทำงานพัฒนาเชิงประเด็นเน้นการจัดทำข้อมูลมีนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน เข้าเสริมศักยภาพสภาองค์กรชุมชนย่อมเป็นแนวทางในการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนที่สอดคล้องกับหลักการ ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ประการแรกการแสวงหาเครื่องมือเพื่อต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม ประการที่สองกฎหมายให้การรองรับต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนมากยิ่งขึ้น ประการที่สามความบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ประการที่สี่ข้อจำกัดของหน่วยงานราชการโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดจนขาดความยืดหยุ่นในการบริการสาธารณะ และประการสุดท้ายบทเรียนจากการเติบโตของภาคประชาสังคมในการเข้ามามีบทบาทต่อการเสริมสร้างกระบวนการทางการเมืองภาคพลเมือง (ไททัศน์ มาลาและคณะ, 2555) ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนจำนวน 91 ตำบลกระจายในพื้นที่ 15 อำเภอ (ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2558) ประกอบด้วย อำเภอชุมแสง 12 แห่ง อำเภอหนองบัว 9 แห่ง อำเภอท่าตะโก 4 แห่ง อำเภอไพศาลี 6 แห่ง อำเภอตากฟ้า 4 แห่ง อำเภอตาคลี 6 แห่ง อำเภอเมือง 12 แห่ง อำเภอโกรกพระ 6 แห่ง อำเภอพยุหะคีรี 8 แห่ง อำเภอบรรพตพิสัย 6 แห่ง อำเภอเก้าเลี้ยว 4 แห่ง อำเภอลาดยาว 8 แห่ง อำเภอแม่วงก์ 4 แห่ง อำเภอชุมตาบง 2 แห่ง และอำเภอ แม่เปิ่น 1 แห่ง ทั้งนี้ เป็นสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ดำเนินการจัดตั้งในปี พ.ศ.2551- 2558 ซึ่งจากผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนจังหวัดนครสวรรค์เมื่อ 16 กันยายน 2558 พบว่า การดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนมีการดำเนินการตามภารกิจเกิดการเรียนรู้ พัฒนา และแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านพื้นที่ทำกิน ด้านการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน กลุ่มอาชีพ เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยเล็งเห็นบทบาทของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหาของประชาชนในชุมชนที่อาศัยการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนให้คนในทุกภาคส่วนของชุมชนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่และที่สำคัญเกิดการตระหนักถึงความสำคัญในการบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และค้นหาแนวทางการพัฒนาบทบาทของสภาพองค์กรชุมชนตำบลเพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่น กระทั้งมีต้นแบบการใช้สภาฯ เป็นเครื่องการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ต่อไปในอนาคต
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาสถานภาพและบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยนี้เป็นการแบบผสมผสาน(Mixed Method) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ โดยคณะผู้วิจัยได้ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบล ดำเนินการสำรวจสถานภาพและบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การค้นหาสภาองค์กรชุมชนต้นแบบในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การถอดบทเรียนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการหาแนวทางการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ขอบเขตเนื้อหา - ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลทั่วไปผู้ให้ข้อมูล สถานภาพสภาองค์กรชุมชน ความเข้าใจในบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง การดำเนินงานตามบทบาทของสภาองค์กรชุมชน ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน - ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลแนวทางการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การถอดบทเรียนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบ การพัฒนาบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ขอบเขตด้านพื้นที่ สภาองค์กรชุมชนตำบลในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 91 แห่ง โดยศึกษาจากข้อมูลสถานภาพสภาองค์กรชุมชนตำบลจากฐานข้อมูลการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ในช่วงปี พ.ศ. 2551 – 2558 และการดำเนินกิจกรรมของสภาองค์กรชุมชนตำบลในการสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเป็นต้นแบบโดยคัดเลือกแบบเจาะจงจากสภาองค์กรชุมชนที่มีกิจกรรมหรือการดำเนินงานต่อเนื่องและปรากฏผลเชิงประจักษ์ จำนวน 3 แห่ง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ชุดข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดนครสวรรค์ในมิติการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่โดดเด่น และเป็นต้นแบบให้กับสภาองค์กรชุมชนตำบลที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ 2. ได้แนวทางในการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปฏิบัติจริง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. แนวคิดเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนตำบล 2. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนเข้มแข็ง 3. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม 4. แนวคิดเกี่ยวกับศักยภาพและการพัฒนาศักยภาพ 5. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม 6. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา พื้นที่การศึกษาครั้งนี้คือ สภาองค์กรชุมชนตำบลในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 91 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 สภาองค์กรชุมชนในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอพยุหะคีรี และอำเภอโกรกพระ จำนวน 25 แห่ง กลุ่มที่ 2 สภาองค์กรชุมชนในพื้นที่อำเภอแม่วงก์ อำเภอลาดยาว อำเภอชุมตาบง และอำเภอแม่เปิ่น จำนวน 13 แห่ง กลุ่มที่ 3 สภาองค์กรชุมชนในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัยและอำเภอเก้าเลี้ยว จำนวน 15 แห่ง กลุ่มที่ 4 สภาองค์กรชุมชนในพื้นที่อำเภอชุมแสง อำเภอหนองบัว และอำเภอท่าตะโกจำนวน 25 แห่ง กลุ่มที่ 5 สภาองค์กรชุมชนในพื้นที่อำเภอไพศาลี อำเภอตากฟ้า และอำเภอตาคลีจำนวน 13 แห่ง ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา สภาองค์กรชุมชนตำบลในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 91 แห่ง จากฐานข้อมูลการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. 2551 – 2559) ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลโดยเลือกแบบเจาะจง จากผู้ให้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบล ๆ ละ 4 คน ประกอบด้วย ประธานสภาองค์กรชุมชน เลขาสภาองค์กรชุมชน สมาชิกสภาองค์กรชุมชนที่เป็นผู้แทนกลุ่ม/ชุมชน และสมาชิกสภาองค์กรชุมชนที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 365 คน ดังตารางที่ 3.1 ตารางที่ 3.1 แสดงกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา สภาองค์กรชุมชนตำบล ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน สภาองค์กรชุมชน (แห่ง) จำนวนประชากร/กลุ่มตัวอย่าง (4 คน/ สภาองค์กรชุมชน) กลุ่มที่ 1 เมือง, พยุหะคีรี, โกรกพระ 25 100 กลุ่มที่ 2 แม่วงก์, ลาดยาว, ชุมตาบง, แม่เปิ่น 13 52 กลุ่มที่ 3 บรรพตพิสัย, เก้าเลี้ยว 15 61 กลุ่มที่ 4 ชุมแสง, หนองบัว, ท่าตะโก 25 100 กลุ่มที่ 5 ไพศาลี, ตากฟ้า, ตาคลี 13 52 รวม 91 365 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยโดยการ 1. ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดนครสวรรค์ 2. ศึกษาทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชน ชุมชนเข้มแข็ง การมีส่วนร่วม ศักยภาพและการพัฒนาศักยภาพ 3. ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาท และสภาองค์กรชุมชน การพัฒนาศักยภาพชุมชน การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน และองค์กรชุมชน 4. กำหนดกรอบแนวคิดของการศึกษา โดยนำทฤษฎีและแนวคิดต่าง ๆ มากำหนดกรอบในการศึกษา ช่วงที่ 2 ศึกษาพื้นที่เป้าหมาย พื้นที่เป้าหมาย คือ สภาองค์กรชุมชนตำบล ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ในปี 2559 จำนวน 91 แห่ง โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อม 1. เตรียมการและจัดประชุมชี้แจงโครงการระหว่างทีมนักวิจัยส่วนกลางและนักวิจัยในพื้นที่ 2. จัดประชุมเตรียมการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน 3. จัดเวทีระดมความคิดเห็นร่วมกันเพื่อจัดทำเครื่องมือในการเก็บข้อมูลสถานภาพสภาองค์กรชุมชน 4. การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพสภาองค์กรชุมชน ขั้นตอนที่ 2 ค้นหาศักยภาพและพัฒนาสภาองค์กรชุมชน 1. จัดเวทีระดมความคิดและถอดบทเรียนเพื่อวิเคราะห์สภาองค์กรชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยสภาองค์กรชุมชน 3. การพัฒนาและเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนของตำบลต้นแบบ ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาองค์ความรู้สภาองค์กรชุมชน 1. จัดเวทีระดมความคิดและถอดบทเรียนเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนต้นแบบในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 2. ร่างแนวทางการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 3. จัดประชุมเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 4. สงเคราะห์บทเรียนองค์ความรู้แนวทางการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษา แนวทางการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1. เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดการวิจัย เป็นลักษณะคำถามปลายปิด และคำถามปลายเปิด โดยมีคำถามจำนวน 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานสภาองค์กรชุมชน ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ กลุ่มและองค์กรชุมชนที่เข้าร่วม หน้าที่ความรับผิดชอบในงานสภาองค์กรชุมชน ลักษณะข้อคำถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ และเติมข้อมูลที่เป็นคำถามปลายเปิด ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของสภาองค์กรชุมชนตำบล ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 12 ข้อ โดยเป็นข้อคำถามความเข้าใจในบทบาทด้านการส่งเสริมและสนับสนุน ด้านการจัดเวทีกลางปรึกษาหารือแก้ไขปัญหา ด้านประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน และด้านเชื่อมโยงการทำงานกับกลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามบทบาทของสภาองค์กรชุมชนตำบลในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในตำบล ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 35 ข้อ โดยเป็นข้อคำถามเกี่ยวกับ ส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนความรู้สมาชิกองค์กรชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ส่วนร่วมในเวทีปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารงานสภาองค์กรชุมชน ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมหารือต่อการดำเนินกิจกรรม ส่วนร่วมในกลไกการรับฟังปัญหาเพื่อเสนอปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชนต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนร่วมในการประสานงานและดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น และส่วนร่วมในการเสนอแนะปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ส่วนที่ 4 ข้อคำถามระดับปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อบทบาทของสภาองค์กรชุมชนตำบลในการบริหารจัดการร่วมกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 23 ข้อ โดยเป็นข้อคำถามเกี่ยวกับปัญหาในด้านการบริหารจัดการสภาองค์กรชุมชน ด้านการดำเนินกิจกรรมและการทำงานสภาองค์กรชุมชน ด้านการทำงานร่วมกับกลุ่ม องค์กรชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่น และด้านการจัดการประชุม หรือจัดเวทีปรึกษาหารือ ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ลักษณะคำถามเป็นข้อคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้เติมประเด็นที่ตนสนใจเกี่ยวกับบทบาทของสภาองค์กรชุมชน ทั้งนี้ ในส่วนของแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้มีการทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้นำแบบสอบถามไปทำการทดสอบกับสมาชิกสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดชัยนาท จำนวน 30 ชุด แล้วนำมาคำนวณหาค่าความเที่ยงตรง และค่าความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม ดังนี้ 1) นำแบบสอบถามไปหาความเที่ยวตรงตามโครงสร้างเนื้อหา ความเหมาะสมของภาษาพร้อมปรับปรุงแก้ไขและเลือกข้อคำถามที่มีข้อความเที่ยงตรงมาใช้ในการเก็บข้อมูลจริง 2) ความน่าเชื่อถือ ได้นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน จากสมาชิกสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดชัยนาท และนำแบบทดสอบมาวิเคราะห์หาค่าความน่าเชื่อถือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์, 2547: 231) ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่าค่าความเชื่อมั่นของข้อคำถามเท่ากับ 0.8849 ซึ่งแสดงว่ามีความเชื่อมั่นในระดับสูง 2. เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย - การสนทนากลุ่ม ระดมความคิดเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมกับการคัดเลือกสภาองค์กรชุมชนที่มีกิจกรรมการพัฒนาโดดเด่นในปีที่ผ่านมา 3 แห่ง - การถอดบทเรียนสภาองค์กรชุมชนต้นแบบที่มีกิจกรรมการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชน และด้านการจัดการเศรษฐกิจและทุนชุมชน - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ การตรวจสอบข้อมูลตามหลักการของการวิจัยในเชิงคุณภาพใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) (สุภางค์ จันทวานิช, 2552: 33-34) จากแหล่งที่มาของข้อมูลแต่ละด้าน คือ การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (Data triangulation) และด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological triangulation) ทุกครั้งที่มีการรวบรวมข้อมูลจากการซักถามกับผู้ให้ข้อมูลหลักไปพร้อม ๆ กับการรวบรวมข้อมูล อาศัยการซักถาม การแลกเปลี่ยนคำถาม แยกแยะข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ตามเนื้อหา พร้อมกับดูความเพียงพอและสมบูรณ์ของข้อมูล โดยนำมาเปรียบเทียบกับกรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. นำแบบสอบถามที่รวบรวมข้อมูลได้ มาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ นำเสนอข้อมูลเป็นค่าร้อยละ ดังนี้ - ข้อมูลส่วนบุคคล ใช้การวิเคราะห์แจกแจงความถี่จำนวนร้อยละ - ข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของสภาองค์กรชุมชนตำบลและ การดำเนินงานตามบทบาทของสภาองค์กรชุมชนตำบลในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กำหนดน้ำหนักของเกณฑ์การให้คะ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :96 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายวรภพ วงค์รอด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด