รหัสโครงการ : | R000000463 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | ชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The participatory action research on development of community learning center at Sub-district level of local administration organizations in Nakhon Sawan provice. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ศูนย์เรียนรู้ชุมชน, การพัฒนาศูนย์เรียนรู้, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | - |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 1175300 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 1,175,300.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2554 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2555 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาสังคมวิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | สังคมวิทยา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ความสำคัญของปัญหา
สังคมไทยในปัจจุบัน เป็นสังคมสารสนเทศ (information society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Society) ความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งกับประเทศ ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมพร้อมที่จะเรียนได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ และในทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในสภาพการณ์ปัจจุบันของสังคมไทยมีอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลให้สิทธิและความเสมอภาคในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุปัจจัยหลักๆ (กุลธร
เลิศสุริยะกุล, 2549) คือ 1) ความแตกต่างกันในโอกาสที่จะเข้าถึงความรู้และแหล่งการเรียนรู้ เนื่องจากประชาชนจำนวนมากยังมีระดับการศึกษาต่ำอยู่ในครอบครัวชุมชนที่ด้อยการศึกษาขาดทักษะความสามารถพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ ข่าวสารข้อมูล จึงไม่สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย หลากหลายในปัจจุบัน 2) ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบบริการ ทั้งลักษณะเฉพาะและบริการสาธารณะ รวมทั้งแหล่งการเรียนรู้หรือแหล่งวิทยาการต่างๆ ที่มีอยู่มักกระจุกตัวในสังคมเมือง ทำให้มีระบบบริการพื้นฐานครบทุกด้าน มีแหล่งความรู้อย่างหลากหลาย และมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้มีเทคโนโลยีทันสมัย ทำให้ประชาชนบางกลุ่มมีความได้เปรียบกว่าประชาชนส่วนใหญ่อย่างสิ้นเชิง 3) ความแตกต่างด้านเศรษฐกิจของประชาชน ทำให้บุคคลมีอำนาจในการบริโภคข่าวสารข้อมูลต่างกัน การลงทุนเพื่อการศึกษา การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
จากแหล่งวิทยาการและแหล่งการเรียนรู้ประเภทต่างๆ ย่อมแตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้อาศัยองค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาทักษะความสามารถในการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ 2)พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างเพียงพอ หลากหลาย ทั่วถึง ครอบคลุมประชากรทุกพื้นที่ 3) พัฒนาเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เป็น “องค์ความรู้” โดยมีระบบการจัดหาและรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอก เพื่อเป็นการแสวงหาองค์ความรู้ที่หลากหลายและมีประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน และ 4) การจัดการความรู้โดยเริ่มต้นจากการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย พัฒนากลไกกระบวนการถ่ายทอดความรู้ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างเสมอภาค (กุลธร เลิศสุริยะกุล, 2549)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลให้อยู่ดีมีสุข อีกทั้งเป็นองค์กรระดับล่างของภาครัฐที่สามารถเข้าถึงประชาชน การส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิต กิจกรรมการเรียนรู้รวมหมู่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติจากความสำเร็จเล็ก ๆ ในชีวิตและร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาในการดำรงชีวิต เน้นการมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน และร่วมดำเนินการ และร่วมรับผล ทำให้ปัญหาและความต้องการที่แท้จริงสามารถแก้ไข บรรเทาได้ตรงจุดและทันท่วงที ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นแหล่งเรียนรู้ในการแก้ปัญหาในตำบลที่ยั่งยืนได้ด้วยการสร้างการเรียนรู้การพัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบลช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็ง ความสำเร็จหรือความยั่งยืนแก่องค์กรท้องถิ่น ในการพัฒนาศักยภาพในด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบ่งชี้ถึงความสามารถของท้องถิ่นในการจัดการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนด้วย
การประยุกต์เทคนิค วิธีการสร้างการเรียนรู้จากปัจจัยสำคัญได้แก่ 1)ภูมิปัญญาระบบความเชื่อ ระบบคุณค่า ระบบความคิดของชุมชน 2)การจัดการกลุ่ม/องค์กรชุมชน 3)กระบวนการเรียนรู้และเครือข่าย
การเรียนรู้ 4) ผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรชุมชนในด้านต่างๆ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดจะนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดี สังคมเป็นสุข สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบด้วยความสุข ความพอใจในชีวิต ความนับถือตนเอง สุขภาพและสภาพการทำงานของร่างกายและสภาวะทางเศรษฐกิจที่ดี ด้วยภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปัจจุบัน พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 281 ที่ได้ระบุไว้ว่า รัฐจะต้องให้ความอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหาในพื้นที่ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเพิ่มบทบาทในการสร้างการมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชน
ตามมาตรา 289 คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติ การจัดการศึกษาอบรมในท้องถิ่นตามวรรคสอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 : 155-156) ดังนั้น ทิศทางของการพัฒนาท้องถิ่นที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังกล่าว และขณะที่ถูกคาดหวังจากรัฐบาลกลางค่อนข้างสูงในการทำหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องดูแลคุณภาพชีวิต ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน
(ทรงพล เจตนาวณิชย์, 2550 : 4) ซึ่งสอดรับกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงของสังคมแบบใหม่ที่เรียกว่าสังคมสารสนเทศ (Information Society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Society) ในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมสร้างปัญญา จากการเรียนรู้ในวิถีชีวิต กิจกรรมเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความสำเร็จเล็กๆ ในชีวิต และร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาในการดำรงชีวิต (วิจารณ์ พานิช, 2548) โดยภาคีความร่วมมือได้สร้างความเข้าใจเพื่อพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่ตั้งไว้
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยความร่วมมือภาคีที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มนครสวรรค์ฟอรั่ม องค์การบริหารส่วนตำบลที่สนใจได้มีส่วนผลักดันการพัฒนาศักยภาพองค์กร โดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือ/วิธีการการจัดการความรู้ในระดับบุคคล ระดับชุมชน ระดับองค์กร และเครือข่าย มีองค์การบริหารส่วนตำบลเข้าร่วมจำนวน 6 แห่ง คือองค์การบริหารส่วนตำบลเขาชายธง องค์การบริหารส่วนตำบลเกยไชย องค์การบริหารส่วนตำบล
หัวถนน องค์การบริหารส่วนตำบลพนมรอก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และองค์การบริหาร
ส่วนตำบลลาดยาว ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นช่องทางในสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้หรือองค์ความรู้ใน
การพัฒนาศักยภาพตนเอง พัฒนางาน พัฒนาองค์กรและพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งไป
พร้อมๆ กัน และเกิดกลไกความร่วมมือจากภาคส่วนท้องถิ่นท้องที่ กลุ่ม องค์กรชุมชนเกิดกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่น อาทิ การพัฒนาเด็กและเยาวชน สุขภาพชุมชน วัฒนธรรมประเพณี อาชีพการเกษตร และพลังงานทดแทน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่องในระดับพื้นที่ ข้ามพื้นที่ (วรภพ วงค์รอด, 2554: 149-150)
การที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดระบบการเรียนรู้ พัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาตำบลเกิดโครงการและกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่นโดยบูรณาการกับทุนทางสังคม ทรัพยากร และภูมิรู้ ภูมิปัญญายกระดับสู่แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในชุมชน กระทั้งต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนในระดับตำบลโดยองค์กรปกครองท้องถิ่นจำเป็นต้องเข้ามีส่วนร่วม การสร้างการเรียนรู้ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนร่วมกับแกนนำ กลุ่ม และองค์กรในตำบลที่เป็นรูปธรรมต่อไป
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาสถานภาพองค์ความรู้ของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นระดับตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์
|
ขอบเขตของโครงการ : | ด้านพื้นที่ เลือกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเจาะจงจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชายธง องค์การบริหารส่วนตำบลเกยไชย องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน องค์การบริหารส่วนตำบลพนมรอก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และองค์การบริหารส่วนตำบลลาดยาว โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1) เป็นพื้นที่ที่มีพื้นฐานการดำเนินงานที่ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับ
การพัฒนาท้องถิ่นที่โดดเด่นและต่อเนื่อง และ 2) เป็นพื้นที่ที่มีทุนทางสังคม และมีขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีความต่างกัน
ด้านเนื้อหา งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพองค์ความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในด้านลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม/ประเพณี และกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบล และการบูรณาการองค์ความรู้ของชุมชนที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทและการเปลี่ยนแปลงในระดับตำบล
ด้านประชากร กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Information) ได้แก่ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล แกนนำชุมชน และตัวแทนหน่วยงานในพื้นที่
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1) ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวศักยภาพชุมชนในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
2) ได้แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 1. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมและวัฒนธรรม
2. แนวคิดเกี่ยวกับศักยภาพชุมชน
3. แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการการเรียนรู้และศูนย์เรียนรู้
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | ภาพที่ 2.1 แสดงกรอบแนวคิด
|
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | หน่วยในการศึกษา
หน่วยในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเจาะจง (Purposive) ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชายธง องค์การบริหารส่วนตำบลเกยไชย องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน องค์การบริหารส่วนตำบลพนมรอก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และองค์การบริหารส่วนตำบลลาดยาว โดยมีเกณฑ์ในการเลือกพื้นที่วิจัย 2 เกณฑ์หลัก คือ
1. เป็นพื้นที่ที่มีพื้นฐานการดำเนินงานที่ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นที่โดดเด่นและต่อเนื่อง
2. เป็นพื้นที่ที่มีทุนทางสังคม และมีขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีความต่างกัน
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย
คณะวิจัยได้กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ไว้ 4 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูล 2 เกณฑ์ใหญ่ ได้แก่
กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ได้แก่ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล แกนนำชุมชน และตัวแทนหน่วยงานในพื้นที่
1. สถานะในองค์กร
1.1 เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนตำบลในฐานะที่เป็นผู้บริหาร สมาชิกสภา ผู้นำชุมชน และมีส่วนในการรับรู้ ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ ในกิจกรรมศูนย์เรียนรู้ และพร้อมให้ข้อมูลอย่างงต่อเนื่อง
1.2 สามารถที่จะร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินการวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง
1.3 มีลักษณะความเป็นผู้นำ
1.4 รับฟังเหตุผลและกล้าแสดงออก
2. บทบาทของผู้ให้ข้อมูล
2.1 ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศูนย์เรียนรู้และดำเนินงานการพัฒนาของศูนย์เรียนรู้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล
2.2 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับกลุ่มและระดับเครือข่าย
จากเกณฑ์ดังกล่าวคณะวิจัยได้คัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ในการศึกษาครั้งนี้ 4 กลุ่ม ได้แก่
1. ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 6 คน
2. พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 12 คน
3. แกนนำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับศูนย์เรียนรู้ จำนวน 24 คน
4. ตัวแทนหน่วยงานในพื้นที่ จำนวน 12 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งนี้
1. เครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลสถานภาพองค์ความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ โดยมีประเด็นที่สำคัญประกอบด้วยลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม/ประเพณี
2. เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพและจัดกระบวนการเรียนรู้ในการสร้างเครือข่าย ประกอบด้วยการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม การอบรมเชิงปฏิบัติการ
การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีประชาคม การศึกษาดูงาน และการถอดบทเรียน
3. แนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) ตามวัตถุประสงค์การวิจัย
4. แนวคำถามในการสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะลึก (Group Interview) ตามวัตถุประสงค์การวิจัย
5. แนวคำถามสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
6. บันทึกภาคสนาม(Field Note) เป็นการจดบันทึกข้อมูลในแต่ละครั้งที่ออกเก็บข้อมูล
ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย
ขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อม การจัดประชุมชี้แจง เตรียมการระหว่างทีมงานส่วนกลาง ทีมงานในพื้นที่และอบต.ที่เข้าร่วมโครงการ จัดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลในตำบล และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพองค์ความรู้ในตำบล
ขั้นตอนที่ 2 ค้นหาศักยภาพและแนวทางการพัฒนา ด้วยการจัดเวทีระดมความคิดและวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เป้าหมายในเชิงประเด็น/เชิงพื้นที่ จัดเวทีเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับตำบล การระดมความคิด ค้นหาแนวทางการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ระดับตำบล การพัฒนาศักยภาพคน กลุ่มและเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบล และประเมินความเป็นไปได้แนวทางการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบล
ขั้นตอนที่ 3 การส่งเสริม พัฒนาและการบูรณาการองค์ความรู้ ด้วยการจัดเวทีระดมความคิดและถอดบทเรียนเกี่ยวกับกลไกการพัฒนากิจกรรมเชิงประเด็น/เชิงพื้นที่สู่การพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบล สร้างกลไกส่งเสริม และสนับสนุนในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบลโดยการอบรมและการศึกษาดูงาน และดำเนินการบูรณาการองค์ความรู้ (การคิด การวางแผน การปฏิบัติ) เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ด้วยการถอดบทเรียนชุดความรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และจัดประชุมแลกเปลี่ยนบทเรียนในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนในระดับจังหวัด
การเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้
1. การเก็บรวมรวบข้อมูลพื้นฐานระดับตำบล
1.1 การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิโดยการลงภาคสนามชี้แจงทำความเข้าใจ การสร้างความคุ้นเคยกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และสิ่งที่เป็นประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการวิจัย
1.2 การสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาตำบลจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล แกนนำชุมชน และตัวแทนหน่วยงานในพื้นที่
1.3 สรุปวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดหมวดหมู่ และตรวจสอบความถูกต้อง ความสอดคล้องของมูล
2. การจัดเก็บข้อมูลจากการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ การสร้างเครือข่าย ผ่านเวทีการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม การอบรมเชิงปฏิบัติการการสนทนากลุ่ม การจัดเวทีประชาคม การศึกษาดูงาน และการถอดบทเรียนทำโดยการเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละเวที
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยข้อมูลระดับตำบล โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ดังนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลมีการผสมผสานด้วยวิธีการต่างๆ โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบล ในด้านลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม/ประเพณี โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ในส่วนข้อมูลคุณลักษณะโดยใช้กรอบแนวคิด
การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรอบในการวิเคราะห์
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 126 ครั้ง |