รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000462
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Study on the People’s Participations in Arranging the Local Development Plans of Nong Luang Sub-district Administrative Organization, Uthai Thani Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :30000
งบประมาณทั้งโครงการ :30,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเชิงปริมาณ
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ภายหลังจากประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบันได้มีการจัดตั้งระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่สภาพระบบราชการในอดีตที่ผ่านมายังมีลักษณะเป็นแบบเจ้าขุนมูลนายหรือแบบชนชั้นนำนิยม อันทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานและยังเกิดปัญหาปัญหาอื่นๆตามมาอีกเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานเกิดความคล่องตัว จึงต้องทำให้ระบบข้าราชการเล็กลง และทำให้การบริหารการทำงานมีความเป็นข้าราชการ (Bureaucracy) ลดลง โดยรัฐบาลต่างๆที่ผ่านมาเห็นความสำคัญที่จะกระจายอำนาจในการบริหาร และจัดบริการสาธารณะไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารงานและการให้บริการสาธารณะของรัฐเป็นไปด้วยความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และสามารถสนองตอบปัญหา และความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2550: 3) โดยในรูปแบบของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น จะให้ความสำคัญถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ให้ความสำคัญกับการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง โดยได้กำหนดไว้ในหมวด ๑๔แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๒๕๐ กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนายั่งยืน และมาตรา ๒๕๐ ตามกฎหมายตามวรรคหนึ่งและกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการบริหาร การจัดทำบริการสาธารณะ การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา การเงินและการคลัง และการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งต้องทำเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม การป้องกันการทุจริตและการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ และต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และการป้องกันการก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการส่วนท้องถิ่นด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันจึงมีบทบาทอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวาง โดยมิเพียงจะมีหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้นแต่ยังขยายบทบาทหน้าที่ออกไป รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นด้วย และเป็นองค์กรที่เปิดให้ประชาชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารและการตรวจสอบการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเร่งกำหนดจุดมุ่งหมายหรือทิศทางในการพัฒนาของตนให้ชัดเจน การวางแผนและทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้การวางแผนเป็นการรามสรรพกำลัง และระดมความคิดในการพัฒนาอย่างมีทิศทางและสอดคล้องกัน เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัด (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2458) การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอิสระในการปกครองตนเอง โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมรับผิดชอบในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา โดยให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนในการร่วมคิด ร่วมกำหนดความต้องการ ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ รวมทั้งให้ประชาชนเป็นผู้รับผลประโยชน์ กล่าวโดยสรุป การสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นตนเอง (คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, 2545: 2) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดทิศทาง และอนาคตในการพัฒนาของแต่ละท้องถิ่น การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นช่วยให้การบริหารงานของท้องถิ่นเป็นไปโดยประหยัด ทั้งเวลา แรงงาน งบประมาณ และทรัพยากรของหน่วยงาน ทำให้การปฏิบัติงานตามแผนง่าย และสะดวกต่อการปฏิบัติ ช่วยให้การอำนวยการ การแบ่งงาน การประสานงาน การตรวจสอบติดตาม และการควบคุมงาน เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจะช่วยให้เห็นวิธีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และสามารถกำหนดล่วงหน้าถึงการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานได้ด้วย ทั้งนี้การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นต้องดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ที่ประกอบด้วยแผนยุทธศาสตร์3 การพัฒนา แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี และแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดให้มีองค์กรในการจัดทำแผนพัฒนา ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และคณะกรรมการติดตาม และประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ทั้งนี้การดำเนินการของคณะกรรมการต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในปัจจุบัน และอนาคต (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2550: 19) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งแสดงถึงวิสัยทัศน์พันธกิจและจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคตโดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนพัฒนาจังหวัดแผนพัฒนาอำเภอและนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่น การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นกระบวนการกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกำหนดสภาพการณ์ที่ต้องการบรรลุและแนวทางในการบรรลุบนพื้นฐานของการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านและเป็นระบบทั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่นและปัญหา/ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นด้วย แผนพัฒนาท้องถิ่นจึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การกำหนดจุดมุ่งหมายในการพัฒนากำหนดภารกิจและแนวทางการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยในการกำหนดแผนงานหรือโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทิศทางที่สอดคล้อง และประสานสนับสนุนในจุดมุ่งหมายร่วมกัน ท้องถิ่นแต่ละประเภทจะมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญที่เหมือนกัน คือ การให้บริการสาธารณะตอบสนองความต้องของประชาชน ทั้งในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งท้องถิ่นแต่ละที่จะจัดการบริการดังกล่าวให้แก่ประชาชนได้มากน้อย แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ งบประมาณและนโยบายสาธารณะของแต่ละท้องถิ่นแม้การบริการสาธารณะที่จะให้ของท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกันไปแต่สิ่งที่เป็นหลักเดียวในการจัดบริการของทุกท้องถิ่น ก็คือ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นให้มากที่สุด ที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี องค์การบริหารส่วนตำบลประสบปัญหาอยู่หลายประการ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ได้กำหนดทิศทาง และเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจน การจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่ยังเน้นการพัฒนาเฉพาะด้าน เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในด้านอื่นๆ นั้นยังมีสัดส่วนของการพัฒนาที่น้อย โดยเฉพาะด้านสังคมและการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ผ่านมา จะระดมความคิดกันในวงแคบ เฉพาะฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางส่วน หรือผู้นำในท้องถิ่นนั้นๆไม่ได้แสวงหาความต้องการของประชาชน หรือการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2550: 13) จากปัญหาข้างต้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาเสริมสร้างการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นให้มากขึ้น อันจะส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีเป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้ตรงตามสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.2.1 เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี 1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล
ขอบเขตของโครงการ :1.4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหล1.4.2 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนา และอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 4,164 คน จากประชากรจำนวนดังกล่าว ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 365 คน โดยการคำนวณด้วยสูตรTaro Yamane (บุญชม ศรีสะอาด, 2545: 41-42)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.6.1 ทำให้ทราบถึงระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี 1.6.2 ทำให้ทราบข้อเสนอแนะสำหรับส่งเสริมการมีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี 1.6.3 ผลการศึกษาใช้เป็นแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน พร้อมทั้งสอดคล้องกับหลักการและทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :126 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวธนันท์ธร โสภณดิลก บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด