รหัสโครงการ : | R000000461 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้าน ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Caring Role of Government and Other Network Sector for Homeless People in Muang Nakhon Sawan District, Nakhon Sawan Province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | คนไร้บ้าน, สวัสดิการสังคม, คุณภาพชีวิต |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 50000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 50,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | สังคมวิทยาการเมือง |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | คนไร้บ้าน (Homeless) เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ในบางประเทศประเด็นดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาทางสังคมที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศที่อยู่ในสถานการณ์คนไร้บ้านมาเป็นระยะเวลานานอย่างสหรัฐอเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร ยังคงมุ่งมั่นกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา เมืองที่ถือว่าประสบกับสถานการณ์คนไร้บ้านในขั้นวิกฤตอย่างเมืองลอสแอนเจลิส มีจำนวนคนไร้บ้านมากถึง 25,000 คน นายกเทศมนตรีของเมืองลอสแอนเจลิสจึงจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างศูนย์พักพิงชั่วคราว และพยายามทำความเข้าใจกับชุมชน ในขณะเดียวกัน อีกหลายเมืองในสหรัฐอเมริกาก็แก้ไขปัญหาคนไร้บ้านด้วยนโยบายกวาดล้างคนไร้บ้าน ซึ่งนโยบายดังกล่าวไม่ได้มีผลลัพธ์ในทางที่ดีต่อประเด็นปัญหาคนไร้บ้านแต่อย่างใด ในทางกลับกัน ได้สร้างปัญหามากมายตามมา อีกทั้งยังสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
สำหรับสถานการณ์คนไร้บ้านในประเทศไทยถือว่ายังค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ตามเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ การสำรวจข้อมูลคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวนคนไร้บ้านมากกว่า 1,000 คน ในจำนวนนี้มีเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลายมาเป็นคนไร้บ้านจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็นหลัก ดังกล่าวนี้คือปัญหาเชิงโครงสร้างที่ผลักดันให้คนกลุ่มหนึ่งในสังคมต้องดำเนินชีวิตในแบบที่คนส่วนใหญ่ในสังคมมองว่าเป็นเรื่องผิดปกติ ในแง่หนึ่ง ต้องยอมรับว่าสังคมไทยมีมุมมองต่อประเด็นคนไร้บ้านในทิศทางค่อนข้างลบ หลายคนมองว่าประเด็นคนไร้บ้านเป็นปัญหาทางสังคมมากกว่าจะฉุกคิดในแง่ของสาเหตุปัจจัยเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อย่างที่แวดวงวิชาการในระยะหลังพยายามสร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับคนไร้บ้านให้กับสังคมไทย เฉกเช่นในผลงาน “โลกของคนไร้บ้าน” ที่พยายามแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับคนไร้บ้านในแง่มุมที่กว้างขวางให้คนทั่วไปได้รับรู้ และยอมรับในความเป็นมนุษย์เหมือนกันของคนไร้บ้าน ดังนั้น ประเด็นคนไร้บ้านในประเทศไทยจึงมีสาเหตุมาจากหลากหลายทิศทางด้วยกัน ทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจกชน ซึ่งในเชิงโครงสร้างภาครัฐพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมพอสมควร โดยสร้างนิยามคนไร้บ้านให้ชัดเจนขึ้นเพื่อรองรับกับสวัสดิการต่าง ๆ ที่ภาครัฐจะจัดสรรให้แก่คนไร้บ้าน
พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557 ให้ความหมายของ “คนไร้ที่พึ่ง” ไว้ว่าหมายถึง “บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และให้รวมถึงบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้” และกำหนดให้ “การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง” หมายความถึง “การจัดสวัสดิการสังคม การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างโอกาสในสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิต การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีงานทำและมีที่พักอาศัย และการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อคนไร้ที่พึ่ง” ดังกล่าวนี้ ทำให้สถานะของคนไร้บ้านจัดอยู่ในคำนิยามของคนไร้ที่พึ่งและจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งบทบาทหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหลัก
สำหรับสถานการณ์คนไร้บ้านในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ แม้จะไม่ร้ายแรงและมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่จังหวัดนครสวรรค์ถือเป็นจังหวัดที่มีความเจริญและมีความเป็นเมือง (Urbanization) ค่อนข้างมาก จึงต้องให้ความสนใจต่อประเด็นคนไร้บ้านที่อาจจะเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานในจังหวัดนครสวรรค์ได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับคนไร้บ้านหรือคนไร้ที่พึ่ง โดยเมื่อปี พ.ศ.2558 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ และทีมปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขอทานจังหวัดนครสวรรค์ ได้ดำเนินการจัดระเบียบคนขอทานในจังหวัดนครสวรรค์ โดยการลงพื้นที่หากลุ่มเป้าหมายในเขตตลาดและที่สาธารณะ ในพื้นที่อำเภอเมืองและต่างอำเภอ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ พระราชบัญญัติควบคุมคนขอทาน พ.ศ.2484 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 พบบุคคลขอทาน จำนวน 22 ราย และล่าสุดหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ได้มีการติดตามผลการดำเนินงาน และร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้ที่พึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ โดยการดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด 206 ราย เปรียบเทียบสถิติข้อมูลคนไร้ที่พึ่ง ในช่วงเดือนตุลาคม - เมษายน ในปีงบประมาณ 2560 และ 2561 พบว่า อัตราคนเร่ร่อนหรือคนไร้ที่พึ่งมีแนวโน้มลดลง คิดเป็นร้อยละ 20 ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการทำงานและคุณภาพการให้บริการเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของคนไร้ที่พึ่ง การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สังคมและชุมชนในการดูแลและอยู่ร่วมกันกับคนไร้ที่พึ่ง การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคีเครือข่ายในการคุ้มครองดูแลคนไร้ที่พึ่ง การพัฒนาศักยภาพและเสริมพลังบุคลากรเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ และการป้องกันและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงมิให้ตกเป็นคนไร้ที่พึ่ง
จากที่กล่าวมาข้างต้น สถานการณ์ภาพรวมเกี่ยวกับคนไร้บ้านค่อนข้างถูกละเลยหรือให้ความสำคัญในลำดับรองลงมาจากประเด็นปัญหาอื่น ๆ ในสังคมไทย อีกทั้งกระบวนการในการดูแลคนไร้บ้านในประเทศไทยก็ยังเป็นกรอบปฏิบัติที่ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีผลลัพธ์ในทิศทางใด จึงนำมาสู่การศึกษาวิจัยเรื่องบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งนี้ การศึกษาสถานการณ์และบทบาทในการดูแลคนไร้บ้านอาจจะเป็นฐานข้อมูลสำหรับการสร้างแนวทางในการพัฒนาบทบาทของหน่วยงานที่ดูแลคนไร้บ้าน และช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ต่อไปในอนาคตได้ |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์คนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
2) เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | การศึกษาวิจัยเรื่องบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ คณะผู้วิจัยมุ่งศึกษา 2 ประเด็นหลัก คือ 1) ประเด็นสถานการณ์ของคนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษาผ่านหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายที่ทำหน้าที่ดูแลคนไร้บ้านหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2) ประเด็นบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้าน โดยเริ่มศึกษาที่บทบาทของหน่วยงานภาครัฐเป็นอันดันแรก แล้วจึงเชื่อมโยงไปยังบทบาทของเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์ มูลนิธิและอาสาสมัครต่าง ๆ ดังนั้น ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มเป้าหมายหลักในการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการมุ่งศึกษาที่หน่วยงานภาครัฐและเครือข่าย ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตเชิงพื้นที่ในการทำวิจัยไว้เพียงในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์เท่านั้น |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1) ทราบถึงสถานการณ์คนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
2) ทราบถึงบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
3) ผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาบทบาทของหน่วยงานที่ดูแลคนไร้บ้าน และช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | 1. ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional Theory)
2. ทฤษฎีรัฐสวัสดิการและสวัสดิการสังคม (welfare state and social welfare theory)
2.1 ทฤษฎีรัฐสวัสดิการ (welfare state)
2.2 ทฤษฎีสวัสดิการสังคม (social welfare)
3. ทฤษฎีสังคมสงเคราะห์ (social work theory)
3.1 ทฤษฎีสังคมสงเคราะห์แบบดั้งเดิม (traditional social work)
3.2 ทฤษฎีสังคมสงเคราะห์แบบก้าวหน้า (radical social work)
3.3 ทฤษฎีสังคมสงเคราะห์คลินิก (clinical social work)
3.4 ทฤษฎีสังคมสงเคราะห์แบบการเร้าพลังชีวิต (empowerment social work) |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 225 ครั้ง |