รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000458
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน: ศึกษากรณีตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Potential Development for Management for Sustainable Community- Based Tourism : The Case of Khaodin Sub-district, Kaoliao District, Nakonsawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน การพัฒนาศักยภาพ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง สภาพดินเป็นเหนียวปนทรายเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร มีพื้นที่การเกษตรจำนวน 34,909 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 89.79 ของพื้นที่ตำบลทั้งหมด 38,878 ไร่ ตำบลเขาดินมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน สภาพพื้นที่และทุนชุมชนที่สำคัญกอร์ปกับฐานรากวิถีการดำรงชีพและวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่นเป็นตำบลที่กำลังพัฒนาสู่ตำบลจัดการตนเอง โดยอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ และภาคประชาชนร่วมกันการจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเกิดเป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกระจายในหมู่ต่าง ๆ ของตำบล อาทิ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ หมู่ 1 ศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดภัยหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 3 ศูนย์ถ่ายทอดการผลิตเห็ดนางฟ้าครบวงจร หมู่ 2 ศูนย์เรียนรู้เกษตรศาสตร์พระราชา หมู่ 8 ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ หมู่ 11 กระทั่งต่อยอดเกิดตลาดวิถีชุมชนท้องถิ่นขึ้น 2 แห่ง ได้แก่ ตลาดพอเพียงหาดเสลา หมู่ 8 และตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ หรือ ตลาดเจ้าค่ะ เป็นต้น นอกจากนั้นในด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และสถานที่ในเชิงประวัติศาสตร์ที่มีวัดเป็นศูนย์กลาง อาทิ วัดเขาดินเหนือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 วัดหนองงูเหลือม ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 วัดเขาดินใต้และวัดมรรครังสฤษดิ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 วัดดงเมืองใต้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 วัดแหลมสมอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 อีกทั้งการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมไททรงดำ และงานตามรอยเสด็จประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ที่วัดเขาดินใต้ เป็นต้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาตำบลเขาดินมีองค์กรท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มองค์กรในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรมภายใต้สโลแกน “ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เยือนถิ่นเศรษฐกิจพอเพียง ชมวัฒนธรรม 4 วัด ศูนย์เกษตรปลอดภัย 4 แห่ง” เกิดเป็นชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนที่เน้นการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ดังนั้น การพัฒนาตำบลสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลเขาดินบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนที่มีอาชีพด้านเกษตรกรรม เน้นการอนุรักษ์วิถีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนเป็นการนำเอาเครื่องมือ วิธีการพัฒนาด้วยการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนตำบลเขาดินก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตเนื้อหา 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพการศึกษา อาชีพ รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ (2) ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ การจัดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของชุมชน และ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ในการดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยการซักถามพูดคุยระหว่างผู้เข้าร่วมสนทนาระดมความคิด เป็นการถามแบบเจาะลึก ในประเด็น ขอบเขตด้านพื้นที่ ศึกษาเฉพาะในพื้นที่ชุมชนตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ในพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ตำบลเขาดิน ข้อมูล ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2561 จำนวน 7,235 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลเขาดิน ยอมรับให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 ภายใต้ความเชื่อมั่น 95% โดยการใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane, 1973, p.1088) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 380 คน ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมจะใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่าง จะใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากประชากรที่ใช้ในการวิจัย และในส่วนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 30 คน ได้แก่ นายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ นายก อบต. ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบการในชุมชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ข้อมูลด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลเขาดินจะเป็นประโยชน์ต่อการการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ส่งผลต่อชุมชนและวิถีชีวิตของคนในตำบล 2. ได้แนวทางการพัฒนาศักยภาพของตำบลเขาดินเพื่อใช้ในการกำหนดแนวทาง นโยบาย การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการเพิ่มและกระจายราวได้สู่ชุมชน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน: ศึกษากรณีตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1. แนวคิดการจัดการท่องเที่ยว 2. แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3. แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม 5. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน 6. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม 7. แนวคิดศักยภาพและการพัฒนาศักยภาพ 8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :เศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) 5. แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลเขาดิน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. ข้อมูลตอนที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ 2. ข้อมูลตอนที่ 2 นำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบน ซึ่งกำหนดน้ำหนักคะแนนจากคำตอบแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทั้งนี้จะมีเกณฑ์ในการแปลความหมายของค่าเฉลี่ย โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้ 4.50 - 5.00 ความต้องการพัฒนาศักยภาพในระดับมากที่สุด 3.50 - 4.49 ความต้องการพัฒนาศักยภาพในระดับมาก 2.50 - 3.49 ความต้องการพัฒนาศักยภาพในระดับปานกลาง 1.50 - 2.49 ความต้องการพัฒนาศักยภาพในระดับน้อย 1.00 - 1.49 ความต้องการพัฒนาศักยภาพในระดับน้อยที่สุด 3. นำข้อมูลจากแบบสอบถามตอนที่ 3 มาสรุป แล้วนำเสนอในรูปแบบของความเรียง 4. สำหรับข้อมูลจากการจัดเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงคุณภาพของความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ตลอดจนแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน โดยการนำข้อมูลมาจำแนก จัดหมวดหมู่เชื่อมโยงข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์ส่วนประกอบเชิงเนื้อหา และสรุปผลโดยอาศัยความเป็นเหตุและเป็นผล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :596 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายวรภพ วงค์รอด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด