รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000457
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การจัดการขุ้อมูลชุนด้านภัยพิบัติเพือการพัฒนาชุมชนท้องถ่ิน จ.นครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The data management of diastase for community development in Nakhonsawan province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การจัดการข้อมูล, ภัยพิบัติ,นครสวรรค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :01 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :พัฒนาสังคม
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :นับตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๘ เป็นต้นมา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๔ ประเทศไทยได้กำหนดแนวทางการพัฒนามาเป็นลำดับโดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วนของสังคมชาติมากขึ้น โดยยึดหลัก “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (๒๕๖๐-๒๕๖๔) ประเทศไทยยังคงใช้หลักคิด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” เป็นแนวปฏิบัติการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยพยายามบูรณาการให้เข้ากับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เพื่อให้คนไทยได้ดำรงชีพอย่างพอเพียงตามอัตภาพและฐานะความเป็นอยู่ของตนโดยไม่เดือดร้อนและพออยู่ได้ อีกทั้ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนไทยได้เตรียมเผชิญกับบริบทของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลง และรวมถึงปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาประเทศในรอบด้าน เช่น ผลกระทบทางสังคมเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงไปนับเป็นโอกาสในการรังสรรค์ปัญญาเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนำมาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ ในขณะที่ผลกระทบเชิงลบ เราจะพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าเหล่านี้ได้ถูกละเลยทิ้งขว้างจากชุมชนและสังคมมาอย่างยาวนานและมีการถ่ายทอดสื่อสารสู่คนรุ่นใหม่ที่น้อยมาก เหตุเพราะปัจจัยระหว่างวัย การสานต่อระหว่างรุ่นต่อรุ่น หรือการเคลื่อนย้ายประชากรแรงงานจากชนบทสู่เมือง เป็นต้น ในขณะที่สังคมไทยเองก็นับว่ายังมีจุดแข็งในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะผู้นำชุมชนในการพัฒนาที่กระจายอยู่ในทุก ๆ พื้นที่ของประเทศไทยทั้งผู้นำท้องถิ่น ผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำท้องที่ หรือผู้นำกลุ่ม เป็นต้น และผู้นำเหล่านี้นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งเป็นแบบอย่างในการพัฒนาให้แก่ชุมชนอื่น ๆ ได้ภายใต้ศักยภาพของผู้นำชุมชนที่มีการศึกษาเรียนรู้ ทดลอง ปฏิบัติ การมีประสบการณ์แล้วมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ คิดค้น รังสรรค์เป็นงานพัฒนาทั้งที่เป็นทางการไม่เป็นทางการ ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เข้มแข้งแล้วและบางพื้นที่ก็ยังไม่เข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับและไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคหรือท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน มีพื้นที่รับผิดชอบทางการจัดการศึกษาครอบคลุม ๓ จังหวัด คือจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงดำรงตนอยู่ในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่จัดการศึกษาเพื่อถวายงานตามศาสตร์พระราชา ซึ่งมีวิสัยทัศน์ “เป็นมหาวิทยาชั้นนำเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่พยายามมุ่งเน้นและบูรณาการศาสตร์ให้เข้ากับชุมชนและท้องถิ่น การที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีข้อมูลชุมชนที่เกิดจากการจัดการข้อมูล การจัดเก็บ การถ่ายทอด หรือการสร้างคลังข้อมูลหรือชุดความรู้ของชุมชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญในการศึกษารวบรวม จัดเก็บ และถ่ายทอดความรู้ในชุมชน เพื่อใช้เป็นฐานหรือแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาและรวบรวมข้อมูลชุมชนตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลชุมชนและจัดการข้อมูลในชุมชนเพื่อใช้เป็นฐานในการทำงานพัฒนาชุมชน อีกทั้ง เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์สามารถนำไปเป็นแนวทางเพื่อการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ในการทำงานพัฒนาท้องถิ่นอย่างถูกต้องยั่งยืน และ/หรือการดำเนินการใด ๆ ในการพัฒนาจะได้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ฯ และของชุมชน จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการออกกลางคันของนักศึกษาเป็นปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นอย่างยิ่ง ผู้วิจัยตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญดังกล่าว จึงสนใจศึกษา “การจัดการข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :-
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : 1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลชุมชน 2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 3 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :13. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล 13.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ชาวบ้านชุมชนบางมะฝ่อ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 และระดับความเชื่อมั่น 95% เชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำองค์กรชุมชน ผู้นำท้องที่ หรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านของชุมชน เช่น ครู แพทย์ประจำตำบล เจ้าหน้าที่อนามัย พระ เป็นต้น ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเป็นไปของชุมชนเป็นอย่างดี เชื่อถือได้ และมีข้อมูลหรือสถิติต่าง ๆ อยู่แล้ว 2) ชาวบ้าน ได้แก่ หัวหน้าหรือบุคคลในชุมชนบางมะฝ่อมาบางส่วนตามวิธีสุ่มทางสถิติ กล่าวคือใช้เกณฑ์ถ้าขนาดประชากรเป็นหลักร้อย ควรใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 25% ถ้าขนาดประชากรเป็นหลักสิบ ควรใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 50% ซึ่งชาวบ้านที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งชุมชน 13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามข้อมูลชุมชน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของชุมชน ข้อมูลด้านสังคม ข้อมูลด้านวัฒนธรรม ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลด้านการเมืองการปกครอง 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง เป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีประเด็นคำถามกำหนดขึ้นไว?ในการสนทนาอย่างกว้าง ๆ เพียงประเด็นหลัก ๆ ส?วนประเด็นอื่น ๆ มักจะมีเพิ่มเติมขึ้นระหว่างการสนทนา โดยไม่มีการเรียงลำดับคำถามไว?แน่นอนตายตัว การสัมภาษณ์จะปิดเมื่อไหร่สามารถทำได้ ตามที่ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าได?ข้อมูลเป็นที่เพียงพอแล?ว เพื่อทราบข้อมูลชุมชนเพื่อการจัดการข้อมูลชุมชนต่อไป 3) เวทีการสังเคราะห์ข้อมูลชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในอนาคตต่อไป 13.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1) การจัดประชุมชี้แจงทีมงาน (นักวิจัยในชุมชนร่วมกับนักวิจัยภายนอก) เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย กระบวนการศึกษาวิจัยในชุมชน ขั้นตอนวิธีการเก็บข้อมูล และวิธีบันทึกข้อมูล 2) แจกจ่ายแบบสอบถามให้กับทีมงาน 3) ทีมงานไปเก็บข้อมูลตามพื้นที่เป้าหมาย 4) รวบรวมแบบสอบถามทั้งหมดเพื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลผล 5) การจัดเวทีสังเคราะห์ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 13.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 1) การวิเคราะห์สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม โดยทำการวิเคราะห์ของลักษณะหน่วยงานโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) 2) การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน โดยใช้สถิติพื้นฐาน เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) 3) การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนและการสังเคราะห์ข้อมูลชุมชน ในส่วนของการสัมภาษณ์เชิงลึกนั้น ผู้วิจัยได้จัดเตรียมประเด็นการสัมภาษณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลชุมชน และแนวทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหา (Content analysis)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :86 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสนั่น กัลปา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70
นางสาวสาวิตรี สอาดเทียน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด