รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000455
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Formulation of Political Power by the Political Group in Tambon NongTao, KaoLiao District, Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การสร้างฐานอำนาจ, กลุ่มการเมือง, ระบบอุปถัมภ์, การครองอำนาจนำ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :ระบบการเมือง
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นประเด็นสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนเป็นผู้มีสิทธิและเสรีภาพที่จะเลือกผู้แทนให้เข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน เพราะฉะนั้นบุคคลที่จะเข้าไปเป็นตัวแทนในการบริหารประเทศ จึงต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยต้องอาศัยความรู้ความสามารถของตนเองและการพูดคุยข่าวสารต่าง ๆ ให้แก่เครือข่ายเพื่อการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง รวมไปถึงการใช้อำนาจและการรักษาอำนาจให้ได้นานที่สุด กระจายฐานอำนาจไปสู่บุคคลทั่วไปเพื่อสร้างสภาวะการครองอำนาจนำในสังคม ดังนั้นการสร้างฐานอำนาจจึงเป็นสำคัญของบุคคลที่มีบทบาททางการเมือง ทั้งในขณะที่ดำรงตำแหน่งและไม่ได้ดำรงตำแหน่ง เพื่อทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ “การพัฒนาท้องถิ่น” ที่เป็นชุดความคิดลวงของบุคคลนั้น ๆ ให้ประชาชนในสังคมได้หลงเชื่อว่าชุดความนี้ทำออกมาเพื่อ “ประโยชน์ส่วนรวม” บุคคลที่มีอำนาจทางการเมืองจึงต้องสร้างรากฐานทางอำนาจให้มั่นคงและยั่งยืน ส่งทอดอำนาจแบบรุ่นสู่รุ่นได้ บุคคลที่มีอำนาจทางการเมืองไม่ว่าจะอยู่ในระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นก็ต้องการมีบทบาททางการเมืองเป็นที่ยอมรับของประชาชนและในหมู่นักการเมืองด้วยกันเอง บุคคลนั้นจึงต้องมีทั้ง “อำนาจและบารมี” ควบคู่กันไป ระบบอุปถัมภ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่บุคคลนั้นต้องมีให้แก่สังคมที่สังกัดอยู่ เพื่อการสร้างบารมีให้แก่ตนเองโดยใช้อำนาจที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น ซึ่งบางครั้งก็เป็นการใช้อำนาจไปในทางมิชอบก็ได้ เพื่อแสวงหาความนิยมจากประชาชนภายในพื้นที่ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม เพื่อมาสนับสนุนการสร้างฐานอำนาจในการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง โดยบุคคลนั้นต้องใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางการเมือง ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม รวมไปถึงแนวนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อระบบอุปถัมภ์ให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ปัจจัยเหล่านี้จะนำไปสู่กระบวนการหรือวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้บุคคลหรือกลุ่มการเมืองนั้น ๆ เข้ามามีอำนาจในการปกครอง โดยในระยะยาวจะเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างฐานอำนาจที่มาจากประชาชนได้ด้วย ย่อมแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรมหรือการยินยอมโดยปริยายต่อชุดความคิดของบุคคลหรือกลุ่มการเมืองนั้น ๆ กลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ก็ถือว่าเป็นกลุ่มหนึ่งที่ไม่เป็นทางการ แต่มีบุคคลผู้มีอำนาจและบารมีอยู่ในกลุ่มทำการเคลื่อนไหวกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยการเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นสิ่งที่นำพาไปสู่การ “พัฒนาท้องถิ่น” อย่างรอบด้าน การหาเสียงของนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นในพื้นที่ดังกล่าว จึงต้องเข้าหากลุ่มการเมืองกลุ่มนี้เป็นหลัก เพื่อการประชาสัมพันธ์และการหาเครือข่ายในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในพื้นที่ ดังนั้น กลุ่มการเมืองกลุ่มนี้จึงมีเครือข่ายที่อยู่ทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น รวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเห็นได้ชัด การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองนี้จึงต้องมีระบบอุปถัมภ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง “เครือข่าย” เป็นตัวเชื่อมระหว่างกลุ่มการเมืองกับประชาชน และเชื่อมระหว่างกลุ่มการเมืองกับกลุ่มอื่น ๆ นอกพื้นที่ตำบลหนองเต่า นอกจากนั้นกลุ่มการเมืองนี้เองยังสามารถเชื่อมโยงความต้องการของประชาชนภายในพื้นที่สู่การดำเนินนโยบายสาธารณะของหน่วยงานของราชการได้อีกด้วย ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึง ปัจจัยในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ว่าเป็นอย่างไร และทำการวิเคราะห์แนวโน้มการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ว่าจะสามารถสร้างสภาวะการครองอำนาจนำในพื้นที่ได้อย่างไร
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาปัจจัยการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1.ขอบเขตประเด็นที่ศึกษา 1.1 ศึกษาถึงปัจจัยการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 1.2 วิเคราะห์แนวโน้มในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2.ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มเป้าหมาย 2.1 บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างฐานอำนาจของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2.2 บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสร้างฐานอำนาจของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 3 ขอบเขตด้านพื้นที่ บุคคลสำคัญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 4. ขอบเขตด้านเวลา ตั้งแต่กลุ่มการเมืองนี้ได้เริ่มสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ทราบถึงปัจจัยการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้ทราบถึงแนวโน้มในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 3. ผลของการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางและเป็นตัวอย่างในการสร้างฐานอำนาจให้แก่กลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วัชรพล พุทธรักษา17 (2549) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสร้างภาวะการครองอำนาจนำ” โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่ออธิบายการดำเนินการสร้างภาวะการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณ ด้วยกรอบแนวความคิดเรื่องการครองอำนาจนำ และ 2. ศึกษาว่าการดำเนินการสร้างภาวะการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณ สำเร็จหรือไม่ เพราะอะไร ผลการวิจัยพบว่า รัฐบาลทักษิณไม่สามารถสร้างภาวะการครองอำนาจนำอย่างสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นได้ เพราะรัฐบาลทักษิณไม่สามารถดำเนินการยึดกุมพื้นที่ประชาสังคมได้อย่างสมบูรณ์แม้กลไกนโยบายจะสร้างความนิยมให้กับผู้คนในสังคมจำนวนหนึ่ง และแม้ว่ารัฐบาลทักษิณจะสามารถยึดกุมพื้นที่สังคมการเมืองได้ก็ตาม มงคล เกษประทุม18 (2552) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย” โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษา 1. กระบวนการและขั้นตอนในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย และ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างฐานอำนาจอานาจทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย พบว่า 1. กระบวนการและขั้นตอนในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อนสมัครรับเลือกตั้ง นักการเมืองอุทิศเวลาให้กับงานส่วนรวม งานสังคม หรือช่วยงานตามหมู่บ้าน เพื่อแสวงหาผู้สนับสนุน ขั้นตอนระหว่างการรับสมัครรับเลือกตั้ง นักการเมืองมีกระบวนการรณรงค์หาเสียงโดยการพูดคุยกันในหมู่ญาติพี่น้องและเพื่อน แล้วจึงขยายวงสนทนาให้ใหญ่ขึ้น ขั้นตอนระหว่างดำรงตำแหน่ง นักการเมืองท้องถิ่นใช้อำนาจในการกำหนดนโยบาย ตลอดจนทบทวนแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่นให้ตรงตามที่ตนเองหาเสียงเอาไว้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้สนับสนุน และขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมเพื่อลงสมัครเลือกตั้งครั้งใหม่ คือ การติดต่อประสานงาน ประสานความร่วมมือกับผู้สนับสนุนอย่างสม่าเสมอ แสวงหาผู้สนับสนุนใหม่จากการออกงานชุมชน และ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างฐานอานาจทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในอาเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยจำแนกออกเป็น 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางด้านครอบครัว, ปัจจัยด้านเครือญาติ, ปัจจัยด้านเพื่อน, ปัจจัยด้านผู้อุปถัมภ์, ปัจจัยด้านผู้รับอุปถัมภ์ และปัจจัยด้านเงินทุน ฤกษ์ชัย พูลสวัสดิ์19 (2552) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มธุรกิจในการเมืองระดับท้องถิ่นของไทย ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลกะรน จังหวัดภูเก็ต”โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1. วิธีการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มทางการเมืองท้องถิ่น และ 2. ปัจจัยในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองท้องถิ่น ผลการวิจัย พบว่า 1. วิธีการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในท้องถิ่นของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นมี 4 วิธี คือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนโดยแบ่งเป็นการตอบแทนภายในองค์กรเทศบาลและภายนอกองค์กรเทศบาล การให้การศึกษาอบรมเพิ่มความรู้ในด้านอาชีพ การใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นการอุปถัมภ์อย่างชอบธรรม โดยใช้อำนาจหน้าที่ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่มีลักษณะในเชิงอุปถัมภ์ 2. ปัจจัยในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในท้องถิ่น ได้แก่ ความมีภาวะการเป็นผู้นำของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น ความอาวุโสของหัวหน้ากลุ่มที่ได้รับการเลือกตั้งมาหลายสมัย และการที่กลุ่มการเมืองท้องถิ่นมีเครือญาติอาศัยอยู่ในพื้นที่ ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ของนักการเมืองท้องถิ่นกับประชาชนเป็นไปในลักษณะที่ดีต่อกัน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. แนวคิดและทฤษฎี 1.1 แนวคิดการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง (Based – Construction of Political Power) 1.2 แนวคิดระบบอุปถัมภ์ (Patron-Client System) 1.3 แนวคิดการครองอำนาจนำ (Hegemony) 2. กรอบแนวคิด ปัจจัยการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว > แนวโน้มในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การศึกษาเรื่องการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบล หนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม โดยพิจารณาจากผู้ที่มีบทบาทหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างฐานอำนาจของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เริ่มต้นที่บุคคลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ คือ กำนัน ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ คณะผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับประธาน เพื่อต้องการศึกษาถึงปัจจัย การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มที่ 2 บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสร้างฐานอำนาจของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบการอ้างอิงด้วยบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ (Snowball Sampling Technique) (วิรัตน์ คำศรีจันทร์, 2556) โดยถือความอิ่มตัวของข้อมูลเป็นเกณฑ์ คณะผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสร้างอำนาจของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอ เก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ โดยประชากรทั้ง 2 กลุ่ม ที่คณะผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และคัดเลือกแบบการอ้างอิงด้วยบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ (Snowball Sampling Technique) เป็นการเลือกตัวอย่างจากการพิจารณาของผู้วิจัยเอง โดยลักษณะกลุ่มประชากรที่ต้องการจะศึกษา ต้องมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มทางการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์เป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) อย่างครบถ้วน ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาช่วงเวลาตั้งแต่กลุ่มการเมืองนี้ได้เริ่มสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยในการสร้างฐานอำนาจและวิเคราะห์แนวโน้มในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :โครงการวิจัยนี้ มุ่งศึกษาปัจจัยในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของสถานะทางอำนาจของกลุ่มการเมืองในตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
จำนวนเข้าชมโครงการ :220 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายธีรพงศ์ พรหมวิชัย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย34
นางสาวรตา อนุตตรังกูร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย33
นางสาวนันทิยา สัตยวาที บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย33

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด