รหัสโครงการ : | R000000454 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ศึกษากรณี ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The development potential of the community to create sustainable economic foundations. Case study of Tambon noen Sala Amphoe Krok Phra Nakhon sawan province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | 1. การพัฒนาศักยภาพ 2. เศรษฐกิจพอเพียง 3. การเรียนรู้ 4.การมีส่วนร่วม 5. การพัฒนาอย่างยั่งยืน |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาสังคมวิทยา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 50000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 50,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาสังคมวิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | พัฒนาสังคม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | นับตั้งแต่ประเทศไทยได้เริ่มนโยบายการปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่ความทันสมัย (Modernization) ตามสังคมอุตสาหกรรมตะวันตก โดยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 อันเป็นแผนที่มุ่งเน้นให้ประเทศไทยเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตทางด้านการเกษตร เพื่อส่งออกให้มากขึ้น มีการกระตุ้นให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นทั้งการสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ระบบชลประทาน การคมนาคมขนส่ง เพื่อเอื้ออำนวยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตและขนส่งผลผลิตได้สะดวกขึ้น ในขณะเดียวกันประชาชนได้รับการกระตุ้นให้มีการบริโภคสิ้นค้าอุปโภคบริโภคที่มาจากเมืองมากขึ้น ทำให้ชุมชนชนบทของไทยเริ่มมีการปรับเปลี่ยนจากระบบการทำมาหาหากินแบบยังชีพไปสู่การผลิตที่ต้องใช้เงินเพื่อการลงทุนและการดำรงชีพมากขึ้น อันเป็นไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ของระบบทุนนิยมที่ถูกครอบงำโดยทุนผูกขาดระดับโลก นอกจากนั้นเกษตรกรยังตกอยู่ในภาวะล้าหลัง อ่อนแอ ประชาชนส่วนใหญ่ยากจนและพึ่งตนเองไม่ได้ และยังส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนระบบความสัมพันธ์ด้านอื่นๆของคนในชุมชนต่างๆ เช่น ระบบการพึ่งพาอาศัยกัน ระบบความเชื่อ ระบบการใช้แรงงาน ระบบการศึกษา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลลบต่อชุมชนชนบทไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านศักยภาพการพึ่งตนเอง การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการทรัพยากรภายใต้อำนาจและสิทธิของชุมชน จะเห็นได้ว่าการพัฒนาประเทศนั้นไม่ได้สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนท้องถิ่นในชนบท หรือ “เศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งเป็นเศรษฐกิจของประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความยั่งยืนของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม (กระทรวงมหาดไทย,2541,น 1 -2)
นอกจากนี้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7ต่อปี ในช่วงพ.ศ. 2554 -2558 และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยมีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 20 จากจำนวน 192 ประเทศในโลก โดยยังคงมีบทบาททางการค้าระหว่างประเทศ และรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้ในขณะที่การแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น ตลอดทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ของประเทศไทยปรับตัวดีขึ้น ขณะที่โครงสร้างการผลิตมีจุดแข็งที่มีฐานการผลิตที่หลากหลาย ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะผันผวนของวัฏจักรเศรษฐกิจและสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยมีจุดอ่อนในเชิงโครงสร้างที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยี ในสัดส่วนที่สูง โดยที่ผลิตภาพการผลิตยังต่ำ การผลิตอาศัยฐานทรัพยากรมากกว่าองค์ความรู้ มีการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตและบริโภคอย่างสิ้นเปลือง ทำให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมและผลกระทบในด้านสังคมตามมา โดยไม่ได้มีการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสม ส่วนโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงที่เป็นระบบ ทำให้มีต้นทุนสูงถึงร้อยละ16 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อีกทั้งภาคขนส่งยังมีสัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์สูงถึงร้อยละ 38 นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร และน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ยังไม่กระจายไปสู่พื้นที่ชนบทอย่างเพียงพอและทั่วถึง ส่วนโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยต่างอยู่ในระดับต่ำและตกเป็นรองประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งทางการค้า (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10)
จากวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาเป็นบทเรียนของการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ไม่คำนึงถึงระดับความเหมาะสมกับศักยภาพขององค์กร ภูมิสังคมของประเทศ หรือความพร้อมของคนและระบบ นอกจากนี้แล้ว การหวังพึ่งพิงความรู้ เงินลงทุน หรือตลาดจากภายนอกประเทศมากจนเกินไป โดยไม่เตรียมสร้างพื้นฐานภายในประเทศให้มั่นคงและเข้มแข็ง หรือสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อให้สามารถพร้อมรับความเสี่ยงจากความผันผวนของปัจจัยภายในและภายนอก (สมเกียรติ อ่อนวิมล , 2550 : 11) ในขณะเดียวกันปัญหาซึ่งทับถมมาอย่างต่อเนื่องกลายเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ได้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการกระจายทุน กระจายความเจริญ และกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มคนและในเชิงพื้นที่ เกิดปัญหาทางสังคมย่อหย่อนทางศีลธรรม ความเสื่อมสลายของวัฒนธรรมที่ดีของสังคมไทย ตลอดจนความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วารสารเศรษฐกิจและสังคม พฤศจิกายน-ธันวาคม , 2548 : 41-47)
ดังนั้น การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาทำให้สังคมไทยอ่อนแอ เนื่องจากเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนไม่สมดุล มุ่งที่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แต่มิได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับมนุษย์ที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การดำเนินกิจกรรมการผลิตและการบริโภคที่ผ่านมาจึงขาด “ปัญญา” ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นแบบแยกส่วน ใช้ “เงิน” เป็น “เป้าหมาย” โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา จึงมักเกิดปัญหาหรือความทุกข์ (สุเมธ ตันติเวชกุล, 2544, น.284) การขาดปัญญาความรู้ผสานเข้ากับความโลภเห็นแก่ได้เพียงระยะสั้น ไม่นึกถึงอนาคตของทั้งตนเองและผู้อื่น จึงแข่งกันผลิตและบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย แย่งกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด เพื่อสนองความต้องการที่ไม่จำกัดและไม่รู้จักพอของมนุษย์ เมื่อไม่รู้จักพอก็ก่อให้เกิดความวิปริตทางธรรมชาติและวิปริตทางความคิด ก่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม เกิดความย่อหย่อนทางศีลธรรม ความเสื่อมสลายของวัฒนธรรม ตลอดจนความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ,2549 : 6)
ดังนั้น การพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560- 2564) อยู่ในห้วงเวลาของการปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานหลายด้านที่สั่งสมมานานท่ามกลาง สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดมากขึ้น การแข่งขันด้านเศรษฐกิจจะเข้มข้นมากขึ้น สังคมโลกจะมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากขึ้นเป็นสภาพไร้พรมแดน การพัฒนาเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและจะกระทบชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก ขณะที่ประเทศไทยมีข้อจำกัดของปัจจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์เกือบทุกด้านและจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่ชัดเจนขึ้น ช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 นับเป็นจังหวะเวลาที่ท้าทายอย่างมากที่ประเทศไทยต้องปรับตัวขนานใหญ่ โดยจะต้องเร่งพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรมให้เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกด้านเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยท่ามกลาง การแข่งขันในโลกที่รุนแรงขึ้นมากแต่ประเทศไทยมีข้อจำกัดหลายด้าน อาทิคุณภาพคนไทยยังต่ำแรงงาน ส่วนใหญ่มีปัญหาทั้งในเรื่ององค์ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ สังคมขาดคุณภาพและมีความเหลื่อมล้ำสูงที่เป็นอุปสรรคต่อการยกระดับศักยภาพการพัฒนาโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยส่งผลให้ขาดแคลนแรงงาน จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลงตั้งแต่ปี 2558 และโครงสร้างประชากรจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ภายในสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ร่อยหรอเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นทั้งต้นทุนในเชิงเศรษฐกิจและผลกระทบร้ายแรงต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ในขณะที่การบริหารจัดการภาครัฐยังด้อยประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใส และมีปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นวงกว้าง จึงส่งผลให้การผลักดันขับเคลื่อนการพัฒนาไม่เกิดผลสัมฤทธิ์เต็มที่บางภาคส่วนของสังคมจึงยังถูกทิ้งอยู่ข้างหลัง (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ,2559 : 6-7)
ท่ามกลางปัญหาท้าทายหลากหลายที่เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาว ดังกล่าว ก็เป็นที่ตระหนักร่วมกันในทุกภาคส่วนว่าการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในระยะยาวได้นั้น ประเทศต้องเร่งพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ในทุกด้าน ได้แก่ การเพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กับการเร่งยกระดับทักษะฝีมือแรงงานกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานและกลุ่มที่อยู่ในตลาดแรงงานในปัจจุบันให้สอดคล้องกับสาขาการผลิตและบริการเป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาคนในภาพรวมให้เป็นคนที่สมบูรณ์ในทุกช่วงวัยที่สามารถบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นสภาพแวดล้อมการดำเนินชีวิตได้อย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทุนมนุษย์จากการยกระดับคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และยกระดับคุณภาพบริการสาธารณสุขให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งต้องส่งเสริมบทบาทสถาบันทางสังคมในการกล่อมเกลาสร้างคนดี มีวินัย มีค่านิยมที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนั้น ในช่วงเวลาต่อจากนี้การพัฒนาต้องมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่และ เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของเมืองต่างๆ ให้สูงขึ้นภายใต้การใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ลักษณะการใช้ที่ดิน การจัดระเบียบผังเมืองและความปลอดภัยตามเกณฑ์เมืองน่าอยู่ที่เหมาะสมเพื่อกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ และสังคมให้ทั่วถึงและเป็นการสร้างฐานเศรษฐกิจและรายได้จากพื้นที่เศรษฐกิจใหม่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำภายในสังคมไทยลง และในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันจากการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ทั้งตอนในและตามแนวจุดชายแดนหลัก
นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ได้ยึด “หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อนการเจริญเติบโต จากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม” แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุมทั่วถึงเพื่อเพิ่มขยายฐานกลุ่มประชากรชั้นกลางให้กว้างขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ โอกาสทางสังคม และรายได้ของกลุ่มประชากรรายได้ต่ำสุดร้อยละ 40 ให้สูงขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและพัฒนา นวัตกรรมนับเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาในระยะต่อไปสำหรับทุกภาคส่วนในสังคมไทย โดยที่เส้นทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นกำหนดเป้าหมายทั้งในด้านรายได้ ความเป็นธรรม การลดความเหลื่อมล้ำและขยายฐานคนชั้นกลาง การสร้างสังคมที่มีคุณภาพและมีธรรมมาภิบาลและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ชุมชนบ้านเนินกลาง หมู่ที่ 2 ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่มีการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนโดยการนำองค์ความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาส่งเสริมให้เกิดกระบวนการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรมและเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการไม่หยุดนิ่งในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชนโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งทุนทางทางสังคมที่เป็นปัจจัยหนุนเสริมให้ชุมชนในพื้นที่ตำบลเนินเนินศาลาเกิดกระบวนการพัฒนาชุมชน พร้อมทั้งการที่ชุมชนชนบทที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนจนเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจากการปฏิบัติจริงในการจัดทำโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาชุมชนบนฐานทรัพยากรชุมชนที่มีอยู่ สำหรับองค์ความรู้ที่มีอยู่ในพื้นที่ ทั้งที่เป็นทรัพยากร ความรู้ ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถเรียนรู้และฝึกทักษะความชำนาญที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง โดยเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน ด้านการบริหารจัดการ การวิเคราะห์และวางแผน ภายใต้การจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้การแก้ปัญหา ตรงกับความต้องการ โดยใช้เวทีชุมชน และกระบวนการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ในลักษณะของชุมชนต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อให้ประชาชนได้มาเรียนรู้ร่วมกัน และนำไปปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตหรือพึ่งตนเองได้จากกิจกรรมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองในด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมพร้อมกันนั้นมีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้ชุมชนค้นพบแนวทางในการพึ่งตนเองนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป
จากสถานการณ์ดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่า การตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อการสร้างเศรษฐกิจฐานรากบนฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนบทได้ปรับเปลี่ยนจากการพึ่งพิงปัจจัยต่างๆภายนอกชุมชนเป็นการพึ่งตนเองจากปัจจัยที่มีอยู่ภายในชุมชน โดยอาศัยตนเองและทุนทางสังคมในการส่งเสริมความสามารถในการพึ่งตนเองที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างแท้จริง อันเป็นการวางฐานการเสริมพลังชุมชนในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของชุมชนในการพัฒนานวัตกรรมชุมชน
2. เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อการสร้างเศรษฐกิจฐานรากบนฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
|
ขอบเขตของโครงการ : | -การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาองค์ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน วัสดุ ขั้นตอนการแปรรูป การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
-ปัจจัยภายนอกที่มาส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มการผลิตหรือกลุ่มอาชีพ เช่น การส่งเสริมจากหน่วยงานราชการ เครือข่ายชุมชนอื่น , องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นต้น
-ปัจจัยภายในที่ส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มการผลิตหรือกลุ่มอาชีพ เช่น ผู้นำ , สำนึกรักท้องถิ่น , ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
3.ปัญหาและอุปสรรค
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | ด้านวิชาการ
1.เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนและสามารถนำองค์ความรู้ในการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนในชุมชนอื่นที่มีศักยภาพในพัฒนา
2.เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์,ชุมชน,หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยในครั้งนี้
3.เกิดชุดความรู้หรือองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยในประเด็นด้านการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน
ด้านสังคมและชุมชน
1.เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านศักยภาพของชุมชนในการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน
2.สามารถนำแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมชุมชน แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดการเรียนรู้ แนวคิดการมีส่วนร่วมและแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดกิจกรรมด้านการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ได้
3.สามารถนำรูปแบบในการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาชุมชนในชุมชนอื่นต่อไปได้
หน่วยงานภาครัฐที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
1.สาขาวิชาสังคมวิทยา (การพัฒนาชุมชน) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2.สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
3.องค์การบริหารส่วนตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
4.หน่วยงานภาคีความร่วมมือต่างๆที่ทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่งานวิจัย
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | สังคมเกิดขึ้น จนกลายเป็น วัฒนธรรมและวินัยการบังคับควบคุมหรือการใช้อำนาจก็ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น
5. เทคโนโลยีเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี โดยใช้เทคโนโลยีที่เกื้อกูล ไม่ทำลาย ธรรมชาติ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์แบบใหม่ที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องคำนึงว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้นั้น เป็นไปในทางสร้างสรรค์หรือ ทำลาย ใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติและเป็นคุณอย่างแท้จริง รู้จักประมาณและมีสัมมาทิฎฐิรู้จักพัฒนา และควบคุมตนเอง ต้องพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการพัฒนาตนเอง เพื่อเกื้อหนุนให้ตนเองมี ชีวิตดีงาม สมบูรณ์ มีอิสรภาพและสันติสุข
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ในระหว่างกระบวนการวิจัยที่จะเกิดขึ้นในโครงการนี้ เป็นลักษณะของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเน้นการประยุกต์รูปแบบการวิจัยที่ชุมชนท้องถิ่น ได้คิดค้นหาในระหว่างกระบวนการวิจัยที่จะเกิดขึ้นในโครงการนี้ เป็นลักษณะของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเน้นการประยุกต์รูปแบบการวิจัยที่ชุมชนท้องถิ่น ได้คิดค้นหาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ชุมชนท้องถิ่นมีองค์ความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่น แกนนำชุมชนเป็นผู้ที่คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผน ดำเนินการต่างๆในการดำเนินงาน รวมทั้งรับผลลัพธ์สุดท้ายจากการวิจัยเอง ซึ่งประสบการณ์จากการที่ชุมชนท้องถิ่นได้เข้าถึงหนทางในการค้นหาองค์ความรู้ด้วยตัวเอง จะส่งผลให้ชุมชนเกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาชีวิต เนื่องจากภูมิความรู้ไม่ใช่อยู่ในลักษณะแค่การรับรู้ และการรู้จักเท่านั้น แต่เป็นความรู้ที่รู้จริง และรู้ลึกถึงหลักการ แนวทาง วิธีการทำ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติ
สำหรับทีมงานวิจัย และภาคีที่เกี่ยวข้องมีแนวทางที่จะนำคุณค่าของงานวิจัยไปสร้างสรรค์สังคมด้วยช่องทางที่หลากหลายซึ่งประกอบด้วย หนึ่ง ได้เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ สอง การขยายผลสู่ชุมชนอื่นโดยการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่ที่อยู่ในเครือข่ายของทีมงานวิจัย สาม การสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าทางการศึกษาด้วยการใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ และเป็นพื้นที่วิจัยแก่นักศึกษาของทางสถาบัน ตลอดจนเป็นชุมชนต้นแบบที่ให้ชาวบ้าน และองค์กรในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
กล่าวคือ ชุมชนท้องถิ่นมีองค์ความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่น แกนนำชุมชนเป็นผู้ที่คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผน ดำเนินการต่างๆในการดำเนินงาน รวมทั้งรับผลลัพธ์สุดท้ายจากการวิจัยเอง ซึ่งประสบการณ์จากการที่ชุมชนท้องถิ่นได้เข้าถึงหนทางในการค้นหาองค์ความรู้ด้วยตัวเอง จะส่งผลให้ชุมชนเกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาชีวิต เนื่องจากภูมิความรู้ไม่ใช่อยู่ในลักษณะแค่การรับรู้ และการรู้จักเท่านั้น แต่เป็นความรู้ที่รู้จริง และรู้ลึกถึงหลักการ แนวทาง วิธีการทำ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติ
สำหรับทีมงานวิจัยและภาคีที่เกี่ยวข้องมีแนวทางที่จะนำคุณค่าของงานวิจัยไปสร้างสรรค์สังคมด้วยช่องทางที่หลากหลายซึ่งประกอบด้วย หนึ่ง ได้เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน สอง การขยายผลสู่ชุมชนอื่นโดยการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่ที่อยู่ในเครือข่ายของทีมงานวิจัย สาม การสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าทางการศึกษาด้วยการใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ และเป็นพื้นที่วิจัยแก่นักศึกษาของทางสถาบัน ตลอดจนเป็นชุมชนต้นแบบที่ให้ชาวบ้าน และองค์กรในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 1820 ครั้ง |