รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000453
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :พุทธวิธีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง จังหวัดนครนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Buddhist method Development of personnel potential of local administrative organizations. Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :พุทธวิธี, พัฒนาศักภาพ,บุคลากรท้องถิ่น
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :01 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :รัฐประศาสนศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :4. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย สําหรับองค์กรปกครองส่วนทองถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐได้ให้ความเป็นอิสระคล่องตัว ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบมีความเป็นอิสระ ในการกําหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอํานาจ หน้าที่ของตนเอง โดยเฉพาะรัฐบาลเป็นผู้กํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่าที่จําเป็นภายใต้ กรอบกฎหมายและเพื่อกระจายอํานาจ ให้ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ ของประชาชนในทองถิ่น หรือ ประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม และในส่วนขององค์ประกอบองค์กรปกครองสวนทองถิ่น ประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น ทําหน้าที่ฝ่ายบริหาร ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงของประชาชน ในท้องถิ่น และมีสภาท้องถิ่น ทําหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่นนั้นเช่นเดียวกัน (โกวิทย์ พวงงาม, 2550 : 13) ดังนั้นการพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development : HRD) เป็นหัวใจหลักของ หลายองค์กร เนื่องจากทรัพยาบุคลากรเป็นเรื่องที่สําคัญ ที่ส่งผลต่อความสําเร็จขององค์การ ซึ่งทุกองค์การมุ่งที่จะให้บุคลากรของตนมีความรู้ความสามารถและเต็มใจปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา การดําเนินงานขององค์การต่างๆ จะประสบความสําเร็จ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในภารกิจหน้าที่ รับผิดชอบในระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับระดับคุณภาพของคน เรียงลําดับความสําคัญตั้งแต่ผู้นําสูงสุดของ องค์การผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงานทุกคน ซึ่งจะส่งผลไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม ให้มีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคง และด้วยเห็นว่ามนุษย์ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงสุด เพราะคนเป็นกลไกทําให้เกิดงานงานที่มีคุณภาพต้องเกิดจากคนที่มีคุณภาพ จึงได้มุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากร เป็นสําคัญ (ปราโมทย์ อินสว่าง : ออนไลน์) การจะพัฒนาบุคลากรขององค์กรจําเป็นต้องประเมินความสามารถของบุคลากรขององค์กรให้รู้ว่ามีจุดแข็งอะไรที่ต้องส่งเสริมสนับสนุนและมีจุดอ่อนอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไขที่สําคัญ การพัฒนาเพื่อให้รู้ทันความเป็นไปของโลกธุรกิจในอนาคต องค์กรต้องมีความสามารถที่จะแบ่งปัน เอาทรัพยากรในตลาดมาสร้างความมั่งคั่งให้กับองค์กร ซึ่งเป็นภาระอันใหญ่หลวงของผู้บริหารทุกคน องค์กรที่ดีสมาชิกขององค์กรต้องมีข้อผูกมัดหรือพันธะทางใจว่าจะทําให้งานขององค์กรประสบผลสําเร็จ และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ การที่องค์กรจะขับเคลื่อนได้ขึ้นอยู่กับสมาชิกขององค์กร ซึ่งการพัฒนาพนักงานมีหลาย รูปแบบ เช่น การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม การมอบหมายงาน การทํางานเป็นกลุ่มคณะ (Team building) การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาสายอาชีพ เป็นต้น (ประเวศน์ มหารัตน์สกุล, 2547 : 265-17) ดังนั้นการพัฒนาบุคคลากรเป็น สิ่งจําเป็นต่อประสิทธิภาพงานเป็นอย่างมาก กล่าวคือ เมื่อได้มีการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าทํางานแล้ว มิได้หมายความว่าจะสามารถให้เข้าทํางานได้ทันทีเสมอไป จําเป็นต้องมีการอบรมแนะนํา เบื้องต้นแก่ผู้เข้าทํางานใหม่(Orientation) ในบางกรณีอาจต้องมีการอบรมถึงวิธีการทํางาน (In-service training) ให้ด้วย (สมาน รังสิโยกฤษฎ์, 2530 : 83)สภาพการณดังกล่าวนับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปได้ เนื่องจากการพัฒนาประเทศนั้นจําเป็นต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ กล่าวคือ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและเป็นคนดี มีคุณธรรมควบคู่กันไป ในการที่จะนําพาประเทศให้ผ่านวิกฤตของสังคมไปไดh ซึ่งสอดคล้องกับนักมนุษยศาสตร์ อย่างท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ” ท่านมองเห็นเหตุปัญหา คือ เหตุของความหายนะของสังคมโลกที่กําลังก่อตัวขึ้นมา อย่างชัดเจนเพราะนั่นคือท่านมองเห็นว่า ศีลธรรมหรือคุณธรรม จริยธรรมเท่านั้นจะช่วยแก้ปัญหาได้ ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาประเทศบรรลุเป้าหมายและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคนในประเทศให้เป็นคนที่มีคุณภาพก่อน โดยการให้การศึกษา อบรม เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ คือ การให้การศึกษาที่พัฒนาคนเพื่อการประกอบอาชีพเป็นการพัฒนาคนในเรื่องภายนอก สวนการพัฒนาคนในเรื่องภายใน อันได้แก่ การพัฒนาจิตใจด้วยการส่งเสริม และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในตัวบุคคล ให้สามารถดํารงตน และดําเนินชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างสันติและมีอิสรภาพ โดยใช้หลักไตรสิกขาในทางพระพุทธศาสนา อันประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นกระบวนการศึกษาที่พัฒนามนุษย์ทั้ง ทางกาย วาจา ความคิด จิตใจ อารมณ์และสติปัญญา (สุมน อมรวิวัฒน, 2530 : 44) องค์การบริหารส่วนตำบล หนองปลิง ตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบุคลากรในสังกัดจำนวน 118 คน ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์การนั้นได้มีการพัฒนาตลอดมาแต่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนานั้นยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง จึงทำให้บุคลากรยังมีศักยภาพในการทำงานไม่เต็มที่ตามที่หน่วยงานต้องการ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรจึงได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ยังขาดหลักการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีเป้าหมายสําคัญในการฝึกอบรม กาย จิต และปัญญาของบุคลากรตามหลักไตรสิกขา ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล หนองปลิง จังหวัดนครสวรรค์ตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อนําเสนอแนวทางการใช้หลักธรรมในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1) ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยเรื่อง พุทธวิธีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ในครั้งนี้ จะทําการศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร แนวคิดกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และแนวคิดเกี่ยวกับ หลักไตรสิกขา 2) ขอบเขตด้านพื้นที่ การศึกษาวิจัยเรื่อง พุทธวิธีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่วิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง 3) ขอบเขตด้านตัวแปร การพัฒนาบุคลากรตามแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ Nadler 3 ด้าน ได้แก่ การฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา, การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตามแนวคิดของ David C. McClelland ได้แก่ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skills) และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (attributes) และหลักพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร 3 ด้าน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา 4) ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานจ้าง จํานวน 118 คน (อบต.หนองปลิง : ออนไลน์) ซึ่งเป็นประชากรทั้งหมด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :สามารถนำไปใช้กับองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : 8.2.7 การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลจากแบบสอบถามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยตรวจสอบความสมบูรณ์ ของแบบสอบถาม จากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดย ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืน แล้วคัดแยก แบบสอบถามที่ไม่สมบูรณ์ออก เหลือเพียงแต่แบบสอบถามที่สมบูรณ์ถูกต้องพร้อมทั้งการลงรหัส (Coding Form) โดยแยกเป็นประเด็นสำคัญแล้วให้คะแนนแต่ละข้อ โดยการกำหนดระดับไว้ 5 ระดับ โดยแปลความหมายเพื่อจัดระดับค่าเฉลี่ยออกเป็นช่วง ดังนี้ (ธานินทร์ ศิลป์จารุ,2552 : 75) ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ มาก ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ น้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ น้อยที่สุด เมื่อได้ทราบถึงเกเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละระดับ พร้อมทั้งความหมายของ ค่าเฉลี่ยในแต่ละประเด็นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( X ) (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :347 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางวิชญาภา เมธีวรฉัตร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด