รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000451
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษารูปแบบจักสานภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากไม้ไผ่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :A STUDY IN INDIGENOUS WISDOM HANDICRAFT TO DESIGN THE FASHION BAMBOO BAG IN AMPHOE MAE POEN NAKHONSAWAN PROVINCE
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :INDIGENOUS WISDOM HANDICRAFT TO DESIGN
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาศิลปะ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :งานสร้างสรรค์(ออกแบบ)
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ซึ่งเป็นแผนแม่บท หลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย ๔.๐ ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งในระดับกลุ่มอาชีพระดับภาคและระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ” และยังได้กำหนดแนวคิดและกลไกการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลที่ชัดเจน การพัฒนาเป็นไปอย่างมีทิศทางและเกิดประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทย (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2562 หน้า 2) ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรีพันตำรวจโททักษัณ ชินวัตรได้กำหนดนโยบายที่จะต่อสู้กับความยากจน โดยการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบฐานรากทางเศรษฐกิจ โดยได้กำหนดโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ซึ่งเป็นกระบวนการเสริมสร้างรายได้ให้กับประชาชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว โดยมีสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรรจากระดับในปี พ.ศ. 2546 มีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรรในระดับอำเภอจำนวน 258 ผลิตภัณฑ์ และผ่านการคัดสรรในระดับจังหวัด จำนวน 168 ผลิตภัณฑ์ (ธนพัฒน์ วัฒนชัยธรรม และ วัฒนาพร วัฒนชัยธรรม, 2550 หน้า 1-2 ) จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่กล่าวถึง ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รวมถึงการกำหนดนโยบายที่จะต่อสู้กับความยากจน โดยการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบฐานรากทางเศรษฐกิจ โดยได้กำหนดโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ผู้วิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นยังขาดการออกแบบที่ดูสอดคล้องกับยุคสมัย เพื่อการออกแบบและจำหน่ายเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐานตรงตามต้องการของตลาดสากลที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนมีความแข็งแรงอย่างยั่งยืน “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวทางประการหนึ่งที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยใช้หลักการภูมิปัญญาท้องถิ่นสากล พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ การสร้างทรัพยากร ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) รูปแบบกระเป๋า จากพื้นที่อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ และได้พบว่า ไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่ของชมุชนใน อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์มีอยู่จำนวนมากทางชุมชนได้นำมาปลูกเพิ่ม และนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้ตามหมู่บ้านรวมถึงเครื่องใช้ในครัวเรือนทุกหลังคา แถมยังเป็นการสืบทอดจากบรรพบุรุษในท้องถิ่น เมื่อสัมภาษณ์กับผู้นำชุมชมพบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋ายังไม่มีจำหน่ายขายจะมีแต่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประกอบอาชีพเท่านั้น เช่น กระติบข้าว หวดนึ่งข้าว หวดนึ่งข้าวเหนียว ไซดักปลา ไซมงคล ตระกร้าไม้ไผ่ สุ่มไก่ ฯลฯ เท่านั้น ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นปัญหาควรจะมีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในท้องถิ่นอำเภอแม่เปิ่น จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ พัฒนาภูมิปัญญาให้แก่ผู้ผลิตในท้องถิ่น ด้วยการนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาศึกษาเพื่อหาคุณสมบัติเฉพาะที่จะสามารถนำมาแปรรูปเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋า ซึ่งผลจากการศึกษาที่ได้จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์กระเป๋าให้มีความสวยงามและเหมาะสมกับวัตถุดิบนั้นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าตัวผลิตภัณฑ์ที่เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเพิ่มมูลค่าในด้านความสวยงามอีกด้วย
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. ศึกษารูปแบบจักสานภูมิปัญญาท้องถิ่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ ประเภทกระเป๋าด้วยวัตถุดิบไม้ไผ่ 2. เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากไม้ไผ่
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้คือ ออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าจากไม่ไผ่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ โดยมุ่งความสวยงามของรูปแบบลวดลาย และประโยชน์ใช้สอยเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ในด้านต่างๆ ที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์ โดยมีกระบวนการดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทางด้านวัสดุ หลักการออกแบบ และเทคนิควิธีการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าจากไม้ไผ่ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินแบบผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าจากไม้ไผ่เพื่อพัฒนา ขอบเขตด้านพื้นที่ แบ่งเป็นพื้นที่ได้ดังนี้ 1.1 พื้นที่ในการศึกษาไม้ไผ่ ได้แก่ กลุ่มหัตถกรรมจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ 1.2 พื้นที่ในการศึกษาทำแบบสอบถาม วัดระดับความพึงพอใจ และศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค ได้แก่ กลุ่มหัตถกรรมจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านเนื้อหาที่จะศึกษา สำรวจเอกสารเพื่อเปรียบเทียบผลงาน วิจัย บทความและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์ไม่ไผ่ เพื่อศึกษาและรวบรวมผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากไม้ไผ่ ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรต้น ได้แก่ 1.1 รูปแบบของผลิตภัณฑ์กระเป๋า ซึ่งประกอบด้วย 1.1.1 ขนาด สัดส่วน และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กระเป๋า 1.1.2 หลักเกณฑ์ทางด้านการออกแบบ (Design Aspect) ประกอบด้วย ลักษณะทางกายภาพ (Practical Function) และด้านความงาม (Aesthetic Function) 1.1.3 หลักเกณฑ์ด้านการผลิต (Production Aspect) ประกอบด้วย ด้านวัตถุ (Material) ที่ใช้ในการผลิต และกรรมวิธีการผลิต (Process) ผลิตภัณฑ์กระเป๋า 2. ตัวแปรตาม ได้แก่ 2.1 ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กระเป๋าที่ได้จากการออกแบบ ได้แก่ ประโยชน์ใช้สอย และความสวยงาม 2.2 ความพึงพอใจที่ได้จากแบบสอบถาม ได้แก่ รูปแบบ, การใช้สี, การผสมผสานลวดลาย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตในการส่งเสริมพัฒนา สร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด 2. พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :93 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวศมลพรรณ ภู่เล็ก บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด