รหัสโครงการ : | R000000446 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | THE DEVELOPMENT OF COMMUNICATIVE ENGLISH PACKAGES TO ENHANCE ENGLISH LISTENING-SPEAKING ABILITIES AMONG PEOPLE IN NAKHON SAWAN PROVINCE |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษ เพิ่มพูนความสามารถ การฟัง-พูดภาษาอังกฤษ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติและอยู่ระหว่างดำเนินการ |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 50000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 50,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยบูรณาการ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | มนุษยศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | โลกปัจจุบันคือโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร มนุษย์มีการติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอยู่เสมอ ซึ่งมนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงมีความสำคัญมากในโลกปัจจุบัน นอกจากภาษาจะเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารดังกล่าวข้างต้น ภาษายังช่วยให้มนุษย์ตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม รวมถึงช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ หรือประเทศต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ภาษาที่ใช้กันมากที่สุด คือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งสอดคล้องกับ Viriyachitra, et al. (2012, p.10) กล่าวว่า ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษากลางของโลกหรือกลายเป็นภาษาสากล จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษมีอิทธิพลต่อการเมือง การค้า การศึกษา และการพัฒนาของเทคโนโลยี ดังนั้นผู้คนจึงหันมาเรียนหรือใช้ภาษาอังกฤษเพื่อจะสื่อสารกับคนทั่วโลก และสื่อสารกันเองภายในประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าประชาคมอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการด้วยเช่นกัน และ Deerajviset (2015, p. 56-57) กล่าวว่า เมื่อภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการของอาเซียน ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษจึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักศึกษามหาวิทยาลัย เนื่องจากภาษาอังกฤษกลายเป็นเครื่องมือที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการศึกษาและเพิ่มโอกาสในการทางาน (อ้างใน เกรียงศักดิ์ ฐานะกอง และนิธิดา อดิภัทรนันท์, 2560) ผู้วิจัยซึ่งสนใจและเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ โดยการฝึกอบรมจะเน้นทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ แบบเน้นทักษะสำหรับการสื่อสารตามทฤษฎีภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ (English for Specific Purposes) เน้นเนี้อหาและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ร่วมอบรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งเพื่อเป็นปัจจัยในการส่งเสริม และสนับสนุนในการทำงาน รวมไปถึงการท่องเที่ยว และเพื่อเป็นการพัฒนาประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย |
จุดเด่นของโครงการ : | จุดเด่นของการวิจัย คือ การพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสารของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ครั้งนี้ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1.เพื่อศึกษาความต้องการด้านเนื้อหาในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับสื่อสารของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์
2.เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านการทำงาน
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านการทำงาน |
ขอบเขตของโครงการ : | ในการออกแบบพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสารของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงได้หยิบยกประเด็นความต้องการความรู้ด้านภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างและระดับทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างวิเคราะห์ก่อน แล้วจึงพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยจะได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษให้มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้งานได้จริงและถูกต้องตามหลักวิชาการ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1.หลังจากสิ้นสุดการดำเนินงานวิจัย ประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์จะได้รับการอบรมหลักสูตรจากการสำรวจความต้องการการพัฒนาชุดฝึกอบรมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์
2.ผลจากการนำชุดฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร นำไปใช้เพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้วิจัยมีความมั่นใจว่าชุดฝึกอบรมจะพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกอบรม อีกทั้งได้เนื้อหาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชนให้สามารถแข่งขันกับการขยายตัวของตลาดการท่องเที่ยวเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไปได้ในอนาคต |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 1.ความหมายของการเรียนรู้
แนวความคิดและทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อย ๆ หลายหลักการในเรื่องของการเรียนรู้นี้ มีผู้ให้ความหมายของคาว่าการเรียนรู้ไว้มากมาย โดยนามาจากพัฒนาการของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ เกิดเป็นทฤษฎีที่แตกต่างกันไป อาทิ การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ (Klein, 1991) ในขณะที่ สุรางค์ โค้วตระกูล (2539) กล่าวว่า การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ (ประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อม) เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัดและพฤติกรรมนั้นอาจจะคงอยู่ระยะหนึ่งหรือตลอดไปก็ได้ โดยคนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด และเรียนรู้ได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอน นำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน (อ้างใน ปทมรัศมิ์ นาคนิษฐนนต์, 2559)
2.ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ของมัลคัม โนลส์
โนลส์ (Knowles, 1980) กล่าวว่า ผู้ใหญ่มีประสบการณ์มากกว่าเด็ก ดังนั้นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่จึงแตกต่างจากเด็ก ในการจัดการเรียนการสอนจึงต้องยึดหลักการศึกษาผู้ใหญ่ ที่เรียกว่า แอนดราโกจี (Andragogy) ซึ่งประกอบด้วย
2.1) มโนทัศน์ของผู้เรียน (Self –concept) ผู้ใหญ่มีวุฒิภาวะสูงและมีมโนทัศน์ต่อตนเอง การเรียนรู้ของผู้ใหญ่จึงเป็นไปในลักษณะการนำตนเอง
2.2) ประสบการณ์ของผู้เรียน (Experience) ผู้ใหญ่มีประสบการณ์ที่จะเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ และในขณะเดียวกันก็เปิดกว้างสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
2.3) ความพร้อมที่จะเรียน (Readiness) ผู้ใหญ่พร้อมที่จะเรียน เมื่อตระหนักว่าสิ่งที่จะเรียนนั้นจำเป็น
2.4) แนวทางการเรียนรู้ (Orientation to Learning) เป็นแบบยึดปัญหาเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ โดยมุ่งนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาทันที
ในการเรียนการสอนตามทฤษฎี แอนดราโกจี (Andragogy) นี้ ผู้สอนจึงต้องให้ความสำคัญต่อการนำประสบการณ์ของผู้เรียนมาส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยต้องคำนึงถึงเวลาในการเรียนรู้และการจัดกลุ่มผู้เรียน เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนของผู้ใหญ่ด้วย
3.ลักษณะของภาษาเพื่อการสื่อสาร
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เป็นทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งการพูด ฟัง อ่าน และเขียน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารในวัตถุประสงค์และสถานการณ์ต่าง ๆ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและการพัฒนาภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็น มีนักวิชาการได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของภาษาเพื่อการสื่อสารดังนี้
วิดโดสัน (Widdowson, 1978 อ้างอิงใน ริชชาร์ท และ โรจเจอร์ Richards & Rodgers, 1986) กล่าวว่า ภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นระบบที่ใช้สำหรับการสื่อความหมายหน้าที่ของภาษานั้นเพื่อการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร โครงสร้างทางภาษาสะท้อนถึงการใช้เพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ และหน่วยพื้นฐานที่สำคัญของภาษามิใช่เป็นเพียงไวยากรณ์และลักษณะโครงสร้างประโยคเท่านั้น แต่เป็นความหมายของใจความที่สื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย
ความสามารถของบุคคลในการสื่อสารมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (Canale and Swain, 1980 อ้างอิงใน ริชชาร์ท และ โรจเจอร์ Richards & Rogers, 1986)
1) ความสามารถทางไวยากรณ์ (Grammar) ซึ่งหมายถึงความสามารถทางกฎไวยากรณ์และคำศัพท์ที่ต้องใช้ในการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์หรือสถานการณ์ใด ๆ
2) ความสามารถทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม (Sociolinguistics) ซึ่งหมายถึงความเข้าใจบริบททางสังคมที่การสื่อสารใด ๆ เกิดขึ้น และหมายรวมถึงความสัมพันธ์เชิงบทบาท (Role Relationships) ข้อมูลแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ร่วมในการสื่อสาร และวัตถุประสงค์ของปฏิสัมพันธ์
3) ความสามารถด้านสัมพันธสาร (Discourse) ซึ่งเป็นความสามารถในการตีความและเชื่อมโยงความของสัมพันธสาร
4) ความสามารถเชิงกลยุทธ์ (Strategic Competence) หมายถึง กลยุทธ์ในการเริ่มต้น (Initiation) การเลิก (Termination) การรักษาไว้ (Maintenance) การแก้ไข (Repair) การหาช่องทางในการสื่อสาร (Redirection of Communication)
ทริเชีย เฮดจ์ (Tricia Hedge) กล่าวว่าความสามารถทางการสื่อสารในภาษาอังกฤษมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (Hedge, 2000)
1) ความสามารถด้านทักษะภาษา (Linguistic Competence) เป็นความสามารถทางภาษาซึ่งครอบคลุมด้านการสะกดคำ (Spelling) การออกเสียง (Pronunciation) คำศัพท์ (Vocabulary) การสร้างคำ (Word Formation) โครงสร้างทางไวยากรณ์ (Grammatical Structure) โครงสร้างประโยค (Sentence Structure) และความหมายของภาษา (Linguistic Semantics)
2) ความสามารถด้านการใช้ภาษาในการสื่อความหมายในบริบททางสังคม (Pragmatic Competence) ซึ่งหมายถึงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในบริบทต่าง ๆ คำศัพท์หรือสำนวนใดสำนวนหนึ่งอาจมีความหมายแตกต่างกันถ้าสถานการณ์ของการใช้ต่างกัน นอกจากนี้ ยังหมายถึงความสามารถในการเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับบริบททางสังคม (Social Context) ด้วย เช่น การใช้ภาษาที่เป็นทางการกับไม่เป็นทางการ
3) ความสามารถในการใช้โครงสร้างทางภาษาเพื่อสื่อความหมายในการพูดและการเขียน (Discourse Competence) เป็นความสามารถในการเข้าใจระดับข้อความ สามารถเชื่อมโยงความหมายและโครงสร้างไวยากรณ์ สามารถตีความข้อความได้ และการเลือกใช้ภาษาให้เหมาะกับสถานการณ์ เช่น ภาษาที่ใช้ในการเริ่มการสนทนา การเข้าสู่สาระ การพูดแทรก การตรวจสอบและยืนยันข้อมูลในการสนทนา
4) ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อสาร (Strategic Competence) เป็นความสามารถในใช้กลวิธีหรือเทคนิคเพื่อให้การสื่อสารบรรลุตามวัตถุประสงค์ เช่น เมื่อผู้พูดไม่สามารถสื่อสารในตามที่ต้องการได้เนื่องจากขาดข้อมูล ผู้พูดอาจใช้กลวิธีเปลี่ยนเรื่องสนทนา หรือพยายามใช้วิธีอื่นในการ
5) ความคล่อง (Fluency) เป็นความสามารถในการเชื่อมหน่วยของการพูดเข้าด้วยกันและสื่อสารออกมาได้อย่างคล่องแคล่ว ความคล่องในการสื่อสารมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ ความคล่องในการเชื่อมโยงความหมายของคำ (Semantic Fluency) ความคล่องในการเรียงคำในประโยค (Lexical-syntactic Fluency) และความคล่องในการแสดงความคิดหรือโต้ตอบในการสนทนา (Articulatory Fluency)
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ภาษาเพื่อการสื่อสารนั้น เป็นทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร เน้นความหมายและความเข้าใจในสารที่รับส่ง และการที่บุคคลจะสามารถประสบความสำเร็จในการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ นั้น จำเป็นต้องมีความสามารถทั้งทางด้านทักษะภาษา ความสามารถด้านการใช้ภาษา ความสามารถเลือกใช้กลวิธีในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต้องมีความคล่องในการสื่อสารด้วย ดังนั้น ความสามารถด้านไวยากรณ์อย่างเดียวไม่สามารถช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในบริบทต่าง ๆ ได้
4.การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
คาโรลล์ (Carroll, 1989, Online) ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญซึ่งส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จไว้ 5 ประการ ประกอบไปด้วย 1) ความถนัดของผู้เรียน (Learner’s Aptitude) เมื่อผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความถนัดในการเรียนรู้ ระยะเวลาที่ผู้เรียนแต่ละคนใช้ในการเรียนเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ตามเกณฑ์จึงแตกต่างกัน ผู้ที่มีความถนัดมากจะใช้เวลาเรียนรู้น้อย ในขณะที่ผู้ที่มีความถนัดน้อยจะใช้เวลาเรียนรู้มาก 2) โอกาสในการเรียนรู้ (Opportunities to learn) ซึ่งหมายถึงโอกาสในการใช้เวลาในการเรียน ผู้เรียนที่มีโอกาสในการเรียนรู้มากย่อมมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ได้ดี 3) ความประสงค์ในการใช้เวลาสำหรับการเรียนรู้ของผู้เรียน (Perseverance) ความต้องการในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของผู้เรียน ย่อมจะส่งผลต่อแรงจูงใจ พร้อมทั้งความใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนรู้แตกต่างกัน 4) คุณภาพในการสอน (Quality of instruction) เพราะกลวิธีการสอนที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลในการเรียนรู้ของผู้เรียนแตกต่างกัน การสอนที่ดีย่อมทาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี และ 5) ความสามารถในการเข้าใจสิ่งที่สอน (Ability to understand instruction) เพราะผู้เรียนมีความสามารถทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน เวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ก็ย่อมแตกต่างกันด้วย
การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องให้ความสำคัญทั้งในด้านการใช้ภาษาและการตีความข้อความต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการใช้ภาษาของผู้เรียนการจัดกิจกรรมแบบหลากหลายบริบท กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ภาษามากขึ้น มุ่งเน้นที่การพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการใช้ภาษาตามความมุ่งหมายในสถานการณ์ต่าง ๆ และแม้จะให้ความสำคัญแก่ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา แต่ก็มิได้ละเลยเรื่องความถูกต้องของภาษาแต่อย่างใด การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารจึงเน้นการทำกิจกรรมเพื่อฝึกการใช้ภาษาที่ใกล้เคียงสถานการณ์จริงให้มากที่สุด ข้อดีของกา |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | 1.ความหมายของการเรียนรู้
2.ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ของมัลคัม โนลส์
3.ลักษณะของภาษาเพื่อการสื่อสาร
4.การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การวิจัยครั้งนี้จะใช้การทดลองแบบ One Group Pre-test and Post-test Design
เครื่องมือที่ผู้วิจัยจะสร้างขึ้นสำหรับการเก็บข้อมูลดำเนินการวิจัย มีดังต่อไปนี้
1. สัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) เกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการศึกษานำร่อง โดยบันทึกและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประกอบการสร้างชุดฝึกอบรม
2. ชุดฝึกอบรมทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร (Communicative English skill Training Packages) โดยสร้างตามทฤษฎีภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ (English for Specific Purposes) เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ และความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก (Hutchinson & Waters, 1669) โดยผู้วิจัยจะได้ประมวลสถานการณ์ที่กลุ่มประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์จะต้องพบในขณะที่นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์
3. แบบทดสอบ (Test) มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน โดยมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว และนำแบบทดสอบไปหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยหาดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบ (Index of Item Objective Congruence: IOC) ของ Rovinelli & Hambleton (1977) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน
4. แบบสอบถาม (Questionnaire) ความพึงพอใจในการพัฒนาชุดฝึกอบรมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ ลักษณะของแบบสอบถามมี 2 ตอนประกอบไปด้วย ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวประกอบไปด้วย เพศ อายุ รายได้ อาชีพ เป็น แบบตรวจสอบรายการ (Check List) ตอนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และนำแบบสอบถามมาหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และหาค่าดัชนีความสอดคล้อง หรือ IOC และหาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยนำแบบสอบถาม ไปทดลองใช้กับผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายแต่มีลักษณะเหมือนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน โดยหาค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach, 1990)
5. แบบสังเกตการณ์ (Observation) ซึ่งจะใช้กับกลุ่มประชากรเป้าหมายเพื่อเป็นการยืนยันว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความจำเป็นต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารจริง
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมดังนี้
1. การพัฒนาชุดฝึกอบรมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ ใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม
2. การอบรมจะใช้เวลาจำนวน 30 ชั่วโมง ครั้งละ 6 ชั่วโมง จำนวน 5 ครั้ง
3. การประเมินความพึงพอใจของการพัฒนาชุดฝึกอบรมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจหลังจากทดสอบหลังเรียนแล้ว
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
พื้นที่กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ บุคคลวัยทำงานในองค์กรภาครัฐและเอกชนและผู้ประกอบอาชีพอิสระในจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และแบบอาสาสมัครตามความเหมาะสมกับบริบทของงานวิจัย |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ โดยการฝึกอบรมจะเน้นทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ แบบเน้นทักษะสำหรับการสื่อสารตามทฤษฎีภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ (English for Specific Purposes) เน้นเนี้อหาและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ร่วมอบรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งเพื่อเป็นปัจจัยในการส่งเสริม และสนับสนุนในการทำงาน รวมไปถึงการท่องเที่ยว และเพื่อเป็นการพัฒนาประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 125 ครั้ง |