รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000443
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :กระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Process for Promoting the Grateful and Elderly Values to Students at Schools of Chainat Primary Educational Service Area Office
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ค่านิยมแห่งความกตัญญูและคุณค่าผู้สูงอายุ, สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :325000
งบประมาณทั้งโครงการ :325,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) มีเกณฑ์ว่าประเทศใดที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 10 และสัดส่วนของประชากรอายุเกินกว่า 65 ปีขึ้นไป สูงกว่าร้อยละ 7 แสดงว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ประชากรไทยกำลังสูงวัยขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงวัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 แล้ว เมื่อสัดส่วนประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) สูงถึงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ในปี พ.ศ.2550 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 10.7ของประชากรทั้งหมดประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีมากถึงร้อยละ 20 ในปี พ.ศ.2564 และคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในอีกไม่ถึง 20 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2578) โดยประมาณการว่า จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มเป็นร้อยละ 28 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), 2558) จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสูงอายุดังกล่าวจึงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในอีกหลายประเทศที่ได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว (ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, 2553) นอกจากประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว ยังพบว่าทั้งจำนวนและสัดส่วนประชากรที่เป็นผู้สูงอายุวัยปลาย หรืออายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จากการคาดประมาณประชากร พบว่าสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายจะเพิ่มจากประมาณร้อยละ 13 ของประชากรสูงอายุทั้งหมดในปี พ.ศ.2553 เป็นเกือบ 1 ใน 5 ของประชากรสูงอายุในปี พ.ศ.2573 การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุวัยปลายนี้น่าจะสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ (วิพรรณ ประจวบเหมาะ และชลธิชา อัศวนิรันดร, 2553) เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ภาวะเจริญพันธุ์ของไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งการลดลงของอัตราเจริญพันธุ์ไม่เพียงเกิดจากการใช้วิธีการคุมกำเนิดกันอย่างแพร่หลายเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการขยายการศึกษาในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาของประเทศไทย (Pritchett, 1994) การขยายการศึกษาได้เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว เมื่อเด็กเข้าไปสู่สถานศึกษาจึงทำให้การช่วยงานบ้านของบุตรลดลง นอกจากนี้ยังทำให้รายได้ครอบครัวลดลง เนื่องจากบุตรเข้าโรงเรียนแทนที่จะเข้าสู่แรงงาน (Knodel et al., 1987) ขณะเดียวกันระดับการตายของคนไทยที่ลดลง ส่งผลให้อายุคาดเฉลี่ยของคนไทย และสัดส่วนของผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามมา ในทางกลับกันพบว่าสัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีลดลง แต่เนื่องจากความรับผิดชอบของลูกที่มีต่อพ่อแม่ในสังคมไทย ทำให้บุตรในครอบครัวขนาดเล็กในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่ต้องมีภาระเพิ่มในด้านการดูแลผู้สูงอายุมากกว่าครอบครัวขนาดใหญ่ในอดีตความสัมพันธ์ของครอบครัวในสังคมไทยมีลักษณะของระบบอาวุโส สมาชิกครัวเรือนที่เป็นผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการจากผู้ที่อายุน้อยกว่า (Potte, 1976; Potter, 1977) ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของสังคมไทย เรียกว่า “ความกตัญญู” โดยที่ความกตัญญูนี้มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวก คือ รัฐมีภาระไม่สูงนักในการดูแลผู้สูงอายุเนื่องจากครอบครัวให้การดูแลผู้สูงอายุแทนแล้ว ส่วนในด้านลบคือ เป็นการเพิ่มภาระของบุตรในการดูแลพ่อแม่ โดยพบว่า หากบุตรมีภาระนี้มาก จะออกจากโรงเรียนมาเพื่อช่วยพ่อแม่ทำงานในภาคเกษตรกรรม หรือต้องออกจากบ้านไปทำงานที่อื่น แต่กระนั้นก็ตาม กลวิธีอยู่รอดของครอบครัวในเมืองแตกต่างจากครอบครัวชนบท เด็กๆ ในเมืองไม่ต้องออกจากโรงเรียนแต่สามารถสนับสนุนช่วยเหลือพ่อแม่ในการทำงานบางช่วงเวลา เช่น เป็นพนักงานขาย หรือพนักงานในร้านอาหาร (อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, 2550) สังคมไทยในอดีตให้ความเคารพและยกย่องผู้สูงอายุด้วยเห็นว่าผู้สูงอายุเป็นผู้ทรงความรู้ความสามารถ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นเวลานาน มีประสบการณ์ที่ดีมีคุณค่าที่ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลังเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตามการเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคม อีกทั้งการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจหลายๆ คนว่าคนไทยในยุคโลกาภิวัตน์ที่เติบโตมาในบริบทของสังคมไทย ยังคงให้คุณค่าผู้สูงอายุเหมือนในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่เติบโตมาพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่การให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ เริ่มเปลี่ยนไปการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมน่าจะส่งผลกระทบต่อความคิดและความเชื่อของคนในสังคมที่มีต่อผู้สูงอายุ ไม่มากก็น้อย วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่ส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุ วัฒนธรรมในการให้คุณค่าผู้สูงอายุเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักผู้สูงอายุออกไปอยู่ชายขอบหรือดึงผู้สูงไว้ให้ยังคงอยู่วงใน สังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันยังให้คุณค่าแก่ผู้สูงอายุสูงมาก การที่คนไทยมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุเป็นเหมือนพลังฉุดรั้งไม่ให้ผู้สูงอายุหลุดออกไปอยู่ชายขอบได้โดยง่าย คนไทยมีวัฒนธรรมที่ให้ความเคารพนับถือผู้สูงอายุ การประกอบพิธีกรรมงานประเพณีต่างๆ จะให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุและผู้มีอาวุโส ครอบครัวไทยเปรียบผู้สูงอายุเป็นเหมือนร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นศูนย์กลางทางจิตใจของลูกหลาน สังคมไทยให้เกียรติและเคารพนับถือผู้สูงอายุเป็นผู้ทรงความสามารถ เป็นผู้สะสมภูมิปัญญาผู้สูงอายุจึงมีคุณค่าสูงในสังคมไทยที่บุตรหลานในครอบครัวและคนในชุมชนจะต้องเคารพยกย่อง คนไทยยังมีค่านิยมเรื่องความกตัญญูรู้คุณ และพร้อมที่จะแสดงกตเวทิตาคือ ตอบแทนพระคุณท่าน การสงเคราะห์บิดามารดาถือเป็นหนึ่งในมงคล 38 ประการในคติพุทธศาสนา (ปราโมทย์ ประสาทกุล, 2555) ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาจำนวนและสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุได้ก่อให้เกิดความห่วงใยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของภาระการดูแลผู้สูงอายุของคนรุ่นลูกรุ่นหลาน โดยมองว่าหากทัศนะของคนรุ่นลูกรุ่นหลานต่อผู้สูงอายุเปลี่ยนไป เช่น มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของลูกหลาน หรือเป็นภาระของสังคม ทัศนะเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ดังนั้น การรับรู้และการทำความเข้าใจถึงทัศนคติหรือมุมมองของผู้ที่ต้องรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็น เพราะจะเป็นข้อมูลพื้นฐานช่วยในการกำหนดแนวทาง ตลอดจนนโยบายด้านผู้สูงอายุอย่างรอบด้าน สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคต อันจะส่งผลให้สามารถช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมและอย่างทั่วถึงซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าต่อไป (กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และคณะ, 2553) ดังนั้น ทัศนะมุมมอง หรือแนวคิดเกี่ยวกับคุณค่าจึงมีความสำคัญมาก เพราะช่วยทำให้มนุษย์ปรับกระบวนทัศน์ที่มีต่อมนุษย์ด้วยกันได้ กล่าวคือ เมื่อมองว่ามีคุณค่าหรือได้รับการส่งเสริมการเห็นคุณค่าก็จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด มีอายุ เพศ สีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา อาชีพ ชนชั้นใด รวยหรือจน อย่างไร ก็ล้วนมีคุณค่า ดังนั้น ถ้าทุกคนยึดถือเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมขั้นพื้นฐาน ก็ไม่น่าจะมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม มนุษย์และสังคมของมนุษย์กลับไม่ได้ง่าย หรือตรงไปตรงมา ดังที่ควรจะเป็นตามที่ กล่าวข้างต้น แต่มนุษย์กลับมีวิธีคิดที่สลับซับซ้อน ทำให้ปัญหาต่างๆสลับซับซ้อนตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการละเลย คุณธรรมจริยธรรมขั้นพื้นฐาน จึงทำให้สังคม มนุษย์เดินห่างไกลออกจากเรื่องนี้มากขึ้นทุกที และทำให้ทุกอย่างดูสลับซับซ้อน ยากแก่การแก้ไขเยียวยา (อรทัย อาจอ่ำ, 2554 ) สำหรับประเด็นเรื่องผู้สูงอายุนี้ก็เช่นกัน ที่กำลังจะกลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือการที่สังคมไทยเปลี่ยนเป็นสังคมผู้สูงอายุในช่วงเวลาไม่นาน ขณะที่ยุโรปและอเมริกาใช้เวลาถึงครึ่งศตวรรษ หรือเกือบศตวรรษในการเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมผู้สูงอายุ (วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ, 2552) อย่างไรก็ตาม แม้สังคมไทยจะมีวัฒนธรรมหลายอย่างที่ให้คุณค่าแก่ผู้สูงอายุ แต่ก็ยังมี “วยาคติ” หรือมีอคติต่อผู้คนในบางกลุ่มอายุอยู่โดยเฉพาะต่อกลุ่มผู้สูงอายุ เราพอจะมองเห็นว่าสังคมไทยยังมีทัศนคติ และการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุในเชิงลบอยู่ไม่น้อย ทัศนคติเชิงลบหลายอย่างได้รับการปลูกฝังมาแต่เด็ก เช่น ภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุ คือ ผู้เฒ่า ที่จะต้องหลังโกง ถือไม้เท้า ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอกขาวโพลน พูดด้วยเสียงสั่นเครือ หูตึง เชื่องช้า เงอะงะ ซุ่มซ่าม ฟันหลุดหมดปาก หูตาฝ้าฟาง จู้จี้ขี้บ่น ขี้หลงขี้ลืม และเจ็บออดๆ แอดๆ คนแก่ไทยถูกวาดภาพให้เป็นคนอ่อนแอ หมดพลังในการทำงาน ไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป กลายเป็นผู้เป็นภาระต้องพึ่งพาคนวัยแรงงานบ่อยครั้งที่เราได้ยินคำพูดเย้ยหยันให้ผู้สูงอายุเลิกทำงาน หรือเลิกเกี่ยวข้องกับการทำงาน แล้วไล่ให้กลับไปเลี้ยงหลาน สิ่งที่ควรระวังคือ ทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงอายุที่อาจเกิดขึ้นในคนบางกลุ่ม หรือในสังคมไทยในอนาคต จะเป็นพลังผลักให้ผู้สูงอายุต้องหลุดออกจากวงในไปอยู่ชายขอบ ในขณะที่กระแสโลกาภิวัตน์กำลังหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยคุณค่าของผู้สูงอายุที่เคยมีอยู่ในสังคมไทยอาจสั่นคลอนไปได้ คนไทยรุ่นใหม่กำลังซึมซับเอาความคิดและวิถีการดำเนินชีวิตในแนวทุนนิยมและบริโภคนิยม วิทยาการและเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งจำนวนผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก คนรุ่นใหม่อาจเปลี่ยนค่านิยมที่มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระ ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่เคยเป็นเหมือนการแสดงความกตัญญูกตเวทีอาจถูกมองว่าเป็นภาระของลูกหลาน ครอบครัว และสังคม ทัศนคติเ
จุดเด่นของโครงการ :ทำให้เด็กนักเรียนเห็นคุณค่าผู้สูงอายุในชุมชน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อสร้างกระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท 2 เพื่อจัดทำคู่มือการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียน
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านเนื้อหา เป็นการศึกษาประเด็นเพื่อสร้างกระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาทและจัดทำคู่มือการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียน ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นการศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท ทำการเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวทางหลัก เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้อย่างแท้จริง โดยใช้เทคนิค 1.การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้วิจัยกำหนดให้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในแต่ละโรงเรียน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้อำนวยการ/ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 54 คน (2) กลุ่มตัวแทนครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 54 คน รวมจำนวน 108 คน 2.การจัดการสนทนากลุ่ม ทำการสนทนากลุ่ม จำนวน 1 ครั้ง ที่ โรงแรมแฟนตาซี รีสอร์ทชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท โดยแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 10 คน (2) กลุ่มครูผู้สอนช่วงชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 10 คน (3) กลุ่มครูผู้สอนช่วงชั้นปีที่ 4-6 จำนวน 10 คน ขอบเขตด้านระยะเวลา กำหนดระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่เดือน 30 ตุลาคม 2560- 29 ตุลาคม 2561
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ด้านวิชาการ - นำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ระดับชาติ จำนวน 1 บทความ - ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) ระดับชาติ 1 บทความ - ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ระดับชาติ จำนวน 1 บทความ - ได้คู่มือการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียน สังคมและชุมชน - สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท สามารถนำข้อมูลที่ได้ใช้ในการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียน - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น โรงเรียน สถาบันการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาหรือส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ แนวนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ แนวคิดเกี่ยวกับค่านิยมไทย แนวคิดเกี่ยวกับการเสริมสร้างค่านิยมไทย สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้นำเอาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาค่านิยมและแนวคิดเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ มาปรับให้เข้ากับประเด็นการวิจัยนี้ ซึ่งการพัฒนาค่านิยมนั้นจะเกิดจากประสบการณ์และการประเมินค่าของบุคคล ในขณะเดียวกันก็มาจากความเชื่อและจตคติ ในที่นี้ได้นำเอาแนวคิดของ ชญานิศวร์ กุลรัตนมณีพร และคณะ (2555 : 27) ที่ได้สรุปว่าการเกิดค่านิยมมีพฤติกรรม 3 อย่าง ได้แก่ การยอมรับค่านิยม ความชอบในค่านิยม และการผูกมัด ส่วนการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ ผู้วิจัยได้นำเอาแนวคิดของ Ajzen and Fishbein (1980: 19) และ Triandis (1971: 3) ที่ได้กำหนดองค์ประกอบของการเห็นคุณค่าเป็นผลลัพธ์จาก 3 องค์ประกอบที่สมดุลกัน ของแต่ละบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้าภายใต้บริบททางสังคมอันได้แก่ องค์ประกอบทางด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม กล่าวคือหากบุคคลมีความรู้สึกทางบวกกับสิ่งเร้าที่ต้องการศึกษา ซึ่งในที่นี้คือ การเห็นคุณค่าผู้สูงอายุบุคคลย่อมแสดงว่าเห็นคุณค่าผู้สูงอายุในทางบวก เช่น การเอาใจใส่ในการดูแลผู้สูงอายุ การเกิดความสบายใจเมื่ออยู่กับผู้สูงอายุ เป็นต้น และหากบุคคลมีความรู้สึกทางลบก็ย่อมปฏิบัติออกมา ในทางตรงกันข้าม ดังนั้นการเห็นคุณค่าเป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้สึกซึ่งสะท้อนจากพฤติกรรมที่แสดงออกของ แต่ละบุคคล การเห็นคุณค่าช่วยให้บุคคลเข้าใจโลกและบริบทต่าง ๆ รอบตัว ทำให้บุคคลได้รับประโยชน์ต่าง ๆ และช่วยในการปรับตัวเข้ากับสังคม และการเห็นคุณค่าช่วยให้บุคคลแสดงตนเองออกมา ซึ่งสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนและกลุ่มครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท โดยวิธีการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม สำหรับรายละเอียดของวิธีการวิจัยมีดังนี้ เนื่องจากการศึกษาการสร้างกระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท ต้องทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีประสบการณ์และเกี่ยวข้องโดยตรง ผู้วิจัยจึงได้กำหนดรูปแบบการดำเนินการวิจัย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้อย่างแท้จริง เพื่อรวบรวมข้อมูลที่มีรายละเอียดและเนื้อหาสาระตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Cooper and Schindler, 2001) มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1.แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ด้วยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลที่เคยมีประสบการณ์ (Key Informant) และเกี่ยวข้องกับนักเรียนโดยตรง จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท ที่ทำการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา ซึ่งมีทั้งหมด 54 โรงเรียน โดยทำการคัดเลือกแบบเจาะจงกลุ่มละ 1 คน จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 54 คน (2) กลุ่มครูผู้สอน จำนวน 54 คน รวมกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนละ จำนวน 2 คน ที่ต้องทำการสัมภาษณ์เชิงลึกทั้ง 54 โรงเรียน ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 108 คน ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง เป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีประเด็นคำถามกำหนดขึ้นไว?ในการสนทนาอย่างกว้างๆ เพียงประเด็นหลักๆ ส?วนประเด็นอื่นๆ มักจะมีเพิ่มเติมขึ้นระหว่างการสนทนา โดยไม่มีการเรียงลำดับคำถามไว?แน่นอนตายตัวจะปิดการสัมภาษณ์เมื่อไหร่ก็ได? ตามที่ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าได?ข้อมูลเป็นที่เพียงพอแล้ว เพื่อทราบถึงค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ ตลอดจนเพื่อทราบกระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุของนักเรียน 2.การจัดสนทนากลุ่ม (Group Discussion) ดำเนินการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 1 ครั้ง ที่โรงแรมแฟนตาซี รีสอร์ทชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท โดยแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 10 คน (2) กลุ่มครูผู้สอนช่วงชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 10 คน (3) กลุ่มครูผู้สอนช่วงชั้นปีที่ 4-6 จำนวน 10 คน เพื่อให้ได้กระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุให้แก่นักเรียน ซึ่งขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างทำโดยประสานขอรายชื่อผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ในด้านความกตัญญูจากสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท ในแต่ละกลุ่มที่กำหนด การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล และภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยเลือกวิธีใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งเป็นการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย โดยบรรยายเป็นเนื้อหาตามที่ปรากฏในข้อความและการพิจารณาเนื้อหาโดยผู้วิจัย ไม่มีอคติหรือความรู้สึก ส่วนตัวเข้าไปพัวพัน เทคนิคนี้จะทำให้เนื้อหาสาระเพื่อตอบคำถามปัญหาวิจัยได้เที่ยงตรงมากที่สุด โดยมีขั้นตอนการวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ 1. รวบรวมผลข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยแยกประเด็นออกเป็น 4 ด้าน คือ 1.1 ค่านิยมแห่งความกตัญญู 1.2 การเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ 1.3 กระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุของนักเรียน 1.4 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 2. นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาจัดหมวดหมู่ของข้อมูลในลักษณะเชิงบรรยาย และอ่านทำความเข้าใจตามเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องตามขอบเขตที่ศึกษาทั้ง 4 ด้านข้างต้น 3. คัดเลือกคำ ประโยค หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นในการศึกษาในแต่ละด้านข้างต้นออกมาให้ได้มากที่สุด 4. ผู้วิจัยดำเนินการซ้ำตามข้อ 2 - 3 สำหรับข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลคนต่อไปจนครบ จำนวนที่ไปสัมภาษณ์ แล้วนำมาจัดกลุ่มประเด็นต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา โดยถามประเด็นในเรื่องเดียวกันก็จะรวบรวมไว้ด้วยกัน โดยยังไม่พิจารณาว่าประเด็นใดเป็นประเด็นหลักและประเด็นใดเป็นประเด็นย่อยในขั้นตอนนี้ 5. เมื่อได้ประเด็นต่างๆ จำนวนมาก และไม่มีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้น (ข้อมูลอิ่มตัว) ผู้วิจัยจึงหยุดสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลทุกรายมาวิเคราะห์รวมกัน 6. ผู้วิจัยลดทอนข้อมูล โดยการพิจารณาจัดหมวดหมู่ให้กับประเด็นเหล่านั้นว่า ข้อความใดควรเป็นประเด็นหลัก และข้อความใดควรเป็นประเด็นย่อยที่อยู่ภายใต้ประเด็นหลัก ประเด็นที่ตัดออกเนื่องจากเป็นคำตอบที่ซ้ำซ้อนกันก็จะตัดออกไป เพื่อหาข้อสรุปตามความเป็นจริงที่ปรากฏและครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การศึกษา 7. ในส่วนของข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยจะนำมาพิจารณาจัดหมวดหมู่ตาม ประเด็นที่ศึกษา 4 ด้านข้างต้น เพื่อหาข้อสรุปตามความเป็นจริงที่ปรากฏและครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การศึกษา 8. ผู้วิจัยนำข้อสรุปที่ได้จากการสัมภาษณ์และสัมมนากลุ่มเขียนในลักษณะเชิงบรรยาย ปรากฏการณ์ทั้งหมดเพื่อสรุปเป็นค่านิยมแห่งความกตัญญู การเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ กระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุของนักเรียน และข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนและกลุ่มครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยคัดเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ จำนวน 108 คน และดำเนินการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มครูผู้สอนช่วงชั้นปีที่ 1-3 และกลุ่มครูผู้สอนช่วงชั้นปีที่ 4-6 กลุ่มละ 10 คน แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าค่านิยมแห่งความกตัญญูของนักเรียนในโรงเรียนอยู่ในระดับที่น่ายกย่อง น่าชมเชย เพราะนักเรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกทางด้านความกตัญญู เช่น การมีความรู้สึกสำนึกในบุญคุณ ด้วยการแสดงความเคารพ นับถือเชื่อฟัง และช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนด้านการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุของนักเรียนในโรงเรียนจะมองผู้สูงอายุในเรื่องการมีคุณค่าลดต่ำลง และกระบวนการส่งเสริมค่านิยมแห่งความกตัญญูและการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุของนักเรียนนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเริ่มตั้งแต่ ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าโรงเรียนเป
จำนวนเข้าชมโครงการ :175 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวพรรณอร พัฒนการค้า บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
ว่าที่ร้อยตรีเอกลักษณ์ นาคพ่วง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด