รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000438
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Art to develop for life skill of Preschool Children
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :Life skill, Art activity, Preschool Children
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :65000
งบประมาณทั้งโครงการ :65,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :25 เมษายน 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :26 เมษายน 2563
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ทักษะชีวิตเป็นความสามารถของบุคคลในการดำเนินชีวิตที่ประกอบด้วย การปรับตัว และการเลือกทางเดินให้กับชีวิตของตนเองเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ รอบตัวในปัจจุบัน และเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต ทักษะชีวิตจึงนับเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของเด็กปฐมวัย (0-6 ปี) ซึ่งชีวิตมีความอ่อนแอ และเปราะบางต่อสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว ซึ่งอาจนำไปสู่ความบกพร่องของพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต แต่หากเด็กได้รับการเสริมสร้างเกี่ยวกับทักษะชีวิต โดยการปูพื้นฐานมาจากครอบครัว และโรงเรียน สามารถให้มีความเข้มแข็งและมั่นคงในการทำงาน และการดำเนินชีวิต เด็กก็จะมีต้นทุนชีวิตที่มีความพร้อมที่จะปรับตัว หรือเผชิญกับปัญหารอบด้านในอนาคตได้อย่างเหมาะสมกับวัย รวมทั้งมีความสามารถในความรับผิดชอบ และการดูแลควบคุมตนเอง การจัดการกับความต้องการ และสิ่งต่างๆ ที่เผชิญในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ การคิด และการแสดงพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสมอันจะป็นแนวทางในการช่วยเหลือเกื้อกูลให้การดำเนินชีวิตในสังคมของเด็กปฐมวัยในอนาคต สามารถพ้นผ่านอุปสรรคไปได้อย่างมีความสุข (Runglawan Laakha, 2014) ในยุคศตวรรษที่ 21 เด็กปฐมวัยต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อม สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่มีการผันผวนเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว มีความซับซ้อน และมีการแข่งขันสูงที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมอนาคต การผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนคาดเดาไม่ได้นี้ ทำให้เราต้องเตรียมทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยการสร้างความสามารถให้เด็กปฐมวัยสามารถมองไปข้างหน้า วางแผน สร้างทางเลือก ตัดสินใจเลือก ถ้าเลือกผิดไม่โทษใคร แต่สามารถที่จะย้อนกลับมา PDCA วางแผนใหม่ได้จากทางเลือกที่เหลืออยู่ เมื่อพบว่าผิดอีกก็ไม่โทษใคร แต่ดูจากทางเลือกที่เหลือ แล้วปรับแผน ลองทำใหม่ จนกว่าจะสำเร็จ (Prasert prarintapolkanpim, 2017) การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หรือ Executive Function (EFs) เป็นการทำงานระดับสูงของทักษะของสมองส่วนหน้า (EFs) หรือบางตำราเรียกว่า ทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตสู่ความสำเร็จ (Rakluke Learning Group, 2018) เป็นการทำงานของสมองในการควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำ (Nuanchan Chutapakdeekul, 2017) เพื่อกำกับตนเองให้เกิดพฤติกรรมที่มุ่งสู่เป้าหมายช่วยให้เด็กคิดเป็น ทำงานเป็น ซึ่งต้องเน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำเพื่อให้เด็กมีโอกาสฝึกการคิด การวางแผน การแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะในระดับปฐมวัยที่ไม่ควรเร่งเรื่องอ่านเขียน ซึ่งเป็นการกดทับทักษะด้านอื่นๆ โดยเฉพาะทักษะความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา (Wiraphan Suphachaiyat, 2016) จากการศึกษาของศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าเด็กปฐมวัยอายุ 2-6 ปี มีพฤติกรรมที่เป็นความบกพร่องของทักษะของสมองส่วนหน้า (EFs) หรือเรียกว่าสมองด้านบริหารจัดการ (Brain Executive Functions : EFs) ประมาณ 30% (Nuanchan Chutapakdeekul 2017) ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาวิธีการบ่มเพาะการพัฒนาสมองด้านบริหารจัดการ (EFs) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผู้วิจัยได้ออกแบบวิธีการบ่มเพาะทักษะ EFs ผ่านกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA ที่ประกอบด้วย (1) P = Plan (2) D = Do (3) C = Check และ(4) A = Action ซึ่งการออกแบบการทำกิจกรรมศิลปะแบบมีเงื่อนไขด้วยกระบวนการ PDCA นี้ เป็นการออกแบบมาเพื่อช่วยเร่งปฏิกริยาให้สมองส่วนหน้าได้ใช้ทักษะ EFs ในการคิดเพื่อการประมวลประสบการณ์ในอดีต และสถานการณ์ในปัจจุบันมาใช้ในการประเมิน วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผน เริ่มลงมือทำ ตรวจสอบตนเอง แก้ไขปัญหา ตลอดจนการควบคุมอารมณ์ การบริหารเวลา การจัดลำดับความสำคัญ การกำกับตนเอง และการมุ่งมั่นทำงานจนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้ (Panadda Thanasetkorn, 2018) ได้ด้วยตนเอง และถ้าเลือกผิดไม่โทษใคร แต่สามารถที่จะย้อนกลับมา PDCA วางแผนใหม่ได้จากทางเลือกที่เหลืออยู่ แล้วปรับแผน ลองทำใหม่จนกว่าจะสำเร็จ (Prasert prarintapolkanpim, 2017) จากการทบทวนวรรณกรรมผู้วิจัยพบว่า การบ่มเพาะทักษะ EFs เป็น การพัฒนาการเชื่อมโยงของวงจรการทำงานของสมองส่วนหน้า (EFs) ที่เป็นสมอง ด้านการบริหารการคิด ซึ่งเป็นตัวรับและแปลข้อมูลส่งให้สมองอารมณ์ (Limbic System) และสมองสองส่วนนี้ทำงานร่วมกัน ส่งข้อมูลไปยังสมองเซรีเบลลัม (Cerebellum) ในการควบคุมร่างกายทั้งซ้ายและขวาให้ทำงาน และส่งไปยัง สมองอะมิกดาลา (amygdala) ให้ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ในขณะทำกิจกรรมเพื่อให้ทำงานให้สำเร็จ จนเกิดเป็นวงจรสมองในการทำงานเพื่อความสำเร็จ และผู้ที่ผ่าน การบ่มเพาะและพัฒนาทักษะ EFs ทั้ง 9 ด้าน มาอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง จนสามารถสร้างเครือข่ายวงจรทักษะ EFs 9 ด้าน ที่แข็งแกร่งได้ก็จะสามารถประยุกต์ใช้วงจรสมองดังกล่าวเพื่อพัฒนางานที่ยากกว่าได้สำเร็จ (สรุปจาก John D. Bransford, Ann L. Brown, and Rodney R. Cocking, editors.,1999 : Wikipedia, 2019 : Nuanchan Chutapakdeekul, 2017 : Naipinit Khochpakdee, 1997) ในงานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยจึงต้องการพิสูจน์ว่าเด็กปฐมวัยที่ผ่านการบ่มทักษะ EFs ทั้ง 9 ด้าน มาเป็นอย่างดี โดยใช้กระบวนการ PDCA จะสามารถประยุกต์ใช้ทักษะ EFs ในการทำงานที่ยากกว่าได้ด้วยตนเองโดยไม่มีผู้ชี้นำได้สำเร็จหรือไม่ โดยวัดจากทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่ประกอบด้วย (1) การบริหารการทำงาน (Work Management) (2) การบริหารการคิด (Cognitive management) (3) การบริหารเวลา (Time Management) และ(4) การบริหารเป้าหมาย (Goal Management)
จุดเด่นของโครงการ :เป็นงานวิจัยการใช้สมองสามส่วนของเด็กปฐมวัยผ่านการทำงานศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. ศึกษาการบ่มเพาะความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการ (EFs) ของเด็กปฐมวัยระหว่างการทำกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA 2. ศึกษาเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ (Life skill to success) ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยใช้กระบวนการ PDCA สำหรับเด็กปฐมวัย 3. ศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการ (EFs) กับทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ (Life skill to success) สำหรับเด็กปฐมวัยหลังการทดลอง
ขอบเขตของโครงการ :ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ : กิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้ กระบวนการ PDCA ตัวแปรตาม : ทักษะสมองด้านบริหารจัดการ (Executive Function : EFs) ทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ (Life skill to success) ประชากรเป้าหมาย เป็นกลุ่มประชากรในโรงเรียนที่ครูประจำชั้นยินดีให้ทำการทดลองและมีระยะทางห่างจากมหาวิทยาลัยไปกลับไม่เกิน 30 กิโลเมตร เพื่อผู้วิจัยสามารถทำงานวิจัยและกลับมาสอนนักศึกษาได้ในวันเดียวกัน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการจับฉลากมา 1 โรงเรียน เป็นนักเรียนปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 17 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ระยะเวลาในการทดลอง ทำการทดลองในเวลาปกติตั้งแต่เวลา 10.00 - 10.30 น เป็นเวลา 6 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ในวันจันทร์ พฤหัสบดี และวันศุกร์ ระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ถึงวันที่ 9 กันยายน 2562
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. มีแผนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA จำนวน 18 แผน ที่มีคุณภาพพร้อมใช้งานในทุกบริบท 2. มีแบบประเมินพฤติกรรมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และระหว่างการทำกิจกรรม จำนวน 1 ฉบับที่มีคุณภาพพร้อมใช้งานได้ในทุกบริบท 3. มีนักเรียนในกลุ่มเป้าหมายมีทักษะชีสิตสู่ความสำเร็จอยู่ในระดับดีขึ้นทุกคน 4. มีรูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปะ ทั้งในโรงเรียนและที่บ้านที่พร้อมจะเผยแพร่ / อบรม / ขยายผลได้ทุกบริบท
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. แผนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA จำนวน 18 แผน ที่มีคุณภาพพร้อมใช้งานในทุกบริบท 2. แบบประเมินพฤติกรรมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และระหว่างการทำกิจกรรม จำนวน 1 ฉบับที่มีคุณภาพพร้อมใช้งานได้ในทุกบริบท 3. นักเรียนในกลุ่มเป้าหมายมีทักษะชีสิตสู่ความสำเร็จอยู่ในระดับดีขึ้นทุกคน 4. มีรูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปะ ทั้งในโรงเรียนและที่บ้านที่พร้อมจะเผยแพร่ / อบรม / ขยายผลได้ทุกบริบท
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ทฤษฎีที่เกี่ยวช้อง 1. ทฤษฎีสมองสามส่วน 2. ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย 3. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 4. ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สมมติฐานในการวิจัย 1.นักเรียนปฐมวัยมีคะแนนทักษะ EFs ระหว่างการทำกิจกรรมศิลปะในสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์สุดท้ายสูงขี้นตามลำดับ 2.นักเรียนปฐมวัยมีคะแนนทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA สำหรับเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนการทดลอง 3. ผลคะแนนของสมองด้านบริหารจัดการ (EFs) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ (Life skill to success) ศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ เป็นการออกแบบการใช้กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ตามขั้นตอนของ PDCA แบบมีเงื่อนไขในการทำงาน เพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกริยาในเด็กกลุ่มทดลองได้เผชิญกับปัญหา และหาทางออกเพื่อเลือกตัวเลือกใหม่ เพื่อสร้างจุดยืนด้านการยืดหยุ่นความคิดในสถานการณ์ต่างๆ การทำงานที่ดี เหมาะสม และมีความสมบูรณ์เพื่อความสำเร็จของงานตามเป้าหมายในเวลาที่กำหนด ผ่านงานด้าน (1) การบริหารเป้าหมายในการทำงานให้สำเร็จ (2) การบริหารการคิดในการทำงานสู่ความสำเร็จ (3) การบริหารเวลาสู๋ความสำเร็จ และ(4) การบริหารเป้าหมายสู่ความสำเร็จ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นนการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) อาศัยการเก็บข้อมูลระหว่างการทดลองเพื่อประเมินพฤติกรรมทักษะ EFs ผ่านการทำงานในกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จเป็นรายสัปดาห์ และเก็บข้อมูลการประยุกต์ทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จก่อนการทดองและหลังการทดลอง เพื่อใช้ประกอบการทดสอบสมมติฐาน และใช้การวิจัยเชิงทดลองเพื่อยืนยันว่าการฝึกทักษะ EFs ด้วยการปฏิบัติงานศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA ภายใน 6 สัปดาห์ นักเรียนที่ได้รับการบ่มเพาะทักษะ EFs จะสามารถประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จได้ โดยมีขั้นตอนในการเก็บข้อมูล ดังนี้ 1. ก่อนจัดการเรียนรู้กิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA ผู้วิจัยได้ดำเนินการวัดพฤติกรรรมจากประเมินทักษะชีวิตสำหรับเด็กกปฐมวัยระหว่างการเล่นเกม 3 เกม ดังนี้ (1) เกมเรียงไข่ (2) เกมร้อยเชือก และ(3) เกมคีบไข่ใส่ตะกร้า (Pretest) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อน และเก็บคะแนนไว้ 2. ดำเนินการจัดการเรียนรู้กิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 17 คน ระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม 2562 - 9 กันยายน 2562 เวลา 10.30 – 11.00 น. โดยใช้เวลาสอนทั้งสิ้น 18 กิจกรรม เพื่อประเมินทักษะ EFs ระหว่างทดลองเป็นรายสัปดาห์ 3. เมื่อดำเนินการจัดการเรียนรู้กิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 แล้ว ได้ดำเนินการทดสอบหลังการทดลองโดยใช้เกมและประเมินทักษะชีวิตชุเดิม (Posttest) กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบวัดชุดเดียวกันกับที่ใช้วัดก่อนเรียน 4. ตรวจผลคะแนนพฤติกรรมทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ ก่อนและหลังการทดลอง และตรวจผลคะแนนของทักษะ EFs 9 ด้าน ระหว่างทำกิจกรรม แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ 5. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครืองคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows คำนวนหาค่าสถิติทีต้องการ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าที (t-test dependent) ดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูล 1. นำแบบสังเกตพฤติกรรมทักษะ EFs 9 ด้าน ระหว่างการทำกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA จำนวน 18 กิจกรรม มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (P) และค่าความก้าวหน้า ( D ) ในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อใช้ประกอบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้ภาพและตารางประกอบ 2. นำแบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จ 4 ด้านที่เก็บข้อมูลในการสังเกตพฤติกรรมการใช้ทักษะชีวิต ก่อนและหลังการทำกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการ PDCA โดยใช้การเล่นเกม 3 เกม มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (P) และค่าความก้าวหน้า ( D ) และการทดสอบค่าที (t - test for dependent Samples) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่มีอิสระต่อกันในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ภาพ และตารางประกอบ สถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ อำเภอโกรก-พระ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 17 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :242 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางธีราพร กุลนานันท์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด