รหัสโครงการ : | R000000433 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Supply Chain Management and Logistic of Hydroponics Vegetables, Nakhonsawan Province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การจัดการห่วงโซ่อุปทาน. ระบบโลจิสติกส์. ผักไฮโดรโปนิกส์ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 294600 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 294,600.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 เมษายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยเชิงสำรวจ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ปัจจุบันประชาชนนิยมบริโภคผักมากขึ้น เพื่อต้องการรักษาสุขภาพ แต่ผักที่วางขายในท้องตลาดทั่วไปนั้น พบว่ามีสารพิษตกค้าง เนื่องมาจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช รวมถึงมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ ที่มาจากการปลูกพืชบนดิน ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคจึงสนใจการบริโภคผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และการปลูกผักปลอดสารพิษนั้น มีหลายรูปแบบ เช่น การปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ การปลูกผักในโรงเรือน การปลูกผักไม่ใช้ดิน เป็นต้น ในการปลูกผักในดิน มักพบปัญหาเรื่องศัตรูพืช การเป็นโรคของพืช และการจัดการเรื่องปุ๋ยและน้ำ ส่งผลให้ผักมีการเจริญเติบโตช้าได้ไม่เต็มศักยภาพตามพันธุกรรมของผักชนิดนั้นๆ ส่วนการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน หรือไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นการปลูกผักเลียนแบบธรรมชาติ คือปลูกผักในสารละลายธาตุอาหาร หรือปลูกลงวัสดุปลูกที่ไม่ใช้ดิน โดยอาศัยหลักการที่ผักต้องได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตผ่านระบบรากพืช พร้อมกับได้รับออกซิเจนและแสงแดดที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ส่งผลให้การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน มีการเจริญเติบโตเต็มที่ตามศักยภาพของพันธุกรรมผักชนิดนั้น เนื่องจากสามารถใช้สารละลายธาตุอาหารและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน จึงเป็นแนวทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ สำหรับการปลูกผักในอนาคต เพื่อลดการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยและน้ำ ไม่สิ้นเปลืองแรงงาน ขั้นตอนการผลิตง่าย ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบธุรกิจ สามารถปลูกผักปลอดสารพิษแบบไม่ใช้ดินสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวและการจำหน่ายภายในชุมชนได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย
การปลูกผักเชิงพาณิชย์ เพื่อจำหน่ายในชุมชนและจังหวัดนั้น ยังพบปัญหาและอุปสรรคอยู่มาก รวมทั้งการขาดข้อมูลในการผลิต การตลาด เทคโนโลยี และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น ปัญหาด้านช่องทางการจัดจำหน่ายน้อย สภาพภูมิอากาศไม่เอื้อต่อการผลิต ต้นทุนจากการซื้อวัตถุดิบมาใช้ในการผลิต ขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตและการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความเสียหาย ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
ดังนั้นจึงนำแนวทางการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เข้ามาช่วยในการพัฒนาและจัดการการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงพาณิชย์ ซึ่งการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์นั้น เป็นการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ กล่าวคือตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจนถึงขั้นตอนการส่งมอบสินค้าแก่ผู้บริโภค โดยวิธีการนี้สามารถลดต้นทุนการผลิต การสูญเสียของวัตถุดิบ และเพิ่มมูลค่าแก่สินค้า สินค้าที่ได้มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยคุ้มกับราคาสินค้าอีกด้วย |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการผลิต การจำหน่าย และการตลาดของผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าแก่ผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์
3. เพื่อหาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. การหาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ พิจารณาตั้งแต่การจัดหา วัตถุดิบในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จนถึงขั้นตอนการจัดส่งผักไฮโดรโปนิกส์แก่ผู้บริโภค
2. ผักไฮโดรโปนิกส์ จะทำการศึกษาผักในกลุ่มผักสลัดเท่านั้น
3. ผักไฮโดรโปนิกส์ จะใช้วิธีการปลูกที่มีตัวกลางเป็นน้ำเท่านั้น
4. ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบธุรกิจ เจ้าของกิจการ ผู้บริโภค และลูกจ้าง |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้ข้อมูลสภาพทั่วไปในการผลิต การจำหน่าย และการตลาดของผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์
2. ได้แนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์
3. ต้นทุนการผลิตลดลง และสินค้าผักไฮโดรโปนิกส์มีการเพิ่มมูลค่ามากขึ้น |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 9.1 ข้อมูลทั่วไปของผักไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นคำมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ ไฮโดร (Hydro) ซึ่งแปลว่า น้ำ และ โพโนส (Ponos) แปลว่า ทำงาน หรือ แรงงาน เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า การทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำ
การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์นั้น มีหลายรูปแบบ โดยตัวกลางไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเท่านั้น แต่มีการพัฒนาให้ใช้ตัวกลางหรือวัสดุในการปลูกทดแทนดินทั้งหมด และรดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืช เป็นการปลูกพืชที่เลียนแบบการปลูกพืชบนดิน โดยใช้วัสดุปลูกชนิดต่างๆ ที่ไม่มีการปนเปื้อนของดิน มีการควบคุมการให้สารอาหารพืชลงในวัสดุปลูก หรือในน้ำที่ปลูกโดยตรง มีการไหลเวียนของอากาศในสารละลายธาตุอาหารพืช ควบคุมความชื้นให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของรากพืช
9.2 ความสำคัญของการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์
การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์หรือแบบไม่ใช้ดินนี้ สามารถปลูกผักได้ทุกสถานที่ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศ หรือขนาดพื้นที่ ไม่ว่าจะปลูกจำนวนน้อย หรือการปลูกแบบเศรษฐกิจเชิงการค้า ดังนั้นการปลูกผักไม่ใช้ดิน จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกับความต้องการสำหรับผู้ปลูกที่มีพื้นที่ปลูกน้อย และการปลูกพืชด้วยการให้สารละลายที่ไม่เปื้อนดิน จึงมีความสะอาดสวยงามกว่าการปลูกในดิน สำหรับการปลูกบนพื้นที่ขนาดเล็กหรือปลูกเป็นงานอดิเรกก็มีความสะดวกไม่ยุ่งยาก
การปลูกพืชไม่ใช้ดินนี้ มิใช่ก่อให้จะก่อเกิดประโยชน์ต่อชีวิตและความเป็นอยู่เท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับการพัฒนาชีวิตในอนาคต ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์และสถาบันวิจัยต่างๆ ได้กล่าวถึงการปลูกพืชไม่ใช้ดินว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ดีเด่น สำหรับการผลิตอาหารในอนาคต
9.3 ระบบการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์
ระบบการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ มีทั้งหมด 4 วิธี ดังนี้
9.3.1 ระบบเอ็นเอฟที (Nutrient Film Technique; NFT)
เป็นการปลูกพืช โดยให้รากพืชแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ในรางปลูกพืชกว้างตั้งแต่ 5-35 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร ความกว้างรางขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ปลูก ความยาวราง ตั้งแต่ 5-20 เมตร การไหลของสารละลายอาจเป็นแบบต่อเนื่องหรือแบบสลับก็ได้ โดยทั่วไปสารละลายจะไหลแบบต่อเนื่อง อัตราการไหลอยู่ในช่วง 1-2 ลิตร/นาที/ราง รางอาจทำมาจากท่อพีวีซี หรือทำจากโลหะ และบุภายในด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย โดยจะมีปั๊มดูดสารละลายให้ไหลผ่านรางและรากพืช และไหลเวียนกลับมายังถังเก็บสารละลาย
9.3.2 ระบบดีเอฟที (Deep Floating Technique; DFT)
เป็นการปลูกพืช โดยรากแช่อยู่ในสารละลายลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ในกระบะปลูกที่ไม่มีความลาดเอียง โดยปลูกบนแผ่นโฟมหรือวัสดุที่ลอยน้ำได้เพื่อยึดลำต้น มีการหมุนเวียนสารละลายจากถังขึ้นมาใช้ใหม่โดยใช้ปั๊ม ซึ่งการหมุนเวียนในระบบเช่นนี้จะเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้สารละลาย ระบบนี้จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบไฮโดรโปนิกส์ลอยน้ำ (Floating Hydroponics systems) ระบบนี้จะแตกต่างจากระบบเอ็นเอฟที ตรงที่ปริมาณสารละลายที่ใช้ในกระบะปลูกจะมีปริมาณมากกว่าหลายเท่าตัว ทั้งนี้เพื่อควบคุมให้อุณหภูมิคงที่ และมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยลงในช่วงเวลาเดียวกัน
9.3.3 ระบบดีอาร์เอฟ (Dynamic Root Floating; DRF)
เป็นระบบการปลูกพืชที่พัฒนามาจากระบบของ William F. Gericke ที่เน้นการปลูกพืชให้รากแช่อยู่ในน้ำส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างรากอากาศเพื่อช่วยในการหายใจ โดยจะทำให้พืชที่ปลูกในระบบนี้สามารถเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิของสารละลายที่สูงมากกว่าสารละลายในระบบอื่น Kao Te Chen นักวิจัยและพัฒนาระบบไฮโดรโปนิกส์ชาวไต้หวัน ได้พัฒนาระบบของ William F. Gericke โดยเพิ่มระบบท่อรับน้ำในกระบะ ที่ช่วยให้ระดับน้ำสูงขึ้นหรือลดลงได้ตามความต้องการของพืช โดย Kao Te Chen ได้กำหนดให้ระดับน้ำควรสูงเพียงพอที่จะทำให้รากพืชแช่อยู่ในน้ำได้ประมาณ 4 เซนติเมตร โดยรากส่วนนี้จะเป็นรากที่ดูดอาหาร (Nutrient root) และรากส่วนที่เหนือจากนี้จะเป็นรากที่หายใจและดูดออกซิเจนเข้าสู่ราก จึงเรียกรากส่วนนี้ว่ารากอากาศ ดังนั้นระบบดีอาร์เอฟ คือ ระบบที่สามารถปรับความสูง-ต่ำของน้ำในกระบะปลูกได้ตามความต้องการของรากพืชแต่ละชนิด และเพื่อให้รากพืชลอยอยู่ในน้ำระดับเพียง 4 เซนติเมตร
9.3.4 ระบบดีอาร์เอฟที (Dynamic Root Floating Technique, DRFT)
ระบบนี้ได้พัฒนาเพิ่มเติมมาจากระบบดีอาร์เอฟ ซึ่งระบบนี้ก็พัฒนามาจากระบบดีเอฟทีอีกทอดหนึ่ง แต่เพิ่มการไหลเวียนของอากาศและสารอาหาร คือมีถาดปลูกด้วยโฟม เจาะรูปลูกพืชและมีอุปกรณ์สำหรับปรับระดับของสารอาหาร เป็นระบบปลูกที่มีลักษณะเหมือนระบบดีเอฟที แต่ได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อการผลิตเชิงการค้า โดยต้องการให้พืชได้รับทั้งอากาศและสารละลายธาตุอาหารที่มีการหมุนเวียนที่รากพืชอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีระบบหมุนเวียนของสรละลายธาตุอาหารพืช จาก 2 ส่วนคือ ในถาดปลูกที่ทำจากโฟมตั้งอยู่บนโครงเหล็กที่มีระดับสูงกว่าพื้นดิน และถังใส่อาหารที่มีปริมาณมกกว่าถาดปลูก โดยปกติถังจะวางต่ำกว่าถาดปลูกหรือฝังดินใต้ถาดปลูก
9.4 การจัดการโซ่อุปทาน
การจัดการโซ่อุปทาน คือกระบวนการบูรณาการ การประสานงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าคงคลังของทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจากผู้ขายวัตถุดิบผ่านกิจการไปยังผู้บริโภค เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค การจัดการโซ่อุปทานเกี่ยวข้องกับการประสานงานและร่วมมือกันตั้งแต่กระบวนการจากผู้ส่งมอบวัตถุดิบไปยังผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้แทนจำหน่าย จนกระทั่งผู้บริโภค สามารถจำแนกโซ่อุปทานได้ 2 ประเภท ได้แก่ โซ่อุปทานเข้าสู่ผู้ผลิต และโซ่อุปทานเข้าสู่ลูกค้า ซึ่งสอดคล้องกับการขาย การจัดการโซ่อุปทานไม่เพียงแค่ประกอบไปด้วยผู้ผลิตและผู้ซื้อเท่านั้น แต่ยังคงประกอบไปด้วยคนกลาง เช่น ผู้จัดส่งวัตถุดิบให้แก่ผู้ผลิตและลูกค้าของลูกค้า ซึ่งเครื่อข่ายของโซ่อุปทาน สามารถสะท้อนให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและคู่ค้าทางธุรกิจได้ดีกว่า นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ยังช่วยให้การไหลของข้อมูลเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทางธุรกิจมากขึ้นอีกด้วย กระบวนการของโซ่อุปทาน แสดงดังรูปที่ 1.2
รูปที่ 1.2 กระบวนการของโซ่อุปทาน
9.5 การจัดการโลจิสติกส์
การจัดการโลจิสติกส์ เป็นระบบการจัดส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรจากต้นทางไปยังผู้บริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับกรผสมผสานของข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ และการบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ และกระบวนการทางด้านโลจิสติกส์ จะมุ่งเน้นการลดต้นทุนรวมของกิจกรรมรวมของโลจิสติกส์มากกว่าการมองในแต่ละกิจกรรมเดี่ยวๆ กิจกรรมโลจิสติกส์ เป็นกิจกรรมสนับสนุนการทำงานภายใน องค์กร เพื่อให้ทุกหน่วยงานภายในเชื่อมโยงเข้าหากัน รวมถึงการเชื่อมโยงภายนอกองค์กรทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ (Key Logistics Activities) สามารถแบ่งออกเป็น 13 กิจกรรม ดังนี้
9.5.1 การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications)
ข้อมูลจากการติดต่อสื่อสารเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ กระบวนการทางธุรกิจ ทำให้เกิดกระบวนการทางโลจิสติกส์ การสื่อสารภายนอกองค์กร คือ การสื่อสารกับลูกค้าหรือกับผู้ขายเท่านั้นที่องค์กรได้ให้ความสำคัญ และการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรก็เพื่อให้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานทางด้านโลจิสติกส์ การสื่อสารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดต้นทุนขึ้นได้ เช่น การรับข้อมูล และส่งต่อข้อมูลที่ผิดพลาด ทำให้ฝ่ายผลิตหรือจัดส่งนำส่งสินค้าผิดรายการหรือผิดจำนวน มีผลต่อระดับการให้บริการหรือความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นการติดต่อสื่อสารที่ดีส่งผลให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะทำให้เกิดการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง เกิดการเชื่อมโยงและการไหลของข้อมูล ส่งผลให้กระบวนการเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ?
9.5.2 การบริการลูกค้า (Customer Service)?
เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งกิจกรรมนี้ครอบคลุมตั้งแต่การนำส่งสินค้าที่ถูกต้องถูกจำนวนถูกสถานที่ถูกเวลาตรงตามเงื่อนไขทตี่กลงกันไว้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ทั้งนี้ประสิทธิภาพในการให้บริการจะมากหรือน้อยนั้น ต้องขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์อื่นประกอบด้วย เช่น กิจกรรมการขนส่งที่ช้าส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าลดลง?
9.5.3 กระบวนการสั่งซื้อ (Order processing)
กระบวนการในการ จัดการคำสั่งซื้อ ครอบคลุมตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การติดต่อ สื่อสารกับลูกค้า การตรวจสอบยอดสินค้าคงคลัง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า กิจกรรมนี้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างองค์กรกับลูกค้า ดังนั้นมีผลต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้ง่าย จึงควรใช้เวลาในกระบวนการนี้ให้สั้นและหลีกเลี่ยงความผิดพลาดให้ได้มากที่สุด?
9.5.4 การคาดการณ์ความต้องการ (Demand forecasting)
เป็นการพยากรณ์ความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการของลูกค้า นับว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการสร้างผลกำไรหรือทำให้องค์กรขาดทุนได้ การคาดการณ์ความต้องการช่วยให้องค์กรสาม |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ และสภาพธุรกิจของผักไฮโดรโปนิกส์ในปัจจุบัน
2. เก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นสำหรับใช้ในการวิเคราะห์การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนถึงการส่งมอบสินค้าแก่ผู้บริโภค
3. ศึกษาแนวทางการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์
4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการจัดการโซ่อุปทานและ
โลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์
5. จัดหาแนวทางการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 943 ครั้ง |