รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000432
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Management of appropriate technologies to promote organic rice production within the concept of sufficiency economy
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : เทคโนโลยี, ข้าวอินทรีย์, เศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :262000
งบประมาณทั้งโครงการ :262,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2561
ประเภทของโครงการ :อื่นๆ
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :พื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์สิ่งสำคัญอย่างแรกก็คืออาหาร สมัยก่อนอาหารหาได้มากมาย อาหารเป็นสิ่งล้ำค่าและจะต้องค้นหาเพื่อดำรงชีพ โดยเทคนิคในการหาอาหารต้องสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และเทคนิคนี่เองที่ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการ การหาอาหารในยุคบุพกาลเริ่มต้นด้วยการเก็บของป่า ล่าสัตว์ แต่อาหารพื้นฐานคือ พืชผักจากป่ามิใช่เนื้อสัตว์และอาหารเหล่านี้ก็เป็นพวกธัญพืช ซึ่งมนุษย์เรียนรู้พืชแต่ละชนิดว่า ชนิดใดสามารถให้พลังงานที่เพียงพอต่อการยังชีพได้ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและวิตามินต่างๆ ในขณะที่การพึ่งพาอาหารจากประเภทเนื้อสัตว์เป็นการรอคอยที่ยาวนาน การได้ธัญพืชมาชดเชยจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตเอาไว้ ข้าวนับได้ว่าเป็นอาหารหลักสำคัญของมนุษย์ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมิได้มีเพียงข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวเท่านั้นที่เป็นภาพลักษณ์ของข้าว ข้าวทั้งสองชนิดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธัญพืชทั่วโลกที่ประกอบไปด้วยข้าวประเภทต่างๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง ข้าวไรย์ ข้าวโพด และพืชตระกูลถั่วที่เมล็ดมีคุณสมบัติเหมือนข้าว เช่น ลูกเดือย บัควีท เป็นอาหารหล่อเลี้ยงประชากรทั่วโลกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวเป็นอาหารสำคัญมาแต่ดั้งเดิม ดังนั้นมนุษย์ก็คงจะหลีกหนีอาหารประเภทข้าวหรือเรียกโดยรวมว่าธัญพืชไปไม่พ้น ด้วยความที่ข้าวเป็นศูนย์รวมของสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีพเป็นหลัก หากไม่นับเนื้อสัตว์ที่เพิ่งได้รับความสำคัญในระยะหลัง อาหารคาร์โบไฮเดรตจากข้าวนับเป็นอาหารที่ให้พลังงานหลักต่อมนุษย์ทั่วโลก ในประเทศไทยอาหารที่ให้พลังงานหลักก็คือข้าวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวที่เป็นอาหารพื้นฐานแต่เดิม ทั้งอาหารคาว - หวาน อาหารว่าง ขนม อาหารในพิธีกรรม อาหารของเจ้านายหรือชาวบ้านก็ล้วนแต่ประกอบขึ้นจากข้าวเจ้าและข้าวเหนียว “ข้าว” เป็นเช่นเดียวกับ“อากาศ” ที่ใช้หายใจ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดของชีวิตที่ขาดไม่ได้ แต่ดูเหมือนว่าคนไทยรู้เรื่องราวของข้าวและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้าวน้อยมากอย่างไรก็ตามข้าวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะสลัดพ้นออกจากสังคมไทยได้แม้ว่าความหมายของข้าวในสังคมเมืองจะเหลือบทบาทเพียงแค่อาหาร แต่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อเปรียบเทียบสังคมเมืองและชนบท ข้าวยังเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์พื้นฐานที่สุดโดยเฉพาะในสังคมที่ยังมีการทำนา ข้าวยังคงมีบทบาทในการดำรงชีวิตอย่างมาก ในอดีตชีวิตของชาวนาขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตและการเติบโตของข้าว ปัจจุบันแม้ว่าวงจรชีวิตของข้าวจะเลือนหายและไม่ได้กำหนดบทบาทของชาวนามากนัก เพราะข้าวได้เปลี่ยนบทบาทมากำหนดตัวเงินแทน แต่สำหรับชาวนาข้าวก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลี้ยงชีพอยู่เหมือนเดิม ที่ผ่านมา ประเทศไทยพยายามพัฒนาตัวเองจากการที่ถูกมองว่าเป็นประเทศ “ด้อยพัฒนา”ให้ก้าวสู่ประเทศ “กำลังพัฒนา” ด้วยการพัฒนาประเทศตามแบบตะวันตก โดยกำหนดทิศทางการพัฒนา ขึ้นมาเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทิศทางในการพัฒนาด้านการเกษตรไปในลักษณะของการทำลายทรัพยากร เช่น การบุกเบิกพื้นที่ป่า การส่งเสริมให้ขยายพื้นที่เพาะปลูกส่งเสริมให้เพิ่มจำนวนครั้งของการปลูก การใช้เทคโนโลยี สารเคมีและปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตสูง แต่ผลที่ตามมาคือ เกษตรกรยากจนลง ราคาผลผลิตถูกกดต่ำเพื่อผลประโยชน์ของพ่อค้าคนกลาง หนี้สินเพิ่มขึ้น ไร้ที่ทำกิน ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมลดลงและเสื่อมโทรม ระบบการผลิตล้มละลาย และเกษตรกรบางกลุ่มไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การคุกคามของระบบทุนนิยมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อสังคมชนบท โดยเฉพาะชาวนาเกิดความยากจนมากขึ้น สูญเสียที่ดินให้นายทุน ปล่อยสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม มีปัญหาสุขภาพอนามัย เกิดการสูญหายของทรัพยากร พันธุกรรมพืช บุกรุกพื้นที่ป่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทิศทางในการพัฒนาประเทศจึงปรับรูปแบบและวิสัยทัศน์ใหม่ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 7 เป็นต้นมา จึงมุ่งเน้นการพัฒนาการเกษตรเพื่อสู่ความยั่งยืน โดยการดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ระบบเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ในแนวทางธรรมชาติจึงเริ่มกลับคืนมาใหม่ นำไปสู่วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยในคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนแปลงจากภาคการเกษตรเพื่อยังชีพสู่ภาคเกษตรเพื่อการค้า เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาการเกษตรแผนใหม่ หรือที่รู้จักกันดีในนามของ “การปฏิวัติเขียว” (Green Revolution) ซึ่งเน้นการใช้สารเคมีปุ๋ยเคมี การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร (ชลประทาน) และมีการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น เครื่องจักรเข้ามาใช้ในไร่นาเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต (Conway และ Barbier, 1990) จากการพัฒนาเกษตรตามแนวคิดดังกล่าวสารเคมีและปุ๋ยเคมีจึงเป็นปัจจัยการผลิตที่มีบทบาทสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช สารกำจัดศัตรูพืช และสารอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งการใช้สารเคมีดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2530 มีการนำเข้าสารกำจัดแมลง สารกำจัดโรคพืช สารกำจัดวัชพืช และสารอื่นๆ รวมกันเป็นจำนวน 14,625ตัน มูลค่า 1,752 ล้านบาท และในช่วงระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีแนวโน้มการใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ในปี 2544 มีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรสูงถึง 48,855 ตัน มูลค่า 8,642 ล้านบาท การเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) ถือได้ว่าเป็นระบบหนึ่งของการผลิตทางการเกษตรที่อยู่ในทางเลือกของการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) เป็นระบบการเกษตรที่ไม่มีการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์โดยกรรมวิธีทางเคมีต่างๆ ซึ่งรวมถึงการใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงดินและการใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืช แต่จะเน้นการนำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น เศษเหลือจากการเกษตรต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ หรือในบางครั้งอาจนำเอาสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์บางชนิดเข้ามาช่วยในกิจกรรมการเกษตร การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินจะให้ความสำคัญแก่ปุ๋ยธรรมชาติและปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักและในกรณีที่เกิดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชก็จะปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติ (Natural Enemies) ควบคุมศัตรูพืช (Pets) เอง หรือควบคุมโดยใช้วิธีชีวภาพ (Biological Control) หรืออาจใช้สารสกัดจากพืช (Plants Extracts) ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ ระบบข้าวอินทรีย์ (Organic Rice System) เป็นระบบการจัดการปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต และการแปรรูปข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ซึ่งเป็นรูปแบบการผลิตที่มีเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทรัพยากรดิน เนื่องจากดินเป็นทรัพยากรพื้นฐาน (Resource Base) ในกระบวนการผลิตข้าวที่สำคัญ ซึ่งมีหลักการในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญและมีแนวทางหลักในการฟื้นฟูดินในระบบเกษตรอินทรีย์มากที่สุด เนื่องจากอินทรีย์วัตถุที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายหรือที่เรียกว่ากันโดยทั่วไปว่า“ฮิวมัส” (Humus) นั้นนับได้ว่าเป็นอินทรีย์วัตถุที่มีความสำคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินหลายประการ ได้แก่ ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ช่วยเก็บกักแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ฮิวมัสยังสามารถเก็บกักน้ำได้เป็นจำนวนมากช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และยังช่วยลดสารพิษในดินด้วยการดักจับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อพืชทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมได้อีกด้วย จากที่กล่าวมาในข้างต้นแสดงเห็นว่าระบบเกษตรอินทรีย์เป็นระบบการเกษตรที่ช่วยฟื้นฟูนิเวศเกษตรหรือทรัพยากรธรรมชาติให้กลับมาสมบูรณ์ได้อีกครั้ง นับได้ว่าระบบเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางอีกหนึ่งแนวทางในการจัดการทรัพยากรโดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เป็นอย่างดี จากความสำคัญและปัญหาดังที่กล่าวมาซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความสำคัญเร่งด่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรผู้ทำนาโดยผู้วิจัยจะน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างกระบวนการที่มีส่วนร่วมของชุมชนการปรับปรุงและหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมของชุมชนที่มีอยู่ในธรรมชาติมาช่วยทำให้ปัญหาต่างๆในการผลิตข้าวให้เป็นข้าวอินทรีย์ และมีการขยายผลต่อไปยังชุมชนอื่นๆต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาระบบและรูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 2. เพื่อสร้างกระบวนการและเทคโนโลยีจากธรรมชาติที่เหมาะสมมาใช้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ 3. เพื่อทดสอบ ประเมินผล และส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านประชากร ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 2. ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงหมู่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 3. ขอบเขตด้านเนื้อหาการศึกษาวิจัย ได้แก่ บริบทของชุมชน รูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์ การสร้างและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีกับชุมชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบข้อมูลการผลิตข้าวอินทรีย์ 2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ 3. เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเผยแพร่การผลิตข้าวอินทรีย์ 4. เป็นต้นแบบและศูนย์กลางของการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจากธรรมชาติการผลิตข้าวอินทรีย์ใช้ในชุมชน 5. มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีจากธรรมชาติการผลิตข้าวอินทรีย์และทราบประสิทธิภาพ การลดรายจ่าย และแนวทางการใช้เทคโนโลยีจากธรรมชาติการผลิตข้าวอินทรีย์สำหรับใช้เผยแพร่ขยายผลไปยังชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. ข้าวอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ Organic Rice หมายถึง ข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิต และในระหว่างการเก็บรักษาผลผลิตหากมีความจำเป็นจะใช้วัสดุจากธรรมชาติและสารสกัดจากพืช ที่ไม่มีพิษต่อคนหรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลผลิต ดินน้ำ ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากอันตรายของสารพิษตกค้าง ส่งผล ให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นวิถีชีวิต วิถีชาวนากับการปลูกข้าวอินทรีย์ (สถาบันวิจัยข้าว. 2546 : 13 - 22) ภาคเหนือตอนบน ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ซึ่งอยู่ในกลุ่มข้าวหอมมะลิไทยไว้เพื่อการจำหน่าย และปลูกข้าวเหนียว กข6 ไว้เพื่อบริโภคและเหลือจำหน่ายบางส่วน ดินนามีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง - สูง ปริมาณน้ำฝนเพียงพอตลอดฤดูปลูก มีการใช้รถไถเดินตามและรถแทรกเตอร์ รวมทั้งเครื่องนวดข้าวเป็นเครื่องจักรกลช่วยทุ่นแรงในการทำนา ส่วนใหญ่ปลูกข้าวแบบปักดำ และเริ่มมีการปลูกแบบหว่านข้าวแห้งในนาลุ่มบ้าง ด้านสัตว์ศัตรูข้าวการทำนาในเวลาใกล้เคียงกันเป็นบริเวณกว้าง ช่วยกระจายการทำลายได้ และการดักจับมาบริโภคยังช่วยควบคุมปริมาณศัตรูพืชได้ดี การเก็บเกี่ยวใช้แรงคนแล้วตากสุ่มซังในนา 3 - 4 วัน ทำให้ได้ข้าวเปลือกที่มีความชื้น 13 - 15 ร้อยละ นำไปเก็บรักษาหรือจำหน่าย ในการจัดทำแผนการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ ได้พิจารณาใช้เทคนิควิธีการเดิมที่ไม่ขัดกับระบบเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ข้อมูลจากผลงานวิจัยการผลิตข้าวอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับข้อคิดเห็นของหน่วยตรวจสอบรับรองโดยมีหลักการให้หมุนเวียนใช้ทรัพยากรในพื้นที่ และพิจารณาต้นทุนทุกขั้นตอนการผลิต คือ 1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ใช้ตามความต้องการของตลาด คือขาวดอกมะลิ 105และ กข15 กข6 กลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้เองและเหลือจำหน่ายบางส่วน 2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ใช้รถแทรกเตอร์ไถเตรียมดินช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ในนาหว่านข้าวแห้ง ไถแปรโดยใช้รถไถเดินตาม หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 15กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนนาดำที่ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ดอน จะตกกล้าในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคมแล้วไถแปร คราดนํ้าขัง แลว้ ถอนกล้าข้าวมาปักดำในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการไถกลบตอซังข้าวในนานำฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา มีการเลี้ยงวัวแล้วนำมูลวัวมาหมัก ป่นแล้วอัดเม็ดนำไปใส่ในนาและเหลือจำหน่ายบางส่วน ด้านปุ๋ยพืชสด มีการปลูกถั่วเขียวโสนอัฟริกันและปอเทือง ซึ่งได้ผลดี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนต้นฤดู การจัดการดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว อยู่ภายใต้แนวคิด “รักษาสถานะความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ยั่งยืน” 4. การควบคุมน้ำและวัชพืช การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดีแต่ในพื้นที่นาลุ่มที่วัชพืชไม่รุนแรง สามารถทำนาหว่านข้าวแห้งร่วมกับถั่วเขียวสลับ ช่วยลดต้นทุนค่าแรงงานได้เป็นอย่างดี การดูแลคันนาเพื่อรักษาระดับน้ำขังในนาให้พอดีกับการเจริญเติบโตของข้าวก็เป็นการควบคุมวัชพืชอย่างได้ผลรวมทั้งมีผลต่อความแข็งแรงของต้นข้าวด้วย 5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ในระยะแรกของการเจริญเติบโต มีปูและหอยเชอรี่ แก้ไขโดยการลดระดับน้ำในนา จับมาบริโภคหรือทำน้ำหมักชีวภาพ และใส่ต้นพืชเช่น โล่ติ้นหรือหางไหลกำจัด จากการสังเกตพบว่า ต้นข้าวอินทรีย์ที่ไม่ได้รับปุ๋ยเคมี มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวที่ปลูกแบบหว่านข้าวแห้งมีการทำลายของแมลงบั่วน้อยกว่าข้าวนาดำ รวมทั้งสังเกตเห็นการเพิ่มขึ้นของศัตรูธรรมชาติในนา เช่น แมลงปอด้วงเต่า แตนเบียน เป็นต้น 6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ระบายน้ำออกในช่วงที่ข้าวสุก เก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3 - 4 วัน หลังจากนั้นนำมารวมกองไว้รอนวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วันโดยข้าวยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวต้องระวังกรณีที่เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นข้าวเจ้าต้องเป่าหรือล้างทำความสะอาดก่อน ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ย ร้อยละ 13 - 15ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษา ในยุ้งฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาดและคัดชิ้นส่วนข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว 7. ระบบพืช/ระบบเกษตร มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเงื่อนไขเป็นพื้นที่นาน้ำฝน ทำให้การปลูกพืชฤดูแล้งทำได้ยาก จึงมีเพียงพืชก่อนนาคือ ถั่วเขียวและงา พื้นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวจะปล่อยสัตว์เลี้ยง คือ วัว ควาย เข้าไปกินหญ้าและฟางข้าวเป็นอาหาร ภาคเหนือตอนล่าง การผลิตข้าวอินทรีย์ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แนะนำเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝน โดยแนะนำเทคโนโลยีที่เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ใช้ตามความต้องการของตลาด คือ ขาวดอกมะลิ105 และ กข 15 ใช้เมล็ดพันธุ์จากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แนะนำและฝึกอบรมการปลูกข้าวเพื่อทำเมล็ดพันธุ์ให้แก่กลุ่มเกษตรกร 2. การเตรียมดินและวิธีปลูก โดยวิธีหว่านข้าวแห้ง เตรียมดินด้วยรถแทรกเตอร์ไถดะและไถแปรในเดือนมีนาคม - เมษายน หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 20 กก./ไร่แล้วคราดกลบ วิธีหว่านน้ำตมเตรียมดินและปลูกในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ส่วนวิธีปักดำตกกล้าในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม แล้วปักดำในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการไถกลบตอซัง นำฟางมาทำเป็นปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา ด้านปุ๋ยพืชสด ปลูกโสนอัฟริกัน ถั่วเขียวและปอเทือง 4. การควบคุมน้ำและวัชพืช การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้ ในพื้นที่นาลุ่มที่วัชพืชไม่รุนแรง ทำนาหว่านข้าวแห้งร่วมกับถั่วเขียว ช่วยลดต้นทุนค่าแรงงาน การรักษาระดับน้ำในนาให้พอดีกับการเจริญเติบโตของข้าว สามารถควบคุมวัชพืชได้ 5. การป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนห่อใบข้าว หนอนกอ หนอนม้วนใบ แมลงสิง หมั่นตรวจและทำความสะอาด หากพบการระบาดใช้สารสกัดจากตะไคร้หอม สะเดา ในระยะแรกของการเจริญเติบโต มีปู และหอยเชอรี่ แก้ไขโดยการลดระดับน้ำในนา จับมาบริโภคหรือทำน้ำหมักชีวภาพ ใช้โล่ติ้นหรือหางไหลกำจัด โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคเมล็ดด่าง จากการสังเกตพบว่าต้นข้าวอินทรีย์มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวที่หว่านข้าวแห้ง มีการทำลายของแมลงบั่วน้อยกว่าข้าวนาดำ ศัตรูธรรมชาติในนาเพิ่มขึ้น เช่น แมลงปอ ด้วงเต่าแตนเบียน เป็นต้น 6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ระบายน้ำออกนาให้แห้งในช่วงที่ข้าวสุกแก่เก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3 - 4 วัน หลังจากนั้นนำมารวมกองนวดหรือใช้เครื่องนวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วันโดยข้าวยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวระวังกรณีที่เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นข้าวเจ้า จะเกิดการปนของข้าว ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 13 -15 ตามมาตรฐานนำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาด ต้องติดรหัสนาข้าวหรือเกษตรกรที่กระสอบข้าว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ข้อมูลจังหวัดสกลนคร) 1. พันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105 กข 15 กข 6 และ สกลนคร 2. การเตรียมดินและการปลูก ใช้รถไถเดินตามหรือรถแทรกเตอร์ ไถครั้งแรกเพื่อกลบตอซังข้าว และหว่านเมล็ดพืชปุ๋ยสดในเดือน เมษายน ตกข้าวในเดือน มิถุนายนเตรียมแปลงปักดำ ไถดะ ไถแปร และทำเทือกในเดือนกรกฎาคม 3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำปุ๋ยหมักฟางข้าวใช้มูลวัวและฟางข้าว ในแปลงข้าวอินทรีย์ เฉพาะส่วนที่ได้จาการนวดข้าว ทำในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ไถกลบตอซังข้าวเดือน เมษายน หรือ เริ่มมีฝนตก หว่านเมล็ดพืชปุ๋ยสดโสนอัฟริกัน อัตรา 5-7กิโลกรัม/ไร่ โสนขึ้นในนา 55-60 วัน ไถกลบ ปลายเดือนมิถุนายน ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าว 4. การควบคุมน้ำและวัชพืช ควบคุมระดับน้ำในนาระหว่าง 5-20 ชม.ถ้ามีวัชพืชบ้างจะกำจัดโดยวิธี การถอน 1 ครั้ง เมื่อ 25 วันหลังปักดำ 5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว เช่น หอยเชอรี่ ใช้วิธีการเก็บ แมลงศัตรูข้าวที่พบเช่นเพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนแมลงวันเจาะยอด เพลี้ยจักจั่นสีเขียว พบจำนวนน้อยและมีแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงมุมเขี้ยวยาว แมลงปอเข็ม แมลงปอบ้าน ตั๊กแตนหนวดยาว แมงมุมสุนัขป่า และด้วงเต่า คอยควบคุม ที่ผ่านมาจึงไม่ได้ใช้สารใด ๆ ควบคุม 6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ระบายน้ำออกจากนาก่อนเกี่ยวข้าว 10 วันตากตอซัง 3 - 4 วัน นวดด้วยเครื่องนวด ข้าวมีคุณภาพดี ความชื้น ที่ได้ประมาณร้อยละ 12-13 7. ระบบพืช/ระบบเกษตรกร เป็นพื้นที่นาน้ำฝนเป็นส่วนใหญ่ มีการแนะนำบ้าง ของกรมส่งเสริมการเกษตรให้ปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อบำรุงดินก่อนการทำนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (ข้อมูลจังหวัดอุบลราชธานี) 1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ใช้พันธุ์ข้าวตามความต้องการของตลาด คือขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 2. การเตรียมดินและวิธีปลูก โดยวิธีปักดำเพื่อสะดวกในการกำจัดวัชพืชการเตรียมดินใช้รถแทรกเตอร์หรือรถไถนาเดินตามไถดะช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ตกกล้าในเดือนมิถุนายน- กรกฎาคม แล้วไถแปร-คราดน้ำขัง แล้วถอนกล้าข้าวมาปักดำในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน การไถกลบตอซังข้าวในนา นำฟางข้าวมาทำปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา ในนาดำปลูกพืชปุ๋ยสดร่วมด้วยโดยหว่านเมล็ดพืช ปุ๋ยสดประมาณ 2 เดือนก่อนปักดำเพื่อให้เจริญเติบโตและสะสมน้ำหนักแห้งในปริมาณที่มากพอ พืชปุ๋ยสดที่มีศักยภาพสำหรับปลูกมีหลายชนิด เช่นถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า โสนอัฟริกันถั่วขอ เป็นต้น 4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดีรวมทั้งการดูแลคันนาเพื่อรักษาระดับน้ำขังในนาให้พอดีกับการเจริญเติบโตของข้าว ก็เป็นการควบคุมวัชพืชอย่างได้ผล 5. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว คุณภาพของข้าวได้รับผลกระทบจากการตกของฝนช่วงก่อน - หลังการเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามการจัดการแบบดั้งเดิมก็ใช้ได้ผลดี คือ ระบายน้ำออกในช่วงที่ข้าวสุกแก่ เก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3 - 4 วัน นำมารวมกองไว้นวดหรือใช้เครื่องนวดกองไว้ได้นานกว่า 30 วัน โดยข้าวยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวจะต้องระวังกรณีที่เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นข้าวเจ้าต้องเป่าหรือล้างทำความสะอาดเครื่องนวดก่อน ข้าวเปลือกที่ได้มีความชื้นเฉลี่ย ร้อยละ 13 - 15 ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาดแล้ว ทั้งนี้ จะต้องติดรหัสของนาข้าวหรือของเกษตรกรที่กระสอบข้าวด้วย 6. ระบบพืช/ระบบเกษตร มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแต่ด้วยเป็นพื้นที่นาน้ำฝนทำให้การปลูกพืชฤดูแล้งทำได้ยาก จึงมีเพียงการปลูกพืชปุ๋ยสดก่อนนา เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่มโสนอัฟริกัน ถั่วขอ เป็นต้น พื้นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวจะปล่อยสัตว์เลี้ยงเข้าไปกินหญ้าและฟางข้าวเป็นอาหาร ภาคกลาง (ข้อมูลศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี) 1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ใช้พันธุ์ตามความต้องการของตลาด คือขาวดอกมะลิ 105 ช่วงหลังปี พ.ศ. 2545 - 2547 มีพันธุ์ข้าวหอมที่ไม่ไวต่อช่วงแสงร่วมด้วยหลายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอมสุพรรณบุรี ข้าวหอมคลองหลวง 1 และ ปทุมธานี 1 รวมทั้งข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ที่ผ่านการทดสอบว่ามีศักยภาพในการผลิตเป็นข้าวอินทรีย์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ใช้รถแทรกเตอร์ไถดะ ไถแปร คราดทำเทือกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปลูกโดยวิธีปักดำ ระยะปักดำ 25 x 25 เซนติเมตร ตกกล้าโดยวิธีตกกล้าเทือกอัตราเมล็ดพันธุ์ 50 กรัมต่อตารางเมตร อายุกล้า 25-30 วัน ปักดำ 3 ต้นต่อกอข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม อัตราเมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ 3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ไถกลบฟางข้าวอัตราประมาณ 2 ตันต่อไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอก จากมูลไก่ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ มูลวัว อัตรา 1,000กิโลกรัมต่อไร่ ระยะ 3 - 4 สัปดาห์ ก่อนหว่าน หรือ ปักดำข้าว และในพื้นที่ดินเปรี้ยวมีการใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ 3 ปีต่อครั้ง 4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดีสำหรับนาหว่าน ยังมีปัญหาในการควบคุมวัชพืช การใช้แรงงานถอนวัชพืช ทำให้สิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน ซึ่งมีผลต่อต้นทุนการผลิต 5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ในระยะแรกมักมีเพลี้ยไฟเข้าทำลาย หลังจากนั้นมีหนอนห่อใบ หรือหนอนกอเข้าทำลายเป็นครั้งคราว ใช้สารสกัดสะเดาฉีดพ่น 6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ระบายน้ำออกในช่วงที่ข้าวสุกแก่ เก็บเกี่ยวนำมาตาก 3 - 4 วัน แล้วนวด ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 13 -15 ตามมาตรฐานนำไปเก็บรักษาโดยใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาดแล้ว ภาคใต้ ก่อนปี พ.ศ. 2540 ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง เช่น พันธุ์ช่อเบา จำปาเหลืองและไข่มดริ้น ไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายบางส่วน ดินนามีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ - ปานกลางปริมาณน้ำฝน ไม่เพียงพอ มีการใช้รถไถเดินตาม รถแทรกเตอร์ และเครื่องนวดข้าวช่วยทุ่นแรงส่วนใหญ่ทำนาดำ มีการทำนาหว่านข้าวแห้งในนาลุ่มบ้าง ใส่ปุ๋ยเคมีแก้ปัญหาโรคไหม้และการทำลายของแมลงในบางปี ส่วนสัตว์ศัตรูข้าวการทำนาในเวลาใกล้เคียงกันเป็นบริเวณกว้างช่วยกระจายการทำลายได้ และการดักจับมาบริโภคยังช่วยควบคุมปริมาณศัตรูพืชได้ดี การเก็บเกี่ยวด้วยแรงคนแล้วตากสุ่มซังในนา 3-4 วัน ทำให้ได้ข้าวเปลือกที่มีความชื้นร้อยละ 13-15 นำไปเก็บรักษาหรือจำหน่ายได้เลย ในการจัดทำแผนการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ได้พิจารณาใช้เทคนิควิธีการเดิมที่ไม่ขัดกับเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรและการศึกษาดูงานของกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกับข้อคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในพื้นที่ และพิจารณาต้นทุนการผลิตในทุกขั้นตอนการผลิต คือ 1. ใช้พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ตามความต้องการของผู้บริโภค คือ ช่อเบาเหลืองจำปา ไข่มดริ้น ช่วงหลังปี พ.ศ. 2547 มีพันธุ์ เล็บนกปัตตานี สังข์หยด และปทุมธานี 1ระยะแรกใช้เมล็ดพันธุ์จากศูนย์ขยายพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยข้าว และการปลูกข้าวเพื่อทำเมล็ดพันธุ์เองบ้างในปัจจุบัน 2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ใช้รถแทรกเตอร์ไถเตรียมดินช่วงเดือนกรกฎาคม -สิงหาคม ในนาหว่านข้าวแห้งซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณร้อยละ 30 จะไถแปรโดยใช้รถไถเดินตาม หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วคราดกลบในเดือนสิงหาคม นาดำอยู่บริเวณที่ดอนตกกล้าในเดือนกรกฎาคม ปักดำในเดือนสิงหาคม 3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ไถกลบตอซังข้าวในนา นำฟางข้าวมาทำ เป็นปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา มีการเลี้ยงวัวแล้วนำมูลวัวมาซึ่งได้ผลดีในบางปีขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนต้นฤดู การจัดการดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ดังกล่าว อยู่ภายใต้แนวคิด“รักษาสถานะความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ยั่งยืน” 4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดี แต่ในพื้นที่นาลุ่มที่วัชพืชไม่รุนแรง สามารถทำนาหว่านข้าวแห้งช่วยลดต้นทุนค่าแรงงานได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการดูแลคันนาเพื่อรักษาระดับน้ำขังในนาให้พอดีกับการเจริญเติบโตของข้าว ก็เป็นการควบคุมวัชพืชอย่างได้ผล รวมทั้งมีผลต่อความแข็งแรงของต้นข้าวด้วย 5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ในระยะแรกของการเจริญเติบโต ปู และหอยเชอรี่ แก้ไขโดยการลดระดับน้ำจับมาบริโภคหรือทำน้ำหมักชีวภาพ ระยะข้าวแตกกอมีหนอนกอทำลายรุนแรงในบางปี ซึ่งยังไม่มีการป้องกันกำจัด จากการสังเกตพบว่า ต้นข้าวอินทรีย์มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวหว่านข้าวแห้งมีการทำลายของแมลงบั่วน้อยกว่าข้าวนาดำ 6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว คุณภาพของข้าวได้รับผลกระทบจากการตกของฝนช่วงก่อน - หลังการเก็บเกี่ยว การจัดการแบบดั้งเดิม คือ ระบายน้ำออกในช่วงที่ข้าวสุกแก่ เก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3-4 วัน นำมารวมกองไว้นวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วันโดยข้าวยังมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวจะต้องระวังการปนของข้าวที่ติดอยู่ในเครื่องนวด ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 13-15 ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษา 7. ระบบพืช/ระบบเกษตร ยังไม่มีการพัฒนาในด้านระบบพืชเนื่องจากเป็นพื้นที่นาน้ำฝน ทำให้การปลูกพืชฤดูแล้งทำได้ยาก จึงไม่มีเพียงพืชก่อนนา พื้นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวส่วนใหญ่จะปล่อยสัตว์เลี้ยง คือ วัว เข้าไปกินหญ้าและฟางข้าวเป็นอาหารเทคโนโลยีงานวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์ (สถาบันวิจัยข้าว. 2542 : 4-6) พันธุ์ข้าวอินทรีย์ ในเชิงการค้าได้เน้นให้ใช้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี ประชาชนนิยมบริโภคและมีราคาสูง พันธุ์ข้าวที่ปลูก คือ ข้าวพันธุ์ดอกมะลิ 105 และ กข. 15 และปลูกในสภาพนาน้ำฝนซึ่งข้าวทั้ง 2 พันธุ์มีคุณลักษณะเด่น คือ ทนแล้งตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ จุดด้อย คือ ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำและไม่ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ปี 2542 ได้เริ่มงานวิจัยการประเมินพันธุ์ข้าวนาสวนในการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยการปลูกข้าวนาสวนกลุ่มต่าง ๆ คือ ข้าวหอมไวต่อช่วงแสงข้าวหอมไม่ไวต่อแสง ข้าวต้นเตี้ย ผลผลิตสูงและข้าว Japonicaในสภาพเกษตรอินทรีย์ เพื่อศึกษาศักยภาพการให้ผลผลิต การเจริญเติบโต ความทนทานต่อโรคและแมลง โดยเปรียบเทียบกับสภาพที่ใช้ปุ๋ยและสารเคมี เมื่อได้กลุ่มข้าวที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์แล้ว จึงทำการทดสอบ คัดเลือกพันธุ์ข้าวในกลุ่มนั้นให้ได้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์ จำนวนพันธุ์มากขึ้นเป็นทางเลือกเพื่อการค้าด้วยความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นพื้นฐานสำคัญในการเพิ่มผลผลิตข้าว โดยทั่วไปใช้การใส่ปุ๋ยเคมี แต่ชาวนาผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ไม่ทำเช่นนั้นได้เพราะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีกับการผลิตข้าวอินทรีย์แต่ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆฯลฯ การวิจัยและพัฒนาการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการผลิตในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศจึงมีความสำคัญ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและวัสดุอื่น ๆ สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ได้เป็นอย่างดี ซึ่งต้องวิจัยและพัฒนาให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ต่อไปเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพการเขตกรรม เป็นการเตรียมดิน อัตราเมล็ดพันธุ์ ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมวิธีการปลูก ระยะปลูก การจัดการน้ำและการควบคุมวัชพืช เพื่อให้ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของข้าว ทำให้ต้นข้าวที่ปลูกเจริญเติบโตได้ดีสมบูรณ์แข็งแรง มีส่วนสำคัญ ในการเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ นอกจากนี้การใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรกลในบางกิจกรรมการผลิตเพื่อทดแทนแรงงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาทางเขตกรรมเพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ที่เหมาะสมคือ 1. เทคโนโลยีการปลูก จากการทดลองเปรียบเทียบเทคโนโลยีการปลูกแบบต่าง ๆ ในการผลิตข้าวอินทรีย์ จะเห็นว่าในเขตภาคเหนือตอนบน การปักดำเป็นวิธีการปลูกที่เหมาะสมแต่ในสภาวะที่เกิดการขาดแคลนแรงงานหรือต้องการลดต้นทุนค่าแรง การปลูกด้วยเครื่องหยอดแบบล้อจิกและหว่านข้าวแห้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์สูง มีปัญหาวัชพืชน้อย ส่วนการกระทุ้งหยอด เป็นวิธีใช้แรงงานเทียบเท่ากับการปักดำ การปลูกแบบหยอดหรือหว่านข้าวแห้งร่วมกับถั่วเขียว โดยในระยะแรก ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตและคลุมพื้นที่ได้เร็วในขณะที่ต้นข้าวอยู่ในระยะกล้า เมื่อมีน้ำขังไร่นาถั่วเขียวจะตาย ต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้เป็นปกติต่อไปได้ 2. วัชพืช เป็นปัญหาที่สำคัญมากในการปลูกโดยวิธีการหยอดและหว่านการหว่านข้าวร่วมกับถั่วเขียว สามารถช่วยควบคุมวัชพืชได้ระดับหนึ่ง วัชพืชเป็นปัญหาที่สำคัญของการปลูกข้าวแบบเตรียมดินแห้ง โดยเฉพาะกกและวัชพืชใบกว้าง การหยอดและหว่านข้าวแห้งร่วมกับถั่วเขียว สามารถควบคุมวัชพืชได้ในระดับหนึ่ง ส่วนระดับน้ำในนาจะช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดี และเป็นวิธีที่ชาวนาปฏิบัติอยู่แล้ว 3. การรักษาระดับน้ำ เป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันวัชพืช ทำให้ต้นข้าวมีความแข็งแรงและใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่าที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก การรักษาระดับน้ำที่ 5,10 และ 15 เซนติเมตรเหนือผิวดิน จะทำให้ความสูงของต้นข้าวดอกมะลิ105 ลดลงและให้ผลผลิตสูงกว่าการรักษาระดับน้ำที่ 25 เซนติเมตรถึงร้อยละ 17ต้นทุนการผลิต การผลิตข้าวอินทรีย์โดยการจัดการดินวิธีต่าง ๆ ที่สถานีทดลองข้าวพาน พบว่า ต้นทุนค่าแรงงานไม่แตกต่างกันมากนัก ประมาณ 1,380 - 1,796 บาทต่อไร่ขณะที่ต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตแตกต่างกันมาก การใส่ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์มีต้นทุนการผลิตสูงสุด 3,116 บาทต่อไร่ รองลงมาคือ ปุ๋ยอินทรีย์ 2,956 บาทต่อไร่ ขณะที่ปุ๋ยพืชสดมักมีปัจจัยการผลิตเพียง 260 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบผลต่างต้นทุนกับรายได้ที่ราคากิโลกรัมละ7 บาทปุ๋ยพืชสดได้กำไรสูงสุด 2,775 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับอินทรียวัตถุชนิดต่าง ๆ และไม่ใส่ปุ๋ยสูงกว่าปุ๋ยเคมี 315 บาทต่อไร่ระบบการปลูกและการทำฟาร์มการผลิตที่เกื้อกูลการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน รักษาความสมดุลทางธรรมชาติ ซึ่งทำให้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์มีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่ควรทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้ระบบการปลูกที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์โครงการทางเลือกเพื่อการเกษตร (2543 : 3) ระบุว่า ระบบถั่วเหลือง - ข้าวเป็นระบบที่เหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจากเทคโนโลยีการผลิตที่เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้โดยให้ผลตอบแทนสูงถึง 9,500 บาทต่อไร่ ระบบข้าว - ข้าว และระบบถั่วเหลือง - ข้าว มีรายได้ 7,689 และ6,744 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ที่สำคัญการปลูกถั่วเหลืองไปตัดวงจรการสะสมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการปลูกพืชแบบอื่น ๆการป้องกันและกำจัดโรค แมลงและศัตรู เนื่องจากระบบการปลูกหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ประกอบกับพันธุ์ข้าวคุณภาพดีที่นิยมปลูกในปัจจุบันไม่ต้านทานโรคแมลงและศัตรูเพื่อให้ได้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูข้าวที่เหมาะสม จึงได้มีการศึกษานิเวศน์วิทยาของแมลงศัตรูข้าวในนาอินทรีย์ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ฤดูนาปี 2541 พบว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาข้าวพันธ์ขาวดอกมะลิ 105 มีจำนวนมากกว่าในแปลงข้าวพันธ์ข้าวหอมสุพรรณบุรี ประมาณ 4 เท่า เกินระดับเศรษฐกิจ (มากกว่า 10 ตัวต่อกอ) ส่วนศัตรูธรรมชาติพบแตนเบียนไข่ 2 ชนิด คือ Oligosita Yasumatsui และ Tetrastichus Formosanus ในแปลงนาข้าวขาวดอกมะลิ 105 ร้อยละ 32.4 และ 9.4 ตามลำดับ ตัวห้ำส่วนใหญ่เป็นพวกแมงมุมและมวนเขียวดูดไข่ ร้อยละ 56.6 และ 40.5 เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลต่อศัตรูธรรมชาติพบว่าเท่ากับ 2.8 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่มากผิดปกติ ศัตรูธรรมชาติไม่สามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การระบายน้ำออกจากนาประมาณ 7 - 10 วัน สามารถลดปริมาณแมลงได้2.6 - 8.5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงนาในสภาพขังน้ำในนาตลอดเวลาการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรู (ประพาส วีระแพทย์. 2541 : 8)ใช้สารสกัดรากหางไหล ความเข้มข้นร้อยละ 5-15 (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ)กับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และความเข้มข้นร้อยละ 5-20 (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ) กับหนอนห่อใบข้าวควบคุมหนอนวัย 2 ได้หมดในเวลา 24 ชั่วโมงหรือใช้สารสกัดดอกและใบยี่โถความเข้มข้นร้อยละ5-20 (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ) ควบคุมหนอนวัย 2 ได้หมดในเวลา 7-10 วัน หรือใช้สารสกัดเหง้าขมิ้นชันความเข้มข้นร้อยละ 5-20 (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ)ควบคุมหนอนวัย 2 ได้หมดในเวลา 9 วันใช้สารสกัดจากเมล็ดสะเดา รากหางไหล ดอกและใบยี่โถ ผกากรอง อย่างใดอย่างหนึ่งความเข้มข้นร้อยละ 5 - 20 (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ) กับหนอนกอ หรือใช้สารสกัดเมล็ดสะเดาความเข้มข้นร้อยละ 10 (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ) กับแมลงศัตรูในโรงเก็บ ใช้ใบสาบเสือแห้งบด 10 กรัมต่อข้าว 100 กรัม หรือใช้สารสกัดดอกดีปลีแห้งความเข้มข้นร้อยละ 10 (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ)คลุกเมล็ดข้าว หรือใช้น้ำคั้นจากใบสะเดาความเข้มข้นร้อยละ 10 (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ)หรือใช้ว่านน้ำผงแห้งคลุกเมล็ดอัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดข้าว 5 กิโลกรัม การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เป็นขั้นตอนที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้สูงขึ้น เพราะการปฏิบัติที่ถูกต้องจะช่วยลดความสูญเสียทั้งในแปลงนาและ ในโรงเก็บทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพได้ราคาอีกด้วย โครงการพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์ที่สถานีทดลองข้าวพาน เชียงราย ได้ทดสอบเบื้องต้นหาข้อมูลความชื้นของข้าว การใช้แรงงานและคุณภาพการสีที่แตกต่างกัน ปรากฏว่าเก็บเกี่ยวแล้วนวดในบ่ายของวันเดียวกันจะได้ข้าวเปลือกที่มีความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 21.3 หลังจากตากข้าวเปลือก 1 และ 2 วัน ความชื้นลดลงเหลือร้อยละ 14.3 และ11.0 ตามลำดับ การตากสุ่มซังในนา มีผลกระทบต่อคุณภาพการสีข้าวมาก คือการตากนานกว่า 3 วันทำให้ข้าวเต็มเมล็ดและปลายข้าวลดลงอย่างเห็นได้ชัด ข้าวที่ตากสุ่มซังแห้งแล้วกองรวมกันไว้นานจะไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพการสีสิ่งเจือปนที่พบส่วนใหญ่จะติดมากับเครื่องนวดข้าวและกระสอบที่บรรจุข้าวเปลือก การนวดข้าวในช่วงเช้าจะมีความชื้นในเมล็ดข้าวเปลือกมาก ซึ่งเกิดจากการดูดซับความชื้นในตอนกลางคืนการเก็บรักษา ผลผลิตข้าวอินทรีย์จะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในโรงเก็บ ถ้าเก็บรักษาผลผลิตข้าวที่ไม่ถูกวิธี ก่อให้เกิดการเสื่อมคุณภาพของข้าวที่เก็บรักษา การสูญเสียผลผลิตข้าว เนื่องจากการทำลายของแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ มีประมาณร้อยละ 4 - 5 โดยน้ำหนัก งานวิจัยด้านการเก็บรักษาจึงต้องดำเนินการเพื่อให้ได้วิธีการเก็บผลผลิตที่เหมาะสม การเก็บรักษาข้าวสารการทดลองใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารรมเพื่อกำจัดแมลงศัตรูข้าวสารและการเก็บรักษาข้าวสารให้ปลอดภัย การเก็บรักษาโดยใช้ผ้าพลาสติกคลุมกองข้าว แล้วผนึกให้แน่นกับผ้ารองพื้นด้วยกาวจนอากาศถ่ายเทไม่ได้แล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในกองข้าวเป็นเวลานาน 6 เดือนสามารถกำจัดแมลง ทุกชนิดที่มีอยู่ให้หมดไปและป้องกันไม่ให้แมลงเข้ามาทำลายในภายหลังได้อีกและสามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด และไม่พบสารอะฟลาทอกซิล คุณภาพของข้าวเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและมีความสัมพันธ์กับระยะในการเก็บรักษา การเก็บรักษาในห้องเย็น15 องศาเซลเซียส จะช่วยให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ยังคงมีกลิ่นหอมนุ่มใกล้เคียงกับข้าวใหม่แม้จะเก็บไว้นาน 1 เดือน (ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี) การเก็บโดยใช้ถุงไนล่อนหรือถุงอลูมิเนียมประกบหลายชั้นและปิดผนึกด้วยสูญญากาศ หรือบรรจุพร้อมกับถุงบรรจุสารดูดออกซิเจน สามารถป้องกันการพัฒนาของแมลงได้และช่วยเก็บรักษาคุณภาพข้าวสารให้อยู่ได้นานเป็นเวลา 6 เดือนคุณภาพและการตรวจสอบเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงตามหลักของเกษตรอินทรีย์ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตทั้งด้านกายภาพ เคมีและสารพิษตกค้างทุกขั้นตอนการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตเป็นขั้นตอนสุดท้าย (สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. 2544 : 5) ความรู้ ขั้นตอน หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ คือ ข้าวที่มีระบบการผลิตที่เน้นหลักการธรรมชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตที่ยั่งยืน ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไป จะแตกต่างกัน ที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้ 1. การเลือกพื้นที่ปลูก พื้นที่ควรมีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานานหรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตรสำหรับชาวนาที่มีพื้นที่ถือครองไม่มากและอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ควรรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตข้าวอินทรีย์ 2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว ควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับพื้นที่ปลูก และให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว และมีคุณภาพเมล็ดตรงกับความต้องการของผู้บริโภค การผลิตในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดีเป็นพิเศษ 3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีร้อยละความงอกสูง ผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ปราศจากโรค แมลงและเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์อนุโลมให้นำมาแช่ในสารละลายจุนสี (จุนสี 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร)เป็นเวลานาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก 4. การเตรียมดิน เพื่อสร้างสภาพที่เหมาะสมต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติดิน สภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนปลูกและวิธีการปลูก โดยไถดะ ไถแปร คราดและทำเทือก 5. วิธีปลูก การปลูกข้าวแบบปักดำจะเหมาะสมที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การควบคุมระดับน้ำจะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้และการปลูกกล้าข้าวจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ 30 วัน เลือกต้นกล้าที่เจริญ เติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลาย เนื่องจากในการผลิตข้าวอินทรีย์ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิดโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี จึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับปลูกข้าวโดยทั่วไปเล็กน้อยคือ ระยะระหว่างต้นและแถว ประมาณ 20 เซนติเมตรจำนวนต้นกล้า 3 - 5 ต้นต่อกอ และใช้ระยะปลูกแคบกว่านี้หากดินนามีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ในกรณีที่ต้องปลูกหลังจากช่วง เวลาปลูกที่เหมาะสมของข้าวแต่ละพันธุ์ และมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน แนะนำให้เปลี่ยนไปปลูกวิธีอื่นที่เหมาะสม เช่น หว่านข้าวแห้ง หรือหว่านน้ำตม 6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน การเลือกพื้นที่ปลูกที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงตามธรรมชาติ เป็นการเริ่มต้นที่ได้เปรียบเพื่อที่จะรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้ต้องรู้จักการจัดการที่ถูกต้อง และพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวอินทรีย์ให้ได้ผลดีและยั่งยืนมากที่สุด โดยคำแนะนำ คือ ไม่เผาตอซัง ฟางข้าวและเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ไม่นำชิ้นส่วนที่ ไม่ใช้ประโยชน์ออกจากแปลงนา และนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนาให้สม่ำเสมอ เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วในที่ว่างตามความเหมาะสมและใช้อินทรียวัตถุ ที่เกิดขึ้นในระบบไร่นาให้เกิดประโยชน์ ไม่ปล่อยดินให้ว่างเปล่าก่อนการปลูกและหลังการเก็บเกี่ยวควรปลูกพืชบำรุงดินโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน เป็นต้นวิเคราะห์ดินนาทุกปี และแก้ไขภาวะความเป็นกรด - ด่างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าวการใช้ปุ๋ยอินทรีย ? ใส่ปุ๋ยจากธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำจึงต้องใช้ในปริมาณมาก หากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต จึงแนะนำให้ใช้หลักการธรรมชาติที่ว่า “สร้างให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ใส่ทีละเล็กทีละน้อยสม่ำเสมอเป็นประจำ” ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติที่ควรใช้ ได้แก่ 1. ปุ๋ยคอก นำมาจากภายนอกหรือในบริเวณไร่นา นอกจากนี้ในชนบทหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว มักจะปล่อยให้เป็นที่เลี้ยงสัตว์โดยให้แทะเล็มตอซังและหญ้าต่าง ๆ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาปะปนกับเศษซากพืช ก็จะเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในนาอีกทางหนึ่ง 2. ปุ๋ยหมัก ควรจัดทำในพื้นที่นาหรือบริเวณไม่ห่างจากนามากนักเพื่อความสะดวกควรใช้เชื้อจุลินทรีย์ช่วยการย่อยสลายได้เร็วขึ้น และเก็บรักษาให้ถูกต้องเพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร 3. ปุ๋ยพืชสด เลือกชนิดที่เหมาะสม ควรปลูกก่อนการปักดำข้าวเพื่อให้ต้นปุ๋ยพืชสด มีช่วงการเจริญเติบโตเพียงพอที่จะผลิตมวลพืชสดได้มาก มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนสูงและไถกลบก่อนการปลูกข้าว เช่น โสนอัฟริกัน (Sesbania Rostrata) ปลูกก่อนปักดำประมาณ70 วันโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 7 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบขณะมีอายุประมาณ 50 - 55 วันหรือก่อนปักดำข้าวประมาณ 15 วัน 4. ปุ๋ยน้ำหมัก หรือน้ำสกัดชีวภาพ (Bio Extract) ควรให้ทำใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ นำมาหมักร่วมกับกากน้ำตาล (Mollass) หรือน้ำตาลทรายแดงละลายน้ำ แบ่งได้3 ประเภท ตามวัสดุที่นำมาใช้ ได้แก่ น้ำสกัดจากสัตว์ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ หอยเชอรี่ ปูนา เศษปลาหรือเศษเนื้อ น้ำสกัดจากพืช ได้แก่ผักต่าง ๆ ใบสะเดา ตะไคร้หอม พืชสมุนไพรต่าง ๆ น้ำสกัดจากผลไม้ เศษผลไม้จากครัวเรือน มะม่วง สับปะรด กล้วย มะละกอ ฟักทอง 5. วิธีใช้น้ำหมักในนาข้าว ครั้งที่ 1 หลังทำเทือก ปั้นคันนาย่อยอุดรอยรั่วป้องกันการรั่วซึมของน้ำหมัก แล้วนำน้ำหมักอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ผสมน้ำเปล่า 10 เท่า ราดให้ทั่วจึงปักดำ ครั้งที่ 2 ระยะข้าวแตกกอหรือหลังจากปักดำข้าวไปแล้ว 30 วัน ใช้น้ำหมักเนื้ออัตรา5 ลิตรต่อไร่ผสมน้ำเปล่าเท่ากันกับครั้งที่ 1 ราดให้ทั่ว ครั้งที่ 3 ระยะข้าวเริ่มตั้งท้องใช้น้ำหมักผลไม้อัตรา 250 ซีซีต่อไร่ ผสมน้ำเปล่า 50 เท่าพ่นทั่วแปลง ครั้งที่ 4 ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักจากผลไม้หลังจากครั้งที่ 3 เป็นเวลา 15 และ 30 วัน ครั้งที่ 5 ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักจากผลไม้หลังจากครั้งที่ 4เป็นเวลา 15 และ 30 วัน แนะนำให้ใช้ร่วมกับการไถกลบปุ๋ยพืชสด หรือใส่ปุ๋ยคอก 6. การใช้อินทรีย์วัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี หากปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ยังพบว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ไม่เพียงพอหรือขาดธาตุอาหารที่สำคัญบางชนิดไป สามารถนำอินทรีย์วัตถุจากธรรมชาติต่อไปนี้ทดแทนปุ๋ยเคมีบางชนิดได้คือ แหล่งธาตุไนโตรเจน เช่น แหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ดสะเดา และเลือดสัตว์แห้ง เป็นต้น แหล่งธาตุฟอสฟอรัส เช่นหินฟอสเฟต กระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาว กากเมล็ดพืชขี้เถ้าไม้ และสาหร่ายทะเล เป็นต้น แหล่งธาตุโพแทสเซียม เช่น ขี้เถ้า และหินปูนบางชนิดแหล่งธาตุแคลเซียม เช่น ปูนขาว โดโลไมท์ เปลือกหอยป่น กระดูกป่น เป็นต้น 7. ระบบการปลูก ควรปลูกข้าวอินทรีย์เพียงปีละครั้ง โดยเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมกับข้าวแต่ละพันธุ์และปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วก่อนและหลังการปลูกข้าว อาจปลูกข้าวอินทรีย์ร่วมกับพืชตระกูลถั่วก็ได้ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม 8. การควบคุมวัชพืช แนะนำให้ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีการทำนาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดินการถอนด้วยมือ วิธีเขตกรรมต่าง ๆ การใช้เครื่องมือ รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น 9. การป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูพืช หลักการสำคัญของการป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูในการผลิตข้าวอินทรีย์มีดังนี้ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทานการปฏิบัติด้านเขตกรรมจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรู รักษาสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการแพร่ขยายปริมาณของแมลงที่มีประโยชน์ ปลูกพืชขับไล่แมลงบนคันนาหากมีความจำเป็นอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากพืช ใช้วิธีกล ในกรณีที่ใช้สารเคมีกำจัดควรกระทำโดยทางอ้อม 10. การจัดการน้ำ ระดับน้ำมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทางลำต้นและการให้ผลผลิตของข้าวโดยตรง ในระยะปักดำจนถึงแตกกอ ถ้าระดับน้ำสูงมากจะทำให้ต้นข้าวสูงเพื่อหนีน้ำ ทำให้ต้นอ่อนแอและล้มง่าย ในระยะนี้ควรรักษาระดับน้ำให้อยู่ที่ประมาณ5 เซนติเมตร แต่ถ้าต้นข้าวขาดน้ำจะทำให้วัชพืชเติบโตแข่งขันกับต้นข้าวได้ ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวอินทรีย์ ตลอดฤดูปลูกควรเก็บรักษาไว้ที่ปริมาณ 5-15 เซนติเมตรจนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 7-10 วัน จึงระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน และพื้นที่ นาแห้งพอเหมาะต่อการเก็บเกี่ยว 11. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น หลังจากข้าวออกดอก ประมาณ28- 30 วัน สังเกตจากเมล็ดสุกแก่เปลี่ยนเป็นสีฟาง เกี่ยวโดยใช้เคียว ตากฟ่อนข้าวในนาประมาณ2-3 แดด แล้วจึงรวมกอง ทำการนวด การเกี่ยวโดยใช้รถเกี่ยวนวด เมล็ดข้าวยังมีความชื้นสูงต้องตากบนลานในสภาพที่แดดจัดเป็นเวลา 1-2 วัน พลิกกลับเมล็ดข้าววันละ 3-4 ครั้งให้ความชื้นเหลือร้อยละ 14 หรือต่ำกว่า เพื่อให้เหมาะสมต่อการเก็บรักษาและมีคุณภาพการสีดี 12. การเก็บรักษาข้าวเปลือก เมื่อลดความชื้นให้ต่ำกว่าร้อยละ 14 แล้วจึงนำเมล็ดข้าวไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่ในภาชนะที่แยกต่างหากจากข้าวที่ผลิตโดยวิธีอื่น 13. การสี ต้องแยกสีต่างหากจากข้าวทั่วไปโดยใช้ข้าวเปลือกอินทรีย์สีล้างเครื่อง 14. การบรรจุหีบห่อ ควรบรรจุข้าวกล้องหรือข้าวสารในถุงขนาดเล็กตั้งแต่1 กิโลกรัม ถึง 5 กิโลกรัม โดยบรรจุในสภาพสูญญากาศคุณภาพและการตรวจสอบ เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ ตรงตามหลักของเกษตรอินทรีย์ ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตทั้งด้านกายภาพ เคมีและพิษตกค้าง การวิจัยด้านต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาพันธุ์ การเขตกรรมและอื่น ๆ ต้องมีการตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพผลผลิตเป็นขั้นตอนสุดท้าย (สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์.2544 : 12) 2. แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดาริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดารงชีวิต ที่สำคัญ ต้องมี สติ ปัญญา และ ความเพียร ซึ่งจะนาไปสู่ความสุข ในการดาเนินชีวิตอย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้ การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนามาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทานั้น ๆ อย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล เงื่อนไข การตัดสินใจและการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นามาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม" ภาพที่2 แสดงหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. หลักการและทฤษฎีกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 3.1 กระบวนการเรียนรู้ ระบบการเรียนรู้เป็นแกนกลางของกิจกรรมทุกระบบ เป็นการเรียนรู้ที่ต่อเชื่อมความรู้ การพัฒนาความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับชีวิตและชุมชนในปัจจุบัน กิจกรรมหรือระบบอื่น ๆ จึงต้องมีการเรียนรู้เฉพาะระบบเฉพาะด้านมีภูมิปัญญาเป็นแกนกลางเชื่อมความรู้ทุกส่วนเข้าด้วยกัน เป็นความรู้ใหม่ของชุมชน โดยอาศัยแนวปรัชญา 6 ประการ ดังนี้ 3.1.1 มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูง และสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ทั้งยังสร้างภูมิปัญญาความภาคภูมิใจแก่ผู้เรียนด้วย 3.1.2 การปฏิรูปการศึกษา ควรมุ่งแก้ปัญหาความทุกข์ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยการกระจายการเรียนรู้ออกจากสถานศึกษาไปสู่ชุมชน ทำให้เกิดการสะสมองค์ความรู้ เป็นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนการสอนในสถานศึกษา ทำให้มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน บุคคลและชุมชนมีความหลอกหลายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 3.1.3 การนำรูปแบบการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จในชุมชนหนึ่งหรือการวางแผนจากส่วนกลาง แล้วนำไปให้อีกชุมชนหนึ่งปฏิบัติ มักจะประสบกับความล้มเหลว ดังนั้น จึงต้องพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในแต่ละชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 3.1.4 เป้าหมายของการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน คือ เพื่อสร้างปัญญาให้คนในชุมชนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างบูรณาการ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ผนึกกำลังจากทุกส่วนของสังคมภาครัฐ เอกชน และประชาชน 3.1.5 การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนนำไปสู่วัตถุประสงค์หลายประการ พร้อม ๆ กัน เช่น สืบค้นผู้นำ สร้างความเข้าใจร่วมกัน สร้างคุณค่าและจิตสำนึกใหม่ ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่ดีงาม เกิดความเอื้ออาทร สร้างวิสัยทัศน์ร่วม สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ (เสรี พงศ์พิศ, วิชิต นันทสุวรรณ, 2545) 3.2 สถานศึกษากับกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน ในเรื่องบทบาทของสถานศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนนั้น คณะอนุกรรมการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนได้กล่าวถึงดังนี้ สถานศึกษาจะต้องมีการประเมินศักยภาพตนเองและแสวงหาทางเลือกเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน คือ เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และทำได้ก็ต่อเมื่อสถานศึกษานั้นต้องตั้งอยู่ในชุมชนและใกล้ชิดกับชุมชนจนเป็นที่ยอมรับ รู้สึกเป็นเจ้าของ และยินยอมให้สถานศึกษาเป็นผู้นำ สถานศึกษา จะต้องถือว่ากระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเป็นนโยบายและภารกิจหลักของสถานศึกษา และสร้างความพร้อมของบุคลากรในสถานศึกษาให้ร่วมกระบวนการเรียนรู้กับชุมชนไปด้วย การเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดกระบวนการการเรียนรู้ภายในชุมชน ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมกับส่วนอื่น ๆ ของสังคม ตั้งแต่บุคคล ครอบครัว และชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันการศึกษา ตลอดจนสถานประกอบการและสถานสังคม ต่าง ๆ บทบาทผู้สร้างหลักการเรียนรู้ของชุมชน เป็นบทบาทที่เหมาะกับชุมชนที่ได้เริ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนที่ได้เริ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนของตน ในระดับหนึ่ง สถานศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเสริมพลังการเรียนรู้ของชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน โดยเข้าไปร่วมกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเป็นครั้งคราว และเสริมในส่วนที่ชุมชนขาดหรือต้องการความช่วยเหลือ อาจใช้รูปแบบการฝึกอบรม การศึกษา ดูงาน การให้ข้อมูลข่าวสาร การจัดเวทีในแต่ละระดับ ตลอดจนการใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ชุมชนรู้จักคิด รู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ สามารถพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน คือ การศึกษาวิจัยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนด้วยมุมมองคนในมากกว่าคนนอก และพยายามเสริมในส่วนที่จำเป็นตามความต้องการของชุมชน กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เป็นการปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐานที่จำเป็นต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนสู่เด็กและเยาวชน โดยผ่านทางหลักสูตรท้องถิ่น ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 รูปแบบการดำเนินงานกระทำได้ 3 แบบ คือ แบบแรกเป็นรูปแบบดั้งเดิม โดยการนำวิทยากรท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้ ท้องถิ่น ครูภูมิปัญญาไทยเข้ามาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในสถานศึกษา แบบที่สองเป็นการจำลองรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเข้าสู่สถานศึกษา โดยถือว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ หลักสูตรท้องถิ่น แบบสุดท้าย เป็นการจัดให้นักเรียนรู้ร่วมกับชุมชน รูปแบบนี้จะทำให้เด็กได้อยู่ใกล้ชิดกับชุมชน และการเรียนในระบบจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน 3.3 ระบบและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนยั่งยืน กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนยั่งยืน จะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ วิชิต นันทสุวรรณ (2542) ได้เสนอแนวระบบและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนยั่งยืนทั้งหมด 10 ระบบ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นกระบวนการ เรียกว่า แนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของชุมชนหรือชุมชนยั่งยืน (sustainable community) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 3.3.1 ระบบคุณค่า เป็นนามธรรมที่คอยกำกับกิจกรรมหรือการดำเนินกิจกรรมของระบบอื่น ๆ โดยมีคนและการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนเป็นเป้าหมายสำคัญ 3.3.2 ระบบการเรียนรู้ของชุมชน เป็นแกนกลางของกิจกรรมทุกระบบ เป็นการเรียนรู้ที่ต่อเชื่อมความรู้ภูมิปัญญาของชุมชนเข้ากับความรู้ทางสากล พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่ สอดคล้องและรับใช้ชีวิตและชุมชนในปัจจุบัน กิจกรรมหรือระบบอื่น ๆ จึงต้องมีการเรียนรู้เฉพาะระบบหรือเฉพาะด้าน โดยมีภูมิปัญญาเป็นแกนกลางเชื่อมร้อย 3.3.3 ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน คือการเกษตรที่คำนึงถึงวงจรความอุดมสมบูรณ์ โดยธรรมชาติ 3.3.4 ระบบธุรกิจชุมชน หรือการตลาดที่ชุมชนต้องการ ประกอบด้วย การจัดการด้านการตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตของตนเอง การจัดการด้านการตลาดเพื่อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ชุมชนผลิตเองไม่ได้ และสุดท้ายคือ การจัดการด้านระบบการแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างชุมชนและระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค 3.3.5 ระบบอุตสาหกรรมชุมชน เป็นระบบคู่กับระบบธุรกิจ แต่มีพัฒนาการต่อเนื่องจากระบบการที่พึ่งตนเองไว้บริโภคในระยะยาว โดยมีเทคนิควิทยากรแปรรูปต่าง ๆ เช่น เครื่องสีมือ การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านต่าง ๆ เป็นต้น 3.3.6 ระบบชุมชน ความคิดที่ก่อตัวขึ้นจากปัญหาหนี้สินและการพึ่งสถาบันทุน คือ การพึ่งตนเองด้านทุน หรือนัยหนึ่งคือ ระบบการสะสมทุนของชุมชน ที่มีรูปแบบและวิธีการทางวัฒนธรรมเข้ามามีบทบาทระบบสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการเกษตรและอุตสาหกรรมที่คำนึงถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว 3.3.7 ระบบสิ่งแวดล้อมของชุมชนยังครอบคลุมถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อวิถีชีวิต 3.3.8 ระบบสวัสดิการชุมชน ความคิดแรกเริ่มของชุมชน คือ ชาวบ้านต้องมีสวัสดิการเหมือนข้าราชการ จึงเกิดกองทุนสวัสดิการชุมชนที่นำผลกำไรของกองทุนชุมชนต่าง ๆ มาจัดสรรเป็นค่าพยาบาล ค่าทำศพ บำนาญ และทุนการศึกษา 3.3.9 ระบบการรักษาสุขภาพ ตั้งอยู่บนรากฐานของความรู้ด้านการแพทย์ที่เรียกว่า แผนไทย ซึ่งไม่ได้เน้นที่การดูแลสุขภาพ ซึ่งเชื่อมโยงตั้งแต่ภาวะร่างกายของคน ฤดูกาล อาหาร และยาสมุนไพร 3.3.10 ระบบการจัดการของชุมชน นอกเหนือจากการที่ทุกระบบมีการจัดการของตนเองแล้ว ทั้งชุมชนจะต้องมีการจัดการร่วมเพื่อให้อยู่ในทิศทางเดียวกับชุมชนหนึ่ง ๆ อาจจะ ไม่สามารถพัฒนาระบบทั้ง 10 ระบบขึ้นภายในชุมชนครบ แต่ชุมชนสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยกันมาทดแทนได้ 3.4 กระบวนการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการเรียนรู้ แนวคิดกระบวนการมีส่วนร่วมการเรียนรู้ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานวิจัยโดยเน้นการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมได้ส่วนเสียในทุกขั้นตอนของโครงการพัฒนา และการมีส่วนร่วมต้องเป็นไปในรูปแบบที่ผู้รับการพัฒนาเข้ามามีส่วนกระทำให้เกิดการพัฒนา ผู้รับการพัฒนาเกิดการเกื้อหนุนให้เกิดความรู้อย่างยั่งยืนจากการศึกษาการมีส่วนร่วมสามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมการเรียนรู้ จากการศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในงานพัฒนานั้น ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน โดยมีนักพัฒนาหรือนักวิชาการจากภายนอกเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น การให้ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยี จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการมีส่วนร่วม กล่าวถึง การค้นหาปัญหาและสาเหตุ การวางแผน ดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหา การปฏิบัติงาน การร่วมรับผลประโยชน์ และการติดตามประเมินผล กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนามีห้าระดับ คือ ชุมชนมีส่วนร่วม ค้นหาพิจารณาปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุแห่งปัญหา ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหา และพิจารณาแนวทางวิธีการในการแก้ปัญหา ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการประเมินผลของกิจกรรมการพัฒนา ปาริชาติ วลัยเสถียร, และคณะ. (2543: 3-4) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมตามขั้นตอนในการพัฒนา ซึ่งเป็นการวัดเชิงคุณภาพ ออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในขั้นการริเริ่มการพัฒนาเป็นขั้นตอนที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาภายในชุมชน ตลอดจน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดความต้องการของชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการด้วย ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการวางแผนในการพัฒนาเป็นขั้นตอนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และวัตถุประสงค์ของโครงการ กำหนดวิธีการและแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนกำหนดทรัพยากรและแหล่งทรัพยากรที่จะใช้ ขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมในขั้นการดำเนินการพัฒนาเป็นขั้นตอนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์โดยการสนับสนุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน หรือเข้าร่วมบริหารงานประสานงานและดำเนินการขอความช่วยเหลือจากภายนอก ขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในขั้นการรับผลประโยชน์จากการพัฒนาเป็นขั้นตอนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการพัฒนาหรือยอมรับผลประโยชน์ อันเกิดจากการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ขั้นที่ 5 การมีส่วนร่วมในขั้นประเมินผลการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ประชาชนเข้าร่วมการประเมินว่าการพัฒนาที่ได้กระทำไปนั้น สำเร็จตามวัตถุประสงค์เพียงใดซึ่งในการประเมินอาจจะปรากฎในรูปของการประเมินผลก้าวหน้าเป็นระยะๆ (Formative Evaluation) หรือกระทำในรูปของการประเมินผลรวม (Summative Evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินผลสรุปรวบยอด 4. แนวคิดเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเอง การพึ่งตนเอง หมายถึง การเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ แปลได้ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าการที่ชุมชนจะสามารถดำรงตนเป็นที่พึ่งแห่งตนจนได้เป็นที่พึ่งของคนอื่นนั้น ควรยึดหลักธรรม 3 ประการ คือ ปริยัติ หมายถึง การเรียนรู้ปฏิบัติ หมายถึง การลงมือปฏิบัติ ปฏิเวธ หมายถึง การวิจัยและพัฒนา (อยู่ สุนทรชัย. 2529 : 22)Galtung (อรทัย อาจอ่ำ. 2531 : 31) ให้คำจำกัดความคำว่า ศักยภาพการพึ่งตนเองไว้ว่า หมายถึง กลุ่มหรือสังคมที่มีการจัดระบบ เพื่อให้สามารถดำเนินการตอบสนองความต้องการของตนด้วยวิธีการช่วยเหลือตนเองด้วยความร่วมมือกับคนอื่นที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน การพัฒนา Development หมายถึง กระบวนการที่เกิดจากการวางแผนดำเนินการอย่างมีทิศทางและเป้าหมายที่แน่ชัด เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการพัฒนานั้นเป็นที่พึงประสงค์และเพิ่มพูนด้วยขีดความสามารถตลอดจนค่านิยมของหมู่บ้านหรือชุมชน จนสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน การพึ่งพาตนเองของชุมชน นำมาปรับใช้กับการกำหนดทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับ สังคม วัฒนธรรมของชนบทไทยแทนการพัฒนาแบบเดิม ๆ ตามแนวทางการพัฒนาแบบตะวันตก จนกลาย เป็นประเด็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน ศักยภาพการพึ่งตนเองจึงมีเจตนารมณ์เจาะจงถึงความ สามารถในการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อมของชุมชนนั่นเอง ศักยภาพการพึ่งตนเอง หมายถึง การที่ประชาชนในแต่ละครัวเรือนของหมู่บ้านหรือชุมชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ทักษะในการใช้เครื่องมือในการประกอบอาชีพ และทรัพยากรหรือทุนทางสังคมที่มีอยู่หรือถ้าไม่มีก็ใช้ความสามารถในการแสวงหาจากภายนอกหมู่บ้าน เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาชีพสนองตอบความต้องการในการดำรงชีวิตให้มีความมั่นคง สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ตัวแบบการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชนบท เรียกสั้น ๆ ว่า TEKMSอันเป็นตัวย่อจาก T คือ Technology คือ Economic R คือ Natural Resources M คือ Mentalและ S คือ Socio Cultural และสามารถเขียนเป็นกรอบความคิดหรือตัวแบบได้ดังนี้ 1. เทคโนโลยี ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ 2. เศรษฐกิจ ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ 3. ทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ 4. จิตใจ ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ 5. สังคมและวัฒนธรรม ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ การพึ่งตนเองในตัวแบบนี้มีค่าเท่ากับการพัฒนา และตัวแบบทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะเป็นตัวแบบที่ครอบคลุมตัวเหตุทั้งด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (เทคโนโลยีและทรัพยากรธรรมชาติ) ตัวเหตุทางมนุษยศาสตร์ (จิตใจหรือคุณธรรม) และตัวเหตุทางสังคมศาสตร์(สังคมและวัฒนธรรม) เปรียบเสมือนเป็นหลักสามหลักค้ำยันพัฒนาให้ยั่งยืนถาวรเพื่อให้ระบุองค์ประกอบของตัวแบบเป็นสังกัป สามารถวิเคราะห์สังกัปของตัวเเบบการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ดังนี้ 1. คนพัฒนา คือ คนที่มีคุณภาพ (เก่ง) คนมีคุณธรรม (ดี) และคนมีความสุข(มีคุณภาพชีวิตดี สุขกาย สุขใจ) 2. องค์การสังคมเข้มแข็ง เน้นเฉพาะ คือ ครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็งเเต่ก็มองไปได้ว่า หมายความถึงองค์การสังคมประเภทอื่น เช่น กลุ่มสังคมในรูปของกลุ่มออมทรัพย์ธนาคารข้าว กลุ่มคลังยา กลุ่มหนุ่มสาว กลุ่มแม่บ้านคณะกรรมการวัด คณะกรรมการโรงเรียนและที่ใหญ่ที่สุด คีอ สังคมไทยทั้งสังคม นั่นเอง 3. ความสมดุลของการพัฒนาระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นตัวแก้ไขปัญหาข้อที่สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน ในแง่ของการพัฒนานั้น มุ่งพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สังคม เเละสิ่งแวดล้อม ซึ่งน่าจะหมายถึง สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หรือธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอันหมายถึงดินน้ำ ป่า เขา อากาศ เป็นต้น 4. กระบวนการพัฒนาแบบองค์รวม มองการพัฒนาเป็นกระบวนการที่มีความเคลื่อนไหวมีการพัฒนาอย่างรอบด้านพัฒนาทีเดียวหลายอย่าง พูดกว้าง ๆ เป็นการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจสังคมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยมีคนเป็นศูนย์รวมและเป็นไปอย่างมีสมดุล อันเป็นความสมดุลเคลื่อนไหวทุกส่วนจะมีการเติบโตพัฒนาอย่างได้สัดส่วนไว้พร้อมกัน นโยบายการพัฒนาชนบทของไทยเพื่อการพึ่งพาตนเองชนบทเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ มีการประกอบอาชีพและทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลายอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่งในทางตรงกันข้ามชนบทกลับกลายเป็นแหล่งที่สังคมเมืองได้ใช้โอกาสและศักยภาพที่เหนือกว่า ดูดซับเอาทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นออกไปเป็นปัจจัยการผลิตในระบบอุตสาหกรรม จนกลายเป็นวิกฤตในทุก ๆ ด้านของชนบท ทำให้ศักยภาพอ่อนแอลงจนไม่สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมการเมือง และสิ่งแวดล้อม รัฐบาลกำหนดนโยบายการพัฒนาชนบท เน้นการแก้ปัญหาของชนบทอย่างจริงจัง โดยการจัดสรรงบประมาณลงไปยังตำบลในรูปของโครงการพัฒนาระดับตำบลแบบต่าง ๆผลจากการดำเนินนโยบายก่อให้เกิดความคล่องตัว สามารถกระจายเม็ดเงินถึงประชาชนโดยตรงและกระจายผลงานไปสู่หมู่บ้านและชุมชนทำให้ประชาชนมีความพึงพอใจพอสมควร ถึงแม้ว่าจะมีการสูญเปล่า รั่วไหลและคุณภาพของงานต่ำอยู่บ้างก็ตาม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.2542 : 24) ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบการพัฒนาชนบทขึ้นอย่างชัดเจนภายใต้ระบบการพัฒนาชนบทแห่งชาติ รัฐบาลได้กำหนดเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาชนบทพ.ศ. 2524 โดยมีองค์กรบริหารที่ชัดเจนทั้งระดับชาติ จังหวัดและอำเภอ แต่ยังไม่ได้ส่งผลดีต่อประชาชนชนบทส่วนใหญ่ ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของเกษตรกรยิ่งปรากฏชัดเจน มากขึ้น การพัฒนาชนบทภายใต้แผนพัฒนาชนบทแห่งชาติ ฉบับที่ 5 และ 6 รัฐบาลได้ให้ความสนใจและความสำคัญต่อการพัฒนาชนบทและการมีส่วนร่วมขององค์กรนอกภาครัฐมากขึ้น เน้นให้รู้จักการช่วยเหลือตนเองและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น และยังได้มีการรวมระบบข้อมูลและระบบแผนให้เป็นเอกภาพ โดยรัฐเป็นผู้กำหนดโครงการพัฒนาชนบทเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้เลือกนำไปแก้ปัญหาตามที่ชนบทต้องการต่อมาการพัฒนาชนบทในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7เน้นการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างชนบทและเมือง เพื่อให้นโยบายไปสู่การปฏิบัติได้รัฐบาลได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารการพัฒนาชนบทและการกระจายความเจริญไป สู่ภูมิภาคการพัฒนาชนบทภายใต้แผนพัฒนานาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8มีแนวทาง การพัฒนาเป็นแบบองค์รวมที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา และยังเพิ่มศักยภาพของหมู่บ้านให้สามารถปกครองตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสในการแก้วิกฤติของประเทศ โดยใช้ความเข้มแข็งของหมู่บ้านหรือชุมชนเป็นฐานสำคัญต่อการลดผลกระทบทางสังคม อีกทั้งยัง ให้ส่วนราชการร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุน ความเข้มแข็งของหมู่บ้านหรือชุมชน นโยบายการพัฒนาชนบทภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 นโยบายการพัฒนาชนบท โดยมุ่งพัฒนาการตลาดในประเทศและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนชนบท ซึ่งรัฐบาลถือเป็นนโยบายเร่งด่วน เพราะมีความเชื่อว่าหมู่บ้านเป็นแหล่งชุมชนของคนจำนวนมาก ทั้งประเทศที่ยังยากจนไม่สามารถพึ่งพาตนเองในทุก ๆ ด้านได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านรายได้หรือเศรษฐกิจ ดังนั้นนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนและการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หมู่บ้านหรือชุมชน จึงสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต ทั้งภาคการเกษตรอุตสาหกรรม และการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ยุคใหม่ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการพึ่งพาตนเองในระดับชุมชน แนวคิดเชิงทฤษฎีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชนบทของ TERMS และหลักการจัดการของ BAN ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (2538) ได้ทำการศึกษาและพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการพึ่งตนเองซึ่งผลการศึกษาของสถาบันดังกล่าวได้ข้อสรุปว่ารูปแบบที่ชุมชนจะสามารถพึ่งตนเองได้นั้นจะต้องพึ่งตนเองให้ได้ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านเทคโนโลยี Tด้านเศรษฐกิจ E ด้านทรัพยากร ธรรมชาติ R ด้านจิตใจ M และด้านสังคมวัฒนธรรม S โดยที่กิจกรรมที่จะทำให้เกิดการพึ่งตนเองในทั้ง 5 ด้านได้นั้นจะต้องมีความสมดุลทั้งภายนอกชุมชนและภายในชุมชนBalance : B ชุมชนต้องมีความสามารถในการจัดการAbility : A ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกชุมชน Networking : Nโดยที่แต่ละกิจกรรมในแต่ละส่วนนั้นต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน Particpatory ActionResearch : PAR
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :บริบูรณ์ สมฤทธิ์ (2541 : 76) รายงานไว้ว่ามีการผลิตข้าวในรูปแบบของข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา โดยเฉลี่ย 6,000 ไร่ ซึ่งไม่มีการใช้สารเคมีเลย มีข้อกำกัดในเรื่องพันธุ์ข้าว ซึ่งต้องเป็นความต้านทานโรคและแมลงค่อนข้างดี และเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อย สุชาติ เกตยา (2542 : 122) ได้วิจัยการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชน ในเขตอำเภอโพทะเล จังหวัด พิจิตร พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอโพทะเล มีจำนวนที่ดินทำกินแตกต่างกัน แต่การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจไม่ต่างกันแม้ค่านิยมจากศาสนาธรรมแตกต่างสำหรับสิ่งที่ทำให้สามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ คือ การทำเกษตรผสมผสานให้มีความขยันประหยัดและมีที่ดินทำกิน รวมทั้งมีน้ำเพื่อการเกษตรปัญหาอุปสรรคของการทำมาหากิน และการครองชีพ คือ ต้นทุนการผลิตสูง ราคาผลผลิตตกต่ำ ศัตรูพืช ภัยธรรมชาติและสินค้ามีราคาแพง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : 13.1 วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research : PAR )เพื่อศึกษา โดยได้กำหนดขั้นตอนการวิจัยตามแนวคิดของเคมมิส และแมคแทกการ์ท(Kemmis and Me Taggart, 1991, pp.169-170 อ้างถึงใน องอาจ นัยพัฒน์, 2551, หน้า 301-303) ตามกรอบแนวคิดทั้ง 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 (1) จัดการประชุมคณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และคัดเลือกตัวแทนและพื้นที่ในชุมชน (2) ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยการศึกษาสำรวจข้อมูลพื้นฐาน เอกสารทางวิชาการต่างๆ และการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานด้านศักยภาพและรูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แบบสอบถาม (3) คณะผู้วิจัยร่วมกับแกนนำของชุมชนและตัวแทนชาวบ้าน เดินทางไปศึกษาตามศูนย์การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จที่ได้รับการยอมรับ (4) คณะผู้วิจัยร่วมกับแกนนำของชุมชมจัดสนทนากลุ่ม โดยสะท้อนข้อมูลได้รับรู้และตรวจสอบข้อมูลด้าน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ รูปแบบ และเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกร ขั้นตอนที่ 2 (1) คณะผู้วิจัย จัดประชุมกลุ่ม นำเสนอข้อมูลทางวิชาการรูปแบบต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มชาวบ้านโดยวิธีการสนทนากลุ่ม (2) คัดเลือกพื้นที่วิจัย ภายในชุมชน เพื่อสร้าง และศึกษาประสิทธิภาพ (3) คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการจากพลังงานจังหวัด และชาวบ้าน ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะเพื่อคืนข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและทดลอง มาตรวจสอบความถูกต้อง ศึกษาถึงข้อจำกัดและข้อดีของเทคโนโลยีพลังงานที่เลือกใช้ โดยร่วมกันวิเคราะห์เทคโนโลยีที่ศึกษาเพื่อนำสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ให้กับคนในชุมชน (4) คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน และชาวบ้าน ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาในชุมชนและร่วมกันสร้างพื้นที่ในชุมชนเพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้และต้นแบบต่อไป ขั้นตอนที่ 3 (1) คณะผู้วิจัย นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ผ่านการสังเคราะห์ผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ ในลักษณะของการสื่อสารสาธารณะ ให้กับสังคมได้รับทราบถึงแนวทางการสร้างชุมชนต้นแบบการผลิตข้าวอินทรีย์ (2) คณะผู้วิจัย จัดการถ่ายทอดและฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ให้กับกลุ่มชาวบ้านมีโดยมีการติดตามและประเมินผล 13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน จากผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นแนวการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ร่วมกับวิธีสังเกต ฯลฯ 13.3 การเก็บรวบรวบข้อมูล ชุมชนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ดังนี้ 13.4.1. การเก็บข้อมูลภาคสนามลักษณะแนวกว้างและลึก โดยใช้ทั้งแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล ทั้งที่เป็นรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ 13.4.2.xการเก็บข้อมูลการจัดเวทีประชาคมและการประชุมสัมมนาทั้งในกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ 13.4.3. การเก็บข้อมูลจากจัดกิจกรรม การศึกษาดูงาน โดยการสังเกตรวบรวมจากการเข้าร่วมกิจกรรมกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 13.4.4. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงประมาณและเชิงคุณภาพ 13.4.5. การเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในลักษณะการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยใช้แบบประเมิน ได้จากการสนทนากลุ่ม การทำเวทีประชาคม และกิจกรรมการมีส่วนร่วม
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :พื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์สิ่งสำคัญอย่างแรกก็คืออาหารสมัยก่อนอาหารหาได้มากมายอาหารเป็นสิ่งล้ำค่าและจะต้องค้นหาเพื่อดำรงชีพโดยเทคนิคในการหาอาหารต้องสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและเทคนิคนี่เองที่ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการการหาอาหารในยุคบุพกาลเริ่มต้นด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์แต่อาหารพื้นฐานคือพืชผักจากป่ามิใช่เนื้อสัตว์และอาหารเหล่านี้ก็เป็นพวกธัญพืชซึ่งมนุษย์เรียนรู้พืชแต่ละชนิดว่าชนิดใดสามารถให้พลังงานที่เพียงพอต่อการยังชีพได้ทั้งโปรตีนคาร์โบไฮเดรตและวิตามินต่างๆในขณะที่การพึ่งพาอาหารจากประเภทเนื้อสัตว์เป็นการรอคอยที่ยาวนานการได้ธัญพืชมาชดเชยจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตเอาไว้ ข้าวนับได้ว่าเป็นอาหารหลักสำคัญของมนุษย์ทั่วทุกมุมโลกซึ่งมิได้มีเพียงข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวเท่านั้นที่เป็นภาพลักษณ์ของข้าวข้าวทั้งสองชนิดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธัญพืชทั่วโลกที่ประกอบไปด้วยข้าวประเภทต่างๆเช่นข้าวสาลีข้าวโอ๊ตข้าวฟ่างข้าวไรย์ข้าวโพดและพืชตระกูลถั่วที่เมล็ดมีคุณสมบัติเหมือนข้าวเช่นลูกเดือยบัควีทเป็นอาหารหล่อเลี้ยงประชากรทั่วโลกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศข้าวเจ้าและข้าวเหนียวเป็นอาหารสำคัญมาแต่ดั้งเดิมดังน
จำนวนเข้าชมโครงการ :560 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายเสกสิทธิ์ รัตนสิริวัฒนกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายสิปปวิชญ์กร สิทธิอัครานนท์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นายจรรโลง พิรุณ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นางสาวชัญญพัชร์ จารุวัชรเศรษฐ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด