รหัสโครงการ : | R000000431 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การศึกษาและพัฒนารูปแบบผู้นำมุ่งความสำเร็จของงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นโดยการประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการประสานงานระหว่างบุคคลและกลุ่ม |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Studying and Developing Achievement Leader Model for Volunteer Groups in Community by Using Social Networking with Coordination between Individuals and Groups |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | รูปแบบผู้นำมุ่งความสำเร็จของงาน, อาสาสมัครท้องถิ่น, เครือข่ายสังคมออนไลน์, การประสานงานระหว่างบุคคลและกลุ่ม |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 110000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 110,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 ตุลาคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 ตุลาคม 2561 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | สารสนเทศศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมดิจิตอลในศตวรรษที่ 21 หลายประเทศได้ดำเนินการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบ เพื่อรับมือกับชุดของโอกาส ความเสี่ยง และภัยคุกคามชุดใหม่ ทำการรื้อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม โครงสร้างพื้นฐาน ปรับเปลี่ยนระบบคุณค่าและวัฒนธรรมการดำรงชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ โดยการยกระดับคุณภาพในทุกภาคส่วนและปรับเปลี่ยนให้เป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง ฉะนั้น เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของประเทศไทย ก็คือ การพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศในโลกที่หนึ่งภายในปี 2575 โดยกลไกขับเคลื่อนความมั่งคั่งของประเทศไทยเป็น “โมเดลประเทศไทย 4.0” ปรับเปลี่ยนจากประเทศ “รายได้ปานกลาง” เป็นประเทศ “รายได้สูง” ปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย “ประสิทธิภาพ” เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย“นวัตกรรม”จึงเน้นการ “พัฒนาที่สมดุล” ใน 4 มิติ กล่าวคือ มีความสมดุลในความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีสังคมที่อยู่ดีมีสุข และการเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ โดยการพัฒนาที่สมดุลตั้งอยู่บนฐานคิดของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ว่า “เมื่อพร่อง ต้องรู้จักเติม เมื่อพอ ต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินต้องรู้จักปัน”ซึ่งเป็น “ระบบคุณค่าใหม่” ที่จะสามารถนำพาประเทศไทยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพลวัตโลก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการผนึกกำลังของทุกภาคส่วน (ฐานเศรษฐกิจ, 2558)
นอกจากการที่ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันกระแสโลกด้วยการเตรียมก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ที่ธุรกิจจะต้องแข่งขันกันด้วยความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม แล้วยังมีปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 4.0 ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นักบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องเตรียมหาหนทางรับมือที่เหมาะสมกับองค์กรของตนสู่ HR 4.0 ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ @ Thailand 4.0 โดยแนวโน้มสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้แก่ 1) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลให้องค์กรต้องสูญเสียองค์ความรู้ ประสบการณ์ เทคนิค เคล็ดลับต่างๆ ที่สั่งสมในตัวบุคลากรเหล่านั้นไปด้วย และต้องการหาหนทางให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้จากพนักงานรุ่นเก่าไปสู่พนักงานรุ่นใหม่ 2) การปรับรูปแบบการทำงานกับคนรุ่นใหม่Gen Y ที่เข้ามาใน3) การเกิดที่ทำงานแบบใหม่ที่เรียกว่า Digital Workplaceที่ข้อมูลแทบทุกอย่างในอนาคตจะถูกเชื่อมโยงอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ต จะมีวิธีบริหารการทำงานผ่านระบบออนไลน์อย่างไร และจะบริหารจัดการดิจิทัลคอนเทนต์ในองค์กรให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร 4) ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตจะอยู่ใน Mobile Technology ที่การทำธุรกรรมหรือการทำงานอื่นๆ จะสามารถดำเนินการผ่าน Mobile Technology เช่น สมาร์ตโฟน หรืออุปกรณ์อื่นๆ ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการบริหารจัดการอาจต้องกระทำผ่าน Mobile Technology เช่นเดียวกันและ 5) สังคมของการมีส่วนร่วม จึงต้องพร้อมที่จะสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นภายในองค์กร และสร้างโอกาสให้บุคลากร รวมถึงผู้รับบริการขององค์กร สามารถมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้และความคิดสร้างสรรค์กันได้ตลอดเวลาเป็นต้น (กองบรรณาธิการวารสาร HR Society Magazine, 2559)
สำหรับชุมชนท้องถิ่นก็เช่นเดียวกันที่จะต้องมีการปรับตัวเพื่อเข้าร่วมการเปลี่ยนผ่านสู่ Thailand 4.0 ซึ่งนอกจากที่จะมุ่งเน้นสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนแล้วจาก 2 แนวคิดสำคัญประกอบด้วย "Strength from Within" คือการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และ "Connect to the World" ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่ายให้เกิดการขยับปรับเปลี่ยนสถานะของผู้คนในสังคมเป็นผู้ประกอบการแล้ว ยังมีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชนท้องถิ่น คือ กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ที่เป็นมวลชนจัดตั้งขึ้นภายในชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ กลุ่มองค์กรสตรีประจำหมู่บ้านกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)กลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)และ กลุ่มประสานงานพลังแผ่นดิน เป็นต้น ซึ่งกลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนที่ตรงต่อความต้องการ และอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการส่งเสริมสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน กิจกรรมเฝ้าระวังด้านสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค บริหารจัดการวางแผน แก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน ชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทหน้าที่ของ อสม. ในการสื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้านซึ่งเป็น “ผู้นำ” หรือผู้ประสานที่สำคัญที่ต้องมีคุณสมบัติในการนำความรู้หรือข่าวสารต่างๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจกรรมพัฒนาชุมชนที่บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม อสม. หรือ หน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แต่จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า การประสานงานของผู้นำมีความคลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน หรือผิดไปจากวัตถุประสงค์เดิมจึงทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน การสื่อสารหยุดชะงัก จนเกิดเป็นข้อขัดแย้งภายในกลุ่ม อสม. ประชาชน และหน่วยงานต้นสังกัดส่งผลให้งานไม่สามารถสัมฤทธิ์ผลได้หรือไม่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการน้อยลง และสัมพันธภาพระหว่างกลุ่ม ประชาชน และเครือข่ายไม่เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริง รวมไปถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของชุมชนกระทำได้ยากขึ้นอีกด้วย
จากการศึกษารายงานผลการศึกษาการประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กับบทบาทที่กำลังเปลี่ยนแปลง(สุจินดา สุขกำเนิด, 2551) พบว่า อสม.ส่วนใหญ่มีศักยภาพสูง และทำงานได้ดีในกิจกรรมการรณรงค์ตามช่วงเวลาที่ชัดเจน ได้แก่ การเฝ้าระวังโรคและการสำรวจข้อมูล ปัญหาคือขาดการเป็นผู้นำในสังคม ดังนั้นรัฐพึงสนับสนุนงานที่เหมาะสม และควรกำหนดแผนการอบรมเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้นำด้านสุขภาพให้กับอสม.หญิงมากขึ้นและให้ความรู้ที่เป็นปัญหาของพื้นที่ การเพิ่มความรู้อสม.ควรจำแนกกลุ่ม ได้แก่กลุ่มอสม.ใหม่ ควรจัดการอบรมให้มีความรู้พื้นฐานในด้านการดูแลสุขภาพ สำหรับ กลุ่มอสม.เก่า ควรพัฒนาความเป็นผู้นำมากขึ้น ส่วนการเพิ่มทักษะความสามารถของอสม. ปัจจุบันจึงเป็นเพียงแค่การจัดการการเฝ้าระวังโรคท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดนก เป็นต้น และสร้างขวัญกำลังใจให้อสม.ทำงาน ‘เชิงอาสา’ มากกว่าทำตามคำสั่งเจ้าหน้าที่อีกทั้งจากรายงานการประเมินผลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556เรื่องโครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชิงรุก (สำนักประเมินผลสำนักงบประมาณ, 2556) พบว่า ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการฯ ประเด็นหนึ่งคือ การกำหนดให้อสม. ต้องจัดทำรายงานตามแบบฟอร์มต่าง ๆ เป็นจำนวนมากเป็นการเพิ่มภาระงานที่ไม่ควรเป็นหน้าที่ของ อสม. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อสม. เป็นผู้สูงอายุและผู้ที่มีข้อจํากัดด้านการอ่าน เขียน การจัดทำรายงานต่าง ๆ จึงตกเป็นภาระของบุตรหลานซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดงานบริการสาธารณสุข ที่จะต้องไม่ให้ประชาชนทำรายงานยาว ๆ โดยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อสม. ลาออก และยังเป็นการเพิ่มภาระด้านค่าใช้จ่ายในการสำเนาเอกสารรายงานซึ่ง อสม. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เองโดยมีคณะประเมินผลได้พิจารณานำเสนอข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา และแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ว่า ควรลดภาระงานด้านการจัดทำรายงานต่างๆ ลง เพื่อช่วยลดภาระงาน อสม. ที่มีข้อจํากัดในการเขียน อ่าน และทำให้อสม. มีเวลาในการปฏิบัติงานในพื้นที่มากขึ้น
จากปัญหาของ อสม. ข้างต้นนั้นเป็นปัญหาพื้นฐานจากแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะของ คือ ทฤษฎีที่เน้นการหาคุณลักษณะทั่วไปของผู้นำที่มีคุณลักษณะเฉพาะที่สามารถนำกลุ่มในการดำเนินงานสู่เป้าหมายได้ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติเฉพาะของผู้นำในด้านการประสานงานและความร่วมมือของสมาชิกภายในกลุ่มและระหว่างเครือข่าย ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงทฤษฎีผู้นำเชิงสถานการณ์ (Contingency Theory)คือ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้นำกลุ่มและสมาชิกภายในกลุ่มโดยพฤติกรรมสื่อสารเพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อให้เกิดการสนับสนุนในการช่วยเหลือการทำงานกลุ่มโดยจัดวางและกำหนดบทบาทหน้าที่พร้อมทั้งขอบเขตการปฏิบัติงานของสมาชิกภายในกลุ่มให้ชัดเจนว่าแต่ละคนต้องทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน ซึ่งรวมถึงรูปแบบและช่องทางในการสื่อสารด้วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จของการปฏิบัติงานได้ตามทฤษฎีความต้องการประสบความสำเร็จ สำหรับการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ ความสำเร็จ อำนาจ และความผูกพัน โดยในการเป็นผู้นำชุมชนนั้นมุ่งหวังความต้องการความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญหรือต้องการทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือสนับสนุนในการปฏิบัติงานของกลุ่ม
ปัจจุบัน การสื่อสารระหว่างกันและระหว่างกลุ่มโดยใช้เครือข่ายสังคม (Social Network) เป็นที่นิยมมากขึ้นและแพร่หลายในกลุ่มผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นอย่างไร้พรมแดนผู้คนสามารถติดต่อกันได้ โดยไม่มีอุปสรรคด้านเวลา และระยะทาง ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและโปรแกรมประยุกต์หรือแอพพลิเคชั่นด้านการสื่อสารเครือข่ายสังคมผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้แก่ สมาร์ทโฟนแท็ปเล็ต เป็นต้น ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาแม้จะอยู่ห่างกันหรือไม่ได้เจอกัน สำหรับตัวอย่างแอพพลิเคชั่น เช่น แอพพลิเคชั่น LINE จัดเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับการติดต่อสื่อสาร ที่กำลังได้รับความนิยม และมีจำนวนของผู้ใช้งานเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วยให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งช่วยในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงความเป็นผู้นำของกลุ่ม อสม. ที่เป็นแกนนำในท้องถิ่นจึงควรมีรูปแบบของผู้นำอาสาสมัครแบบเฉพาะตัวซึ่งเป็นสิ่งที่ได้จากการพัฒนารูปแบบตาม 3 ทฤษฎีคือ 1) ทฤษฎีผู้นำตามคุณลักษณะเพื่อค้นหาลักษณะของบุคลิกภาพของผู้นำ 2) ทฤษฎีความต้องการประสบความสำเร็จ เพื่อมุ่งหวังให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้นำกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ และ3) ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์เพื่อมุ่งหวังให้เกิดสัมพันธภาพและทัศนคติที่ดีต่อกันในการประสานงานระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายสังคมออนไลน์เข้ามาช่วยเนื่องจากมีใช้งานอยู่แล้วโดยไม่ต้องพัฒนาและใช้เวลาในการเรียนรู้น้อย ซึ่งเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีคุณสมบัติในการสื่อสาร ส่งสาร ประสานงาน และ การส่งข้อมูลระหว่างบุคคลและกลุ่มนั้นกระทำได้ เช่น โปรแกรมไลน์ ซึ่งมีการบริการให้ใช้งานได้ฟรี และบางส่วนของ อสม. ก็ใช้สำหรับการสื่อสารได้ส่วนหนึ่งแล้ว แต่เพื่อให้การปฏิบัติงานกลุ่ม อสม. ในฐานะผู้นำที่สามารถบริหารจัดการงานให้เกิดสัมฤทธิผลได้อย่างต่อเนื่องและมีความเป็นระบบมากยิ่งขึ้นเหมาะสมกับการทำงานในระดับท้องถิ่น จึงควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบผู้นำมุ่งความสำเร็จของงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัครซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นผู้นำ ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน และ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครในท้องถิ่นได้อันจะเป็นการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ และ การรองรับการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ท้องถิ่นมีการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการช่วยให้ประชาชนได้มีโอกาสติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ได้อย่างกว้างขวางขึ้นพร้อมทั้งสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป
|
จุดเด่นของโครงการ : | การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการบริหารงานผู้นำมุ่งผลสัมฤทธิ์ |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลด้านผู้นำการใช้เครื่องมือสื่อสารในการปฏิบัติงานผลสัมฤทธิ์ของงานและความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของ อสม. ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
2) เพื่อพัฒนารูปแบบผู้นำมุ่งความสำเร็จของงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่น
3) เพื่อถ่ายทอดรูปแบบผู้นำมุ่งความสำเร็จของงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัคร ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
4) เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาภาวะผู้นำและการสร้างทีมงานและรายวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนทศสำหรับนักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
|
ขอบเขตของโครงการ : | ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษาเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1) ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลด้านผู้นำของ อสม. ที่แสดงถึงภาวะการเป็นผู้นำภายในกลุ่มอาสาสมัครรวมทั้งศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์และระดับความพึงพอใจของประชาชนที่ได้รับการบริการที่ผ่านมา เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบผู้นำมุ่งความสำเร็จของงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัครโดยการประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ร่วมในการปฏิบัติงานของ อสม. นอกจากนี้ จะทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานตามรูปแบบใหม่ที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ระดับประสิทธิภาพของการเป็นผู้นำของ อสม. ในกลุ่มอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานร่วมกัน และศึกษาระดับความความพึงพอใจของประชาชนที่ได้รับการบริการจากกลุ่ม อสม. ว่าอยู่ในระดับใดและมีระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ โดยนักศึกษาได้ใช้เป็นกรณีศึกษาที่เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาภาวะผู้นำและการสร้างทีมงานในเรื่องการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนทศในเรื่องการวางแผนการดำเนินงานอีกด้วย
2) ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นกรณีศึกษา คือ กลุ่ม อสม. กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ และ ชาวบ้านตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1) ได้รูปแบบผู้นำมุ่งความสำเร็จของงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัครที่สามารถสร้างสัมฤทธิผลของการปฏิบัติงานภายในกลุ่มได้
2) สามารถเพิ่มระดับประสิทธิภาพของการเป็นผู้นำภายในกลุ่ม อสม. ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในด้านการประสานงานและการสื่อสารระหว่างบุคคลและกลุ่มได้
3) ประชาชนในท้องถิ่นกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของกลุ่ม อสม. มากขึ้น
4) มีการบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาภาวะผู้นำและการสร้างทีมงานและรายวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในเรื่องการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และเรื่องการวางแผนการดำเนินงาน โดยนักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในการการวางแผนโครงการและบทบาทของการเป็นผู้นำภายในกลุ่มของนักศึกษาอีกด้วย
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 1) เครือข่ายสังคมออนไลน์และ สิ่อสังคมออนไลน์ โดยสื่อสังคมออนไลน์เป็นสื่อที่ผู้ส่งสารแบ่งปันสาร ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆ ไปยังผู้รับสารผ่านเครือข่ายออนไลน์โดยสามารถโต้ตอบกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือผู้รับสารด้วยกันเองซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ คือบล็อก (Blogging) ทวิตเตอร์และไมโครบล็อก (Twitter and Microblogging) การแบ่งปันสื่อทางออนไลน์(Media Sharing)และเครือข่ายสังคมออนไลน์(Social Networking) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนสำหรับการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนทั้งที่รู้จักมาก่อนแล้ว มักจะใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็น และกิจกรรมส่วนตัวอื่นๆ เพื่อสื่อสารข้อมูลถึงกันและกัน(พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์, 2554) ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านเพิ่มช่องทางการเข้าถึง (Channels) ที่และง่ายมากขึ้นโดยสามารถส่งรูปถ่ายหรือวิดีโอเข้ากลุ่มได้ในลักษณะอัตโนมัติทันทีเมื่อมีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกจากนี้ จะนำไปใช้ในการสร้างเครือข่ายสังคมเฉพาะ (Niche & Vertical) ที่จะเข้าถึงกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม และจะเกิด "สังคม ใน สังคม" จะเกิดสังคมเล็กๆ ซ้อนทับในสังคมใหญ่ๆ อีกที (ภาวุธพงษ์วิทยภานุ, 2553) โดยมีแอพลิเคชั่นหรือการบริการเข้ามาช่วยทำให้เกิดได้ง่ายมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในอย่างเป็นกิจลักษณะนั้น คือ การสร้างกลุ่มสังคมเครือข่ายในที่ทำงาน เพื่อการทำงานร่วมกันเป็นทีม แลกเปลี่ยนไอเดียความคิดเห็นในเรื่องงาน การสอบถามปัญหาในงานกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้รู้การนำเสนอผลงานที่ต้องการย้อนกลับ เป็นต้นรวมถึงการการรายงานสถานะความเคลื่อนไหวในการทำงาน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องที่ต้องการจะประกาศให้ทราบ แจ้งข่าวสารกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่ออัพเดทความเป็นไปให้ทราบเป็นระยะๆ เป็นต้น
2) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ คือ ทฤษฎีที่เน้นการหาคุณลักษณะทั่วไปของผู้นำ เพื่อเปรียบเทียบกับบุคลที่ไม่ใช่ผู้นำ ในการศึกษาภาวะผู้นำระยะแรกๆ นักวิชาการให้ความสำคัญกับคุณลักษณะส่วนตัว (Personal Traits) ของผู้นำ โดยพยายามแยกแยะว่าคุณลักษณะใดบ้างที่ดำรงอยู่ในตัวผู้นำ ตัวอย่างคุณลักษณะที่มีการระบุกันมากกว่าเป็นตัวชี้วัดความเป็นผู้นำ คือ ความเฉลียวฉลาด ความซื่อสัตย์ และความเชื่อมั่นในตนเอง โดยเน้นการศึกษาผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น แนวทางนี้จึงรู้จักกันอีกนานประหนึ่งว่า แนวทาง “บุรุษผู้ยิ่งใหญ่” และมีความเชื่อว่า มีคนบางคนเท่านั้นที่เกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ บุคคลคนใดจะเป็นผู้นำในอนาคตได้หรือไม่ ได้ถูกกำหนดล่วงหน้าโดยธรรมชาติแล้ว การวิเคราะห์คุณลักษณะผู้นำนั้นมีจุดร่วมสำคัญ 7 ประการของคุณลักษณะเชิงบุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ คือ ความเฉลียวฉลาด การริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะด้านสังคม ความเชื่อมั่นในตนเอง พลังแห่งความรับผิดชอบ และความซื่อสัตย์มั่นคงต่อหลักการ (พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, 2552)
3) ทฤษฎีความต้องการประสบความสำเร็จ (The Need to Achieve Theory) ประกอบด้วย 3 อย่าง คือ ความสำเร็จ (Achievement) อำนาจ (Power) และความผูกพัน (Affiliation) เป็นทฤษฎีของ David C. Macclelland & J.W. Atkinson ตามทฤษฎีเชื่อว่า โดยปกติแล้วความต้องการที่มีอยู่ในตัวคนมีอยู่สองชนิด คือ ความต้องการความสุขและความต้องการปราศจากความเจ็บปวด แต่สำหรับความต้องการอื่นๆนั้นต่างก็จะเกิดขึ้นภายหลัง ด้วยวิธีการเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตามโดยที่มนุษย์ทุกคนต่างก็ใช้ชีวิตขวนขวายหาสิ่งต่างๆมาคล้ายคลึงกัน จึงต่างมีประสบการณ์เรียนรู้ต่างๆมาเหมือนกัน แต่จะต่างกันแต่เฉพาะขนาดของความต้องการมากน้อยแตกต่างกันไป จึงสรุปได้ว่า มนุษย์ทุกคนต่างก็จะมีความต้องการเหมือนกัน แต่จะมีขนาดมากน้อยแตกต่างกัน ได้แก่ 1. ความต้องการความสำเร็จ (Need for Achievement) หมายถึง ความต้องการทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อความสำเร็จ 2. ความต้องการอำนาจ (Need for Power) หมายถึง บุคคล ต้องการอำนาจเพื่อมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ต้องการเป็นผู้นำในการตัดสินใจ รวมทั้งการมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นด้วยการทำงานที่มีประสิทธิผล และ 3.ความต้องการความผูกพัน (Need for Affiliation) หมายถึง บุคคล ต้องการการยอมรับ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ต้องการมีความสัมพันธ์และผูกพันกับสมาชิกในกลุ่ม มีความเป็นมิตรไมตรี และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลอื่น ซึ่งเป็นความต้องการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับคนอื่นๆ
4) ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ (Contingency Theory)ยุดา รักไทย และสุภาวดี วิทยะประพันธ์ (2547, หน้า 37-40) ได้เรียบเรียงไว้ว่าความพยายามหาความแตกต่างระหว่างผู้นำกับการจัดการที่องค์การต่างๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น วิสัยทัศน์ถูกเปลี่ยนแปลงให้เข้าใจง่ายขึ้น เป็นแนวคิดเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างแบบของผู้นำกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อม พบว่า แบบแผนเกิดจาก พฤติกรรมในภาวะหน้าที่กับพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพ พฤติกรรม ในภาวะหน้าที่ หมายถึง การที่ผู้นำเข้าไปจัดวางบทบาทของผู้คนและสมาชิกภายในกลุ่ม โดยอธิบายว่าแต่ละคนต้องทำอะไร เมื่อไร ที่ไหนและอะไรคือมาตรฐานของงาน ซึ่งอาจรวมไปถึงการกำหนดรูปแบบขององค์การและช่องทางในการสื่อสาร ส่วนพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพ คือ การที่ผู้นำไปสร้างสัมพันธภาพกับพนักงานหรือสมาชิกของกลุ่ม ให้ความสนับสนุนแก่ผู้อื่นมีการสื่อสารช่วยเหลือการทำงานกลุ่ม และเชื่อว่าลักษณะ หรือบุคลิกภาพของผู้นำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของภาวะการเป็นผู้นำ มีแนวคิดคือ เมื่อผู้นำทำอะไรบางอย่าง ต้องคำนึงถึงความต้องการ 3 อย่างไปพร้อม ๆ กันได้แก่ 1) ความต้องการของงาน 2)ความต้องการของกลุ่ม และ3) ความต้องการส่วนตัวของคนที่มาทำงานในกลุ่มนั้น เนื่องจากภาวะผู้นำเป็นเรื่องเกี่ยวกับความพยายามของทีมและทีมที่ดีสุดคือ ทีมที่ประกอบด้วยผู้นำที่ปรากฏโดยธรรมชาติภายในองค์การ ผู้นำที่ดีควรกระตุ้นให้คนคิดถึงคุณค่าและความต้องการของงาน เพื่อให้จุดมุ่งหมายของส่วนรวมสอดคล้องเข้ากันกับค่านิยมของคนและของกลุ่มต่างๆ ในองค์การ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติการมีประสิทธิผลมากขึ้น
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 386 ครั้ง |