รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000430
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มในชั้นเรียนของครูประจำการ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Professional Development for Enhancing Inservice Teachers’ Understanding and Teaching STEM in their classroom
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :Professional Development, STEM Education, Lesson, Media education
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :298900
งบประมาณทั้งโครงการ :298,900.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 เมษายน 2562
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
สาขาวิชาการ :ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : จากข้อเท็จจริงในปัจจุบัน พบว่านักเรียนไทยมีผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทุกวิชา และมีแนวโน้มลดต่ำลงทุกวิชาเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งแรกในปี 2000 (PISA 2000) (Organisation for Economic Co-operation and Development or OECD) (สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2556, น. 18) นักเรียนขาดสมรถนะในการเรียนรู้ ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะต่างๆ น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้ความสนใจในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพราะในชีวิตประจำวันของผู้เรียนนั้นต้องใช้ความรู้มากมายหลายด้านในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม และเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน จากปัญหาที่กล่าวมาจึงทำให้เกิดการปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้มีแนวโน้มที่จะเป็นการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์หรือใช้แก้ปัญหาต่างๆ โดยมีการบูรณการความรู้ที่หลากหลายเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ โดยสะเต็มศึกษา เป็น แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 แขนงวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้เข้ากับกับชีวิตจริงได้ การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้ (NRC, 2012; Vasquezet al, 2013) จากความสำคัญของการเรียนรู้แบบบูรณาการดังกล่าว ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานทางการศึกษาอย่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ทำโครงการ STEM education เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้เกิดการบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของการศึกษาที่ขาดการจัดการเรียนรู้ให้เกิดการบูรณาการ เพื่อให้นักเรียนนำความรู้มาใช้ในการแก้ไขปัญหา เกิดทักษะการคิด การสื่อสาร เมื่อพิจารณาแล้ว การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มนั้นมีบางส่วนที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) โดยเป็นการจัดการเรียนรู้วิธีหนึ่งโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนจะมีโอกาสได้แก้ปัญหาปลายเปิดต่างๆที่ผู้สอนได้กำหนดเช่นกัน ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ของตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ และเกิดทักษะในการแก้ปัญหาของตนเองขึ้น รวมทั้งได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะของการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดถือว่าเป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่สามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน (active learning) อีกด้วย หลักการคร่าวๆของการเรียนรู้แบบดังกล่าวมีดังต่อไปนี้คือตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียน ตรวจสอบว่าผู้เรียนนั้นอยากรู้เกี่ยวกับอะไร และจะชักนำให้ผู้เรียนให้เข้าถึงข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหานั้นๆได้อย่างไร โดยผู้สอนไม่ได้มีหน้าที่เป็นผู้แก้ปัญหาให้กับผู้เรียน (Schmidt et al, 2011) แต่จะรับบทบาทเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้แทน (facilitator) โดยมีหน้าที่คอยสนับสนุนสิ่งต่างๆ คอยกระตุ้นให้แก้ปัญหา ให้คำแนะนำ และคอยติดตามตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมุ่งสร้างให้ผู้เรียนนั้นได้มีความกล้า ความมั่นใจที่จะเผชิญกับปัญหาต่างๆ และคอยสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริมความมั่นใจให้กับผู้เรียนในขณะที่ผู้เรียนกำลังเกิดการเรียนรู้อยู่ ซึ่งจะต่างจากการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ คือผู้สอนมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนโดยตรง อย่างการบรรยายหรือการอ่านจากตำราโดยตรง ซึ่งจัดว่าเป็นการสอนแบบใช้การบรรยายเนื้อหาเป็นหลัก lecture-based. (Hung, 2011) งานวิจัยในครั้งนี้จึงจำเป็นต้องพัฒนาวิชาชีพครูให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม โดยเริ่มต้นจากสำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม หลังจากนั้นให้ครูประจำการมีการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มในชั้นเรียน ร่วมกันการสร้างความเข้าใจการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม และพัฒนาการสอนสะเต็มของครูวิทยาศาสตร์ประจำการ รวมทั้งการผลิตบทเรียน และสื่อการเรียนการสอนของการดำเนินงานดังกล่าว
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ : 1. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจเดิมของครูวิทยาศาสตร์ประจำการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม 2. เพื่อสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาครูที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม 3. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มของครูวิทยาศาสตร์ประจำการ
ขอบเขตของโครงการ :1.ขอบเขตประชากร ได้แก่ ครูวิทยาศาสตร์ประจำการ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ 2. ขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ประจำการที่พัฒนาจะผ่านกระบวนการวิจัย 3. ขอบเขตด้านระยะเวลา ได้แก่ การพัฒนาจะใช้เวลาร่วมกันดำเนินกิจกรรม ช่วงเวลาวันเสาร์-อาทิตย์และช่วงปิดภาคเรียนจัดการเรียนรู้ของครู
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูที่สามารถนำไปพัฒนาต่อกับกลุ่มประชากรครู วิทยาศาสตร์ประจำการกลุ่มต่างๆได้ 2. เป็นการพัฒนาวิชาชีพครู ให้เกิดความเข้าใจและทักษะการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มที่จะส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถและสมรถนะสูงขึ้น พร้อมแข่งขันกับต่างประเทศได้ 3. ครูประจำการสามารถพัฒนาและเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุม/สัมมนาภายในประเทศ และ/หรือใน วารสารวิชาการนานาชาติ ได้แก่ Science Education Reasearch เป็นต้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : 9.1 การพัฒนาวิชาชีพครู การพัฒนาวิชาชีพครู คือ การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ เพื่อจะนำไปแก้ไขปัญหาในเรียนรู้ของนักเรียน รวมทั้งเสริมการเรียนรู้การเรียนรู้ของนักเรียนด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ไขสิ่งที่ขาดไปของครูในด้านต่างๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ โดยสรุปคือการพัฒนาวิชาชีพครู มีเป้าหมายหลักคือเพื่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการเรียนรู้ของนักเรียนและแก้ไขปัญหาในการเรียน โดยแผนการในการพัฒนาคือ การเพิ่มขึ้นของความรู้ของครู การเพิ่มขึ้นของคุณภาพการสอน การพัฒนาการสร้างความรู้และการสร้างสังคมของวิชาชีพ ที่รวมไปถึงโอกาสในการที่จะให้ครูเพิ่มโอกาสในการพบปะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (Mumme et al, 2002) การพัฒนาผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญที่ต้องเสริมในครู ที่เรียกว่า four interconnect ทั้งสี่สามารถส่งเสริมให้การพัฒนาผู้เรียนเกิดความสำเร็จ กล่าวได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพก็ว่าได้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ 1. เสริมความรู้ของครู (Enhancing teachers’ knowledge) เข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์เชิงลึก และรู้ด้วยว่าเด็กจะเรียนรู้เนื้อหานี้ได้อย่างไร 2. เพิ่มคุณภาพของการสอน (Enhancing quality teaching) รวมทั้ง โอกาสในการนำเอาความรู้ที่มีอยู่นำไปสู่การปฏิบัติได้ 3. พัฒนาภาวะผู้นำของครู (Developing leadership capacity) สร้างให้ครูพัฒนาไปเป็นครูผู้นำในการพัฒนาต่อไป 4. สร้างเครือข่ายการเรียนทางวิชาชีพขึ้น (Building professional learning communities) สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพขึ้นและทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 9.2 รูปแบบกลยุทธ์การพัฒนาวิชาชีพครู 9.2.1 Immersion in Inquiry in Science and Problem Solving in Mathematics การผนวกการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นการสร้างโอกาสให้ครูได้รับประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับการสอน อย่างแรกที่เห็นได้ชัดคือ ได้เนื้อหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยมาจากการเป็นผู้เรียนรู้เนื้อหาเสียเอง โดยครูจะได้รับความเข้าใจด้วยตนเองในเนื้อหาที่เป็นความรู้ที่จะนำไปสอนนักเรียนต่อไป การเรียนรู้แบบนี้จะเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Inquiry) และผ่านการแก้ปัญหา (problem solving) โดยนำเอาส่วนที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสบการณ์สำหรับครู จุดมุ่งหมายสำคัญคือช่วยให้ครูมีความพร้อมทั้งด้านเนื้อหาวิชา และสามารถสะท้อน (reflect) ออกมาได้ว่าจะสอนเนื้อหาวิชาดังกล่าวอย่างไร กล่าวโดยสรุปได้ว่า จุดประสงค์ของงานนี้มีเพื่อให้เกิดการซึมซับในครู เพื่อให้เรียนรู้เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัยจริงๆ เช่น การออกแบบการทดลอง การสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจของครูในแง่ของการใช้กระบวนการสืบเสาะเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ กลยุทธ์การผนวกการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์นี้ สามารถใช้ร่วมกันกับ Action research, Examining student work and thinking, Lesson study และ Curriculum implementation ด้วย 9.2.2 Content Courses ให้โอกาสแก่ครูในการมุ่งเน้นไปสู่หัวข้อที่เขาต้องการจะสอนปกติแล้วจะได้รับการสนับสนุนจากโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อหรือ topic นั้นๆ เช่น อาจารย์ในมหาวิทยาลัย , นักวิทยาศาสตร์ หรือนักคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในหัวข้อนั้น จุดประสงค์ของการสอนเป็นการเพิ่มความสามารถในการประยุกต์ไปสู่เนื้อหาความรู้ที่แข็งแรงมากขึ้น เพื่อนำไปสู่วิธีการสอนและการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีขึ้น ผลที่ได้รับจากวิธีการนี้คือเป็นการเพิ่มความรู้ของครู เพิ่มคุณภาพการสอนของครู และ เป็นการเพิ่มขึ้นของการพัฒนาวิชาชีพ มีความรู้เนื้อหาที่ลึกซึ้งในสิ่งที่จำเป็น Content Courses นี้ออกแบบมาเพื่อให้ครูได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ และการแปลงเนื้อหาวิชาที่เฉพาะด้านลงไปเป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียน ในบางครั้ง Content Courses นี้ก็มีการสอนร่วมกันระหว่างครูและผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาต่างๆ อาจเป็นการ party กันในการสอนแบบบุคคลจริง หรือแบบออนไลน์ บางครั้งมีการให้ครูลงทะเบียนเรียนในรายวิชาต่างๆจริงๆ โดยเป็นการร่วมมือระหว่างองค์กรด้วย Content Courses นี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงการเข้ามานั่งเรียนแล้วได้รับความรู้เท่านั้น (sit-and-get) แต่ยังมีการเสริมผู้เรียนด้วยการอ่านเพิ่มเติม การค้นหา การติดตามสืบเสาะ การแก้ปัญหา และการอภิปราย เพื่อให้เกิดการสะท้อนการเรียนรู้ออกมาด้วย ตัวอย่างของ Content Courses สามารถอธิบายให้เห็นภาพโดยการศึกษากรณีศึกษาต่อไปนี้ ตัวอย่าง เป็นกรณีศึกษาของ Terrent เป็นครูฟิสิกส์ในโรงเรียนประถมริเวอร์ไซด์ เขาพิจารณาคะแนนของนักเรียนในเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ พบว่าคะแนนไม่อยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณาแล้วเขาจึงตระหนักรู้อีกว่า ตนเองนั้นยังขาดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ อีกทั้งเขายังไม่สามารถทำหน้าที่ช่วยเหลือในการเรียน (facilitator) ให้แก่นักเรียนในเรื่องนี้ได้ เขาจึงต้องเสริมความแข็งแรงในด้านเนื้อหา เขาจึงเข้าลงทะเบียนเรียนรายวิชาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งมีผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่เขาอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นอย่างมาก หลังจากจบการเรียนการสอน เขาเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง(In-dept understand)ในเนื้อหาวิชาในเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ทั้งด้านเนื้อหาและแนวคิดหรือ concept เกิดการพัฒนาวิชาชีพของ Terrent อย่างชัดเจน Content Courses สามารถใช้ร่วมกับกลยุทธ์อื่นๆได้เป็นอย่างดี เช่น Lesson study, Curriculum implementation หรือ Instructional material selection เป็นต้น (Susan Loucks-Horsley, 2010; NRC, 1996; AAAS,1993) 10. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย American Association for the Advancement of Science [AAAS]. 1993. Benchmarks for Science Literacy. New York: Oxford University Press. Hung, Woei (2011). "Theory to reality: A few issues in implementing problem-based learning". Educational Technology Research and Development 59 (4): 529– 552. Mumme J. and Seago N. 2002. Issue and challenges in facilitating video cases for mathematics professional development. Annual meeting of the Americans Education Research Association. USA National Research Council [NRC.]. 1996. National Science Education Standards. Washington DC National Academic Press. National Research Council, 2012. A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas. Committee on New Science Education Standards, Board on Science Education, Division of Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National Academy Press. Schmidt, Henk G; Rotgans, Jerome I; Yew, Elaine HJ (2011). "The process of problem- based learning: What works and why". Medical Education 45 (8): 792–806. Susan Loucks-Horsley. Katherine E. Stiles. Susan Mundry.Nancy Love. Peter W. Hewson. 2010 Designing Professional Development for Teachers of Science and Mathematics. 3rd edition. Corwin, USA Vasquez, J.A., Sneider, C., and Comer, M. (2013). STEM Lesson Essentials: Integrating Science, Technology, Engineering, and Mathematics. Portsmouth, NH: Heinemann. http://www.teachengineering.org/view_activity.php?url=collection/cub_/activities/cub_co nvshoes/cub_convshoes_lesson01_activity1.xml, retrieved on April 20, 2014. Hanover Research, 2011. District Administration Practice.
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : 13.1 กลุ่มวิจัย (participant) กลุ่มวิจัยคือครูวิทยาศาสตร์ประจำการที่อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ 13.2 วิธีการวิจัย งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเพื่อการพัฒนาโดยใช้รูปแบบของ action research โดยแบ่งระยะวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 13.2.1. ระยะที่ 1 สำรวจสภาพความเข้าใจและการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็ม มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความแนวคิดสะเต็มและศึกษาสภาพการสอนสะเต็มของครูผู้สอนว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและสร้างโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพขึ้นต่อไป 13.2.2. ระยะที่ 2 ผู้วิจัยร่วมกันพัฒนาโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพ นำไปใช้และประเมินผล โดยระหว่างการสร้างและนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ จะอาศัยกระบวนการวิจัยแบบวงจรเชิงปฏิบัติการ เพื่อปรับปรุงโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพจนได้ข้อความรู้ขึ้นมา โดยวงจรแบ่งออกเป็นขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการณ์และปัญหา และวางแผนเพื่อการปฏิบัติการ (Plan) โดยร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ขึ้น 2) ขั้นปฏิบัติ (Act) เป็นการดำเนินงานตามแผนที่ได้ร่วมกันวางไว้ในขั้นแรก โดยนำไปใช้จัดการเรียนรู้ในสภาพจริง 3) สังเกตผลการปฏิบัติ (Observe) เป็นขั้นตอนในการร่วมกันวิเคราะห์การดำเนินงานที่เกิดขึ้นว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่อย่างไร และสิ่งใดที่ควรปรับปรุง ซึ่งเป็นการร่วมกันสังเกตในผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยทุกคน 4) สะท้อนความคิด (Reflect) คือการทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่การปรับแผนการปฏิบัติงานและลงปฏิบัติใหม่อีกครั้ง เป็นวงจรที่ต่อเนื่องกันต่อไปจนสามารถแก้ปัญหาได้ โดยวงจร PAOR นี้ จะเกิดอยู่ตลอดเวลาระหว่างการวิจัย เพื่อให้เกิดการปรับปรุงเพื่อนำไปปฏิบัติและแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นขณะทำวิจัยได้อย่างทันท่วงที จากการปฏิบัติงานโดยอาศัยวงจรการวิจัยดังกล่าว เป็นหนทางนำไปสู่การได้มาซึ่งแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best practice)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1198 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายศุภชัย ทวี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด