รหัสโครงการ : | R000000425 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การสร้างความเข้มแข็งให้โรงสีข้าวสามารถแข่งขันได้ โดยการออกแบบและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ กรณีศึกษา : โรงสีข้าวจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | - |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 305000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 305,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 01 ตุลาคม 2561 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | วิศวกรรมอุสาหกรรมวิจัย |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | แนวคิดสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้โรงสีข้าวสามารถแข่งขันได้ โดยการออกแบบและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ กรณีศึกษา : โรงสีข้าวจังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากข้าวเปลือกเป็นผลิตผลหลักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยเกษตรกรส่วนใหญ่จะทำนาปีละ 2 ครั้งคือข้าวนาปรังและข้าวนาปี ข้าวนาปรังจะปลูกในนอกฤดูฝน ส่วนข้าวนาปีจะทำนาในฤดูฝนและจะเก็บราวเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ทำให้เกิดปัญหาความชื้นในเมล็ดข้าวเปลือกสูงถึง 28 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปเกษตรกรจะทำการขายข้าวเปลือกให้โรงสีข้าวในท้องถิ่นทันทีหลังจากการเก็บเกี่ยว ซึ่งทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เพราะรัฐบาลและโรงสีข้าวมีข้อกำหนดในการรับซื้อข้าวเปลือกที่ระดับความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นความชื้นที่เหมาะสมต่อการแปรรูปและเก็บรักษาต่อไป ดังนั้นความชื้นข้าวเปลือกมีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาข้าว ซึ่งความชื้นข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวในระยะที่เหมาะสมมีราคาสูงกว่าข้าวเปลือกที่อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นต์ความชื้นสูง เนื่องจากข้าวเปลือกที่มีความชื้นเหมาะสมสามารถนำมาสีข้าวให้ได้ปริมาณข้าวต้นสูงและข้าวไม่แตกหักเป็นข้าวปน แต่หากรับซื้อข้าวที่มีความชื้นสูงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลดความชื้นและสูญเสียน้ำหนักข้าวหลังการลดความชื้นเป็นปริมาณมาก ที่มาของการสร้างความเข้มแข็งให้โรงสีข้าวสามารถแข่งขันได้ โดยการออกแบบและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ กรณีศึกษา : โรงสีข้าวจังหวัดนครสวรรค์ สืบเนื่องจากได้ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆดังต่อไปนี้ (1) พีระพงษ์ วงษ์ทหาร ตำแหน่ง ที่ปรึกษาเทคโนโลยี (ITA) โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย iTAP เครือข่าย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดูแลโครงการด้านโรงสีข้าว (2) ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยไชยโยเอ็นจิเนียริ่ง สรุปได้ว่าปัญหาของโรงสีข้าวจากการศึกษาข้อมูล สำรวจ และวิเคราะห์ ณ สถานประกอบการโรงสีข้าวขนาดใหญ่ในจังหวัดนครสวรรค์ที่มีกาลังการผลิตข้าวกล้องตั้งแต่ 400 – 1,000 ตันข้าวเปลือกต่อวัน พบว่าความสามารถในการอบรวมที่ 500 ตันข้าวเปลือกต่อวันขึ้นไป แต่มีเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นต่ำที่ 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำมาก ทั้งนี้มีสาเหตุจาก 1) กาลังเตาอบต่ำที่ 500 ตันข้าวเปลือกทำให้เร่งการอบโดยการเพิ่มอุณหภูมิการอบ ทำให้เกิดการแตกหักสูง 2) เตาเผาแกลบให้ความร้อนสำหรับเตาอบไม่พอ 3) ระบบการวางท่อลมไม่เหมาะสมทำให้การไหลของลมต่ำที่ 14-17 เมตรต่อวินาที 4) พนักงานไม่เข้าใจในการอบข้าวที่ถูกต้อง ความสำคัญที่ต้องวิจัยเพราะหากปล่อยให้สถานการณ์ปัญหาของโรงสีข้าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้รับการแก้ไขในด้านกระบวนการอบแห้งข้าวเปลือก จะทำให้โรงสีข้าวไม่สามารถผลิตข้าวที่มีคุณภาพและไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ดังนั้นการสร้างความเข้มแข็งให้โรงสีข้าวสามารถแข่งขันได้ โดยการออกแบบและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ กรณีศึกษา : โรงสีข้าวจังหวัดนครสวรรค์ จึงเป็นงานวิจัยที่มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาของโรงสีข้าวในจังหวัดนครสวรรค์เป็นอย่างมาก |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | โรงสีข้าวได้รูปแบบของระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ |
ขอบเขตของโครงการ : | 7.1 ขอบเขตพื้นที่: พื้นที่โรงสีข้าว จังหวัดนครสวรรค์ 7.2 ขอบเขตเวลา: ช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัยเป็นระยะเวลา 1 ปี 7.3 ขอบเขตประชากร/ กลุ่มตัวอย่าง: โรงสีข้าว หจก.สมบูรณ์ธัญญะเจริญ พื้นที่ชุมชนนครสวรรค์ 7.4 ขอบเขตตัวแปรและเนื้อหา: การออกแบบและพัฒนาระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1.1จะได้องค์ความรู้สำคัญคือการออกแบบและพัฒนาระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ 11.2 จะได้พัฒนาระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ 11.3 จะได้รูปแบบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ 11.4 จะได้ผลลัพธ์ของระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | ฉัตรชัย นิมมล (2555) ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของกระบวนการลดความชื้อข้าวเปลือกด้วยเครื่องอบแห้งแบบพาหะลมที่ใช้หออบแห้งชนิดท่อเกลียว พบว่า เครื่องอบแห้งแบบพาหะลมถือเป็นหนึ่งในเครื่องอบแห้งที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงที่เหมาะสำหรับใช้ในการลดความชื้นที่ผิวของวัสดุอนุภาคซึ่งรวมถึงข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องอบแห้งดังกล่าวยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีก ในงานวิจัยนี้ หออบแห้งชนิดท่อเกลียวได้ถูกติดตั้งแทนหออบแห้งแบบดั้งเดิม (ท่อเรียบ) เพื่อเพิ่มความปั่นป่วนในการไหลของอากาศซึ่งถูกใช้เป็นตัวกลางในการอบแห้ง จากนั้น ผลกระทบของปัจจัยต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิของอากาศขาเข้า (อุณหภูมิอบแห้ง) ความเร็วของอากาศและ อัตราการป้อนข้าวเปลือก ที่มีต่อความชื้นสุดท้ายของข้าวเปลือกและความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ (SEC) ของเครื่องอบแห้งได้ถูกศึกษา ผลที่ได้ยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับผลในกรณีใช้หออบแห้งชนิดท่อเรียบ จากการศึกษาพบว่า เครื่องอบแห้งที่พัฒนาขึ้นสามารถลดความชื้นของข้าวเปลือกลงได้ 4.4 ถึง 10.3% (d.b.) ภายในระยะเวลาอันสั้น (น้อยกว่า 5 s) โดยความชื้นตํ่ำสุดของข้าวเปลือกที่ได้มีค่า 17.7% (d.b.) นอกจากนี้ยังพบว่า SEC ของเครื่องอบแห้งแบบพาหะลมที่พัฒนาขึ้นมีค่าตํ่ำกว่าเมื่อเทียบกับ SEC ในกรณีใช้หออบแห้งชนิดท่อเรียบในทุกเงื่อนไขการทดลอง ในงานวิจัยนี้ SEC ตํ่ำที่สุดมีค่า 1.78 MJ/kgwater ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อใช้หออบแห้งชนิดท่อเกลียวที่อุณหภูมิ 100 oC ความเร็วของอากาศ 30 m/s และอัตราการป้อนข้าวเปลือก 150 kgdry solid/h
พิรสิทธิ์ ทวยนาค (2557) การทบทวนพัฒนาการของการลดความชื้นข้าวเปลือกในทางอุตสาหกรรม พบว่า บทความนี้เป็นการทบทวนการพัฒนาของหลักการลดความชื้นข้าวเปลือกในทางอุตสาหกรรมตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยจะสามารถแบ่งการลดความชื้นข้าวเปลือกออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ ด้วยกันคือ การลดความชื้นข้าวเปลือกแบบธรรมชาติจะเป็นการลดความชื้นโดยอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์เท่านั้นจึงทาให้มีอุปสรรคต่อการลดความชื้นมากพอสมควรและการลดความชื้นข้าวเปลือกโดยใช้เครื่องอบแห้งจะอาศัยความร้อนจากแหล่งความร้อนที่หลากหลาย เช่น เตาเผาแกลบ เตาเผาสร้างลมร้อน เป็นต้น สามารถอบแห้งได้ทุกสภาวะอากาศแม้ขณะฝนตกหรือมีแสงแดดน้อย ไม่เปลืองพื้นที่ในการตาก การลดความชื้นข้าวเปลือกโดยใช้เครื่องอบแห้งนั้นสามารถควบคุมการลดความชื้นให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้ เวลาที่ใช้ในการลดความชื้นน้อยจึงทาให้มีข้อดีกว่าวิธีธรรมชาติ
วัชรพงศ์ โพธา (2558) พัฒนาและศึกษาเครื่องลดความชื้นแบบการไหลพร้อมกัน (Concurrent Flow) สำหรับข้าวเปลือกขนาดความจุ 1,000 กิโลกรัมพัฒนาและศึกษาเครื่องลดความชื้นแบบการไหลพร้อมกัน (Concurrent Flow) สำหรับข้าวเปลือกขนาดความจุ 1,000 กิโลกรัม พบว่าการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาออกแบบและสร้างเครื่องลดความชื้นแบบการไหลพร้อมกัน(Concurrent Flow)ขนาดความจุข้าวเปลือก1,000 กิโลกรัมต้นแบบและใช้ในการศึกษาการลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือก เพื่อหาสมรรถนะและประสิทธิภาพของเครื่องลดความชื้น การทำงานของเครื่องนี้ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเป็นแหล่งให้พลังงานความร้อนในการอบแห้งและใช้สกรูลำเลียงช่วยลำเลียงเมล็ดข้าวเปลือกให้ไหลวนเวียนภายในตู้อบแห้งและช่วยลำเลียงข้าวเปลือกให้เข้า และออกจากห้องอบแห้งหลักการอบแห้งข้าวเปลือก ใช้อากาศร้อนที่มีความชื้นต่ำมาทำการลดความชื้นของเมล็ดข้าวเปลือก อากาศร้อนได้มาจากเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่รับความร้อนมาจากเตาเผาเชื้อเพลิงชีวมวล และใช้พัดลมดูดอากาศจากภายนอกผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนทำให้อากาศร้อนและส่งเข้าห้องอบแห้งเพื่อลดความชื้นของข้าวเปลือกแล้วปล่อยสู่บรรยายการภายนอก ภายในห้องอบแห้งได้ออกแบบให้มีการไหลวนของอากาศร้อนแบบเดียวกับห้องอบแห้งแบบเมล็ดไหลคลุกเคล้า(LSU) และการไหลวนเวียนของเมล็ดข้าวเปลือกจะไหลเวียนเร็วกว่าแบบ LSUซึ่งจะส่งผลให้สามารถใช้อุณหภูมิในการอบแห้งที่สูงได้และทำให้เมล็ดข้าวเปลือกได้สัมผัสกับอากาศร้อนได้ดีทำให้ข้าวเปลือกแห้งเร็ว อุณหภูมิที่ใช้อบแห้งจะอยู่ในช่วง 80 – 120oC และความชื้นสุดของการอบแห้งจะเหลือประมาณ 13 – 15% มาตรฐานเปียกการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาออกแบบและสร้างเครื่องลดความชื้นแบบการไหลพร้อมกัน(Concurrent Flow)ขนาดความจุข้าวเปลือก1,000 กิโลกรัมต้นแบบและใช้ในการศึกษาการลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือก เพื่อหาสมรรถนะและประสิทธิภาพของเครื่องลดความชื้น การทำงานของเครื่องนี้ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเป็นแหล่งให้พลังงานความร้อนในการอบแห้งและใช้สกรูลำเลียงช่วยลำเลียงเมล็ดข้าวเปลือกให้ไหลวนเวียนภายในตู้อบแห้งและช่วยลำเลียงข้าวเปลือกให้เข้า และออกจากห้องอบแห้งหลักการอบแห้งข้าวเปลือก ใช้อากาศร้อนที่มีความชื้นต่ำมาทำการลดความชื้นของเมล็ดข้าวเปลือก อากาศร้อนได้มาจากเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่รับความร้อนมาจากเตาเผาเชื้อเพลิงชีวมวล และใช้พัดลมดูดอากาศจากภายนอกผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนทำให้อากาศร้อนและส่งเข้าห้องอบแห้งเพื่อลดความชื้นของข้าวเปลือกแล้วปล่อยสู่บรรยายการภายนอก ภายในห้องอบแห้งได้ออกแบบให้มีการไหลวนของอากาศร้อนแบบเดียวกับห้องอบแห้งแบบเมล็ดไหลคลุกเคล้า(LSU) และการไหลวนเวียนของเมล็ดข้าวเปลือกจะไหลเวียนเร็วกว่าแบบ LSUซึ่งจะส่งผลให้สามารถใช้อุณหภูมิในการอบแห้งที่สูงได้และทำให้เมล็ดข้าวเปลือกได้สัมผัสกับอากาศร้อนได้ดีทำให้ข้าวเปลือกแห้งเร็ว อุณหภูมิที่ใช้อบแห้งจะอยู่ในช่วง 80 – 120oC และความชื้นสุดของการอบแห้งจะเหลือประมาณ 13 – 15% มาตรฐานเปียก
สุพิชฌาย์ มีสุขเจ้าสำราญ (2552) เครื่องอบแห้งแบบหล่นอิสระ : เงื่อนไขการอบแห้งที่ให้คุณภาพข้าวสารที่ดี พบว่า เครื่องอบแห้งแบบหล่นอิสระเป็นเครื่องอบแห้งที่คิดค้นขึ้นใหม่ ซึ่งทดสอบแล้วว่าสามารถอบแห้งได้อย่างรวดเร็วและประหยัดพลังงาน ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาถึงคุณภาพผลผลิตหลังการอบแห้งเพิ่มเติม โดยเฉพาะการสูญเสียคุณภาพของผลผลิตเนื่องจากความชันของความร้อนและความชื้นที่เกิดขึ้นระหว่างการอบแห้ง งานวิจัยนี้ศึกษาปริมาณข้าวต้นและความขาวข้าวสารโดยใช้อากาศอบแห้งที่อุณหภูมิ 40, 60, 100, 130 และ 150?C ความเร็วอากาศอบแห้ง 1, 2 และ 3 m/s ระยะเวลาพักข้าวเปลือก 0, 1, 2 และ 4 นาที ผลการทดลองพบว่าข้าวเปลือกที่มีการพักระหว่างรอบการอบแห้งตั้งแต่ 1 นาที ได้ปริมาณข้าวต้นและความขาวข้าวสารใกล้เคียงกับตัวอย่างอ้างอิง แสดงถึงข้อดีของเครื่องอบแห้งแบบหล่นอิสระที่สามารถอบแห้งด้วยอากาศอุณหภูมิและความเร็วสูงโดยยังคงคุณภาพข้าวสารภายหลังการขัดสีได้
สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ (2550) การจัดการข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อการปรับปรุงคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวทางที่เหมาะสมสำหรับการจัดการข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อการปรับปรุงคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งสรุปจากผลงานการวิจัยที่ดำเนินการมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 15 ปี ของกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการอบแห้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยศิลปากร ผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มคุณภาพข้าวด้านต่างๆ และกรรมวิธีการผลิตที่สามารถร่นระยะเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการผลิตที่เกี่ยวกับข้าว ข้าวกล้อง และข้าวนึ่ง
สุชาติ ธนสุขประเสริฐ (2555) การอบแห้งข้าวเปลือกด้วยเครื่องอบแห้งแบบกระแสชน พบว่า เครื่องอบแห้งแบบกระแสชนเป็นเครื่องอบแห้งที่เหมาะสําหรับการอบแห้งวัสดุที่มีความชื้นที่ผิวสูง ใน งานวิจัยนี้ได้ทําการศึกษาการอบแห้งด้วยเทคนิคแบบกระแสชนโดยใช้ข้าวเปลือกพันธุ์ พิษณุโลก 2 ที่มีความชื้น ที่ผิวสูงมาใช้เป็นวัสดุทดลอง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอบแห้งในแง่ของอัตราการระเหยนํ้า เชิงปริมาตร ร้อยละต้นข้าวและการเปลี่ยนแปลงสีของข้าวหลังผ่านกระบวนการอบแห้ง โดยใช้อุณหภูมิในการ อบแห้ง 130, 150 และ 170?C ความเร็วของอากาศเข้าห้องอบแห้ง 20 m/s ระยะห่างกระแสชนเท่ากับ 5 cm และอัตราการป้ อนวัสดุ 90 kg/h จากการทดลองพบว่าความชื้นของเมล็ดข้าวเปลือกและร้อยละต้นข้าวลดลงเมื่อ อุณหภูมิอบแห้งสูงขึ้น ในขณะที่อัตราการระเหยนํ้าเชิงปริมาตรเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิอบแห้งสูงขึ้น ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงสีของเมล็ดข้าวหลังผ่านกระบวนการอบแห้งพบว่าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของค่าสีมาก นัก เนื่องจากการอบแห้งด้วยเทคนิคกระแสชนใช้ระยะเวลาในการอบแห้งน้อย
รริศรา อิ่มภาประเสริฐ (2549) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการอบแห้งข้าวเปลือกพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 ด้วยเทคนิค ฟลูอิไดเซซันร่วมกับการ tempering และอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อคุณภาพของข้าว โดยแบ่งงานวิจัย ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการอบแห้งข้าวเปลือก เพื่อให้ทราบเวลาที่ ต้องใช้ในการอบแห้งข้าวเปลือกให้มีความชื้นอยู่ในระดับที่ต้องการ ในส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาการ เปลี่ยนแปลงคุณภาพด้านการสี ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ข้าวต้น ดัชนีความขาวของข้าวสาร และคุณภาพด้าน ปริมาณสารหอม 2-Acetyl-1-pyrroline (2AP)ภายหลังการอบแห้ง และส่วนที่3 เป็นการศึกษาการเปลี่ยน แปลงคุณภาพด้านการสี และปริมาณสารหอม 2APของข้าวเปลือกที่ผ่านการอบแห้งแล้ว ในระหว่าง การเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (28-30ํC) และที่ 15ํC เป็นเวลา 6 เดือน ผลจากการศึกษาในส่วนที่ 1 พบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการอบแห้งข้าวเปลือกเพื่อลดความชื้นจากความชื้นเริ่มต้น 35-37% dry basis (db)ให้เหลือ 23-24%db สำหรับการอบแห้งที่อุณหภูมิ 115, 125, 135, และ 150ํC ใช้เวลา 3, 3, 2.5 และ2นาที ตามลำดับ และระยะเวลาที่ใช้ในการอบแห้งข้าวเปลือกในรอบที่ 2 เพื่อลดความชื้นจาก 23-24%db ให้เหลือ 15-17 %db ต้องใช้เวลา3, 2, 1.5 และ 1 นาที ตามลำดับ การศึกษาในส่วนที่2 พบว่าอุณหภูมิการอบแห้ง ที่ต่างกันมีผลทำให้ข้าวเปลือกมีเปอร์เซ็นต์ข้าวต้น ดัชนีความขาวของข้าวสาร และปริมาณสารหอม 2AP แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p is less than or equal to .05) โดยทำให้มีเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นต่ำมาก และการแตกร้าวของเมล็ดจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิในการอบแห้งสูงขึ้น แต่ที่อุณหภูมิ 150ํC พบว่า เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p is less than or equal to .05) ในด้านความขาวของข้าวพบว่าการอบแห้งในทุกอุณหภูมิมีความขาวสัมพัทธ์สูงกว่า 80% ซึ่งเป็นความขาวที่อยู่ในเกณฑ์ที่ ยอมรับได้ในการค้า และปริมาณสารหอม 2AP มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p is less than or equal to .05) เมื่ออุณหภูมิในการอบแห้งเพิ่มมากขึ้น เมื่อทดลองเปลี่ยนวิธีการลดความชื้นในรอบที่ 2 เป็นการตากในที่ร่มแทนการอบแห้งด้วยอุณหภูมิสูงพบว่าได้เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นเพิ่มขึ้น โดยการอบแห้ง ที่อุณหภูมิ 135 และ 150 ํC ทำให้ได้เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นสูงกว่าตัวอย่างควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p is less than or equal to .05) การศึกษาในส่วนที่ 3 พบว่าในระหว่างการเก็บรักษาข้าวเปลือกเป็นเวลา 6 เดือน ปริมาณความชื้นของข้าวเปลือกจะแปรผันไปตามสภาพบรรยากาศในระหว่างการเก็บรักษา เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นและดัชนีความขาวของข้าวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p is less than or equal to .05) เนื่องจากอุณหภูมิในการอบแห้ง แต่อุณหภูมิและระยะเวลาการเก็บรักษาไม่มีผลทำให้ เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นและดัชนีความขาวของข้าวสารเกิดการเปลี่ยนแปลง ในส่วนของปริมาณสารหอม 2AP พบว่าปัจจัยของอุณหภูมิในการเก็บรักษาร่วมกับระยะเวลาในการเก็บรักษามีผลต่อปริมาณสารหอม 2AP
อภิชาติ อาจนาเสียว (2555) การลดการแตกหักในโรงสีข้าว(ส่วนที่ 1 การอบแห้ง ทำความสะอาดและกะเทาะ) พบว่า โรงสีข้าวหอมมะลิกำลังการผลิตขนาด 300 ตันข้าวเปลือกต่อวัน ถูกใช้ในการศึกษาหาแนวทางในการลดการ แตกหักของข้าวหอมมะลิ โดยทำการศึกษาที่กระบวนการอบแห้ง การทำความสะอาดข้าวเปลือกและการกะเทาะ เปลือก พบว่า ก่อนดำเนินการโรงสีไม่มีมาตรฐานการผลิตในแต่ละกระบวนการ เมื่อได้ทำการแก้ไขตามหลัก วิศวกรรมและสร้างมาตรฐานการผลิตในแต่ละกระบวนการที่โรงสีแล้ว พบว่า เปอร์เซ็นต์เมล็ดร้าวของข้าวที่ กระบวนการอบแห้ง ลดลงจาก 4% เป็น 1% เปอร์เซ็นต์สิ่งเจือปนที่การทำความสะอาดข้าวเปลือกลดลงจาก 5% เป็น 1% และเปอร์เซ็นต์การแตกหักของข้าวที่การกะเทาะเปลือกลดลงจาก 9% เป็น 4%
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 13.1 วิธีการดำเนินการวิจัย 13.1.1 สำรวจข้อมูลเบื้องต้น ศึกษาทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้ให้เห็นถึงการออกแบบและพัฒนาระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ แสดงดังรูปที่ 15 1) เป้าหมาย ทราบปัญหา และสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงค้นหาแนวทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) วิธีทำโดยสังเขป 1) ก่อนการทำงานวิจัย 1) ก่อนการทำงานวิจัย สำรวจข้อมูลเบื้องต้น ศึกษาทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1) ทราบปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น 2) ได้ทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา สำรวจข้อมูลเบื้องต้น ศึกษาทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1) ทราบปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น 2) ได้ทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากโรงสีข้าว โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากโรงสีข้าว 2) หลังการทำงานวิจัย 2) หลังการทำงานวิจัย รูปที่ 15 สำรวจข้อมูลเบื้องต้น 13.1.2 สำรวจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อชี้ให้เป็นถึงสภาพปัญหาการออกแบบและพัฒนาระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ แสดงดังรูปที่ 16 รูปที่ 16 การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นจากกลุ่มคลัสเตอร์ข้าวจังหวัดนครสวรรค์ 13.1.3 ตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพปัญหาการการออกแบบและพัฒนาระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการแก้ปัญหาที่เป็นจริงและนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายงานวิจัย รวมถึงนำทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์และประยุกต์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดแสดงดังรูปที่ 17 1) เป้าหมาย วิเคราะห์และสรุปปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งประยุกต์ทฤษฎี รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้เป้าหมายและแผนงานวิจัยที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา 2) วิธีทำโดยสังเขป เพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น นำข้อมูล มาตรวจสอบและวิเคราะห์ นำข้อมูล มาตรวจสอบและวิเคราะห์ เป้าหมายและแผนงานวิจัยที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา ความต้องการของโรงสีข้าว เป้าหมายและแผนงานวิจัยที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา ความต้องการของโรงสีข้าว แก้ปัญหาประสิทธิภาพ แก้ปัญหาประสิทธิภาพ รูปที่ 17 ตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพปัญหา 13.1.4 จัดทำการออกแบบและพัฒนาระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ โดยนำผลการตรวจสอบเบื้องต้นและโดยละเอียดมาจัดทำเป้าหมายและแผนงานวิจัย แสดงดังรูปที่ 18 1) เป้าหมาย เขียนแบบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ แบบโครงสร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ วิธีทำโดยสังเขป แบบโครงสร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ ออกแบบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ ออกแบบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเขียนแบบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเขียนแบบ เขียนแบบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เขียนแบบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ แบบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ แบบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ รูปที่ 18 การออกแบบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ 13.1.5 ปฏิบัติตามเป้าหมายการสร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์เป็นไปตามเป้าหมายและแผนที่กำหนดไว้ แสดงดังรูปที่ 19 1) เป้าหมาย ได้เทคโนโลยีของระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถใช้งานได้จริง โครงสร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ วิธีทำโดยสังเขป โครงสร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ การสร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เเทคโนโลยีของระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ การสร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เเทคโนโลยีของระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ ดำเนินการสร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ ตามแบบ ดำเนินการสร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ ตามแบบ แบบระบบการทำงานระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ แบบระบบการทำงานระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ รูปที่ 19 สร้างระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ 13.1.6 ดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์ระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แสดงดังรูปที่ 20 1) เป้าหมาย ได้เทคโนโลยีของระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งให้มากขึ้น โดยประเมินเปอร์เซ็นต์ข้าวต้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถใช้งานได้จริง 2) วิธีทำโดยสังเขป ทดลองระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ ทดลองระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ ผลการทดสอบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ ระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติตามแบบ ผลการทดสอบระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ ระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติตามแบบ รูปที่ 20 ทดลองระบบอบแห้งข้าวเปลือกแบบอัตโนมัติ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 477 ครั้ง |