รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000424
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Learning Activities, Physical Fitness ,Information Technology Media Model ,ith Information Technology Media Model for Children With Spacial Needs.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาเทคนิคการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :244400
งบประมาณทั้งโครงการ :244,400.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 สิงหาคม 2562
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเพื่อการเรียนการสอน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สังคมไทยในปัจจุบันมีเด็กพิเศษในระบบการศึกษาแล้วกว่า 4 แสนคน สถิติเด็กในระบบโรงเรียนก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 290,584 คนในปี 2555 เป็น 409,656 คน ในปี 2557 โดยในจำนวนนี้เป็นนักเรียนในโรงเรียนเรียนร่วมสังกัด สพฐ. 346,276 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีปัญหาในเรื่องการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดคำนวณไม่ถูก ขณะที่มีนักเรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ 32,393 คนจากข้อมูลดังกล่าวจำนวนของเด็กพิเศษเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังประสบปัญหาการมีโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียนที่เพิ่มมากขึ้น การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาให้บุคคลมีความรู้ ความสามารถ มีความพร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม ให้บุคคลได้แสดงความสามารถตามศักยภาพที่แท้จริงของตนเองออกมา ปัจจุบันการจัดการเรียนร่วมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนมีสิทธิและโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ดังหมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา 10 ที่กล่าวไว้ว่า “การจัดการศึกษาจึงได้กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาว่าให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งครอบคลุมไปถึงการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้ง 9 ประเภท คือ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา บุคคล ที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ บุคคลออทิสติก และบุคคลพิการซ้ำซ้อน” นอกจากนี้พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ยังได้กำหนดให้คนพิการมีสิทธิในการเลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบทางการศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการของบุคคล รวมทั้งให้ได้รับการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้และการทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้/เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Learning Disabilities) หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องอย่างใด อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจ หรือการใช้ภาษา อาจเป็นภาษาพูดและหรือภาษาเขียนซึ่งมีผลทำให้มีปัญหาในการฟัง การพูด การคิดการอ่าน การเขียน การสะกดหรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่อง ในการรับรู้สมองได้รับบาดเจ็บ การปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาในการอ่าน และปัญหาในการเข้าใจภาษา ทั้งนี้ไม่รวมบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้อันเนื่องจากความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน หรือการเคลื่อนไหว บกพร่องทางสติปัญญา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2548) เด็กที่มีสติปัญญาปกติหรือสูงกว่าปกติแต่มีความบกพร่องบางประการในการแปลข้อมูลที่สมองไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยวิธีทั่ว ๆไป เช่นเดียวกับเด็กคนอื่น ความบกพร่องนี้ทำให้มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ(ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์, 2543) จึงเป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือทางการศึกษาเป็นพิเศษ ในด้านการปรับหลักสูตร วิธีการสอน เนื้อหา เวลา ตลอดจนการวัดประเมินผล ให้เหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล (ผดุง อารยะวิญญู 2542, หน้า 111) การจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็กจะทำให้เด็กประสบความสำเร็จและได้รับประโยชน์เต็มที่จากการศึกษา โดยการจัดการศึกษาควรแตกต่างออกไปจากรูปแบบเดิม หรือรูปแบบการเรียนการสอนกับเด็กปกติในระบบการเรียนของโรงเรียน ครูทุกคนหรือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จะต้องให้ความสำคัญกับปัญหาและร่วมมือกันดำเนินการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ /เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดี ควรต้องมีสื่อประกอบการสอนอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาที่ผู้สอนต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน รูปแบบกิจกรรมการเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการนำระบบสื่อประสมที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาไปใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผลิตขึ้นโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากแผนการสอนตามหลักสูตร (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2531, หน้า 12) ดังนั้น การพัฒนาชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม นั้น เป็นการสร้างชุดกิจกรรมที่จะเป็นครื่องมือและอุปกรณ์การสร้างสมรรถภาพทางการ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ โดยใชสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาให้มีชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบของชุดการสอนสื่อประสมที่มีความหลากหลายในการสร้างเสริมพัฒนาและกระตุ้นการเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะ กิจกรรมที่มีการเคลื่อนที่เคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาสมรรถะภาพทางการ พร้อมกับให้สมองได้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มทักษะการคิดคำนวณ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียน และเล่นกิจกรรมได้บ่อยตามที่ต้องการ ทั้งยังเป็นการเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากกว่าการเรียนจากหนังสือแบบเรียนเพียงอย่างเดียว สร้างประโยชน์ให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของโครงการ :เป็นการสร้างชุดกิจกรรมที่จะเป็นครื่องมือและอุปกรณ์การสร้างสมรรถภาพทางการ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ โดยใชสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาให้มีชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบของชุดการสอนสื่อประสมที่มีความหลากหลายในการสร้างเสริมพัฒนาและกระตุ้นการเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะ กิจกรรมที่มีการเคลื่อนที่เคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาสมรรถะภาพทางการ พร้อมกับให้สมองได้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มทักษะการคิดคำนวณ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียน และเล่นกิจกรรมได้บ่อยตามที่ต้องการ ทั้งยังเป็นการเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากกว่าการเรียนจากหนังสือแบบเรียนเพียงอย่างเดียว สร้างประโยชน์ให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษา สำรวจ เก็บข้อมูล และออกแบบชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม 2.เพื่อพัฒนาชุดเครื่องมือกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วมที่เหมาะสม 3เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการและสร้างทักษะการเรียนรู้ด้านการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้โดยใช้ชุดรูปแบบกิจกรรมการเรียนร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ จำนวน 30 คน ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนต้นแบบการเรียนร่วมในเขตพื้นที่ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และการวัดผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับนักเรียนจากการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเสริมทักษะด้านการคิดคำนวณในนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และวัดสมรรถนะทางกายที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียน ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา 1.ตัวแปรต้น (Independent Variables) ได้แก่ ชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม 2.ตัวแปรตาม ได้แก่ 1.สมรรถนะทางกาย 2.ทักษะการคิดคำนวณ ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้ชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วมที่เหมาะสมและใช้จัดกิจกรรมได้จริง 2.ผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม ตามกระบวนการของชุดกิจกรรม มีสมรรถนะทางกายที่ดีขึ้น มีความสุขในการเรียน การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม 3.ผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม ตามกระบวนการของชุดกิจกรรม มีพัฒนาการและทักษะการคิดคำนวณที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ 4.ได้ผู้เรียนที่มีศักยภาพและความพร้อมในการเรียนรู้เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต 5.แก้ปัญหาการไม่เรียนต่อของเยาชนและลดปัญหาอื่นๆที่จะตามมาเมื่อผู้เรียนต้องออกกลางคัน เนื่องจากไม่สามารถเรียนให้บรรลุผลได้ตามระบบการเรียน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :รูปแบบการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็นกรอบแนวคิดที่ผู้วิจัยนำมาใช้เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีผู้กล่าวถึงความหมาย แนวคิดทฤษฏีของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไว้หลายท่านดังนี้ ความหมายของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ทิศนา แขมมณี (2534) กล่าวถึงความหมายของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนว่า หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบตามหลักปรัชญา ทฤษฏี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่างๆ โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆเข้ามาช่วยให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักมีความหมายเดียวกัน แต่ต่างกันในแง่ของระบบย่อยและระบบใหญ่ ระบบการจัดการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนโดยรวม ส่วนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบที่ย่อยกว่า เช่น ระบบวิธีสอนแบบต่างๆและยังได้จัดองค์ประกอบสำคัญของระบบการเรียนการสอนไว้ 4 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนถือเป็นระบบย่อยของระบบการเรียนการสอน แนวความคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ลักษณะการสอนที่ดี เป็นการสอนที่เร้าความสนใจของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสนใจตลอดจนจบกระบวนการสอน เช่น ผู้สอนใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ ใช้คำถามกระตุ้นให้คิด ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบที่เหมาะสม ให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ(Learning by doing) ได้ทดลองได้คิดค้นคว้า ฯลฯ ย่อมทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความสนใจ นอกจากนี้ควรเป็นการสอนที่ผู้สอนรู้จักใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การจูงใจ เร้าใจ ผู้เรียนทราบผลงานของตนโดยทันทีการสอนที่ดีเป็นการสอนที่ส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย เช่น ให้ผู้เรียนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานกลุ่มร่วมกัน ซึ่งเป็นรากฐานของการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติต่อไป (อาภรณ์ ใจเที่ยง,2540)การสอนที่ผู้สอนคำนึงถึงจิตวิทยาในการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สะดวกง่ายขึ้น และเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียน การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบซึ่งอาศัยความรู้ความเข้าใจของกระบวนการเรียนรู้ โดยการรวมองค์ประกอบและตัวแปรต่างๆ เข้าไว้ด้วยเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการออกแบบการเรียนการสอนนั้นๆ แล้วจึงทำการทดสอบและแก้ไขปรับปรุงจนใช้ได้ผลดีเป็นการนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ (Kemp, 1985:3) รูปแบบและการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการวิจัยนี้ นำมาจากแนวคิดของ Hannafin (1997) ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็น 5 ขั้นตอนตามบริบทของการออกแบบการเรียนการสอน คือ ขั้นวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นออกแบบ (Design) ขั้นพัฒนา (Development) ขั้นนำไปใช้ (Implementation) และขั้นประเมินผล (Evaluation) การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กล่าวได้ว่าการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาให้บุคคลมีความรู้ ความสามารถ มีความพร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม ให้บุคคลได้แสดงความสามารถตามศักยภาพที่แท้จริงของตนเองออกมา ปัจจุบันการจัดการเรียนร่วมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนมีสิทธิและโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ดังหมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา 10 ที่กล่าวไว้ว่า “การจัดการศึกษาจึงได้กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาว่าให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งครอบคลุมไปถึงการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้ง 9 ประเภท คือ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา บุคคล ที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ บุคคลออทิสติก และบุคคลพิการซ้ำซ้อน” ทั้งนี้ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์ วิธีที่กำหนดในกฎกระทรวง (ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุโขทัย,2548) และนอกจากนี้พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ยังได้กำหนดให้คนพิการมีสิทธิในการเลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบทางการศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการของบุคคล รวมทั้งให้ได้รับการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้และการทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล การศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรงกับ ผลการวิจัยของ นิชาภา ชัยวงษ์. (2547) เรื่องการศึกษาผลการใช?ชุดกิจกรรมสร?างสรรค?ในการ ส?งเสริมการทํางาน ประสานสัมพันธ?ระหว?างตากับมือของเด็กที่มีความบกพร?องทางด?านการเคลื่อนไหวเล็กน?อยชั้นประถมศึกษาปท?ี่ 2 ที่ว่า 1. ชุดกิจกรรมสร?างสรรค?สามารถนํามาใช?ในการพัฒนาการทํางานประสานสัมพันธ์ ระหว?างตากับมือให?แก่เด็กนักเรียนอายุ 10 ป?ซึ่งมีความบกพร?องทางด?านการเคลื่อนไหวเล็กน้อย 2. นักเรียนที่ได?รับการสอนโดยชุดกิจกรรมสร?างสรรค?มีความสามารถในการทํางาน ประสานสัมพันธ์ระหว?างตากับมือก?อนและหลังการทดลองแตกต?างกัน โดยหลังการทดลองเด็กที่มี ความบกพร?องทางด?านการเคลื่อนไหวเล็กน้อยมีความสามารถในการทํางานประสานสัมพันธ? ระหว?างตากับมือสูงกว?าก?อนการทดลอง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม จะมีทักษะทางการคิดคำนวณที่ดีขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT) ในโรงเรียนต้นแบบเรียนร่วมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในระดับมัธยมศึกษา 1.1 สังเกต สัมภาษณ์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลกับ ผู้สอน และผู้อำนวยการโรงเรียนแบบเรียนร่วมเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนแบบเรียนร่วม 1.2 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนแบบเรียนร่วมในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ว่ามี จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค อะไรบ้างที่มีผลกระทบต่อโรงเรียนและการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วมในโรงเรียนดังกล่าว 2. ศึกษารูปแบบการเรียนการสอน ต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียน 3. ศึกษาชุดเครื่องมือรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเด็กพิเศษ 4. พัฒนาชุดเครื่องมือกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม ด้วยการสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ด้านการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษ 5. นำชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแบบเรียนร่วม ไปทดลองใช้ 6. สรุปผลการวิจัยและเขียนเล่มวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทักษะการคิดคำนวณด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และการวัดผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับนักเรียนจากการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเสริมทักษะด้านการคิดคำนวณในนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และวัดสมรรถนะทางกายที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียน
จำนวนเข้าชมโครงการ :597 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวกุลรภัส เทียมทิพร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายสุทธิกร แก้วทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
นายสุภกิจ วิริยะกิจ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย15

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด