รหัสโครงการ : | R000000422 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมังคุดเข้มข้นโดยวิธีการระเหยภายใต้สภาวะสุญญากาศ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The development of Mangosteen juice concentrate processing using vacuum evaporation |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | น้ำมังคุด, น้ำมังคุดเข้มข้น, สารต้านอนุมูลอิสระ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 243600 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 243,600.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 ตุลาคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 เมษายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | เกษตรศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | อุตสาหกรรมเกษตร |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | มังคุดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพสูงในการส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยโดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกมังคุดเป็นอันดับต้นๆของโลก มูลค่าปีละมากกว่า 2,000 ล้านบาท แต่ปัญหาสำคัญในการส่งออกมังคุด คือ คุณภาพของมังคุดที่ไม่ได้มาตรฐาน และอายุการเก็บรักษาสั้น โดยฤดูกาลผลผลิตของภาคตะวันออกอยู่ในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน และภาคใต้อยู่ในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน ดังนั้นการแปรรูปมังคุดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และเพิ่มมูลค่า จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว มังคุด ประกอบด้วยสารประกอบกลุ่มฟีนอลิค เช่น แอนโทไซยานิน. เทนนิน กรดฟินอลิค ซึ่งสารประกอบฟีนอลิคนี้ มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ การผลิตน้ำมังคุดเข้มข้นจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกในการเพิ่มความหลายหลากหลายของผลิตภัณฑ์มังคุดและยังทำให้เก็บไว้ได้นานกว่าเนื่องจากมีปริมาณน้ำอิสระต่ำ โดยสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ซึ่งในการทำน้ำผลไม้เข้มข้นสามารถทำได้โดยนำไประเหยภายในสภาวะสุญญากาศ แต่มักพบปัญหาว่า สีของน้ำมังคุดที่ได้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์และอาจเกิดตะกอนเกิดขึ้นได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมังคุดเข้มข้นที่ได้สารต้านอนุมูลอิสระที่สูงและมีลักษณะเป็นที่ยอมรับผู้บริโภคโดยเน้นไปที่พัฒนาน้ำมังคุดที่มีลักษณะใส ไม่มีตะกอน และสีเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาของวิธีการสกัดน้ำมังคุดต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำมังคุดเข้มข้น
2. เพื่อศึกษาผลของกระบวนการระเหยต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำมังคุดเข้มข้น
3. เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมังคุดเข้มข้นให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระที่สูง
4. เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมังคุดเข้มข้นให้มีลักษณะทางกายภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ศึกษาของวิธีการสกัดน้ำมังคุดต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำมังคุดเข้มข้น
2. ศึกษาผลของกระบวนการระเหยต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและลักษณะทางกายภาพของน้ำมังคุดเข้มข้น
3. พัฒนากระบวนการน้ำมังคุดเข้มข้นให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระที่สูง
4. พัฒนากระบวนการผลิตน้ำมังคุดเข้มข้นให้มีลักษณะทางกายภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำมังคุดเข้มข้นโดยวิธีการระเหยด้วยสุญญากาศ
2.สามารถเพิ่มมูลค่าและเป็นแนวทางสู่การพัฒนากระบวนการผลิตในเชิงพาณิชย์ให้กับชุมชนหรือผู้ประกอบการ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | กระบวนการผลิตน้ำมังคุดเข้มข้น ผลมังคุด ผ่าครึ่งมังคุด ศึกษาวิธีการสกัดที่เหมาะสมโดยใช้เอนไซม์เซลลูโลสและเพคติเนส ลวกที่อุณหภูมิ 85?C เป็นเวลา 2 นาที ศึกษาวิธีการสกัดที่เหมาะสมโดยใช้เอนไซม์เซลลูโลสและเพคติเนส สกัดน้ำมังคุด ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 85?C เป็นเวลา 2 นาที ทำให้เย็นทันที น้ำมังคุด ศึกษาอุณหภูมิและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำมังคุดเข้มข้น ศึกษาอุณหภูมิและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำมังคุดเข้มข้น ระเหยโดยใช้เครื่อง Rotary evaporator จนได้ TSS = 47 ?Brix พาสเจอไรเซชัน ที่อุณหภูมิ 90 ?C เป็นเวลา 2 นาที ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งทางกายภาพและเคมี 1. วัดค่าสี 2. ปริมาณกรดฟีนอลิกทั้งหมด, ปริมาณแอนโทไซยานิน 3. ค่าความเป็นกรด-ด่าง 4.ปริมาณน้ำตาล 5. ค่าความหนืด น้ำมังคุดเข้มข้น ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งทางกายภาพและเคมี 1. วัดค่าสี 2. ปริมาณกรดฟีนอลิกทั้งหมด, ปริมาณแอนโทไซยานิน 3. ค่าความเป็นกรด-ด่าง 4.ปริมาณน้ำตาล 5. ค่าความหนืด |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 403 ครั้ง |