รหัสโครงการ : | R000000419 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ผลการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิค ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐานในการจัดการความรู้ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนรายวิชา อาชีวเวชศาสตร์ ของนักศึกษาร |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ ,เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน ,พฤติกรรมการเรียนรู้ ,ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ,ความพึงพอใจในการเรียน ,นักศึกษา |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 10000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 10,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 มิถุนายน 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 มิถุนายน 2561 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยเพื่อการเรียนการสอน |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
สาขาวิชาการ : | อื่นๆ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | สถานการณ์ทางการเรียนรู้ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อก้าวทันกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง มรการเจริญเติบโตอย?างรวดเร็วของวิทยาศาสตร?และเทคโนโลยี ไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ภายใต้กระแสแห่งโลกในยุคดิจิตัล ( Digital Age ) นั้นส่งผลต่อการแสวงหารูปแบบและการปรับกระบวนทัศน์ในการทำงาน ( Paradigm Shift ) ที่มีความหลากหลายให้สอดรับและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงกับโลกยุคใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแนวความคิด รูปแบบและวิธีการที่ใช้กันในแบบเดิมนั้น อาจมีการพิเคราะห์ทบทวนเพื่อศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่ามีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมการเรียนการสอนยุคปัจจุบันได้มีรู้แบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ที่ใช้นำมาส่งเสริมและแก้ปัญหาการจัดการศึกษาในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคปัจจุบัน ที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและมีการสื่อสารส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของแหล่งสารสนเทศและความรู้ในสังคมดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่มีความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้อย่างเต็มที่ (สุมาลี ชัยเจริญและคณะ. 2551) ทั้งนี้ได้กำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดและฝึกปฏิบัติให้คิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาได้โดยการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างสมดุลสอดคล้องกับความสนใจความถนัดและแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนครูจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ (กรมวิชาการ, 2544)
แนวทางการเปลี่ยนแปลงทางการจัดการศึกษาและกระบวนการจัดการความรู้ โดยกระบวนการสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการที่ยั่งยืนให้กับระดับอุดมศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ได้กำหนดมาตรการและกลไกหลักในการปฏิรูปการเรียนการสอน คือ การพัฒนารูปแบบและวิธีการสอนให้มีความหลากหลายเหมาะสมกับธรรมชาติ เนื้อหารายวิชาและระดับการศึกษา โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี และ แนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นทักษะ ควรเน้นการสอนที่มุ่งให้เกิดการคิดแบบวิเคราะห์ สังเคราะห์ และทักษะการแก้ไขปัญหา อีกทั้งเป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถอธิบายการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนและมีเหตุมีผล สามารถนำเอาทักษะการคิดวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นนั้นไปประยุกต์ใช้ตลอดจนทักษะการกลั่นกรองความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ (ทิศนา แขมมณี, ม.ป.ป. หน้า 27-29 อ้างใน บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์, 2550)
การจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องหาความหมายและทำความเข้าใจด้วยตนเอง หรือร่วมกันกับเพื่อน เช่น ร่วมสืบค้นคำตอบ ร่วมอธิปราย ร่วมนำเสนอ และสรุปความคิดรวบยอดร่วมกันหรืออีกนัยหนึ่งคือการเปลี่ยนผู้เรียนจากการเป็นผู้นั่งฟังเพียงอย่างเดียว มาเป็นผู้เรียนที่ร่วมกิจกรรมแสวงหาความรู้ที่ผู้สอนกำหนด (ศักดา ไชกิจภิญโญ,2548) จากงานวิจัยบางเรื่อง สรุปว่า การจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning )ได้ผลการเรียนรู้ไม่ต่างจากการสอนแบบบรรยายและดีกว่าการสอนแบบบรรยายในด้านการพัฒนาทักษะการคิด การเขียน การทำงานกลุ่ม การนำเสนอ ที่สำคัญผู้เรียนชอบเรียนแบบ การจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) มากกว่าการสอนแบบบรรยาย (ผศ.ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ)
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ปัจจุบันในระดับอุดมศึกษาทั่วไป ยังเป็นการสอนแบบบรรยายอย่างเดียวค่อนข้างมาก ผู้สอนบ้างคนนิยมให้ผู้เรียนจดบันทึกตามคำบรรยายไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามและมีบทบาทในการเรียนการสอน เหตุผลสำคัญที่ผู้สอนบางคนเลือกการสอนแบบบรรยายก็เพราะการสอนวิธีนี้ทำให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายและสอนเนื้อหาได้มากและผู้สอนจะเป็นคนควบคุมชั้นเรียนให้เป็นไปตามต้องการได้ ผลเสียของการสอนบรรยายจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย เมื่อฟังบรรยายไม่เข้าใจจะทำให้ผู้เรียนเรียนไม่รู้เรื่อง และคิดว่าวิชาวิทยาศาสตร์นั้นยาก ดังนั้นผู้สอนต้องเลือกวิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสนใจวิทยาศาสตร์ เกิดการคิด เกิดทักษะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
และจากการที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 รายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ พบว่า การดำเนินการเรียนการสอนที่ผ่านมานักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ นักศึกษาประมาณ 1-3 คนคุยกันในขณะเรียนทุกครั้ง นักศึกษาประมาณ 4-6 จดอย่างเดียว นักศึกษาประมาณ 7-10 ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น นักศึกษาประมาณ 2- 5 คน มาสายทุกครั้ง และมีนักศึกษาที่ตอบคำถามอย่างกระตือรือร้น
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรนำวิธีการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning) มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มากขึ้น
ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทดลองจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้โดยใช้เทคนิคด้วยเทคนิค ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน มาประกอบในรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์โดยหวังว่า ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มากขึ้น
|
จุดเด่นของโครงการ : | รูปแบบการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ เรื่อง อาชีวเวชศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนในรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ เรื่อง อาชีวเวชศาสตร์ ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
|
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ขอบเขตเนื้อหาและเวลา
ในการวิจัยครั้งนี้ใช้เนื้อหารายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ จำนวน 2 เรื่อง จำนวน 6 คาบ คือ
เรื่องที่ 1 หลักการทางอาชีวเวชศาสตร์ จำนวน 3 คาบ โดยมีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้
1.1. แนวคิดเกี่ยวกับอาชีวเวชศาสตร์
1.2. การวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพและการตรวจประเมินสุขภาพ
1.3. การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน
1.4. การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน
เรื่องที่ 2 อาชีวเวชศาสตร์ จำนวน 3 คาบ โดยมีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้
2.1 การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง
2.2 การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของ
2.3 ระบบหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
2.4 ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆจากการทำงาน
2. ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษารายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ อยู่ในปีการศึกษา 2/2560 จำนวน 66 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2560 เลือก 1 หมู่เรียน จำนวน 27 คน แบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า คือ นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 2/2560 สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย มีความพร้อมและสามารถเข้าร่วมโครงการตลอดระยะเวลาการวิจัย และสามารถอ่านออกเขียนได้
3. ขอบเขตตัวแปร
ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้มีดังนี้
1. ตัวแปรจัดกระทำ (อิสระ) ได้แก่ การจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิค ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
2. ตัวแปรตาม มี 2 ตัวแปร คือ
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.2 ความพึงพอใจในการเรียน
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้แผนการสอนรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ โดยการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน ที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นรวมทั้งทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ เพิ่มมากขึ้น
2. ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้แบบตื่นตัว เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพในการเรียน
3. ได้แนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนในรายวิชา
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 1. การเรียนแบบใฝ่รู้
1.1 ความหมายและความสำคัญของการเรียนแบบใฝ่รู้
1.2 ขั้นตอนการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้
1.3 ข้อดีและข้อจำกัดของการเรียนแบบใฝ่รู้
2. เทคนิคการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน
2.1 ความหมายของเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน
2.2 เทคนิคการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน
2.3 ข้อดีและข้อจำกัดของเทคนิคแบบห้องเรียนกลับด้าน
3. ICT
3.1 ความหมายของ ICT
3.2 เทคนิคการใช้ ICT
3.3 ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้ ICT
4. กรอบแนวคิดในการสอน
5. สมมติฐานการวิจัย
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. แผนการสอนรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ จำนวน 2 แผน โดยใช้การจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน จำนวน 2 แผน ดังนี้
1.1 ลักษณะของแผนการสอนที่ 1 จำนวน 3 คาบ
(1) แผนการสอนรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน มีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น โดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
(2) ส่วนประกอบของแผนการสอนมีดังนี้
1) จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
1.1 อธิบายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักการทางอาชีวเวชศาสตร์ได้
1.2 สามารถอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับอาชีวเวชศาสตร์ได้
1.3 สามารถอธิบายการวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพและการตรวจประเมินสุขภาพได้
ลักษณะของแผนการสอนที่ 1 จำนวน 3 คาบ
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ
1. อาจารย์ผู้สอนเกริ่นนำเรื่องอาชีวเวชศาสตร์
2. อาจารย์ผู้สอนให้ผู้เรียนอภิปรายแลกเปลี่ยน ความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับหลักการและขอบเขตของอาชีวเวชศาสตร์เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์
1. อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับเรื่อง “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลัการอาชีวเวชศาสตร์แนวคิดเกี่ยวกับอาชีวเวชศาสตร์ การวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพและการตรวจประเมินสุขภาพ” เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
3. อาจารย์ผู้สอนให้ผู้เรียนเข้าโปรแกรม Plickers และ Kahoot เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามอาจารย์ผู้สอน จากการศึกษาองค์ความรู้มาจากที่บ้าน และให้ผู้เรียนทำการบ้านในห้องเรียนด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
ขั้นสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน
1. อาจารย์ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มตั้งประเด็นข้อคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย การวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพและการตรวจประเมินสุขภาพ
- ผู้สอนชี้แจงการปฏิบัติงาน
- นักศึกษาดำเนินการปฏิบัติกิจกรรมพร้อมรายงานผล
2. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มดูวีดิทัศน์ โดยให้ผู้เรียนตั้งปัญหา และวางแผนร่วมกันสรุปผลการศึกษา และอภิปรายโดยใช้ ICT เป็นฐาน
ขั้นนำเสนอความรู้
1. ให้ผู้เรียนกลุ่มเดิมที่ได้แบ่งไว้ในตอนแรก จากนั้นให้สมาชิกแต่ละคนเสนอผลของการศึกษา ที่ได้จากการสรุปจากการศึกษาปัญหา และอภิปรายโดยใช้ ICT เป็นฐานในกรสืบค้นข้อมูล
2. ให้ตัวแทนกลุ่ม ออกมานำเสนอผลการสรุปปัญหาหน้าชั้นเรียน
3. อาจารย์ผู้สอนให้ข้อเสนอแนะแต่ละกลุ่ม
ขั้นลงมือปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้
1. ให้ผู้เรียนทั้งชั้นลงมติว่า ความรู้ที่ได้จากสรุป ลงมติลงสมุดจดบันทึก
2. ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ แบบฝึกหัดท้ายบท
ขั้นประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบฝึกหัดท้ายบท
2. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้ kahoot
สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ เรื่องหลักการทางอาชีวเวชศาสตร์
2. ใบงานและใบความรู้
3. คอมพิวเตอร์ สื่อประกอบการสอน และโปรเจคเตอร์
4. อุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ (Active Learning) ด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
การวัดและประเมินผล
1. ความร่วมมือกัน ภายในการทำงานภายในชั้นเรียน
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
3. นักศึกษาสรุปบทเรียน อภิปราย
4. ใบบันทึกผลการทำกิจกรรมของนักศึกษา
5. แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนการตอบคำถามแบบฝึกหัดท้ายบท
1.2 ลักษณะของแผนการสอนที่ 2 จำนวน 3 คาบ
(1) แผนการสอนรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน มีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
(2) ส่วนประกอบของแผนการสอนมีดังนี้
1) จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
1.1 สามารถอธิบายการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงานได้
1.2 สามารถอธิบายการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพกลุ่มวัยทำงานได้
1.3 สามารถนำความรู้ด้านหลักการทางอาชีวเวชศาสตร์มาประยุกต์ใช้ได้
ลักษณะของแผนการสอนที่ 2 จำนวน 3 คาบ
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ
3. อาจารย์ผู้สอนเกริ่นนำเรื่องอาชีวเวชศาสตร์ (ต่อ)
4. อาจารย์ผู้สอนให้ผู้เรียนอภิปรายแลกเปลี่ยน ความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน การนำความรู้ด้านหลักการทางอาชีวเวชศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์
1. อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับเรื่อง “ความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน การนำความรู้ด้านหลักการทาง อาชีวเวชศาสตร์มาประยุกต์ใช้” เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
3. อาจารย์ผู้สอนให้ผู้เรียนเข้าโปรแกรม Plickers และ Kahoot เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามอาจารย์ผู้สอน จากการศึกษาองค์ความรู้มาจากที่บ้าน และให้ผู้เรียนทำการบ้านในห้องเรียนด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
ขั้นสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน
1. อาจารย์ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มตั้งประเด็นข้อคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน การนำความรู้ด้านหลักการทาง อาชีวเวชศาสตร์มาประยุกต์ใช้
- ผู้สอนชี้แจงการปฏิบัติงาน
- นักศึกษาดำเนินการปฏิบัติกิจกรรมพร้อมรายงานผล
2. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มดูวีดิทัศน์ โดยให้ผู้เรียนตั้งปัญหา และวางแผนร่วมกันสรุปผลการศึกษา และอภิปรายโดยใช้ ICT เป็นฐาน
ขั้นนำเสนอความรู้
1. ให้ผู้เรียนกลุ่มเดิมที่ได้แบ่งไว้ในตอนแรก จากนั้นให้สมาชิกแต่ละคนเสนอผลของการศึกษา ที่ได้จากการสรุปจากการศึกษาปัญหา และอภิปรายโดยใช้ ICT เป็นฐานในกรสืบค้นข้อมูล
2. ให้ตัวแทนกลุ่ม ออกมานำเสนอผลการสรุปปัญหาหน้าชั้นเรียน
3. อาจารย์ผู้สอนให้ข้อเสนอแนะแต่ละกลุ่ม
ขั้นลงมือปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้
1. ให้ผู้เรียนทั้งชั้นลงมติว่า ความรู้ที่ได้จากสรุป ลงมติลงสมุดจดบันทึก
2. ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ แบบฝึกหัดท้ายบท
ขั้นประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบฝึกหัดท้ายบท
2. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้ Kahoot
สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาอาชีวเวชศาสตร์ เรื่องหลักการทางอาชีวเวชศาสตร์
2. ใบงานและใบความรู้
3. คอมพิวเตอร์ สื่อประกอบการสอน และโปรเจคเตอร์
4. อุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ (Active Learning) ด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ICT เป็นฐาน
การวัดและประเมินผล
1. ความร่วมมือกัน ภายในการทำงานภายในชั้นเรียน
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
3. นักศึกษาสรุปบทเรียน อภิปราย
4. ใบบันทึกผลการทำกิจกรรมของนักศึกษา
5. แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนการตอบคำถามแบบฝึกหัดท้ายบท
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีดังนี้ คือ
1. ผู้วิจัยขอความร่วมมือนักศึกษาพร้อมชี้แจงวัตถุประสงค์ รายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและขออนุญาตในการเก็บข้อมูล
2. ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้กลุ่มตัวอย่างเข้าไปตอบแบบสอบถามออนไลน์ 5 ด้าน ดังนี้
2.1 แบบประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรม
2.2 แบบประเมินด้านความรู้
2.3 แบบประเมินด้านทักษะทางปัญญา
2.4 แบบประเมินด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
2.5 แบบประเมินด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.6 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
3. ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ของกลุ่มตัวอย่าง บันทึกคะแนนสอบไว้เป็นคะแนนก่อนเรียน
4. บันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่จากการศึกษาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 835 ครั้ง |