รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000418
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม.
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of integrated farming system in order to solve the smog pollution problem from burning agricultural areas
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :องค์ความรู้หมอกควัน, เกษตรแบบผสมผสาน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :325000
งบประมาณทั้งโครงการ :325,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :31 มีนาคม 2562
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคเหนือที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีประชากร 1,072,868 คนความหนาแน่น 111.78คน ต่อตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับการเกษตร พืชที่นิยมปลูกได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ปี2558/2559 จังหวัดนครสวรรค์มีการปลูกข้าว มีจำนวน 3,638,055 ไร่ จำแนกเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี จำนวน 2,597,495 ไร่ ผลผลิตจำนวน 1,779.630 ตัน และพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง จำนวน 1,040,560 ไร่ ผลผลิตจำนวน 714.659ตัน (สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์,2559)http://www.nakhonsawan.doae.go.th/2016/index.php/2014-12-06-17-29-56. ในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าวและตอซัง โดยเฉลี่ย 650 กิโลกรัมด้านอ้อยโรงงานมีพื้นที่ปลูก 623,558 ไร่ ผลผลิต 4,835,723 ตัน ด้านข้าวโพดมีพื้นที่ปลูก219,481.75ไร่ ผลผลิตจำนวน99.631,894.07 ตัน ปัจจุบันในฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ของเกษตรกรในหลายๆ พื้นที่ หลังฤดูการเก็บเกี่ยวของเกษตรกรนั้น สิ่งที่เราพบเห็นอยู่เป็นประจำคือ "การเผาฟางข้าว และตอซัง เผาอ้อย” โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีนี้ เพื่อให้ง่ายสำหรับขั้นตอนการเก็บเกี่ยว การเตรียมดินปลูกข้าวในฤดูถัดไป โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา จึงเกิดคำถามขึ้นว่าเพราะอะไรเกษตรกรจึงนิยมใช้วิธีเผาฟางข้าว เผาอ้อย อาจเพราะเกษตรกรไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องผลเสียที่ตามมา ดังนั้นเราจึงนำองค์ความรู้ ประสบการณ์จากปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญา ผู้ที่ประสบผลสำเร็จจากการที่ไม่ใช้วิธีการเผาฟาง ตอซังและการเผาอ้อย มาให้กับเกษตรกร เพื่อจะได้ปฏิบัติตามอย่างถูกวิธี(กรมพัฒนาที่ดิน,2548. http://www.ldd.go.th/manual_stump/stump.pdf) อย่างไรก็ตามเกษตรกรมองเพียงประโยชน์ในระยะสั้นที่เห็นประโยชน์การเผา คือ ทำให้การไถทำเทือกง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น และ เป็นการกำจัดโรค และแมลงบางส่วนที่ตกค้างอยู่ในนา หากเป็นอ้อยก็มองเพียงง่ายต่อการตัดเก็บเกี่ยว แต่ผลเสียมีมหันต์ คือ ทำให้เกิดหมอกควันปกคลุมการจราจร และเถ้าเขม่า มีผลเสียต่อสุขภาพ เกิดภาวะโลกร้อน เกิดการสูญเสียปุ๋ย ที่ควรจะได้จากการย่อยสลายของฟางข้าว และตอซัง ซึ่งจะทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ที่จะใช้ในฤดูกาลต่อๆ ไปรวมทั้งเกิดการเสื่อมสภาพของดิน ทำลายโครงสร้างของดิน ทำให้โครงสร้างดินเปลี่ยนแปลงไป เนื้อดินจับตัวแน่น สูญเสียอินทรียวัตถุในดิน ทำลายจุลินทรีย์ สัตว์ และแมลงที่เป็นประโยชน์ สอดคล้องกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n17/v_8-sep/korkui.html.) พบว่า การเผาตอซังข้าวสร้างปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละอองในประเทศไทยรุนแรงมากขึ้นนอกจากส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังมีผลต่อคุณสมบัติดินและเศรษฐกิจของประเทศ คือ เป็นการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพื้นดินสู่บรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทำให้ดินแน่นทึบ อัตราการซึมของน้ำช้าลง การไหลทางแนวราบสูงขึ้น ทำให้ต้องใช้น้ำมากกว่าปกติในการปลูกพืชทำให้ปริมาณไนโตรเจนบนผิวดินลดลง ส่วน pH ของผิวดินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อน้ำท่วมคราวต่อไปจะมีการปรับ pH ให้เข้าสภาพเดิมอีก ปริมาณจุลินทรีย์หลายชนิดลดลงหลังการเผาตอซัง ทำให้สูญเสียธาตุอาหารที่ควรจะหมุนเวียนลงในดิน ในพื้นที่ปลูกข้าว 78 ล้านไร่ มีปริมาณตอซังฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยวประมาณ 47 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าของธาตุอาหารหลักคือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 44,886 ล้านบาท และปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับการเผา 11,468 ล้านบาทต่อปี นอกจากผลกระทบดังกล่าวข้างต้น ยังส่งผลต่อ อาคารบ้านเรือน เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ประชาชน บดบังทัศนวิสัย และเป็น อุปสรรคในการคมนาคมและขนส่ง การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศป่าไม้ รวมทั้ง ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่สําคัญของไทยอีกด้วยในการแก้ปัญหาในบริเวณที่ราบสูงเกษตรกรส่วนใหญ่ทำไร่ข้าวโพด ถ้าสามารถนำหญ้าแฝกมาใช้ร่วมกับการไถกลบตอซังและใช้จุลินทรีย์ช่วยในการย่อยสลาย เกษตรกรที่ปลูกข้าวถ้าใช้วิธีไถกลบตอซัง ร่วมกับใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ในส่วนเกษตรกรที่ปลูกอ้อยหันมาตัดอ้อยสดแทนการเผาก่อนตัดอ้อย อ้อยโรงงานถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ปี2556 ประเทศไทยมีการบริโภคน้ำตาล 2.50 ล้านตัน ส่งออก 7.52 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 100,000 ล้านบาท การเพาะปลูกอ้อยโรงงานปี 2551/52 -2555-56 มีจำนวนอ้อยเข้าสู่โรงงาน 40.27 ล้านตัน มีพ้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.10 และ ร้อยละ 12.37 ตามลำดับ(สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,2557) ซึ่งจะเห็นว่าเกษตรกรมีการหันมาปลูกอ้อยเพิ่มมากขึ้นแทนการปลูกข้าว ทั้งนี้เพราะภาครัฐมีการส่งเสริม ราคาจูงใจถ้าเกษตรกรทั้ง 3 กลุ่มหันมาใช้ วิธีการดังกล่าวก็จะทำให้ลดปัญหาหมอกควันไปได้มาก ในจังหวัดนตรสวรรค์มีปราชญ์ชาวบ้านประสบผลสำเร็จในการปลูกข้าวโพด ข้าว และอ้อยโดยไม่เผาตอซัง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึ่งต้องการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม มาใช้จะทำให้แก้ปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาเศษวัสดุที่เหลือจากการเกษตรได้อย่างยั่งยืน
จุดเด่นของโครงการ :นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้ไปสร้างเครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและถอดบทเรียนการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม 2. เพื่อพัฒนาสื่อในการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการพัฒนา 3. เพื่อนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้ไปสร้างเครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียง
ขอบเขตของโครงการ :ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงพรรณนา (Descriptive Research) เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวม และเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนศึกษาแบบมีส่วนร่วม (PAR) เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ สัมภาษณ์ สังเกต และสังเกตแบบมีส่วนร่วม า และถอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบที่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึง พร้อมทั้งขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่มีบริบทใกล้เคียง ซึ่งแบ่งขอบเขตได้ดังต่อไปนี้ 1. ขอบเขตเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้ขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ การพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดนครสวรรค์โดยใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้านที่ได้จากการถอดองค์ความรู้สู่การถ่ายทอดและขยายเครือข่าย 2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่างและสถานที่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว ข้าวโพด และอ้อย ที่ปลูกในจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ เกษตรกร เจ้าหน้าที่สถานประกอบการโรงงาน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ อาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่เกษตรกร และเจ้าหน้าที่สถานประกอบการโรงงานผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว ข้าวโพด และอ้อย เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ อาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 3. ขอบเขตตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ สภาพการดำเนินการระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดนครสวรรค์ การพัฒนาระบบเกษตรผสมผสานโดยใช้หญ้าแฝกสามารถแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้บทเรียนองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้สื่อในการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมและเกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่ายและคลอบคลุม 3. ได้กลุ่มเครือข่ายการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมและขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :หมอกควัน 1. ความหมาย สาเหตุและผลกระทบของปัญหาหมอกควัน 1.1 หมอกควัน หมายถึง การสะสมของควันหรือฝุ่นในอากาศ ส่วนใหญ่เกิดจากเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และไฟป่า หมอกควันจัดเป็นมลพิษทางอากาศอย่างหนึ่งในบรรดาสารต่างๆที่ปะปนอยู่ในอากาศ อาทิเช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สารตะกั่ว (Pb) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx) และก๊าซโอโซน (O3) เป็นต้น สําหรับหมอกควันจัดเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM 10) ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน (ศิริพร เค้าภูไทย, 2557) 1.2 สาเหตุของการเกิดปัญหาหมอกควัน ประกอบด้วย 1) การเผาพื้นที่เพื่อทําการเกษตร การเผาในที่โล่ง การเผาวัชพืชและเศษวัสดุการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกทั้งนอกและในพื้นที่ป่า 2) ไฟป่า โดยทั่วแล้วไฟป่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุคือ สาเหตุแรก เกิดจากธรรมชาติเช่นฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีการลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต (Spontaneous combustion) และสาเหตุที่สองเกิดจากมนุษย์เช่น เก็บหาของป่า การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นที่ป่าโล่งเดินสะดวก การจุดไฟเพื่อล่าสัตว์การจุดไฟเผาป่าเพื่อบุกรุก ยึดถือ ครอบครองพื้นที่ป่า การลักลอบจุดไฟเผาป่าให้โล่งมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์สําหรับสาเหตุของการเกิดไฟป่าในประเทศไทย พบว่า เกิดจากมนุษย์ทั้งสิ้น 1.3 ผลกระทบที่เกิดจากหมอกควันอันมีสาเหตุมาจากการเผานั้น มีหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ บดบังวิสัยการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดี อย่างไรก็ตามนอกจากผลกระทบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลกระทบทางด้านนิเวศสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงอีกมาก ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1.3.1 ผลกระทบต่อสภาวะอากาศโลก ได้แก่ - การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอุณหภูมิสูงขึ้น มีผลต่อสภาวะโลกร้อน - การเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก - หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า ทำลายสุขภาพต่อระบบทางเดินหายใจ (มีผลกระทบโดยตรงต่อ ชาวบ้าน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุในชุมชน) - สูญเสียสภาพความสวยงามของธรรมชาติ 1.3.2 ผลกระทบต่อน้ำ ได้แก่ - สมดุลของน้ำเปลี่ยนแปลง เกิดอุทกภัย และภัยแล้ง - คุณภาพน้ำเสีย น้ำที่เต็มไปด้วยตะกอน ขี้เถ้า จะไหลลงสู่ลำห้วยลำธาร เกิดการ ทับถมในแม่น้ำ ลำน้ำตื้นเขิน เมื่อฝนตกน้ำเอ่อล้น – เกิดอุทกภัย เกิดความเสียหายด้านเกษตร (การเพาะปลูก) - หน้าแล้ง ดินที่มีกรวดทราย ชั้นดินแน่นจากไฟป่า ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ในฤดูฝนได้ จะเกิดสภาวะแห้งแล้ง ชุมชนขาดน้ำอุปโภค บริโภค รวมทั้งเกิดผลกระทบต่อการทำเกษตร การทำไร่ การเลี้ยงสัตว์ 1.3.3 ผลกระทบต่อดิน ธรรมชาติ ป่าไม้ ได้แก่ - ทำลายป่าไม้ ธรรมชาติ ป่าไม้ - ทำให้ดินในป่าไม่สมบูรณ์ การอุ้มน้ำลดลง ไม่เก็บน้ำและธาตุอาหาร - ทำลายหน้าดิน สิ่งปกคลุมดิน เมื่อฝนตกดินถูกกัดเซาะ พังทลาย พาความ สมบูรณ์ของดินไป - เกิดแผ่นดินถล่ม ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยๆ ในภาคเหนือตอนฝนตกหนัก (ชาวบ้านใน ชุมชนจะได้รับผลกระทบโดยตรง) เกษตรผสมผสาน (Integrated farming) การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่มีการผสม กลมกลืน และเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามธรรมชาติ โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์ เศษซากและผลพลอยได้จากการปลูกพืชจะเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ในทางตรงกันข้าม ผลที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืชด้วย มีตัวอย่างให้เห็นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ใน ประเทศจีน มีการเลี้ยงสุกรผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ และในประเทศญี่ปุ่น มีการเลี้ยงปลาในนา ข้าว เป็นต้น สำหรับประเทศไทยในอดีต ไม่มีระบบการเกษตรแบบผสมผสานที่ชัดเจนนัก ระบบการเกษตรดั้งเดิมของไทยน่าจะใกล้เคียงกับระบบที่เรียกว่า “ไร่นาสวนผสม” เนื่องจากเป็น ระบบการเกษตรที่มีเป้าหมายเพื่อการยังชีพ หรือเพื่อลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน เป็นหลัก มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลายๆ อย่างรวมอยู่ในพื้นที่เดียวกันสำหรับใช้บริโภคใน ครอบครัว แต่มิได้ให้กิจกรรมการผลิตผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อลดต้นทุนการผลิตและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างสูงสุดเหมือนการเกษตรแบบผสมผสาน ไร่นาสวนผสมอาจมีกลไกการ เกื้อกูลกันจากกิจกรรมการผลิตได้บ้างแต่ก็เพียงเล็กน้อยและเป็นกลไกที่เกิดเอง การเลี้ยงปลาในนาข้าวและการเกษตรแบบผสมผสานเป็นองค์ประกอบสำคัญ ประการหนึ่งของฒนาการและการก่อตัวของขบวนการเกษตรกรรมยั่งยืนในสังคมไทย โดยในช่วง ปลายทศวรรษ 2520 ภาคอีสานประสบปัญหาภัยแล้งและประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร จึงเริ่มมี การเลี้ยงปลาในนาข้าวนักพัฒนาได้ค้นพบรูปแบบและเทคนิคการเกษตรอื่นๆ อีก เช่น รูปแบบ การเกษตรแบบสมผสานของมหาอยู่ สุนทรธัย ซึ่งเป็นการประยุกต์รูปแบบการทำสวนยกร่องแถบ ภาคกลางไปพัฒนาเป็นระบบเกษตรแบบผสมผสานที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากการสร้างสระเก็บน้ำในไร่นา จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนามาปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ อย่างช้าๆ จนกระทั่งกิจกรรมการผลิตต่างๆ ได้เข้าสู่ระบบผสมผสานอย่างเต็มรูปแบบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2516 ทั้งนี้ การเกษตรแบบผสมผสานเริ่มขยายตัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา ดังนั้น การเกษตรแบบผสมผสานจึงเป็นการจัดระบบของกิจกรรมการผลิตในไร่นา ได้แก่ พืช สัตว์ ประมง ให้มีการผสมผสานอย่างต่อเนื่องและเกื้อกูลในการผลิตซึ่งกันและกัน โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดดอย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลย์ ของภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติด้วยโดยหลักการพื้นฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสานมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการสำคัญๆ คือ 1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมเป็นต้นไป โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ และสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันได้ 2) การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระบบเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกิดขึ้นทั้งจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมทั้งอากาศ และพลังงาน เช่น การหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ให้เป็นประโยชน์กับพืช และให้เศษพืชเป็นอาหารสัตว์ โดยที่กระบวนการใช้ประโยชน์จะเป็นไปทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น ผ่านการหมักของจุลินทรีย์เสียก่อนทั้งนี้ ลักษณะการผสมผสานในระบบเกษตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1. การปลูกพืชแบบผสมผสาน เป็นการอาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างพืช สิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศตามธรรมชาติมาจัดการและปรับใช้ในระบบการเกษตร ตัวอย่างเช่น การปลูกตาลโตนดในนาข้าว การปลูกพริกไทยร่วมกับมะพร้าว การปลูกพืชไร่ผสมกับถั่ว การปลูกทุเรียนร่วมกับสะตอ การปลูกระกำในสวนยาง เป็นต้น โดยที่ยิ่งมีความหลากหลายของพืชปลูกมากเท่าใด ก็จะสามารถเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบมากขึ้นเท่านั้น 2. การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ หลักการผสมผสานเป็นไปเช่นเดียวกับการผสมผสานระหว่างพืช เนื่องจากสัตว์ชนิดหนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสัตว์อีกชนิดหนึ่งและเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น พืช และจุลินทรีย์ ตัวอย่างของระบบการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงหมูควบคู่กับปลา การเลี้ยงเป็ดหรือไก่ร่วมกับปลา การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เป็นต้นอย่างไรก็ตาม การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถสร้างระบบที่สมบูรณ์ ได้เหมือนกับการผสมผสานการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ 3. การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ เป็นรูปแบบการเกษตรที่สอดคล้องกับสมดุลของแร่ธาตุพลังงาน และมีการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมการผลิตต่างๆ มากขึ้น ใกล้เคียงกับระบบนิเวศตามธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของระบบการปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว การเลี้ยงหมูและปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่ เป็นต้น ซึ่งผลที่เกิดจากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน มีผลดังต่อไปนี้ 1. ผลระดับครัวเรือน 1.1 ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณทำตามกำลังและศักยภาพแห่งตน เน้นการพึ่งตนเองในทุกๆ ด้าน สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัย ภายนอก 1.2 สร้างเสถียรภาพ (Stability) และความยั่งยืน (Sustainability)ทั้งทางเศรษฐกิจและทางสภาพแวดล้อมให้เกิดขึ้นในไร่นาและครอบครัวของเกษตรกร 1.3 เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยการผลิต (ที่ดิน แรงงานและทุน) 1.4 ปรับปรุงคุณภาพทางโภชนาการ และคุณภาพของประชากรใน ท้องถิ่นให้ดีขึ้นเพราะมีอาหารครบตามต้องการทุกหมู่ เช่น แป้ง น้ำตาล โปรตีน และเกลือแร่ที่ได้จากผลผลิตในไร่นา 1.5 เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานให้สูงขึ้น เพราะไ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ขั้นตอนดำเนินการวิจัย 1. ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเก็บข้อมูล โดยใช้เทคนิค AIC และหรือ PRA สำรวจ สัมภาษณ์เจาะลึก 2. แหล่งข้อมูล 2.1 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลเพื่อให้ได้แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้ในการวางแนวทางในการศึกษาพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและการอภิปรายอ้างอิง 2.2 ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ศึกษาได้จากการเก็บข้อมูลโดยตรงจากประชากรที่ ศึกษา และเป็นการศึกษารายละเอียดต่อเนื่องจากข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลด้านการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม 3. กลุ่มประชากร ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ปราชญ์ชาวบ้าน และเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด ข้าว และอ้อยที่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ 4. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการศึกษาไว้ 4 กิจกรรมดังต่อไปนี้ 4.1 กิจกรรมที่ 1การพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานโดยใช้หญ้าแฝกเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่ดอน 1. ศึกษาและถอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานโดยใช้หญ้าแฝกเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่ดอน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 2. จัดทำสื่อ เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบที่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึงสำหรับการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานโดยใช้หญ้าแฝกเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่ดอน 3. นำผลที่ได้จาก ข้อ 1 และข้อ 2 มาขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน จำนวน 1 พื้นที่ 4.2 กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาเกษตรผสมผสานโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการลดปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาตอซัง 1. และถอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาเกษตรผสมผสานโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการลดปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาตอซังในพื้นที่ลุ่ม อำเภอเก้าเลียว จังหวัดนครสวรรค์ 2. จัดทำสื่อ เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบที่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึงสำหรับการพัฒนาเกษตรผสมผสานโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการลดปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาตอซัง 3. นำผลที่ได้จาก ข้อ 1 และข้อ 2 มาขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน จำนวน 1 พื้นที่ 4.3 กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาเกษตรผสมผสานโดยใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ในการลดปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาตอซัง 1. และถอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาเกษตรผสมผสานโดยใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ในการลดปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาตอซัง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 2. จัดทำสื่อ เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบที่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึงสำหรับการพัฒนาเกษตรผสมผสานโดยใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ในการลดปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาตอซัง 3. นำผลที่ได้จาก ข้อ 1 และข้อ 2 มาขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน จำนวน 1 พื้นที่ 4.4 กิจกรรมที่ 4 การบริหารจัดการอ้อยเพื่อการแก้ปัญหามลพิษจากการเผาอ้อยก่อนตัด 1. และถอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น การบริหารจัดการอ้อยเพื่อการแก้ปัญหามลพิษจากการเผาอ้อยก่อนตัด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 2. จัดทำสื่อ เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบที่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึงสำหรับการบริหารจัดการอ้อยเพื่อการแก้ปัญหามลพิษจากการเผาอ้อยก่อนตัด อำเภอบรรพต จังหวัดนครสวรรค์ 3. นำผลที่ได้จาก ข้อ 1 และข้อ 2 มาขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน จำนวน 1 พื้นที่ 5. การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผล 5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม 5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ การสังเกต โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และจัดระบบข้อมูลและสังเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย สถานที่ดำเนินการ พื้นปลูก ข้าว ข้าวโพด และอ้อย ในจังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและถอดบทเรียนการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ดำเนินการพัฒนาสื่อในการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการพัฒนา และนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาการพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานเพื่อการแก้ปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้ไปสร้างเครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียง
จำนวนเข้าชมโครงการ :458 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสุพัฒนา หอมบุปผา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย25
นายสาธร ทรัพย์รวงทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
-บุญแสน เตียวนุกูลธรรม บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
ดร.วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด