รหัสโครงการ : | R000000414 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | GUIDELINES FOR THE POTENTIAL DEVELOPMENT FOR LOCAL LEADERS IN THE APPLICATION OF THE SUFFICIENCY ECONOMY FOR THE SUSTAINABLE COMMUNITY DEVELOPMENT IN NAKHON SAWAN PROVINCE |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่น,การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 324800 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 324,800.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 01 พฤษภาคม 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | รัฐประศาสนศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จะต้องมีการดำรงชีวิตเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน เป็นสังคม จึงมีความแตกต่างและมีความหลากหลาย ทั้งในด้านของความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ทำให้มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำให้เกิดการพัฒนาและในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาระหว่างกันเพื่อให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เพื่อสนองต่อความต้องการและบรรลุประโยชน์และความสำเร็จที่เป็นจุดหมาย ก็ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจระหว่างกันเป็นสำคัญ ซึ่งสื่อกลางที่สำคัญในการช่วยประสานคนให้ร่วมแรงร่วมใจกัน คือ “ผู้นำ” ผู้ที่เป็นบุคคลที่จะมาช่วยประสานกำลังร่วมแรงร่วมใจและสมองในการทำงานร่วมกัน ในการพัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชนถือว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถที่ระดมทรัพยากรในด้านต่างๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมการพัฒนา เพื่อให้งานพัฒนานั้นไปสู่จุดหมายได้ดีขึ้น แต่ปัจจุบันผู้นำชุมชนมีความรับผิดชอบหลายด้าน ตลอดจนปัญหาของชุมชนมีจำนวนมาก ทำให้ผู้นำชุมชนมีบทบาทการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืนลดน้อยลง
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าผู้นำเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มเป็นอย่างมาก ผู้นำที่มีคุณสมบัติที่ดีและปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ได้เหมาะสม จะสามารถพากลุ่มให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ(วิเชียร วิทยอุดม,2550) จากการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานพบว่าผู้นำมีผลต่อความสำเร็จขององค์กรกว่า 50% (www.thecoach.in.th) หากองค์กรหรือชุมชนที่มีความต้องการให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบความสำเร็จจึงต้องให้ความสำคัญกับผู้นำด้วยการพัฒนาศักยภาพของผู้นำอย่างต่อเนื่อง
และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ให้ความสำคัญในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งในการปฏิบัติได้มอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมหลายหน่วยงาน โดยกระทรวงมหาดไทยก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการพัฒนาชุมชนและวิถีชีวิตของประชาชน พร้อมทั้งจัดให้มีการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละหมู่บ้านให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน การพัฒนาดังกล่าวเน้นใน 4 ด้านที่สำคัญคือ ด้านจิตใจด้านสังคมด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและด้านการเรียนรู้ เพื่อจัดระดับการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 ระดับพออยู่พอกิน ซึ่งมีตัวชี้วัดสำคัญของระดับการพัฒนา จำนวน 16 ตัวชี้วัด
ระดับที่ 2 ระดับอยู่ดีกินดี ซึ่งมีตัวชี้วัดสำคัญของระดับการพัฒนา จำนวน 22 ตัวชี้วัด
ระดับที่ 3 ระดับมั่งมีศรีสุข ซึ่งมีตัวชี้วัดสำคัญของระดับการพัฒนา จำนวน 23 ตัวชี้วัด
จำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละภาคมีจำนวนที่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ภาคเหนือ มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 3,420 หมู่บ้าน มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.87 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 1,162 หมู่บ้านคิดเป็นร้อยละ 18.98 ภาคใต้มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 874 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 14.29และภาคกลางมีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 665 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ10.86(กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย .2558) สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ภาค จำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงทั่วประเทศ ร้อยละ
กลาง 665 10.86
ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,162 18.98
เหนือ 3,420 55.87
ใต้ 874 14.29
ในภาคเหนือก็มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ลดน้อยลง กล่าวคือ ในปีพ.ศ.2555 มีจำนวน 6090 หมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2556 มีจำนวน 3420 หมู่บ้าน ปี 2557 มีจำนวน 882 หมู่บ้าน ปี 2558 มีจำนวน 1878 หมู่บ้าน(กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย .2558) ที่ถือว่ามีจำนวนลดน้อยลงสรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ปี พ.ศ. จำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2555 6,090
2556 3,420
2557 882
2558 1,878
และจังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นหนึ่งในภาคเหนือที่มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและมีแนวโน้มจะลดน้อยลง จากสถิติหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนครสวรรค์ ปี 2557 มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน จำนวน 28 หมู่บ้าน อยู่ดีกินดี จำนวน 6 หมู่บ้าน มั่งมีศรีสุข จำนวน 1 หมู่บ้าน รวม 35หมู่บ้าน ปี2558 มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน จำนวน 7 หมู่บ้าน อยู่ดีกินดี จำนวน 5หมู่บ้าน มั่งมีศรีสุข จำนวน 1 หมู่บ้าน รวม 13 หมู่บ้าน(กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย .2558) สรุปเป็นตารางดังนี้
พ.ศ. ระดับพออยู่พอกิน ระดับอยู่ดีกินดี ระดับมั่งมีศรีสุข รวม
2557 28 6 1 35
2558 7 5 1 13
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จะต้องมีการดำรงชีวิตเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน เป็นสังคม จึงมีความแตกต่างและมีความหลากหลาย ทั้งในด้านของความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ทำให้มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำให้เกิดการพัฒนาและในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาระหว่างกันเพื่อให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เพื่อสนองต่อความต้องการและบรรลุประโยชน์และความสำเร็จที่เป็นจุดหมาย ก็ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจระหว่างกันเป็นสำคัญ ซึ่งสื่อกลางที่สำคัญในการช่วยประสานคนให้ร่วมแรงร่วมใจกัน คือ “ผู้นำ” ผู้ที่เป็นบุคคลที่จะมาช่วยประสานกำลังร่วมแรงร่วมใจและสมองในการทำงานร่วมกัน ในการพัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชนถือว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถที่ระดมทรัพยากรในด้านต่างๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมการพัฒนา เพื่อให้งานพัฒนานั้นไปสู่จุดหมายได้ดีขึ้น แต่ปัจจุบันผู้นำชุมชนมีความรับผิดชอบหลายด้าน ตลอดจนปัญหาของชุมชนมีจำนวนมาก ทำให้ผู้นำชุมชนมีบทบาทการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืนลดน้อยลง
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าผู้นำเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มเป็นอย่างมาก ผู้นำที่มีคุณสมบัติที่ดีและปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ได้เหมาะสม จะสามารถพากลุ่มให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ(วิเชียร วิทยอุดม,2550) จากการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานพบว่าผู้นำมีผลต่อความสำเร็จขององค์กรกว่า 50% (www.thecoach.in.th) หากองค์กรหรือชุมชนที่มีความต้องการให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบความสำเร็จจึงต้องให้ความสำคัญกับผู้นำด้วยการพัฒนาศักยภาพของผู้นำอย่างต่อเนื่อง
และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ให้ความสำคัญในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งในการปฏิบัติได้มอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมหลายหน่วยงาน โดยกระทรวงมหาดไทยก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการพัฒนาชุมชนและวิถีชีวิตของประชาชน พร้อมทั้งจัดให้มีการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละหมู่บ้านให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน การพัฒนาดังกล่าวเน้นใน 4 ด้านที่สำคัญคือ ด้านจิตใจด้านสังคมด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและด้านการเรียนรู้ เพื่อจัดระดับการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 ระดับพออยู่พอกิน ซึ่งมีตัวชี้วัดสำคัญของระดับการพัฒนา จำนวน 16 ตัวชี้วัด
ระดับที่ 2 ระดับอยู่ดีกินดี ซึ่งมีตัวชี้วัดสำคัญของระดับการพัฒนา จำนวน 22 ตัวชี้วัด
ระดับที่ 3 ระดับมั่งมีศรีสุข ซึ่งมีตัวชี้วัดสำคัญของระดับการพัฒนา จำนวน 23 ตัวชี้วัด
จำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละภาคมีจำนวนที่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ภาคเหนือ มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 3,420 หมู่บ้าน มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.87 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 1,162 หมู่บ้านคิดเป็นร้อยละ 18.98 ภาคใต้มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 874 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 14.29และภาคกลางมีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 665 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ10.86(กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย .2558) สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ภาค จำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงทั่วประเทศ ร้อยละ
กลาง 665 10.86
ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,162 18.98
เหนือ 3,420 55.87
ใต้ 874 14.29
ในภาคเหนือก็มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ลดน้อยลง กล่าวคือ ในปีพ.ศ.2555 มีจำนวน 6090 หมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2556 มีจำนวน 3420 หมู่บ้าน ปี 2557 มีจำนวน 882 หมู่บ้าน ปี 2558 มีจำนวน 1878 หมู่บ้าน(กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย .2558) ที่ถือว่ามีจำนวนลดน้อยลงสรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ปี พ.ศ. จำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2555 6,090
2556 3,420
2557 882
2558 1,878
และจังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นหนึ่งในภาคเหนือที่มีจำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและมีแนวโน้มจะลดน้อยลง จากสถิติหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนครสวรรค์ ปี 2557 มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน จำนวน 28 หมู่บ้าน อยู่ดีกินดี จำนวน 6 หมู่บ้าน มั่งมีศรีสุข จำนวน 1 หมู่บ้าน รวม 35หมู่บ้าน ปี2558 มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน จำนวน 7 หมู่บ้าน อ |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 6.1 เพื่อศึกษารูปแบบการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ของผู้นำ ทั้งในแบบชุมชนดำเนินการเองและแบบทางการจัดให้
6.2 เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคของผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนครสวรรค์
6.3 เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)ที่มีการเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ และจากการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษารูปแบบการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ของผู้นำ ทั้งในแบบชุมชนดำเนินการเองและแบบทางการจัดให้ตลอดจนสภาพปัญหา อุปสรรคประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนครสวรรค์ของผู้นำ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1) ได้ทราบรูปแบบการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ของผู้นำ ทั้งในแบบชุมชนดำเนินการเองและแบบทางการจัดให้
2) ได้ทราบปัญหา อุปสรรคของผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนครสวรรค์
3) ได้แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์
4) ได้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์
5) เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อื่นๆ และเกิดเป็นแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎี จากเอกสารตำรา และงานวิจัยหลายเล่มเพื่อความสมบูรณ์ของเอกสาร ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอประเด็น และสาระดังต่อไปนี้
-แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพผู้นำ
-แนวความคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
-แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนายั่งยืน |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 13.1 การเก็บข้อมูล
1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบเจาะลึก และการประชุมกลุ่มเพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน รวมทั้งการสังเกตจากการเข้าร่วมประชุมกลุ่มของประชาชนในพื้นที่
2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล จากการทบทวนเอกสาร หนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
13.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1) ประชากร ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
สำหรับวัตถุประสงค์ที่ 1 และ 2 เพื่อศึกษารูปแบบ และปัญหา อุปสรรคการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งมีดังนี้
ขั้นที่ 1 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับฉลาก ในระดับอำเภอ โดยเลือก อำเภอละ 2 ตำบล
ขั้นที่ 2 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งในแต่ละตำบลประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
- ประธานชมรมผู้นำชุมชน ตำบลละ 1 คน
13.1 การเก็บข้อมูล
1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบเจาะลึก และการประชุมกลุ่มเพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน รวมทั้งการสังเกตจากการเข้าร่วมประชุมกลุ่มของประชาชนในพื้นที่
2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล จากการทบทวนเอกสาร หนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
13.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1) ประชากร ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
สำหรับวัตถุประสงค์ที่ 1 และ 2 เพื่อศึกษารูปแบบ และปัญหา อุปสรรคการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งมีดังนี้
ขั้นที่ 1 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับฉลาก ในระดับอำเภอ โดยเลือก อำเภอละ 2 ตำบล
ขั้นที่ 2 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งในแต่ละตำบลประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
- ประธานชมรมผู้นำชุมชน ตำบลละ 1 คน
- สมาชิกในหมู่บ้านแต่ละพื้นที่ ตำบลละ 5 คน
- ปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลละ 1 คน
- กำนัน ตำบลละ 1 คน
- อาสาสมัครหมู่บ้าน ตำบลละ 1 คน
- นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
หรือนายกเทศมนตรี ตำบลละ 1 คน
- ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
หรือประธานสภาเทศบาล ตำบลละ 1 คน
- พัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน
รวมจำนวน 29 ตำบล ตำบลละ 14 คน มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 406 คน
สำหรับวัตถุวัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า โดยใช้ประชาชนในพื้นที่ 15 อำเภอ ๆ ละประมาณ 35คน รวม 525 คน
13.3 สถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล
สถานที่เก็บข้อมูล คือ ตำบล อำเภอในเขตจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวคือ อำเภอละ 2 ตำบล 15 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 29 ตำบล ซึ่งประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอลาดยาว อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโกรกพระ อำเภอหนองบัว อำเภอตากฟ้า อำเภอตาคลี อำเภอท่าตะโก อำเภอชุมแสง อำเภอไพศาลี อำเภอแม่วงก์ อำเภอชุมตาบง และอำเภอแม่เปินซึ่งมีเพียง 1 ตำบล
13.4 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
วัตถุประสงค์ ข้อ 1 เพื่อศึกษารูปแบบการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ของผู้นำ ทั้งในแบบชุมชนดำเนินการเองและแบบทางการจัดให้ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
วัตถุประสงค์ ข้อ 2 เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคของผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนครสวรรค์ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
วัตถุประสงค์ ข้อ 3 เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ใช้การประชุมกลุ่ม (Focus Groups)
13.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้รับไปจำแนกหมวดหมู่ตามหัวข้อที่วางไว้ เพื่อตอบคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย เพราะในช่วงเก็บรวมรวมข้อมูลก็ได้มีการวิเคราะห์เป็นระยะๆ ตามที่กำหนดไว้ในแผน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ถึงรูปแบบการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของผู้นำ และปัญหา อุปสรรค พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครสวรรค์ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 383 ครั้ง |