รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000409
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :รูปแบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Model assessment the risk factors related to fatigue among bus driver in muang district Nakhon Sawan
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :รูปแบบการประเมิน, ปัจจัยเสี่ยง, ความเมื่อยล้า, พนักงานขับโดยสารประจำทาง, จังหวัดนครสวรรค์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :148800
งบประมาณทั้งโครงการ :148,800.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :29 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 เมษายน 2562
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
กลุ่มวิชาการ :แพทย์ศาสตร์สาธารณสุข
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพัฒนาและมีการขยายตัวของระบบบริการการคมนาคมและมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการที่ทันสมัยทำให้มีส่วนผลักดันด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้มีการสลับโฉมในการใช้บริการของกรมขนส่งทางบกมาเป็นการใช้ระบบบริการรถตู้โดยสารเอกชนซึ่งแตกต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งในเรื่องของการทำธุรกิจที่ทลายเส้นทางพรมแดนอย่างสิ้นเชิง ทำให้ทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยเหตุนี้การเดินทางที่อยู่ห่างไกลกันจึงสามารถทำให้มีการติดต่อกันสื่อสารถึงกันได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นและในขณะเดียวกันเมื่อระบบขนส่งทางภาคพื้นดินไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้า การขนส่งทางบก ก้าวเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจมากขึ้นกระแสดังกล่าวก็ยิ่งกระตุ้นให้มีการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ด้วยเหตุผลนี้จึงทำระบบการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจึงทวีคูณความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้บริการและประชาชนทั่วไป ทำให้ระบบการขนส่งผู้โดยสารโดยใช้รถโดยสารประจำทางมีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันจังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดที่อยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของประชาชนจึงทำให้มีประชาชนเป็นจำนวนมากที่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบบริการการขนส่งทางบก ทางกรมขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ได้ดำเนินการจัดให้มีระบบบริการแบบผสมผสานในการเดินทางไม่ว่าจะเป็นรถโดยสารประจำทางของกรมขนส่งและการเปิดช่องทางการบริการทางธุรกิจ ส่วนใหญ่ประชาชนนิยมใช้การบริการรถโดยสารประจำทาง เนื่องจากการใช้บริการรถโดยสารประจำทางมีความสะดวกสบาย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีพนักงานขับรถโดยสารประจำทางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันมีการเกิดอุบัติเหตุบนเส้นทางถนนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากสถิติอุบัติเหตุการจราจรทางบก จังหวัดนครสวรรค์ มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 5 ราย ในปี2554 จำนวน 9 ราย ในปี 2555 และจำนวน 14 ราย ในปี 2556 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2556) จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุมีการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นทุกๆปี และทำให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 คน ส่วนใหญ่เกิดจากรถตู้โดยสารโดยมีสาเหตุจากพนักงานขับรถตู้โดยสารเกิดความล้า มีการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีการปฏิบัติงานในการทำงานท่าแบบซ้ำ ๆ(ณัชยา แซจิ้น, 2557) มีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องของพนักงานขับรถโดยสารตั้งแต่ตี 5 จนถึง 4 ทุ่ม (กรมขนส่งทางบกจังหวัดนครสวรรค์) จากการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นความล้าอาจทำให้ผลกระทบต่อระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถโดยสารในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยคือ ความล้า และอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ได้แก่ อาการปวดหลังส่วนล่าง และไหล่ ซึ่งอาการดังกล่าวทำให้พนักงานขับรถตู้โดยสารมาสามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ (ณัชยา แซ่จิ้น, 2557)งานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า พนักงานขับรถโดยสารประจำทางเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพและมีผลมาจากโรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ความเครียด และปัญหาทางด้านการยศาสตร์ (Bhatt et.al., 2012) และอาการปวดหลังของคนขับรถบัส: ความชุกในเขตเมืองของรัฐแคลิฟอร์เนียพบว่าอาการการปวดหลังในพนักงานขับรถบัสส่วนใหญ่มีอาการปวดหลัง และ คอ ประมาณร้อยละ 50.7 (Mills College et.al., 1992) ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของกล้ามเนื้อและดัชนีสัดส่วนของร่างกายในการขับรถสาธารณะพบว่าความสูงมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถสาธารณะ (Sajjadi et.al., 2012) จากที่กล่าวมาข้างต้น การศึกษารูปแบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้า ของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนและครอบคลุมถึงปัจจัย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อะหนึ่งอาชีพขับรถโดยสารประจำทางในจังหวัดนครสวรรค์ยังมีจำนวนมากและมีผู้ใช้บริการอยู่เป็นประจำเนื่องจากจังหวัดนครสวรรค์ยังอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชน สถาบันการศึกษา สถานที่ส่วนราชการต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงมีอาชีพขับรถโดยสารประจำทางเช่นเดียวกันแต่ความต้องการการใช้บริการยังคงมีน้อยหรือ ต้องใช้วิธีการจ้างเหมา ในทางเดียวกันอาชีพขับรถโดยสารประจำทางในจังหวัดนครสวรรค์ทั้ง 7 ท่า มีการวิ่งโดยสารตลอดทั้งวันโดยเริ่มวิ่งตั้งแต่เวลา 05.00 น. ถึง 23.00 น. ทั้งนี้ผู้วิจัยจึงเลือกพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ในการเลือกอาสาสมัครในการทำงานวิจัยครั้งนี้เพราะพนักงานขับรถโดยสารประจำทางมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการทำงานและตระหนักถึงการป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงาน รวมไปถึงถ้าผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพที่ดีก็จะสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีคุณภาพที่ดีได้ตลอดจนการนำไปสู่การได้รับความปลอดภัยทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการและเพื่อนำผลวิจัยมาใช้ในการลดปัญหาทางด้านสุขภาพที่เสี่ยงต่อการดเกิดความเมื่อยล้าจากการทำงานและเพื่อลดปัญหาทางด้านการเกิดอุบัติเหตุในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในอนาคตต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :ป้องกันการเกิดโรคผู้ประกอบอาชีพขับรถโดยสารประจำทาง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อประเมินรูปแบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านตัวแปรอิสระ - ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง - รูปแบบการประเมินความเสี่ยง ขอบเขตด้านตัวแปรตาม - ความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขอบข่ายของการวิจัย ขอบเขตเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ (Applied research)ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research design) มุ่งศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง และทดลองใช้รูปแบบการประเมินความเสี่ยงสำหรับพนักงานขับโดยสารประจำทาง โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเมื่อยล้า เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านประชากร - พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 345 คน - กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 185 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. สามารถทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางได้ 2. สามารถทราบผลการใช้รูปแบบประเมินความเสี่ยงสำหรับพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง 3. เพื่อนำข้อมูลจากการวิจัยมาเป็นแนวทางในการวางแผน การควบคุมและการป้องกันการเกิดความเมื่อยล้าและลดอุบัติเหตุของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความเมื่อยล้าและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ความเมื่อยล้าในการทำงานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3. การประเมินความเมื่อยล้าและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. ทฤษฎีความปลอดภัยในการทำงานและการเกิดอุบัติเหตุ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ตัวแปรอิสระ ข้อมูลทั่วไป - อายุ - รายได้เฉลี่ยต่อเดือน - ระดับการศึกษา - ค่าดัชนีมวลกาย - โรคประจำตัว - ชั่วโมงการนอนหลับ - การออกกำลังกาย - การสูบบุหรี่ - การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ปัจจัยในการทำงาน - ระยะเวลาพักแต่ละเที่ยว - จำนวนปีของรถโดยสาร - ประสบการณ์ในการเกิดอุบัติเหตุ - อายุการทำงาน - ระยะเวลาการทำงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตัวแปรตาม รูปแบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในกรณีการสัมภาษณ์หรือสอบถาม ให้ระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เช่น การใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบสอบถามหรือประเด็นของการสัมภาษณ์หรือสอบถามที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และแนบมาพร้อมกับเอกสารการขอการรับรองโครงการ การวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้ากับพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบการประเมินความเสี่ยงสำหรับพนักงานขับรถโดยสารประจำทางที่มีความเมื่อยล้า ขั้นตอนที่ 3 เปรียบเทียบปัจจัยความเมื่อยล้าการโดยใช้รูปแบบการการประเมินความเสี่ยง ในการศึกษานี้ใช้เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยในการทำงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ ความล้าของพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยศึกษาจาก เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ รายได้ ระดับการศึกษา ค่าดัชนีมวลกาย โรคประจำตัวในปัจจุบัน ส่วนที่ 2 ปัจจัยในการทำงาน ได้แก่ ระยะทางการขับรถต่อเที่ยว ระยะเวลาพักต่อเที่ยว จำนวนปีของรถโดยสาร ประสบการณ์ในการเกิดอุบัติเหตุ อายุการทำงาน ระยะเวลาการทำงาน ส่วนที่ 3 ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่วนที่ 4 ปัจจัยที่มีผลต่อความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้แบบประเมินความเมื่อยล้า 2 ด้าน ได้แก่ 1. แบบประเมินความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัย (Subjective test) ผู้วิจัยได้นำเครื่องมือที่ใช้วัดความเมื่อยล้าตามแนวคิดของไปเปอร์ (Piper fatigue model, Piper et al., 1998) ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยโดยเพียงใจ ดาโลปการ (วาทีนี ศรีไทย, 2548) ซึ่งประกอบด้วยข้อคำถาม 22 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านพฤติกรรมและความรุนแรงของความเมื่อยล้า จำนวน 6 ข้อ คือ ข้อที่ 1-6 (2) ด้านการให้ความหมายของความเมื่อยล้า จำนวน 5 ข้อ คือข้อที่ 7-11 (3) ด้านร่างกายและจิตใจ 5 ข้อ คือข้อที่ 12-16 และ (4) ด้านสถิติปัญญา อารมณ์ จำนวน 6 ข้อ คือข้อที่ 17-22 เป็นแบบมาตรวัดแบบตัวเลข (Numeric scale) ตั้งแต่ 1-10 โดย “1” หมายถึง ไม่มีความรู้สึกต่อข้อความนั้นเลย “10” หมายถึง มีความรู้สึกต่อข้อความนั้นมากที่สุด ประเมินความเมื่อยล้าโดยนำคะแนนรวมของแบบวัดทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย จากนั้นแบ่งคะแนนเฉลี่ยความเมื่อยล้าเป็น 3 ระดับตามเกณฑ์ของไปเปอร์ (นารา กุลวรรณวิจิตร, 2549 และ วาทีนี ศรีไทย, 2548) คะแนนอยู่ในช่วง 1-3.99 มีระดับความเมื่อยล้าระดับน้อย (ไม่มีความเมื่อยล้า) คะแนนอยู่ในช่วง 4-6.99 มีระดับความเมื่อยล้าปานกลาง คะแนนอยู่ในช่วง 7-10.00 มีระดับความเมื่อยล้ามาก 2. การประเมินความเมื่อยล้าเชิงวัตถุพิสัย (Objective test) โดยใช้เครื่องวัดความถี่ของแสงกระพริบ (Critical flicker frequency = CFF) ของสายตา ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบความเมื่อยล้าด้วยเครื่องมือ Digital flicker model CE-ID ถ้าผู้ที่ถูกทดสอบปกติ จะสามารถตอบสนองได้เร็ว แต่ถ้าผู้ถูกทดสอบเกิดความเมื่อยล้า ก็จะทำให้เกิดการตอบสนองนั้นช้า โดยค่าปกติของ CFF จะอยู่ในช่วง 30-40 รอบต่อวินาที หรือ Cycle per second (CPS) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ 1. ใช้สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยในการทำงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน และความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง 2. สถิติสำหรับการหาความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลทั่วไป ปัจจัยในการทำงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานกับความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถ โดยสารประจำทางโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) สำหรับข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณ และ Chi Square test สำหรับข้อมูลที่เป็นเชิงคุณภาพ 3. ระดับความเสี่ยงที่ประเมินได้ ประเมินโดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงตามรูปแบบและแนวทางเฉพาะแต่ละวิธี ได้แก่ แบบประเมินของไปเปอร์ แบบประเมินความเสี่ยง Nordic Musculoskeletal
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :1. ชื่อโครงการ (Proposal Title) ภาษาไทย (Thai).รูปแบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ภาษาอังกฤษ (English).. .. Model Assessment the Risk Factors Related to Fatigue among Bus Driver in Muang District Nakhon Sawan... 2. ชื่อคณะผู้วิจัย (Investigators) ผู้วิจัยหลัก (Principle investigator)…นางสาว ณธิดา อินทร์แป้น……… สังกัด ภาควิชา/หน่วยงาน (Department)…ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาตร์สุขภาพคณะ/สถาบัน (Faculty) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ความรับผิดชอบต่อโครงการวิจัย (Research Responsibility)…หัวหน้าโครงการ…..… การอบรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethic Training)…Basic Human Subject Protection Course , Good Clinical Practice ผู้วิจัยร่วม (ระบุชื่อทุกคน) (Co-investigator)…นางสาว นริศรา จันทรประเทศ……. สังกัด ภาควิชา/หน่วยงาน (Department)…ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาตร์สุขภาพคณะ/สถาบัน (Faculty) คณะวิทยาศาสตร์
จำนวนเข้าชมโครงการ :1824 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวณธิดา อินทร์แป้น บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด