รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000408
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรรากบัวด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Value added for lotus root by biotechnological process
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การเพิ่มมูลค่า รากบัว กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :324800
งบประมาณทั้งโครงการ :324,800.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :30 เมษายน 2562
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :อุตสาหกรรมเกษตร
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายของสมุนไพร ซึ่งในแต่ละอำเภอจะมีพืชสมุนไพรที่โดดเด่นแตกต่างกันไป พบว่ารากบัวเป็นสมุนไพรพื้นบ้านในเขตอำเภอชุมแสงที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของจังหวัดนครสวรรค์ที่มีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์นานัปการต่อสุขภาพ โดยน้ำรากบัว และรากบัวเชื่อมเป็นรูปแบบของการแปรรูปรากบัวที่พบมากและราคาไม่แพงการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์รากบัวให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ผู้วิจัยจึงคิดที่จะนำเอาความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพมาพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรากบัวให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ไวน์และน้ำส้มสายชูหมักเนื่องด้วยนอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับรากบัวเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้ปลูกหรือผู้ผลิตแล้ว ในกระบวนการผลิตไวน์และน้ำส้มสายชูนั้น ยังเป็นกระบวนการสกัดเอาสารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพออกมาได้ดีอีกด้วย ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่หันมาอนุรักษ์ และทำการปลูกรากบัวเพิ่มมากขึ้นด้วย
จุดเด่นของโครงการ :เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรในท้องถิ่น โดยการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตไวน์รากบัว 2.เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตน้ำส้มสายชูหมักรากบัว
ขอบเขตของโครงการ :1.เปรียบเทียบระยะเวลาในการหมักปริมาณน้ำตาลเริ่มต้น ปริมาณแอลกอฮอล์ และปริมาณของสารประกอบต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากการผลิตไวน์รากบัวจากรากบัวต้ม และจากน้ำต้มรากบัว 2.เปรียบเทียบระยะเวลาการหมักปริมาณแอลกอฮอล์เริ่มต้น ปริมาณกรดแอซีติกและปริมาณสารประกอบต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากการผลิตน้ำส้มสายชูหมักรากบัวจากรากบัวต้ม และจากน้ำต้มรากบัว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1 ได้ผลิตภัณฑ์ไวน์ และน้ำส้มสายชูหมักจากรากบัว 2 ได้องค์ความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอื่นๆ ต่อไป 3 กลุ่มผู้ปลูกและผู้ขายผลิตภัณฑ์รากบัว ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตไวน์ และน้ำส้มสายชูหมัก เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้ต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :รากบัว (Lotus root)หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbonuciferaเป็นส่วนลำต้นใต้น้ำของบัว หรือเหง้าของบัว ซึ่งประกอบไปด้วย สารประกอบต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น สารประกอบพอลิฟีนอลิก(polyphenolic compound) ปริมาณสูง และสารอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง (You, Lee, Kim, Kim and Chang, 2014; Tsuruta, et al., 2011) มีการรวบรวมข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายของรากบัว ดังนี้ You, Lee, Kim, Kim and Chang (2014) ศึกษาการสกัดรากบัวโดยใช้เอทานอล และพบว่า ในรากบัวประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และมีผลต่อการเกิดภาวะโรคอ้วน Tsuruta, et al. (2011) ได้ศึกษาพบว่า สารแทนนินในรากบัวสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้ Bae, Kim, Ye, Nam and Park (2008) ศึกษาผลของเครื่องดื่มรากบัวที่ไม่ผ่าน และผ่านกระบวนการหมัก ในหนูกลุ่มที่มีสภาวะร่างกายปกติ และกลุ่มที่มีภาวะร่างกายไขมันสูง พบว่า ค่าความเข้มข้นของคลอเรสเตอรอลของหนูทุกกลุ่มมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อได้รับเครื่องดื่มรากบัวทั้งสองชนิด ในขณะที่ปริมาณไขมันทั้งหมด และปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในหนูกลุ่มที่มีภาวะร่างกายปกติที่ได้รับเครื่องดื่มรากบัวทั้งสองชนิดมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีภาวะไขมันสูง ไวน์ (Wine) เป็นเครื่องดื่มที่ได้จากกระบวนการหมักผลไม้ด้วยยีสต์ โดยยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่มีบทบาทในเปลี่ยนน้ำตาลในผลไม้ให้เป็นแอลกอฮอล์ ซึ่งยีสต์ที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่ได้แก่ Saccharomyces cerevisiae(Huiet al., 2004)ปัจจุบันพบว่า ไม่เพียงแต่มีการนำเอาผลไม้มาผลิตเป็นไวน์เท่านั้น แต่มีการนำเอาพืชสมุนไพรมาผลิตเป็นไวน์ เช่น กระเจี๊ยบแห้ง ขิงอ่อน ตะไคร้ ใบมะกรูด มะตูม สะระแหน่ กระชายดำ เนื่องจากพบว่าในสมุนไพรหลายๆ ชนิดมีสารประกอบที่มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุรีย์ นานาสมบัติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ศึกษาสมุนไพรกว่า 30 ชนิด และได้นำสมุนไพรบางชนิดมาผสมกับน้ำองุ่นเพื่อหมักเป็นไวน์สมุนไพร เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค(คณะวิทยาศาสตร์ เอกจุลชีววิทยา, ม.ป.ป.; ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 2557; Berlitz, Grosch andSchieberle, 2004; BakkerandClarke, 2012) น้ำส้มสายชูหมัก (Vinegar) เป็นการหมักธัญพืชหรือผลไม้ให้ได้เป็นกรดแอซีติก โดยผ่านกระบวนการหมัก 2 ขั้นตอนคือ ขั้นแรก การหมักน้ำตาลในวัตถุดิบให้เป็นแอลกอฮอล์โดยยีสต์ เมื่อได้แอลกอฮอล์แล้ว จะเกิดการหมักขั้นที่สองโดยเชื้อแบคทีเรียกรดแอซีติก ซึ่งจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นให้เป็นกรดแอซีติก พบว่าน้ำส้มสายชูจากผลไม้ที่มีการศึกษามาช้านานและเป็นที่รู้จักได้แก่ น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล หรือไซเดอร์แอปเปิ้ล(Doelle, RokemandBerovic, 2009; Chen and Zhu, 2014)นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากข้าว ซึ่งมีการศึกษาพบว่าน้ำส้มสายชูจากข้าวดำของจีน มีสารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากช่วยในเรื่องของความดันสูง โรคมะเร็ง และคลอเรสเตอรอล(SolieriandGiudici, 2009) และกล้วย ส่วนผลไม้หรือสมุนไพรอื่นๆ นั้นพบว่ายังมีการศึกษาไม่มากนัก
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :มีการนำรากบัวมาทำแห้ง แล้วจึงนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ไวน์ และนำ้ส้มสายชู โดยมีการวิเคราะห์คุณสมบัติ และทดสอบทางประสาทสัมผัส
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1 การผลิตไวน์รากบัว แบ่งเป็น 1.1 ไวน์จากรากบัวต้มสุก นำรากบัวดิบมาต้มกับน้ำสะอาด พอสุกดีแล้ว แยกเอารากบัวต้มสุกมาทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นจึงนำไปคลุกกับลูกแป้ง แล้วทำการหมักไว้ในภาชนะปากกว้าง โดยปิดปากภาชนะด้วยผ้าขาวบางบ่มไว้ประมาณ 3 วัน แล้วเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณน้ำตาล จากนั้นเติมน้ำสะอาดลงไป ผสมให้เข้ากัน เติมหัวเชื้อยีสต์ลงไป บ่มที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 7-14 วัน หรือมากกว่านั้น ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณน้ำตาล ปริมาณแอลกอฮอล์ และวัดปริมาณสารประกอบต้านอนุมูลอิสระ 1.2 ไวน์จากน้ำรากบัว นำน้ำรากบัวที่ได้จากการต้มรากบัวมาเติมน้ำตาล และหัวเชื้อยีสต์ลงไป บ่มที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 7-14 วัน หรือมากกว่านั้น ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณน้ำตาล ปริมาณแอลกอฮอล์ และสารประกอบต้านอนุมูลอิสระ 2 การผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากรากบัว แบ่งเป็น 2.1 น้ำส้มสายชูหมักจากรากบัวต้มสุก ทำตามขั้นตอนการผลิตไวน์ในข้อ 13.1.1 จากนั้นจึงนำไวน์ที่ได้มาหมักกับเชื้อแบคทีเรียกรด แอซิติก บ่มไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ปริมาณกรด และวัดปริมาณสารประกอบต้านอนุมูลอิสระ 2.2 น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำรากบัวต้ม ทำตามขั้นตอนการผลิตไวน์ในข้อ 13.13.2 จากนั้นจึงนำไวน์ที่ได้มาหมักกับเชื้อแบคทีเรียกรด แอซิติก บ่มไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ปริมาณกรด และวัดปริมาณสารประกอบต้านอนุมูลอิสระ 3 การวิเคราะห์น้ำตาล ใช้ refractometer 4 การวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ ใช้เครื่อง ebulliometer 5 การวัดปริมาณกรดใช้วิธีการไทเทรต 6 การวัดปริมาณสารประกอบสารประกอบต้านอนุมูลอิสระใช้วิธี DPPH และวิเคราะห์โดยใช้ HPLC
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :นำรากบัวมาทำแห้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไวน์รากบัวโดยการแปรผันปริมาณกล้าเชื้อ Saccharomyces serevisiae TISTR 5019 เริ่มต้น และวัดค่าคุณสมบัติต่าง ๆ เมื่อได้ไวน์รากบัวแล้ว จึงนำไปทดสอบทางประสาทสัมผัส และนำไวน์รากบัวที่ได้นั้น ไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตนำ้ส้มสายชูรากบัว โดยมีการแปรผันปริมาณกล้าเชื้อ Acetobacter pasteurianus TISTR 102 เริ่มต้น และวัดค่าคุณสมบัติต่าง ๆ ของนำ้ส้มส่ายชูรากบัว
จำนวนเข้าชมโครงการ :1985 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายธีระยุทธ เตียนธนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายพันธ์ระวี หมวดศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด