รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000406
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางการพัฒนาเครื่องทอลายและการย้อมสีธรรมชาติเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผักตบชวา
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of machine woven and natural staining products to add value water hyacinth
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :“การเพิ่มมูลค่า”,“เครื่องทอลาย”,“ผักตบชวา”,“ย้อมสีธรรมชาติ”
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :274500
งบประมาณทั้งโครงการ :274,500.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :29 ตุลาคม 2561
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การมุ่งสู่ความเปลี่ยนในระดับประเทศ จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคงและยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ คือกรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่จะผลักดันให้ประเทศไทย หลุดพ้นจากกับดักทางเศรษฐกิจ โดยการยกระดับศักยภาพการแข่งขัน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ทั้งด้านสภาวะแวดล้อมและด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผลักดันให้ผู้ประกอบการมีบทบาทหลักด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญาเดิม เพื่อประโยชน์ด้านพาณิชย์ ด้านสังคม หรือแม้แต่ด้านสนับสนุนนโยบายของประเทศ จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้นับเป็นยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างอย่างยืนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2560-2564) ในการส่งเสริมกลไกและกิจกรรมการนำกระบวนการวิจัย ผลงานวิจัย องค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ โดยการถ่ายทอดและขยายผลการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีจากงานวิจัยอย่างทั่วถึงด้านอุตสาหกรรม/พาณิชย์ สังคม/ชุมชน วิชาการ และนโยบาย ในรูปแบบของการศึกษาถึงปัญหา บริบทชุมชน ตลอดจนความต้องการทั้งของผู้ผลิตและตลาดผู้บริโภค ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่จะร่วมมือกับผู้ประกอบการที่มีอยู่ในทุกพื้นที่ อันเป็นตัวแปรและกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแข่งขันให้ก้าวหน้าทัดเทียมต่างประเทศได้ รวมทั้งผู้ประกอบการ ห้างร้าน หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาค ต้องเร่งเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความน่าสนใจ เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างรายได้กลับคืนสู่ประเทศให้ได้มากที่สุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่นำเสนอความเป็นเอกลักษณ์ ความประณีต และความงดงามของไทย และเป็นที่นิยมกันมากในต่างประเทศ ผู้ผลิตสามารถส่งเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ หัตถกรรมพื้นบ้านจึงควรพัฒนาให้ก้าวสู่ระดับสากล ทั้งนี้จะต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนควบคู่กันไปกับการอนุรักษ์ และคำนึงถึงการรักษาเอกลักษณ์ที่แสดงถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยไว้ด้วย ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่จัดอยู่ในประเภทงานหัตถกรรมมีหลากหลายรูปแบบ งานทอ ถัก จัก สาน ถือเป็นงานอีกหนึ่งลักษณะที่แสดงถึงภูมิปัญญาดังกล่าว และวัตถุดิบที่สามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานมีอยู่มากมายและหลากหลายตามภูมิภาคต่างๆ ผลิตภัณฑ์จักสานจากผักตบชวา เป็นงานสร้างสรรค์ที่ได้รับความนิยมอีกรูปแบบหนึ่ง อันสะท้อนถึงภูมิปัญญาและความประณีตของไทย ที่สามารถแปรรูปผักตบชวาอันเป็นวัชพืชที่สร้างปัญหาต่อลุ่มแม่น้ำและต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ มาอย่างยาวนาน นำมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของตลาดผู้บริโภค สามารถผลักดันเป็นสินค้าส่งออกช่วยเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุที่ผักตบชวาเกิดขึ้นง่ายแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยจึงแพร่กระจายพันธุ์ไปตามแหล่งน้ำโดยทั่วไป ในตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกตำบลหนึ่งที่พบว่ามีการทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาในรูปแบบกระเป๋า ตะกร้า ที่ใส่กระดาษทิชชู่ ปัญหาหลักที่พบ คือ รูปแบบและสีสันของผลิตภัณฑ์ยังไม่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยังไม่ครบถ้วน ทุกกลุ่มวัย ไม่มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ขอพื้นถิ่นที่สามารถสร้างการจดจำของลูกค้า สีที่ใช้บนผลิตภัณฑ์เป็นสีที่ได้จากเคมีทั้งหมดซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สร้างสรรค์ผลงานและต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้กรรมวิธีการสร้างสรรค์ชิ้นงานเกิดจากการใช้เทคนิคการถักและการสานเท่านั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์บางชิ้นงานไม่แน่น และแข็งแรงพอที่จะนำไปจำหน่ายได้ จากประเด็นดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา กระบวนการย้อมสีโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติใน พื้นถิ่น และพัฒนาเครื่องทอลายผักตบชวาเพื่อสร้างมาตรฐานในการผลิตและสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อนำไปสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ชุมชน โดยเน้นไปที่ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ประเภทชุดตกแต่งบ้าน ชุดผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร และชุดเฟอร์นิเจอร์ ที่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน โดยการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนในศาสตร์สาขาวิชาการออกแบบ ของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สอดคล้องกับปรัชญาและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำเพื่อพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนอื่นในเขตพื้นที่ที่มีผักตบชวาเป็นจำนวนมากได้
จุดเด่นของโครงการ :เป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้นวัตกรรม เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการผลิต และยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุที่เป็นขยะหรือวัชพืชในธรรมชาติ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1)เพื่อศึกษากระบวนการย้อมสีผักตบชวาด้วยสีจากธรรมชาติในพื้นถิ่น 2)เพื่อพัฒนาเครื่องทอลายผักตบชวา ในการสร้างลวดลายเอกลักษณ์ 3)เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา 4)เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมสู่ชุมชนและเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อสรรหาวัตถุดิบในธรรมชาติที่มีในพื้นถิ่น ที่ทำให้เกิดสีและกระบวนการที่เหมาะสมกับการย้อมสีของผักตบชวา รวมทั้งการพัฒนาเครื่องทอลวดลาย ที่นำมาช่วยเพิ่มมาตรฐานการผลิตและสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อที่จะนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับจากตลาด โดยการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามกระบวนการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในเขตพื้นที่กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1)ได้กระบวนการย้อมสีผักตบชวาด้วยสีจากธรรมชาติในพื้นถิ่น ของตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2)ได้ต้นแบบเครื่องทอลายผักตบชวา ในการสร้างลวดลายเอกลักษณ์ของชุมชน 3)ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค 4)ได้ถ่ายทอดนวัตกรรมสู่ชุมชนและเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ 5)ได้บูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. ปัญหาและวิธีการกำจัดผักตบชวา ในสภาวการณ์ผักตบชวา กลายเป็นเรื่องสำคัญระดับประเทศ เนื่องจากมีปัญหาการขยายพันธุ์จำนวนมาก เป็นอุปสรรคในการไหลของน้ำ การเดินเรือ ท่านนายกรัฐมนตรีมีดำริให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยมีกรณีของการกำจัดผักตบชวาที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ที่ดำเนินการแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้เพียงไม่กี่วัน ในขณะที่ตามจังหวัดต่างๆ ก็มีการสนองรับนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการรณรงค์แก้ไขปัญหาไปตามสภาพกำลังความสามารถของแต่ละจังหวัด แต่ละท้องถิ่นเกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าของสถานที่ที่พบเห็นผักตบชวา ปัญหาผักตบชวานั้นนับเป็นปัญหาที่วิกฤติที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งสมัยนั้นมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ พระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา พระพุทธศักราช 2456 เกี่ยวกับการร่วมกำจัดทำลายผักตบวา และหากผู้ใดพาผักตบชวาเข้าไปในเขตท้องที่ ซึ่งใช้พระราชบัญญัตินี้ก็ดี ปลูกหรือเลี้ยงหรือปล่อยให้ผักตบชวางอกงามในที่ห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ก็ดี หรือเอาผักตบชวาทิ้งลงในแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนองใดๆ ก็ดี ผู้นั้นมีความผิดฐานลหุโทษ ต้องระวางโทษให้ปรับครั้งหนึ่ง หรือจำคุกไม่เกินเดือนหนึ่ง หรือทั้งปรับและจำด้วยทั้งสองสถาน แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวไปแล้ว จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าเรื่องของผักตบชวานั้นจะยังคงเป็นปัญหาที่ต้องเกิดขึ้นไปอีกนาน เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถแก้ไขได้อย่างเด็ดขาดหรือกำจัดให้หมดสิ้นไปได้ สิ่งที่กระทำได้คงเป็นเรื่องของการเฝ้าระวัง เอาจริงเอาจังกับการแก้ไขปัญหา การควบคุมปัญหาให้อยู่ในวงที่จำกัด หากละเลยจนเกิดปัญหาที่มากขึ้น การแก้ไขก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ต้องระดมกำลังจากทุกฝ่ายในขณะที่งบประมาณก็มีอยู่จำกัด หรือควรจะนำไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด 1.1 ปัญหาจากผักตบชวาที่มีผลกระทบในด้านต่างๆ 1.1.1 ด้านการชลประทาน : ผักตบชวาทำให้การพัฒนาแหล่งน้ำไม่ได้ผลตามเป้าหมายเนื่องจากผักตบชวาไปลดการไหลของน้ำลงประมาณ 40% ส่วนต่าง ๆ ของผักตบชวาก่อให้เกิดอุปสรรคกับการระบายน้ำของฝายหรือประตูระบายน้ำ การระเหยของน้ำในพื้นที่ที่มีผักตบชวาจะสูงกว่าในพื้นที่ที่ไม่มีผักตบชวาประมาณ 3-8 เท่า 1.1.2 ด้านการไฟฟ้าพลังน้ำ : ผักตบชวาตายที่ทับถมกันจะทำให้อ่างเก็บน้ำตื้นเขิน แย่งเนื้อที่การเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำ ทำให้เก็บน้ำได้น้อยลง อีกทั้งยังทำให้อัตราการระหายน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว 1.1.3 ด้านการกสิกรรม : ผักตบชวาจะไปแย่งน้ำและอาการจากพืชที่ปลูก แพผักตบชวาที่ไหลมาตามน้ำจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของศัตรูพืชนานาชนิด เช่น หนูและศัตรูอื่น ๆ ที่จะไปทำความเสียหายแก่พืชผลของเกษตรกร และผักตบชวาที่ลอยมากับน้ำจะก่อให้เกิดปัญหาแก่นาข้าวขึ้นน้ำ เพราะผักตบชวาจะลอยมาทับต้นข้าวจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นข้าว 1.1.4 ด้านการประมง : ผักตบชวาที่ขึ้นหนาแน่นจะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของปลาและการจับปลา ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน จึงไปลดที่อยู่อาศัยของปลา และปริมาณของผักตบชวาที่ลอยอยู่อย่างหนาแน่นบนผิวน้ำ ยังทำให้แสงสว่างในน้ำลดลง เป็นผลทำให้พืชอาหารปลาขนาดเล็กหรือไฟโตแพลงตอนมีปริมาณลดลง ซึ่งไฟโตแพลงตอนนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซออกซิเจนในน้ำ ซึ่งจะเป็นต่อการหายใจของปลาและสัตว์น้ำทุกชนิด 1.1.5 ด้านการคมนาคมทางน้ำ : ผักตบชวาเป็นอุปสรรคสำคัญที่กีดขวางการสัญจรทางน้ำ ทำให้การสัญจรทางเรือเป็นไปได้ยาก 1.1.6 ด้านการท่องเที่ยว : แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำต่างๆ ถ้ามีผักตบชวาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น จะทำให้การพัฒนาสถานที่นั้นๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเป็นไปได้ยาก เพราะผักตบชวามีส่วนในการทำลายความสวยงามของแหล่งน้ำต่างๆ และยังไปรบกวนกิจกรรมอื่นๆ ในขณะพักผ่อนหย่อยใจในแหล่งน้ำนั้นๆ อีกด้วย เช่น การลงเรือท่องเที่ยว การว่ายน้ำ ตกปลา เป็นต้น 1.1.7 ด้านการเศรษฐกิจและสังคม : เมื่อการพัฒนาแหล่งน้ำไม่ได้ผลเต็มตามเป้าหมาย การเพาะปลูกซึ่งต้องอาศัยน้ำก็ย่อมจะได้ผลผลิตน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้รายได้ลดลง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้แผนพัฒนาประเทศไม่ได้ผลตามที่มุ่งหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งน้ำ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดินปีละหลายสิบล้านบาทเพื่อใช้ในการกำจัดวัชพืชน้ำเหล่านี้ 1.1.8 ด้านการสาธารณสุข : ผักตบชวาเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำบางชนิดที่เป็นพาหะนำโรค เช่น หอยไบธีเนีย ที่เป็นพาหะนำโรคพยาธิใบไม้ในตับ เป็นที่อยู่อาศัยของลูกน้ำของยุงนำโรคเท้าช้าง และน้ำค้างตามซอกใบก็เป็นที่อาศัยวางไข่ของยุงชนิดอื่นๆ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายหลายบางชนิด เช่น งูพิษ เป็นต้น เมื่อแพผักตบชวาลอยไปติดเรือนแพหรือท่าน้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของหนู และอาจแพร่เชื้อโรคกาฬโรคได้ นอกจากนี้ผักตบชวาที่ขึ้นอย่างหนาแน่น ยังเป็นตัวการทำให้การกำจัดหอยเป็นไปได้โดยยากและสิ้นเปลืองมาก และผักตบชวายังเป็นตัวกันไม่ให้ยาถูกพ่นลงในน้ำได้สะดวก ทำให้การใช้ยาในการกำจัดหอยจึงต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายแก่คนและสัตว์อื่นๆ 1.2 การกำจัดผักตบชวา การกำจัดผักตบชวาที่ระบาดอยู่ทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ การกำจัดให้หมดไปโดยสมบูรณ์แบบไม่ให้เหลือซาก และการกำจัดโดยวิธีการควบคุม เป็นการควบคุมปริมาณมิให้แพร่ระบาดหรือขยายออกไปได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีนี้จะปฏิบัติกันทั่วไปในเมื่อไม่สามารถทำลายผักตบชวาให้หมดไปได้ ส่วนกรรมวิธีการกำจัดผักตบชวาที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป ได้แก่ 1.2.1 การกำจัดด้วยสารเคมีกำจัดวัชพืช : สารเคมีที่นิยมนำมาใช้เพื่อกำจัดผักตบชวา เช่น คลอโรฟีนอคซี (Chlorophenoxy), กลัยโฟเสต (Glyphosate:N-(phosphonomethyl giycine), ไบไพริดิล (Bipyridyl) 1.2.2 การกำจัดโดยวิธีกล : การกำจัดด้วยวิธีนี้หมายถึงการใช้แรงคน แรงสัตว์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรต่างๆ เช่น การถก ลาก ดึง ตัก หรือยกผักตบชวาขึ้นจากแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและสะดวก ไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษเหมือนวิธีแรก แต่การปฏิบัติต้องใช้แรงงานมากและต้องมีอุปกรณ์อย่างพร้อมเพรียง 1.2.3 การกำจัดทางชีววิธี : การกำจัดด้วยวิธีนี้หมายถึงการใช้สิ่งมีชีวิต เช่น แมลง โรคพืช ศัตรูอื่นที่เข้ามากัดกินหรือทำลายวัชพืชให้หมดสิ้นไป การกำจัดโดยวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากถ้ามีสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสม แต่การกำจัดด้วยวิธีนี้จะต้องใช้เวลาในการศึกษาวิจัยมาก 1.2.4 การกำจัดโดยการนำมาใช้ประโยชน์ : ข้อดีของผักตบชวา มีดังต่อไปนี้ เช่น ช่วยทำให้น้ำสะอาดขึ้น ช่วยสะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์ ช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากวัชพืชใต้น้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำ ช่วยทำให้เกิดทัศนียภาพที่เจริญตา สามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ 2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2.1 ความเป็นมาของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาตำบลเก้าเลี้ยว กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกตำบลหนึ่งที่พบว่ามีการทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาโดยการค้นพบของ อาจารย์ดรุณี วลัญช์อารยะ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนเก้าเลี้ยววิทยา อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เยี่ยมบ้านนักเรียนที่อยู่ในเขตบริการของโรงเรียน ซึ่งเป็นชุมชนชนบท ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน รอบๆไร่นามีคลองที่เต็มไปด้วยผักตบชวามากมายจนกลายเป็นวัชพืชไร้ค่า อาจารย์ดรุณี วลัญช์อารยะ จึงนำต้นผักตบชวามาทำให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ทำให้เกิดแนวคิด ในการนำผักตบชวามาใช้ประโยชน์ และเป็นแนวทางให้นักเรียนรวมถึงชาวบ้านในชุมชนได้ต่อไป จึงได้แสวงหาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา และได้ประสานเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ นอกจากนี้ได้วางแผนจัดการกิจกรรมการเรียนการสอน โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัด และสนใจด้านงานประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาประมาณ 12 คน ไปเรียนรู้ฝึกประสบการณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ศูนย์ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา จังหวัดพิจิตร แล้วนำมาฝึกทักษะเพื่อให้เกิดความชำนาญ แล้วนำไปสอนเพื่อนและน้อง ในกิจกรรมชุมนุม วิชาศิลปะเพิ่มเติม และให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ที่ว่างจากการทำอาชีพหลัก แม่บ้านรวมถึงผู้ที่สนใจ จึงนำมาสู่การรวมกลุ่ม ก่อตั้งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน 2.2 รูปแบบผลิตภัณฑ์และกรรมวิธีการสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่มีการแปรรูปผักตบชวาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบกระเป๋า ตะกร้า ที่ใส่กระดาษทิชชู่ ปัญหาหลักที่พบ คือ รูปแบบและสีสันของผลิตภัณฑ์ยังไม่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยังไม่ครบถ้วนทุกกลุ่มวัย ไม่มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ขอพื้นถิ่นที่สามารถสร้างการจดจำของลูกค้า และสีที่ใช้บนผลิตภัณฑ์เป็นสีที่ได้จากเคมีทั้งหมดซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สร้างสรรค์ผลงานและต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้กรรมวิธีการสร้างสรรค์ชิ้นงานเกิดจากการใช้เทคนิคการถักและการสานเท่านั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์บางชิ้นงานไม่แน่น และแข็งแรงพอที่จะนำไปจำหน่ายได้ 3. การย้อมสีธรรมชาติ สีธรรมชาติเป็นสีที่ได้จากพืช สัตว์และแร่ธาตุต่างๆ สามารถนำมาย้อมได้ทั้งแบบย้อมร้อนและแบบร้อนเย็น สีธรรมชาติเป็นสีที่ต้องอาศัยสารช่วยในการเร่งกระตุ้นช่วยให้สีออกเร็ว และให้สีติดแนบกับเส้นไย ทำให้สีไม่ตกเวลาซัก ซึ่งการย้อมสีธรรมชาติ เป็นการลดการใช้สารเคมี ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ในระบบทางเดินห
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :สรุปกรอบแนวความคิด (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎี เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และการสร้างนวัตกรรมเครื่องทอลวดลายเพื่อเพิ่มมาตรฐานในการผลิต การสร้างลวดลายเอกลักษณ์ให้กับชุมชน และการย้อมสีจากธรรมชาติของวัตถุดิบที่มีในพื้นถิ่นบนผลิตภัณฑ์ (2) ศึกษาและค้นหารูปแบบของผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาที่เหมาะสม จากผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด (3) ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค (4) สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ประเภทชุดตกแต่งบ้าน ชุดผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร และชุดเฟอร์นิเจอร์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน (5) ถ่ายทอดภูมิปัญญาและนวัตกรรมสู่ชุมชน โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย พร้อมทั้งการติดตามและการประเมินผล (6) เผยแพร่ผลงานการวิจัย ในวารสารวิชาการ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ขั้นตอนที่ 1 : ศึกษา สำรวจข้อมูล และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เพื่อศึกษาวัตถุดิบในธรรมชาติที่เหมาะสมกับการย้อมสีผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา โดยการเก็บตัวอย่างวัตถุดิบที่มีในธรรมชาติในท้องถิ่นของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตำบล เก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อไปจำแนกโทนสี และบันทึกค่าสี โดยเปรียบเทียบกับ Pantone Color และจัดเก็บเพื่อเตรียมสู่ขั้นตอนกระบวนการย้อมสีด้วยวัตถุดิบสีต่างๆ ในขั้นต่อไป รวมทั้งสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลหลักฐาน ภาพถ่าย จากปราชญ์ชาวบ้านที่มีองค์ความรู้ ในเรื่องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรม ในประเด็นต่างๆ เช่น ด้านการสร้างเครื่องทอลาย หรือนวัตกรรมในการย้อมสีและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนที่ 2 : ศึกษากระบวนการย้อมสีจากวัตถุดิบธรรมชาติในพื้นถิ่น ที่เหมาะสมกับผักตบชวา นำข้อมูลจากการศึกษาและสำรวจภาคสนามมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประมวลผลจากการศึกษา เพื่อค้นหากระบวนการที่ใช้ในการย้อมสีเส้นใยผักตบชวา โดยการทดลองย้อมสีจากวัตถุดิบต่างๆ ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝาง แก่นขนุน กระเจี๊ยบ ฯลฯ แล้วทำการเทียบเคียงค่าสีที่ได้กับ Pantone Color เพื่อบันทึกค่าสีเป็นฐานข้อมูลชุดสีจากวัตถุดิบต่างๆ ที่เหมาะสมกับเส้นใยผักตบชวา เป็นการสร้างมาตรฐาน ในขั้นตอนการย้อมสีสำหรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อไป ขั้นตอนที่ 3 : สร้างนวัตกรรมเครื่องทอลายผักตบชวา ให้ได้ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยการทดลองสร้างต้นแบบเครื่องทอลายที่เหมาะสมกับการทอผักตบชวา โดยศึกษาและพัฒนาจากเครื่องทอผ้า และเครื่องทอเสื่อกก เพื่อให้ได้เครื่องทอลายผักตบชวาที่เหมาะสมสามารถสร้างชิ้นงานเป็นผืน และสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม นำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆได้ ขั้นตอนที่ 4 : สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา นำผลจากการสร้างนวัตกรรมด้านการพัฒนาเครื่องทอลายผักตบชวา และกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ จนได้ชุดสีเพื่อเป็นมาตรฐานในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา รวมทั้งผลจากการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคถึงแนวโน้มความต้องการที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา นำมาสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้วิจัยกำหนดเป็นประเภทชุดตกแต่งบ้าน ชุดผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร และชุดเฟอร์นิเจอร์ ที่เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนได้ ผ่านกระบวนการทางการวิจัย ทั้งด้านการสำรวจความต้องการของตลาด โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริโภค โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ เป็นการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับงานวิจัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการจริงในการทำงาน ขั้นตอนที่ 5 : ถ่ายทอดนวัตกรรมสู่ชุมชนและเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ โดยการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1 ครั้ง ใช้เวลาในการอบรม 3 วัน หลังจากนั้น สรุปผลการดำเนินงาน นำเสนองาน เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ และยื่นขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตรด้านการออกแบบ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้นวัตกรรม เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการผลิต และยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุที่เป็นขยะหรือวัชพืชในธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่การศึกษาเพื่อสรรหาวัตถุดิบในธรรมชาติที่มีในพื้นถิ่น ที่ทำให้เกิดสีและกระบวนการที่เหมาะสมกับการย้อมสีของผักตบชวา รวมทั้งการพัฒนาเครื่องทอลวดลาย ที่นำมาช่วยเพิ่มมาตรฐานการผลิตและสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อที่จะนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับจากตลาด โดยการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามกระบวนการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในเขตพื้นที่กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
จำนวนเข้าชมโครงการ :2227 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายรพีพัฒน์ มั่นพรม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางยุวดี ทองอ่อน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นัฐท์ธีรนนช์ รอดชื่น บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด