รหัสโครงการ : | R000000404 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาระบบแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์ผ่านสมาร์ทโฟนในรูปแบบของ Web Responsive โดยใช้หลักการออนโทโลจีเชิงพื้นที่และเชิงเวลา |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | System Development of a Real-time Tourism Information Recommendation via Smart Phone on Web Responsive using Spatial and Temporal Ontology |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | เรียลไทม์ สมาร์ทโฟน ออนโทโลจีเชิงพื้นที่ ออนโทโลจีเชิงเวลา ท่องเที่ยว |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 305000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 305,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 28 เมษายน 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 เมษายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ |
สาขาวิชาการ : | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | วิทยาการคอมพิวเตอร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | การเดินทางท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสุขอย่างหนึ่งของชีวิตและครอบครัว อีกทั้งยังช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก และบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2557 ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนภายใต้โครงการ Amazing Thailand Always Amazes You ภายใต้แนวคิด Amazing Thailand : Happiness You Can Share โครงการหลงรัก...ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2558 ได้จัดโครงการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองทางเลือก ชูแนวคิด "เมืองต้องห้าม...พลาด" โครงการ Dream Destinations 2015 กาลครั้งนั้น ความฝันผลิบาน รวบรวมเส้นทางท่องเที่ยวสายดอกไม้ท่องเที่ยวตลอดปีและโครงการวันธรรมดาน่าเที่ยว เพื่อส่งเสริมการกระจายตัวการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด และในปี พ.ศ. 2559 มีกลยุทธ์หลักในการทำตลาดท่องเที่ยวในประเทศ โดยมุ่งเน้นการกระตุ้นรายได้ทางด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับความเข้มแข็งของชุมชนและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นภายใต้โครงการเมืองต้องห้ามพลาด...Plus โครงการเขาเล่าว่า โครงการ Outdoor Fest เป็นต้น (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2559) |
จุดเด่นของโครงการ : | ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อพัฒนาระบบแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์ผ่านสมาร์ทโฟนด้วย Web Responsive
2. เพื่อออกแบบและพัฒนาออนโทโลจีเชิงพื้นที่และเชิงเวลาสำหรับแนะนำข้อมูลท่องเที่ยว
3. เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลท่องเที่ยวด้วยการป้อนคำค้นหาได้ |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ขอบเขตด้านข้อมูล
1.1 ออกแบบและพัฒนาออนโทโลจีเชิงพื้นที่และเชิงเวลาสำหรับแนะนำข้อมูลท่องเที่ยว
1.2 หนังสือและเอกสารที่ใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาออนโทโลจีเชิงพื้นที่และเชิงเวลา
2. ขอบเขตด้านระบบ
2.1 ศึกษาการออกแบบเว็บไซต์ในรูปแบบของ Web Responsive
2.2 วิเคราะห์ระบบงานในการแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวผ่านสมาร์ทโฟน
2.3 ออกแบบและพัฒนาระบบแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวผ่านสมาร์ทโฟนในรูปแบบของ Web Responsive โดยใช้ภาษา PHP ซึ่งระบบสามารถทำงานได้ดังต่อไปนี้
2.3.1 แนะนำข้อมูลท่องเที่ยวตามตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ของผู้ใช้ (เชิงพื้นที่)
2.3.2 แนะนำข้อมูลท่องเที่ยวตามช่วงเวลาการท่องเที่ยวของผู้ใช้ (เชิงเวลา)
2.3.3 ผู้ใช้สามารถป้อนคำค้นหาเพื่อให้ระบบแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการตามพื้นที่และเชิงเวลาที่อยู่ในปัจจุบัน (ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์) เช่น ป้อนชื่อสถานที่ท่องเที่ยว หรือ ประเภทการท่องเที่ยว หรือ ประเภทร้านอาหาร หรือ ประเภทอาหาร เป็นต้น
2.3.4 ระบบสามารถแสดงเส้นทางจากตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ปัจจุบันของผู้ใช้ไปยังสถานที่ท่องเที่ยว หรือ ที่พัก หรือ ร้านอาหาร ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้
2.3.5 ใช้ข้อมูลท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ในการทดสอบการทำงานของระบบผ่านสมาร์ทโฟนและเว็บเบราว์เซอร์
3. ขอบเขตด้านเทคโนโลยี
3.1 พัฒนาระบบแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวด้วยเทคนิค Web Responsive โดยใช้ภาษา PHP
3.2 ใช้ Bootstrap เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาเว็บในรูปแบบ Responsive
3.3 ใช้โปรแกรม Prot?g? ในการสร้างและจัดการออนโทโลจีเชิงพื้นที่และเชิงเวลา
3.4 ใช้ภาษา SPARQL ในการสืบค้นข้อมูลท่องเที่ยว โดยใช้ RAP API เชื่อมต่อกับออนโทโลจี |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1 ได้ออนโทโลจีเชิงพื้นที่และเชิงเวลาที่ใช้สำหรับแนะนำข้อมูลท่องเที่ยว
2. ได้ระบบแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์ด้วย Web Responsive
3. ได้เว็บไซต์สำหรับแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์
4. ลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูลท่องเที่ยวจากหลายเว็บไซต์
5. เป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวมากขึ้น
6. เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
7. ได้ผลงานทางวิชาการที่สามารถนำไปเขียนเป็นบทความทางวิชาการหรือเผยแพร่ในงานวิจัยระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ในวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ลำดับการดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นำหลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้ศึกษามาทำการวิเคราะห์และออกแบบสถาปัตยกรรมของสำหรับระบบแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์
2. การออกแบบออนโทโลจีเชิงพื้นที่และออนโทโลจีเชิงเวลา
3. การออกแบบและพัฒนาระบบแนะนำข้อมูลท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์ในรูปแบบของ Web Responsive
4. การทดสอบและใช้งานระบบแนะนำแพ็คเกจท่องเที่ยวในประเทศไทย
5. สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ รวมทั้งจัดทำรูปเล่มรายงาน |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 385 ครั้ง |