รหัสโครงการ : | R000000400 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | ระบบส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อพบผู้บุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้านโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Intruder detection and Alarm System using Internet of Things |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | Intruder detection, Alarm, IoT, Internet of Things, Automatic |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 80000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 80,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 21 กันยายน 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 20 กันยายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ |
สาขาวิชาการ : | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | วิทยาการคอมพิวเตอร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ทรัพย์สินเป็นคำที่รู้จักและใช้กันอย่างคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน โดยเป็นที่เข้าใจในคนส่วนใหญ่ว่าหมายถึงวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เงิน ทอง เป็นต้น อาจมีราคามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับทรัพย์สินนั้น ๆ ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้อาจมาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เก็บสะสมเงินเพื่อไปซื้อ รางวัลจากการเสี่ยงโชค เป็นต้น ซึ่งทรัพย์สินมักจะถูกเก็บไว้ภายในบ้านในที่ปลอดภัยและไม่ต้องการให้ทรัพย์สินถูกโจรกรรมจากผู้บุกรุก วิธีการที่นิยมคือการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อให้มีหลักฐานของผู้บุกรุกที่ไม่ประสงค์ดีต่อทรัพย์สิน หรือ การเปิดไฟฟ้าส่องสว่างไว้รอบตัวบ้านแต่ก็ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น หมู่บ้านดีพร้อมเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ปัจจุบันมี 3 โครงการ คือ ดีพร้อม 1 ดีพร้อม 2 และดีพร้อม 3 มีจำนวนบ้านมากกว่า 1,000 หลัง แต่ละโครงการไม่มีการหน่วยรักษาความปลอดภัย ทุกคนสามารถเข้าออกหมู่บ้านได้ตามสะดวก ไม่มีการตรวจสอบหรือแลกบัตรผ่าน ซึ่งอาจมีบุคคลไม่ประสงค์ดีประปนเข้ามาภายในหมู่บ้านเพื่อสอดส่องความเคลื่อนไหวของแต่ละบ้าน เมื่อสบโอกาสก็จะก่อเหตุขนทรัพย์สินอันมีค่าของบ้านเหล่านั้นไป บ้านหลังใดมีกล้องวงจรปิดก็อาจบันทึกภาพผู้บุกรุกไว้ได้และมีหลักฐานอย่างชัดเจนในการจับคุมผู้กระทำความผิด อย่างไรก็ตามทรัพย์สินก็ถูกขโมยไปแล้ว อาจได้คืนทั้งหมดหรือบางส่วนหรือไม่ได้คืนเลยก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมามีบ้านหลายหลังมีผู้บุกรุกเข้ามาขโมยทรัพย์ทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืน โดยเฉพาะบ้านหลังที่รั้วบ้านติดกับพื้นที่รกร้าง แต่ถ้าหากมีระบบการแจ้งเตือนด้วยเสียงเตือนภัยและมีไฟฟ้าส่องสว่าง อาจทำให้ผู้บุกรุกเกิดความตกใจกลัวจนไม่สามารถทำการโจรกรรมหรือบุกรุกเข้ามาในบ้านได้
ปัจจุบันนโยบาลของรัฐบาลที่มุ่งเน้นความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยบนวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างนวัตกรรมและเรียกว่าเป็นการก้าวสู่ประเทศไทยยุค 4.0 ที่เทคโนโลยีมีบทบาทในชีวิตและการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ และรัฐบาลยังได้สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ เช่น สร้างเส้นทางธุรกิจใหม่ (Startup) การใช้เทคโนโลยีการเกษตร (Smart Farm) อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม เป็นต้น อีกทั้งในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) มาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เนื่องจากอุปกรณ์ราคาไม่แพงและง่ายต่อการพัฒนา เช่น การตั้งเวลารดน้ำแบบอัตโนมัติ การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนเพาะเห็ด การเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน เป็นต้น
จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะจัดพัฒนาระบบส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อพบผู้บุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้าน โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ประกอบไปด้วย แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ กล้องเว็บแคมและเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว สำหรับการตรวจจับผู้บุกรุกที่เข้ามาภายในบริเวณบ้าน ซึ่งเมื่อพบผู้บุกรุกเข้ามาระบบจะทำการเปิดไฟส่องสว่างบริเวณบ้านอย่างอัตโนมัติ พร้อมส่งสัญญาณหรือเสียงเตือนและถ่ายรูปส่งไปยังแอปพลิเคชันไลน์ของเจ้าของบ้าน ทำให้ผู้บุกรุกล้มเลิกการโจรกรรมและเจ้าของบ้านจะไม่สูญเสียทรัพย์สิน |
จุดเด่นของโครงการ : | สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนต่าง ๆ ได้ |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อพบผู้บุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้าน
2. เพื่อป้องกันขโมยเข้าบ้านด้วยการส่งสัญญาณเตือนและเปิด-ปิดไฟส่องสว่างอัตโนมัติ
3. เพื่อออกแบบแผงวงจรควบคุมการทำงานของระบบโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
4. เพื่อจับภาพผู้บุกรุกและส่งภาพผู้บุกรุกไปยังแอปพลิเคชันไลน์ของเจ้าของบ้าน
5. เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับชุมชน |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ขอบเขตด้านข้อมูล
1.1 ใช้ข้อมูลความเคลื่อนไหวจากการตรวจจับของเซ็นเซอร์เพื่อนำมาใช้ในการส่งสัญญาณเตือนภัยและเปิดไฟส่องสว่างอย่างอัตโนมัติ
1.2 ใช้ชุมชนหมู่บ้านดีพร้อม เพื่อเป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับการทำงานวิจัยครั้งนี้ โดยจะใช้บ้านหลังที่มีความเสี่ยงต่อการบุกรุกสูงมาทดสอบการทำงานของระบบ
2. ขอบเขตด้านระบบ
2.1 ศึกษาหลักการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบส่งสัญญาณเตือนภัยและเปิดไฟส่องสว่างอย่างอัตโนมัติ
2.2 ออกแบบและพัฒนาระบบส่งสัญญาณเตือนภัยและเปิดไฟส่องสว่างอย่างอัตโนมัติ โดยระบบสามารถทำงานได้ดังนี้
2.2.1 ส่งสัญญาณเตือนภัย (เสียงไซเรน) เมื่อตรวจจับผู้บุกรุกได้
2.2.2 เปิดไฟส่องสว่างเมื่อตรวจพบผู้บุกรุกได้
2.2.3 เมื่อตรวจจับผู้บุกรุกได้ระบบจะทำการบันทึกภาพส่งไปยังโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนของผู้ใช้หรือเจ้าของบ้านผ่านแอปพลิเคชันไลน์
2.3 ผู้ใช้หรือเจ้าของบ้านสามารถควบคุมการทำงานของระบบได้ผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.3.1 ควบคุมการเปิด-ปิดไฟฟ้าส่องสว่างได้
2.3.2 ควบคุมการเปิด-ปิดเสียงไซเรนได้
2.3.3 ถ่ายภาพจากกล้องเว็บแคมได้ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้ระบบส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อพบผู้บุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้าน
2. ป้องกันขโมยเข้าบ้านด้วยการส่งสัญญาณเตือนและเปิด-ปิดไฟส่องสว่างอัตโนมัติ
3. ลดภาวะความกังวลเมื่อไม่อยู่บ้าน
4. ได้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการนำไปใช้ในชุนชนและรองรับการเป็นประเทศไทยยุค 4.0
5. ได้ผลงานทางวิชาการที่สามารถนำไปเขียนเป็นบทความทางวิชาการหรือเผยแพร่ในงานวิจัยระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ในวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ลำดับการดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นำหลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้ศึกษามาทำการวิเคราะห์และออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อพบผู้บุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้าน
2. วิเคราะห์และออกแบบการทำงานของระบบ
3. ออกแบบและติดตั้งแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์และเซ็นเซอร์ต่าง ๆ
4. ออกแบบและพัฒนาระบบส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อพบผู้บุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้าน
5. ออกแบบและพัฒนาส่วนการติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน
6. ทดสอบการทำงานของระบบ
7. สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ รวมทั้งจัดทำรูปเล่มรายงาน
8. เขียนบทความวิจัยและส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ พร้อมหลักฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยให้สถาบันวิจัยฯดำเนินการส่งคณะกรรมการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยพิจารณาเป็นลำดับต่อไป |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | ระบบส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อพบผู้บุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้าน โดยเมื่อตรวจจับผู้บุกรุกได้ระบบจะทำการบันทึกภาพส่งไปยังโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนของผู้ใช้หรือเจ้าของบ้านผ่านแอปพลิเคชันไลน์ และเปิดไฟฟ้าส่องสว่างอัตโนมัติในเวลากลางคืน |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 696 ครั้ง |