รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000398
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Prevent the risk dropping out of children and youth in the education area, Nakhon Sawan province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาเทคนิคการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :348050
งบประมาณทั้งโครงการ :0.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :01 กันยายน 2558
ประเภทของโครงการ :อื่นๆ
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ให้ก้าวต่อไป จึงจำเป็นจะต้องเอาใจใส่และดูแลอย่างเหมาะสมและรอบด้านในแต่ละช่วงวัย ทั้งจากพ่อแม่ สถานศึกษา ชุมชนและสังคมด้วยความรู้ที่หลากหลายแบบสหวิชาชีพ รวมทั้งต้องใช้ทักษะและเจตคติที่เห็นคุณค่าของเด็กและเยาวชนด้วย ซึ่งการศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งในการวางรากฐานให้เด็กและเยาวชนก้าวไปสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและคุณธรรมจริยธรรม ปัจจุบันภาครัฐตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนในด้านการศึกษา จะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ประกันสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวดที่ 4 แนวนโยบายด้านสังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม มาตรา 80 (1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชนและ มาตรา 80(3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, น.23-24) ดังที่กล่าวมานั้น เพื่อสนองแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ จึงมีการกำหนดสิทธิทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา 10 ว่าด้วยการจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2546, น.4) นั้นก็หมายความว่า เด็กที่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยทุกคนจะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องรับเด็กในเขตบริการหรือเด็กในความรับผิดชอบที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดให้ได้เข้าศึกษาในสถานศึกษาภาคบังคับทุกคน และเมื่อเด็กได้เข้าศึกษาแล้วต้องพยายามให้เด็กศึกษาเล่าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับและได้ศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัย คือปัญหาที่เด็กส่วนหนึ่งศึกษาเล่าเรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับ แม้ทุกภาคส่วนและทุกระดับของสังคมจะค่อนข้างให้ความสำคัญกับการขยายโอกาสและการส่งเสริมด้านการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสังคมดูเหมือนจะยังไม่สามารถยืนยันได้ถึงความสำเร็จของภารกิจด้านการขยายโอกาสและการส่งเสริมด้านการศึกษาเสียทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะยังมีนักเรียนอีกจำนวนไม่น้อยที่ออกจากระบบการศึกษากลางคันโดยสาเหตุหลักๆที่เลิกเรียน อาทิ ต้องอพยพตามผู้ปกครอง หาเลี้ยงครอบครัว ฐานะยากจน ติดยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และแม้ว่ารัฐบาลจะได้พยายามให้ความช่วยเหลือปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นในการศึกษา เช่น ชุดนักเรียน แบบเรียน ค่าอาหารกลางวัน แต่ปัญหาการออกกลางคันเหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่ (สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2554, น.1) การออกกลางคันเป็นปัญหาสำคัญต่อการจัดการศึกษาของประเทศที่ต้องเร่งดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนทำให้เกิดความสูญเปล่าทางการศึกษา เป็นผลเสียต่อผู้เรียน ได้แก่ ทำให้ผู้เรียนขาดความรู้ทักษะจำเป็นในการดำรงชีวิต มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้ ขาดความมั่นใจในตนเอง ขาดโอกาสในการศึกษาและพัฒนาตนเอง ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาในระหว่างเรียน งบที่รัฐควรจะได้รับในอนาคตจากการที่มีประชากรที่มีคุณภาพ งบที่รัฐจะต้องเสียไปในการแก้ปัญหาสังคมหากเด็กออกกลางคันส่วนหนึ่งก่อปัญหาขึ้น งบที่รัฐต้องเสียไปในการดูแลบุคคลส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เป็นการสูญเสียโอกาส ได้แก่ สูญเสียโอกาสส่วนบุคคลที่จะศึกษาและพัฒนาตนเอง สูญเสียโอกาสของสังคมที่จะได้บุคคลที่มีคุณภาพมาพัฒนาประเทศ และเป็นผลเสียต่อสังคม ได้แก่ ขาดคนที่มีคุณภาพที่จะสร้างสรรค์ความเจริญ สังคมต้องแบกรับภาระหากผู้เรียนที่ออกกลางคันโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ สังคมเกิดความวุ่นวายหากผู้เรียนที่ออกกลางคันโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และก่อปัญหาขึ้น (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2543, น.7-8) จะเห็นได้ว่าการออกกลางคันเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะผู้เรียนที่ออกกลางคันต้องประสบปัญหาคุณภาพชีวิตของตนเอง ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมและประเทศชาติในอนาคต (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2540, น.1) เมื่อทำการศึกษาข้อมูลผู้เรียนที่ออกกลางคันในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2552 ของสำงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พบว่า จำนวนผู้เรียนออกกลางคันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของการออกกลางคันของผู้เรียนรวมทั้งประเทศในปีการศึกษา 2552 ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการอพยพตามผู้ปกครอง กล่าวคือคิดเป็นร้อยละ 18.00 ของจำนวนผู้เรียนออกกลางคันทั้งหมด รองลงมามีสาเหตุจากปัญหาครอบครัวและปัญหาในการปรับตัวร้อยละ 12.78 และ 10.21 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นสาเหตุการออกกลางคันที่น่าสนใจคือสมรสแล้วซึ่งมีสูงถึง 3,259 คน คิดเป็นร้อยละ 6.58 ของจำนวนผู้เรียนออกกลางคันทั้งหมด เนื่องจากเด็กที่อยู่ในระดับการศึกษาไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งตามเกณฑ์จะมีอายุสูงสุดอยู่ในช่วงประมาณ 18 ปี เด็กในช่วงวันนี้จึงถูกคาดหวังว่าน่าจะยังต้องอยู่ในระบบการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีการออกกลางคันในกรณีอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุสาเหตุที่ชัดเจนจำนวนมากถึง 19,205 คนหรือร้อยละ 38.75 ของจำนวนผู้เรียนออกกลางคันทั้งหมด จึงเป็นประเด็นน่าสนใจว่ามีความจำเป็นจะต้องจำแนกสาเหตุที่แท้จริงของการออกกลางคันให้ละเอียดลงไปหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการจัดการกับสถานการณ์นี้ในอนาคต (สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2554, น.14-16) ปัญหาการออกกลางคันที่ปรากฏขึ้นนั้นกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการดำเนินการป้องกันและแก้ไข จึงได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559 กลยุทธ์ที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานประกันโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและขยายโอกาสการเข้าถึงบริการการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อเป็นการลดจำนวนผู้เรียนที่ออกจากระบบการศึกษากลางคัน (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2555, น.24-25) นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นองค์กรหลักในการนำนโยบายด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพื่อลดความเสี่ยงต่อการออกกลางคันของผู้เรียน โดยกำหนดมาตรการสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพนักเรียนเน้นกิจกรรมส่งเสริม พัฒนา ป้องกันและแก้ปัญหา เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครู ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาให้นักเรียนมีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ให้มีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการศึกษา การเรียนรู้และวิถีชีวิตในสังคม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550, น.3-4) ในส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบไปด้วย 15 อำเภอ แบ่งออกเป็น 3 เขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 168 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 151 โรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จำนวน 205 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 524 โรงเรียน พบว่าในปีการศึกษา 2552 มีผู้เรียน 114,976 คน ออกกลางคัน 1,088 คน จัดอยู่ในอันดับที่ 15 คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของจำนวนผู้เรียนออกกลางคันทั้งประเทศ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วนั้นสาเหตุการออกกลางคันของผู้เรียนในจังหวัดนครสวรรค์ เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ การออกกลางคันในกรณีอื่นๆที่ไม่ได้ระบุสาเหตุที่ชัดเจน ร้อยละ 46.50 การอพยพตามผู้ปกครอง ร้อยละ 12.32 การสมรสแล้ว ร้อยละ 11.67 ปัญหาในการปรับตัว ร้อยละ 9.01 มีปัญหาครอบครัว ร้อยละ 7.35 การหาเลี้ยงครอบครัว ร้อยละ 6.71 ฐานะยากจน ร้อยละ 6.07 เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ร้อยละ 0.55 และต้องคดีหรือถูกจับ ร้อยละ 0.28 ตามลำดับ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553, น.39) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจังหวัดนครสวรรค์มีจำนวนผู้เรียนออกกลางคันอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการออกกลางคันหลักๆของผู้เรียนได้แก่ ด้านครอบครัว ด้านครูหรือสถานศึกษา ด้านผู้เรียนเองและด้านสังคมสิ่งแวดล้อม นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามจุดมุงหมายในตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 นั้นก็คือ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางการป้องกันปัญหาการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ : 1. เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ดังนี้ ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นบุคลากรและผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1. ผู้บริหารสถานศึกษาได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ ฝ่ายต่าง ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 2. อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 3. ผู้ปกครองนักเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 4. เด็กและเยาวชน ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งวิเคราะห์ความเสี่ยงในการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์เพื่อหาแนวทางการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีการศึกษาเรื่องดังต่อไปนี้ 1. แนวคิดเรื่องสูญเปล่าทางการศึกษาและการออกกลางคัน 1) นิยามของการออกกลางคัน 2) สาเหตุการออกกลางคัน 2. แนวทางการป้องกันความสี่ยงในการออกกลางคัน 1) ความหมายของการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคัน 2) กรอบแนวคิดการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคัน 3) ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคัน 4) บทบาทหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 1) บริบทของเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ทั้ง 3 เขต 2) แนวทางการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคันในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 1. ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 2. ทราบแนวทางการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อนำผลการศึกษาไปเป็นข้อมูลสารสนเทศในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ให้กับผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายปกครอง ครูแนะแนว และครูประจำชั้นอย่างตรงประเด็น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายปกครอง ครูแนะแนว ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเด็กหรือเยาวชนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ในเขตพื้นที่การศึกษา 3 แห่งได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 168 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 145 โรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จำนวน 204 โรงเรียน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 517 โรงเรียน จำนวน 71,603 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายปกครอง ครูแนะแนว ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเด็กหรือเยาวชนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 382 คน จากประชากรทั้งหมด 71,603 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเปิดตาราง เครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :451 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายนันธวัช นุนารถ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด