รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000397
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Terracotta Product of knowledge Bang Kang Nakhonsawan Province To develop a creative economy
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :80000
งบประมาณทั้งโครงการ :80,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :21 กันยายน 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :20 กันยายน 2562
ประเภทของโครงการ :งานสร้างสรรค์(ออกแบบ)
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับนานาชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรอบรู้ของชาวบ้าน ซึ่งสั่งสม ถ่ายทอด และปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต คนไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาติ การประกอบอาชีพ การดูแล และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นของตน ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เสริมสร้างกำลังใจให้อยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันจนกลายเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรมที่ใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ในปัจจุบัน การนำแนวคิดของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) เพื่อสร้างความแตกต่าง รวมทั้งเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ ในส่วนของประเทศไทย เป็นประเทศที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ยาวนาน ประกอบกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย (ชูวิทย์ มิตรชอบ: ๒๕๕๒)และเป็นแหล่งกำเนิดอารยะธรรมต่างๆ ที่เก่าแก่ของโลก ดังที่ได้พบหลักฐานที่เป็นงานศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในหลายท้องที่ทั่วไปในประเทศไทย (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ : ๒๕๔๖) จากกรอบแนวคิดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙ ประเด็นยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ภาคเกษตรกรรม บริการ และ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ และเป็นการสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ที่ใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : ๒๕๕๒) ในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๑ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (การคำนวณของ สำนักงานบัญชีประชาชาติ โดยใช้ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศระหว่างปี ๒๕๔๑-๒๕๕๑ )โดยกลุ่มงานสร้างสรรค์ตามลักษณะงาน หรือสร้างสรรค์และออกแบบ กลุ่มมรดกทางวัฒนธรรม และกลุ่มสื่อสมัยใหม่ เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงสุด และเมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มย่อยจะพบว่าการออกแบบเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงสุด รองลงมาคือ กลุ่มงานฝีมือและหัตถกรรม และกลุ่มแฟชั่น โดยทั้ง ๓ กลุ่มมีมูลค่ารวมกันประมาณร้อยละ ๙.๕ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งในพื้นที่ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์มีภูมิปัญญาด้านการปั้น เครื่องปั้นดินเผาที่สืบทอดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัยจากรุ่นสู่รุ่นและมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับชุมชน แต่ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาระสบปัญหาในด้านการขนส่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ แต่ผลกำไรกลับน้อยไม่เหมาะกับการซื้อติดกลับเพื่อเป็นของฝาก หรือเพิ่มผลกำไรได้ ผู้วิจัยตะหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาของบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ ที่ยังคงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นตำบลหนึ่งที่มีมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่อดีตอันยาวนาน จนถึงปัจจุบันเป็นชุมชนที่เก่าแก่ดังนั้นชาวบ้านจึงมีภูมิปัญญาด้านการปั้นเครื่องปั้นดินเผาที่ตนเองที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและค้นคว้าด้วยตนเองหลากหลายวิธี ผู้วิจัยจึงมีความน่าสนใจในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ บนพื้นฐานการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ หากผู้วิจัยศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดินเผาในรูปแบบอื่นอาจแก้ปัญหานี้ได้
จุดเด่นของโครงการ :การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2. สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ 3. ประเมินผลการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านพื้นที่ 1. ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโดยใช้แนวคิดเศร็ษฐกิจสร้างสรร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาใหม่ที่สร้างผลกำรไได้มากกว่าเดิม 2. ได้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3. กิดการต่อยอดทางธุรกิจ 3. ชุมชนสามารถสร้างแนวคิดสร้างสรรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นทุนในท้องถิ่นได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1 แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจุบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ยังไม่มีคำนิยามที่เป็นหนึ่งเดียว มุมมองการให้ความหมายขึ้นอยู่กับการนำไปปรับใช้ให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ได้ดังนี้ John Howkins ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจสร้างาสรรค์ กล่าวว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) คือการสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์ สำหรับสาขาการผลิตที่พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะเรียกว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ องค์การยูเนสโก้ UNESCO (United Nations Educational Scientific and Cultural Organization) ให้ความหมายเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยเน้นบริบทของทรัพย์สินทางปัญญาว่า ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและศิลปะทั้งหมด ทั้งในรูปสินค้าและบริการที่ต้องอาศัยความพยายามในการสร้างสรรค์งาน ไม่ว่าจะเป็นการทำขึ้นทันทีในขณะนั้นหรือผ่านกระบวนการผลิตมาก่อน องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) ให้ความหมายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยยึดนิยามที่นำเสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และความสามารถที่มีศักยภาพในการสร้างงานและความมั่งคั่งโดยการผลิตและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา องค์การความร่วมมือเพื่อการค้าและการพัฒนา UNCTAD (United Nations Conference on Trade and Development) ได้ให้ความหมายในบริบทของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจไว้ว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นแนวความคิดในการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพย์สินที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์” สรุป "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" คือ แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษาการสร้างสรรค์งาน (Creativity) และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ หัวใจของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็คือ แนวคิดหรือแนวปฏิบัติที่สร้าง/เพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการได้โดยที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรมากนัก แต่ใช้ความคิด สติปัญญา และความสร้างสรรค์ให้มากขึ้นเท่านั้นเอง 1.2 แนวคิดใหม่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ความสร้างสรรค์เกิดจากการวิเคราะห์ประเทศกรณีศึกษา รวมกับคำจำกัดความของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ขององค์ถัด UNCTAD (United Nations Conference on Trade and Development) สามารถสรุปเบื้องต้นได้ว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์เกิดจาก 2 ปัจจัยหลักคือ ทุนทางปัญญา ร่วมกับทักษะความสร้างสรรค์ ทุน(Capital) ได้แก่ รูปแบบของทุนต่างๆ อันเป็นฐานความรู้และทุนทางปัญญาเพื่อนำไปใช้ต่อยอดทักษะความคิด ซึ่งได้แก่ ทุนมนุษย์(Human Capital) ทุนทางวัฒนธรรม(Culture Capital) ทุนทางสังคม(Culture Capital) ทุนสถาบัน(Institutional Capital) และทุนด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์(Creative Capital) ทักษะ(Skills) ได้แก่ ทักษะที่สนับสนุนการนำความรู้และทุนทางปัญญามาประยุกต์ให้เกิดผลงานหรือคุณค่าเชิงรูปธรรม เช่น ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทักษะสร้างนวัตกรรม ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และกรอบความคิดสร้างสรรค์ 9.1.2 การจัดแบ่งกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศ จากการศึกษาเบื้องต้นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดขอบเขตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และจัดประเภทของกิจกรรม โดยยึดกรอบของ UNTAD และนำมาผสมผสานกับเอกลักษณ์ความเป็นไทย จัดแบ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศได้เป็น 4 กลุ่มหลัก และ 15 กลุ่มย่อย มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ (Heritage or Cultural Biodiversity-based Heritage) ประกอบด้วย งานฝีมือและหัตถกรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/ความหลากหลายทางชีวภาพ การแพทย์แผนไทย และอาหารไทย ศิลปะ (Arts) ประกอบด้วยศิลปะการแสดงและทัศนศิลป์ สื่อสมัยใหม่(Media) ประกอบด้วย ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ การพิมพ์ และสื่อการพิมพ์ การกระจายเสียงและดนตรี งานสร้างสรรค์และงานออกแบบ(Functional Creation) ประกอบด้วย การออกแบบแฟชั่น สถาปัตยกรรม การโฆษณา และซอฟท์แวร์ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ ตามแนวความคิดของโรเจอร์ วอน โอช(Roger von Oech) เพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ (โรเจอร์ วอน โอช อ้างใน พิทยา สิทธิอำนวย.๒๕๓๖) ขั้นตอนที่ควรกระทำในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้ ภาพที่ 1 แสดงความสัมพันธ์การย้อนกลับของกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ที่มา : ตามแนวคิดของเดวิด เพอร์กินส์ (David Perkins) อ้างใน พิทยา สิทธิอำนวย (2536) กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของเดวิด เพอร์กินส์ (David Perkins) เดวิด เพอร์กินส์ (David Perkin) เสนอวิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยยึดหลักว่า งานสร้างสรรค์ทุกชนิดทั้งที่เป็นรูปธรรม เช่น สิ่งประดิษฐ์ และนามธรรม เช่น กฎหมาย หลักการ ทฤษฎี เกิดขึ้นจากการจูงใจออกแบบของผู้ประดิษฐ์คิดค้น หรือ “Creative by Design” ดังนั้นการวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ในแง่การออกแบบจะทำให้เข้าใจสิ่งนั้นอย่างลึกซึ้ง และมองเห็นจุดที่จะนำไปพัฒนาปรับปรุงอย่างสร้างสรรค์ ภาพที่ 2 ขั้นตอนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ ที่มา : ตามแนวคิดของเดวิด เพอร์กินส์ (David Perkins) อ้างใน พิทยา สิทธิอำนวย (2536) 9.2 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นคำที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งเรียกว่าปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ท้องถิ่น ซึ่งมี ผู้ให้คำกัดความของภูมิปัญญาท้องถิ่นในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้ สามารถ จันทร์สูรย์ (2536) กล่าวว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดได้เองที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นสติปัญญา เป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้านทั้งกว้าง ทั้งลึก ที่ชาวบ้านสามารถคิดเอง ทำเองโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินวิถีชีวิตในท้องถิ่นอย่างสมสมัย กรมวิชาการ (2538) ให้ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่นว่า คือความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่านกระบวนศึกษา สังเกต วิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลายเรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาให้เห็นเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาวิชาต่างๆ อาจกล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่ช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา รัตนะ บัวสนธ์ (2535) กล่าวว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง กระบวนทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลก และสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนทัศน์ดั่งกล่าวจะมีรากฐานจากคำสอนทางศาสนา คติจารีต ประเพณี ที่ได้รับการถ่ายทอด สั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมาปรับปรุงเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงแต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสุขของในส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล ฉลาดชาย สมิตานนท์ (อ้างอิงถึงในพิสิฐ นาครำไพ. 2537) ให้ความหมายว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ สติปัญญาอันเกิดจากการเรียนรู้สะสมถ่ายทอดประสบการณ์ที่ยาวนานของผู้คนในท้องถิ่นซึ่งได้ทำหน้าที่ชี้นำว่าการจะใช้ชีวิตอย่ายั่งยืนและถาวรกับธรรมชาติรอบตัวนั้นทำอย่างไรซึ่งในที่สุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจถูกยกระดับให้หมายถึงอุดมการณ์ของการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีชีวิต สัตว์ พืช และมนุษย์ด้วยตัวเองตลอดจนสิ่งไม่มีชีวิตรอบข้าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (ม.ป.ป.) กล่าวถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยว่า เป็นองค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะของคนไทยที่เกิดจากสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรร เรียนรู้ ปรุงแต่ง และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อม และเหมาะสมกับยุคสมัย ประเวศ วะสี (2536) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นสะสมขึ้นมาจากประสบการณ์หรือความชัดเจนจากชีวิตและสังคมในท้องถิ่นหนึ่งๆ เพราะฉะนั้นจึงมีความสอดคล้องกับเรื่องของท้องถิ่นมากกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาจากข้างนอก ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ มีวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน มีความเป็นบูรณการสูงทั้งในเรื่องของกาย ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมและเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง อีกทั้งยังเน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าว่าวัตถุธรรม เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความสำคัญแก่ประสบการณ์ จึงมีความเคารพผู้อาวุโส ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า จากความหมายดังกล่าว อาจสรุปว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงองค์ความรู้ หรือสิ่งที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเป็นประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น ซึ่งได้ผ่านการคิดค้นและปรับปรุง เปลี่ยนแปลง จนได้แนวทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพสังคม เป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป ถือเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ศึกษาภูมิปัญญา ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ใส่ความคิด สร้างสินค้าและจำหน่าย สร้างมูลค่า
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ประชากรตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ 1 การกำหนดแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2 ดำเนินการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์คุณลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่น จากฐาพื้นฐานทางวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งที่มีรูปลักษณ์ และไม่มีรูปลักษณ์ 3 ศึกษาภาคสนาม (Field Study) ในชุมชนที่เป็นพื้นที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ - ด้านพื้นที่ พื้นที่ เส้นทางอุทัยธานี –บ้าน จังหวัดอุทัยธานี - ประชากร ได้แก่ ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น - เครื่องมือ ได้แก่ การบันทึกเสียง แบบสัมภาษณ์ - การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ และสังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในท้องถิ่น เป็นข้อมูลปฐมภูมิ และการศึกษา แนวคิด ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ เป็นข้อมูลทุติยภูมิ 4. พัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอเมือง สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยประชุมกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและให้ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากนั้นคัดเลือกจากกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัด อุทัยธานี จำนวน ๑ กลุ่ม มาพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้วิจัย กลุ่มผู้ผลิต ผู้นำชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ 5.สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์จากแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 6.สรุปผลการวิจัยและรายงานผลการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าจากแนวความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
จำนวนเข้าชมโครงการ :2961 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายจิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด