รหัสโครงการ : | R000000395 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การศึกษาการทนความร้อนและการอยู่รอดของกระบือเผือกไทย ภายใต้ความเสี่ยงของสภาพอากาศ งานวิจัยประยุกต์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา : จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท และ จังหวัดอุทัยธานี |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Study of Heat tolerance in Thai White Buffalos on Survival under the Effects of Climatic Risk Applied Research of Sufficient Economy Philosophy on the Sustainable of Life. Case Studies : Nakhonsawan Province, Chainat Province and Uthaitany P |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | indoor conditions, outdoor conditions, black globe-temperature, normal roof and modified roof, Taro buffalo and Evaluation |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 458400 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 458,400.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2555 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2556 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | เกษตรศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | ทรัพยากรสัตว์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกต้องประสบปัญหาในการเลี้ยงสัตว์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงซึ่งอุณหภูมิสภาพแวดล้อมที่สูงเป็นระยะเวลานานรวมถึงสภาพอากาศแบบร้อนชื้นไม่เพียงแต่ในประเทศไทยที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับความร้อนในการผลิตปศุสัตว์แต่ยังเป็นปัญหาต่อผลผลิตในหลายด้านเป็นปัญหาระดับโลกอันเนื่องมาจากปัญหาภาวะโลกร้อนและแม้แต่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันซึ่งโดยทั่วไปแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดูได้แก่ ฤดูหนาวเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงมิถุนายนและฤดูฝนเริ่มต้นตั้งแต่ที่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม (Anon, 2007)
ปัญหาที่เกี่ยวกับความเครียดในสัตว์เนื่องจากความร้อนยังทำให้การผสมติดของสัตว์ลดลงตามไปด้วย (Hansen,1994;Khongdeeและคณะ,2005)ในสภาวะอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดความชื้นของอากาศสูงส่งผลต่อความสามารถในการระบายความร้อนของตัวสัตว์ออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกถูกจำกัด จนสามารถทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้หากสัตว์ไม่สามารถรักษาสมดุลของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติสัตว์จะประสบปัญหาความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat stress) (Vajrabukka, 1992)
ความเครียดเนื่องจากความร้อนมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิ,อากาศ,
การแผ่รังสี, ความชื้น, และความเร็วลม (Vajrabukka, 1992) ทำให้ค่าทางสรีระวิทยาของสัตว์มีการเปลี่ยนแปลงหากเกิดปัญหาดังกล่าวเป็นเวลานานสามารถทำให้สัตว์ตายได้ (Blackshaw และBlackshaw,1994)
|
จุดเด่นของโครงการ : | กระบือมีข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ หลายประการ ได้แก่ การใช้เป็นแรงงาน กระบือมีรูปร่างลักษณะเหมาะสำหรับการใช้เป็นแรงงานในพื้นที่ที่เป็นโคลนตม เพราะขาทั้งสี่ข้างรับน้ำหนักได้ดี มีกีบใหญ่และแข็งแรง เดินได้ดีในโคลน และ มีข้อกีบและข้อขาที่เคลื่อนไหวคล่องตัว ทำให้เดินได้ดีในพื้นที่นาขรุขระ กระบือเป็นแรงงานหลัก ที่สำคัญของชาวไร่ชาวนา กระบือสามารถใช้เป็นแรงงานในการลากเกวียนได้ดีกว่าโค โดยทั่วไปกระบือไถนาได้วันละ 4 – 6 ชั่วโมง หรือประมาณครึ่งไร่ถึงหนึ่งไร่ (1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร) การใช้กระบือไถนาจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้รถไถนาขนาดเล็กมาก การใช้มูลเป็นปุ๋ย ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์มีความสำคัญมากในการฟื้นฟูความอุดมสมบรูณ์ของดิน เนื่องจากที่นาที่ใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานหลายปีจะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ แข็งเป็นดินดาน แต่ถ้าใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์จะเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน (ตารางที่ 1.2) ทำให้โครงสร้างของดินร่วนซุย เพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช ให้ธาตุอาหารพืชในลักษณะต่อเนื่อง และยังช่วยฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตในดิน เช่น จุลินทรีย์ ไส้เดือน แมลงต่าง ๆ ปุ๋ยจากมูลกระบือจึงมีประโยชน์แก่ไร่นา กระบือหนึ่งตัวจะให้มูลเป็นปุยได้ถึงปีละ 5.5 ตัน (วันละ 15 กิโลกรัมเปียก) ทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าปุ๋ยลง ปัจจุบันมูลกระบือสามารถขายได้ราคา หากเลี้ยงกระบือหลายตัวก็อาจมีรายได้จากการขายมูลกระบือได้อีกด้วย
งานวิจัยนี้สามารถแก้ปัญหาสภาพการเลี้ยงสัตว์ในเขตอากาศร้อนชื้นที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตและระบบสืบพันธุ์ตกต่ำของกระบือ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในเขต 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท และ จังหวัดอุทัยธานี โดยการลดอุณภูมิสูงเนื่องจากการแผ่รังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ สามารถลดความเครียดเนื่องจากความร้อน เพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์ ลดการใช้ พลังงานด้วยวิธีการดัดแปลงโรงเรือน และศึกษารูปแบบของการทนความร้อนของร่างกาย กระบือ เผือก เพื่อให้สามารถจัดการระยะต่างๆ ของการให้ผลผลิตได้อย่างเหมาะสม ด้วยเครื่องตรวจจับอุณภูมิ ที่สามารถอ่านค่าได้ทันที เป้าหมายในการลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเครียดเนื่องจากความร้อน ลดการใช้พลังงานรวมถึง ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนแบบที่มีราคาแพง และสามารถแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหาในเรื่องการจัดการด้านอาหารจากรูปแบบการทนความร้อนของกระบือเผือกระยะต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์ ในเรื่องของปริมาณผลผลิตและเสริมสร้างระยะสืบพันธุ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กับสภาพการเลี้ยงในภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย และศึกษาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการกระบือเผือกภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เมื่อกระบือประสบกับความเสี่ยงของผลกระทบจากอุณหภูมิสูงและสภาพอากาศร้อนชื้นในประเทศไทยโดยการดัดแปลงโรงเรือนด้วยวิธีการ ดัดแปลงหลังคาสองชั้นเพื่อลดอุณหภูมิสภาพอากาศร้อนที่มีผลต่อร่างกายของสัตว์และเพิ่มความสามารถในการระบายความร้อนเพิ่มสมรรถภาพการผลิตและศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิยาของร่างกายกระบือเผือก ภายใต้การเลี้ยงในสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทางวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงและการทนต่อความร้อนของสีผิวที่แตกต่างของกระบือ ในการให้ผลผลิตและความแตกต่างทางสรีรวิทยาของร่างกายสัตว์ในสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยต่อไป
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. ศึกษาการทนความร้อนของ กระบือเผือกไทย ที่มีความแตกต่างของสีผิวของสัตว์ในการทนความร้อนเมื่อเลี้ยงดูภายใต้อุณหภูมิสูงในเขตร้อนชื้นของประเทศไทยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในเขต 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท และ จังหวัดอุทัยธานี
2. ศึกษาการลดผลกระทบของความเครียดเนื่องจากความร้อน โดยการดัดแปลงโรงเรือนด้วยวิธีการ ดัดแปลงหลังคาสองชั้นเพื่อลดอุณหภูมิสภาพอากาศร้อนที่มีผลต่อร่างกายของกระบือเผือกของไทยในระยะยาวด้วยวิธีการดัดแปลงโรงเรือนประหยัดพลังงาน
3. การถ่ายทอดเทคโนโลยี การอยู่รอดของกระบือไทย ภายใต้ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
4. สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาตรี เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานวิจัยในทางวิทยาศาสตร์ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
|
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ขอบเขตในเชิงปริมาณ กระบือเผือก และกระบือปกติ ในเขต 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์
2. ขอบเขตในเชิงคุณภาพ ได้กระบือเผือก และกระบือปกติ ในเขต 3 จังหวัด ได้แก่
จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ที่มีความสามารถในการให้ผลผลิต และมีระบบสืบพันธุ์ที่สมบูรณ์
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1.การถ่ายทอดเทคโนโลยี การอยู่รอดของกระบือไทย ภายใต้ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | กระบือเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรรายย่อยในชนบทอยู่ตลอดมาโดยนับว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบการผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะการเลี้ยงไว้ใช้เป็นแรงงานในไร่นา กระบือถูกใช้เป็นแหล่งแรงงานทางการเกษตรมาเป็นเวลานาน โดยส่วนใหญ่จะใช้กระบือในการไถ คราด พรวนที่นา นวดข้าว ลากเกวียน และบรรทุกสิ่งของ กระบือมีอายุการใช้งาน 13 – 14 ปี และไถนาได้เฉลี่ยวันละ 0.6 ไร่ต่อตัว (บุญเสริม และบุญล้อม, 2542) นอกจากนี้ยังใช้มูลทำเป็นปุ๋ยและเมื่อมีความจำเป็นก็สามารถขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย ขณะที่ผลพลอยได้ในไร่นาซึ่งมีราคาถูกยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงกระบือเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเนื้อสัตว์ที่มีราคาสูง การปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทำให้กระบือมีความแตกต่างจากโค และเอื้อประโยชน์ในการนำสารอาหารไปเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการเลี้ยงกระบือของเกษตรกรถูกละเลยจากภาครัฐ และเกษตรกรเองก็หันไปเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่างประเทศ ดังนั้น การเลี้ยงกระบือของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงยังเป็นแบบพื้นบ้านไม่มีระบบการผลิตในเชิงธุรกิจทั้งนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรเองด้วย (Anon, 2010a)
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงกระบือ เช่น การผสมเทียม (Chaikhong et al., 2010) การถ่ายฝากตัวอ่อน (Techakumphu et al., 2001) และการโคลนนิ่ง (cloning; Suteevun et al., 2006) เป็นต้น การโคลนนิ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสัตว์ที่เหมือนกันทุกประการทางด้านพันธุกรรมเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มต้นจากการเลี้ยงและเพิ่มจำนวนเซลล์ที่มีความเหมือนกัน ในขั้นตอนนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของเซลล์ให้เป็นไปตามความต้องการแล้วจึงนำแต่ละเซลล์ไปทำให้เกิดเป็นสัตว์ โดยหนึ่งเซลล์จะกลายเป็นสัตว์หนึ่งตัว สัตว์แต่ละตัวที่เกิดขึ้นจะเหมือนกันทุกประการเนื่องจากแต่ละเซลล์เริ่มต้นมีลักษณะเหมือนกัน (Surin Research Station, 2012)
การผลิตกระบือมีการพัฒนาไปอย่างมากทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้ยังการใช้เทคโนโลยีด้านอื่น ๆ มาช่วยในเพิ่มผลผลิต ดังนี้
1. การใช้ฮอร์โมนช่วยการขุนกระบือ (Techakumphu et al., 2000) เพื่อให้กระบือพื้นเมืองเพศเมียมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้น ๆ
2. การฉีดวัคซีนเร่งความสมบูรณ์พันธุ์ การเร่งอัตราการเจริญเติบโตของกระบือเพื่อให้กระบือเพศเมียตกลูกตั้งแต่อายุน้อยและได้ลูกมาก การเร่งอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มผลผลิตเนื้อ ในกระบือเพศผู้ เป็นต้น (Surin Research Station, 2012)
กระบือเป็นสัตว์ที่เชื่องช้า นิสัยดี ไม่ดุร้าย เป็นมิตรกับเจ้าของ ไม่ตื่นง่าย เด็กหรือผู้หญิงก็สามารถดูแลได้ กระบือจะเริ่มฝึกให้ทำงานเมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่งถึง 4 ปี หรือมากกว่านี้เล็กน้อย และจะใช้งานได้เต็มที่เมื่ออายุ 5 – 6 ปี กระบือเพศเมียเมื่อท้องจะถูกพักการใช้งานจนกว่าจะคลอด ลูกกระบือที่คลอดออกมาจะอยู่กับแม่ตลอดเวลาและจะดูดนมแม่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีน้ำนมหรือจนกว่าแม่กระบือจะมีลูกตัวใหม่ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องแรงงานในการเลี้ยงดูซึ่งโดยทั่วไปมักจะไม่ใช้เด็กซึ่งยังไม่แข็งแรงเพียงพอให้ดูแลกระบือที่โตเต็มที่และยังไม่ตอนเพราะกระบือที่ยังไม่ตอนมักจะดื้อ เกษตรกรจึงนิยมตอนกระบือเพศผู้เมื่ออายุ 4 – 5 ปี บางครั้งก็ตอนเมื่อยังไม่โตเต็มที่และส่วนคอของกระบือยังไม่ขยายใหญ่แต่จะทำให้ส่วนคอซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความแข็งแรงในการทำงานเพราะจะต้องใช้วางแอกหรืออุปกรณ์สำหรับทำงานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรทำให้กระบือไม่มีพลังเท่าที่ควรจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือ ควรตอนเมื่อกระบือโตเต็มที่ ซึ่งจะสังเกตได้จากส่วนคอที่จะมีการขยายเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การตอนกระบือเพศผู้ที่มีลักษณะดีจะทำให้ขาดพ่อพันธุ์ที่โตและแข็งแรง กระบือรุ่นที่มีขนาดเล็กก็จะทำหน้าที่เป็นพ่อพันธุ์แทนทำให้กระบือไทยมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ เมื่อประมาณ 20 – 30 ปีที่ผ่านมา กระบือโตเต็มที่ซึ่งมีน้ำหนัก 500 – 600 กิโลกรัม หาได้ไม่ยาก พ่อกระบือบางตัวอาจจะมีน้ำหนักถึง 700 กิโลกรัม แต่ในปัจจุบันนี้กระบือโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 300 – 350 กิโลกรัมเท่านั้น เมื่อประมาณ 15 – 20 ปีที่แล้ว มีการตื่นตัวกันมากในการวิจัยเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับกระบือ ทั้งการปรับปรุงพันธุ์และเรื่องสุขภาพ แต่ในปัจจุบันค่อย ๆ เลือนหายไป และมีคนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่ยังสนใจทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องกระบือ
งานวิจัยนี้สามารถแก้ปัญหาสภาพการเลี้ยงสัตว์ในเขตอากาศร้อนชื้นที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตและระบบสืบพันธุ์ตกต่ำของกระบือ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในเขต 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท และ จังหวัดอุทัยธานี โดยการลดอุณภูมิสูงเนื่องจากการแผ่รังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ สามารถลดความเครียดเนื่องจากความร้อน เพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์ ลดการใช้ พลังงานด้วยวิธีการดัดแปลงโรงเรือน และศึกษารูปแบบของการทนความร้อนของร่างกาย กระบือ เผือก เพื่อให้สามารถจัดการระยะต่างๆ ของการให้ผลผลิตได้อย่างเหมาะสม ด้วยเครื่องตรวจจับอุณภูมิ ที่สามารถอ่านค่าได้ทันที เป้าหมายในการลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเครียดเนื่องจากความร้อน ลดการใช้พลังงานรวมถึง ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนแบบที่มีราคาแพง และสามารถแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหาในเรื่องการจัดการด้านอาหารจากรูปแบบการทนความร้อนของกระบือเผือกระยะต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์ ในเรื่องของปริมาณผลผลิตและเสริมสร้างระยะสืบพันธุ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กับสภาพการเลี้ยงในภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย และศึกษาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการกระบือเผือกภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เมื่อกระบือประสบกับความเสี่ยงของผลกระทบจากอุณหภูมิสูงและสภาพอากาศร้อนชื้นในประเทศไทยโดยการดัดแปลงโรงเรือนด้วยวิธีการ ดัดแปลงหลังคาสองชั้นเพื่อลดอุณหภูมิสภาพอากาศร้อนที่มีผลต่อร่างกายของสัตว์และเพิ่มความสามารถในการระบายความร้อนเพิ่มสมรรถภาพการผลิตและศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิยาของร่างกายกระบือเผือก ภายใต้การเลี้ยงในสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทางวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงและการทนต่อความร้อนของสีผิวที่แตกต่างของกระบือ ในการให้ผลผลิตและความแตกต่างทางสรีรวิทยาของร่างกายสัตว์ในสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยต่อไป |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | การทนความร้อนของ กระบือเผือกไทย ที่มีความแตกต่างของสีผิวของสัตว์ในการทนความร้อนเมื่อเลี้ยงดูภายใต้อุณหภูมิสูงในเขตร้อนชื้นของประเทศไทยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
?
เพื่อการจัดการกระบือไทยภายใต้ความเสี่ยงสภาพอากาศร้อนชื้น
การเพิ่มขนาด น้ำหนักและปริมาณกระบือให้ได้มาตรฐาน
ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท และ จังหวัดอุทัยธานี
?
การถ่ายทอดเทคโนโลยี การอยู่รอดของกระบือไทย ภายใต้ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
|
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. ลงพื้นที่สำรวจกระบือเผือกในเขต จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์
2. จัดการทดลองในพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลงานวิจัย
3. วิเคราะห์ผลการทดลองในห้องปฎิบัติการ
4. เผยแพร่งานวิจัยในเขตพื้นที่ จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์
5. การกำหนดพื้นที่
เขตพื้นที่ จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์
6. ประชากรตัวอย่าง
เขตพื้นที่ จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์
7. การสุ่มตัวอย่าง
8. การเผยแพร่ผลงานวิจัย
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 450 ครั้ง |