รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000388
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยใช้องค์ความรู้ใหม่ในการจัดการศัตรูข้าวเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าวในนาชลประทาน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The effective improvement of rice production by using new knowledge on pest management to reduce cost and increase yield in irrigated land
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :องค์ความรู้ใหม่, การจัดการศัตรูข้าว, จุลินทรีย์ปฏิปักษ์, สารสกัดพืช, การลดต้นทุน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :415800
งบประมาณทั้งโครงการ :415,800.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ธันวาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :01 ธันวาคม 2560
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ข้าว (rice) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ในแต่ละปีประเทศไทยผลิตและส่งออกข้าวเป็นมูลค่ามาก ในปีพ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา มีการส่งออกข้าวสูงถึง 10.97 ล้านตัน และมีมูลค่าการส่งออกรวม 174,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2556 เนื่องจากราคาส่งออกข้าวของไทยใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย และเวียดนาม ส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวบางส่วนปรับเปลี่ยนกลับมานำเข้าข้าวจากไทยทำให้การส่งออกข้าวไทยกลับมาเป็นอันดับที่ 1 เช่นเดิม สำหรับการค้าข้าวในปีพ.ศ. 2558 นี้ คาดว่าประเทศไทยจะส่งออกข้าวใกล้เคียงกับปีพ.ศ. 2557 เนื่องจากการเร่งบริหารจัดการระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาล และราคาข้าวที่ประกาศโดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ณ วันที่ 28 มกราคม 2558 ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ ราคาอยู่ที่ 422 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยในขณะนี้ราคาข้าวของไทยได้กลับขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงกว่าคู่แข่งทุกประเทศ (สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, 2558) แม้ว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นแต่ต้นทุนการผลิตข้าวไทยก็เพิ่มสูงขึ้น อาทิเช่นปุ๋ยเคมีราคาเพิ่มขึ้นจากถุง (50 กก.) ละ 584 เป็น 690-1,045 บาทใน ปี 2557 รวมทั้งค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและค่าแรงที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้การผลิตข้าวนาปรังของประเทศไทยในปีพ.ศ. 2557 มีสภาวะแห้งแล้งทำให้ปลูกข้าวได้เพียงฤดูเดียว (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2557) สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากปัญหาสภาวะโลกร้อน (global warming) ที่จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการผสมเกสรของพืชโดยตรง และสภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชที่รุนแรงขึ้นและบ่อยครั้งมากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้โรคและแมลงหลายชนิดมีวงจรชีวิตสั้นลง สามารถเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชทั่วไปและประสิทธิภาพยาฆ่าหญ้าลดลง (คมชัดลึก, 2558) นอกจากนี้ความแปรปรวนของสภาพอากาศทำให้เกิดลมพัดแรงส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของวัชพืช เชื้อโรค และแมลงศัตรูได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งการให้ปุ๋ยเคมีอย่างไม่ถูกต้องส่งผลกระทบต่อการเพิ่มจำนวนของโรคและแมลงศัตรูอย่างรวดเร็ว โดยพบว่าการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสัมพันธ์กับการใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง (สุจินต์, 2554) ทำให้เกษตรกรหลายกลุ่มต้องหาวิธีการลดต้นทุนการผลิตและปรับตัวในการผลิตข้าวภายใต้สภาวะอากาศที่แปรปรวน และจากการพูดคุยกับเกษตรกรในหลายพื้นที่ อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และอ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ พบว่าองค์ความรู้ของเกษตรกรที่สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ ได้แก่ การหมักย่อยสลายตอซังฟางข้าวด้วยจุลินทรีย์ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ การใช้น้ำหมักชีวภาพจำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ คุณสนุ่น สมีเพชร เกษตรกรจากอ.เกล้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ ลดต้นต้นทุนด้วยการใช้ตอซังและฟางข้าวปรับปรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารในแปลงนา โดยการไถกลบตอซังและฟางข้าวทันทีหลังการเก็บเกี่ยว และใช้วิธีการจัดการน้ำเพื่อป้องกันศัตรูพืช (สยามคูโบต้า, 2555) การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวแนวคิดที่ถอดบทเรียนของการทำนาในช่วงวิกฤติของการขาดน้ำ ซึ่งวิธีการปลูกข้าวแบบนี้นอกจากจะเป็นการใช้น้ำอย่างประหยัดแล้วยังช่วยให้การกำจัดโรคและแมลงศัตรูข้าวได้ผลเป็นอย่างดี ดังเช่นความสำเร็จของกลุ่มผู้ผลิตข้าวบ้านท่าไม้ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ กลุ่มสามัคคีเมล็ดพันธุ์ ต.ยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และศูนย์ข้าวชุมชน ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เป็นต้น (สุภชัย, 2555) องค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านข้าว เหล่นนี้ควรนำไปทดลองปฏิบัติในแปลงนาของเกษตรกรรายย่อยเพื่อให้เกิดการแพร่กระจายเป็นเครือข่ายสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีเกษตรกรเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเพื่อการปรับตัวต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (FAC CAADP Policy Brief, 2011) ในกระแสโลกาวิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาคัดเลือกแนวทางปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรและนักวิชาการในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าว 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตของวิธีการจัดการศัตรูข้าวแบบบูรณาการที่เกษตรกรยอมรับเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าว 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนกำไรในการจัดการศัตรูข้าวแบบบูรณาการและการใช้สารเคมีสังเคราะห์ 4. เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการศัตรูข้าวแบบบูรณาการภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง 5. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนใกล้เคียงและเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาตั้งแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตข้าวที่ได้รับการยอมรับตามวิถีปฏิบัติของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ และการศึกษาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อนนำข้อมูลที่ได้รับมาวางแผนการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตข้าวจากการจัดการศัตรูข้าวแบบบูรณาการตามวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม และการจัดการศัตรูข้าวโดยใช้สารเคมีสังเคราะห์เพียงอย่างเดียว ทำการทดลองในแปลงนาเกษตรกรรายย่อยในเขตภาคเหนือตอนล่าง เก็บข้อมูลโดยละเดียดทั้งด้านการงอกของเมล็ดข้าว ด้านการเจริญเติบโต ด้านการทำลายจากโรคและแมลงศัตรู ด้านปริมาณและคุณภาพของผลผลิต จากนั้นทำการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนกำไร และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนใกล้เคียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :11.1 ด้านวิชาการ - ได้แนวทางปฏิบัติในการจัดการศัตรูข้าวจากองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรและนักวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว - ได้ต้นแบบการจัดการศัตรูข้าวแบบบูรณาการที่เกษตรกรยอมรับว่าสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าว 11.2 ด้านนโยบาย - ลดการนำเข้าปุ๋ยวิทยาศาสตร์และสารเคมีกำจัดศัตรูข้าวเพื่อลดการขาดดุลทางการค้า - ลดมลภาวะทางอากาศและสภาวะโลกร้อนจากการเผ่าทำลายเศษพืชและการใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดศัตรูข้าว 11.3 ด้านเศรษฐกิจ - พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันโดยการพึ่งพาปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด - ลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรจากการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และสารเคมีกำจัดศัตรูข้าว - ลดค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูคุณภาพของดินและน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตร - ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น การเป็นอัมพฤต อัมพาต และมะเร็ง เป็นต้น 11.4 ด้านสังคมและชุมชน - ลดปัญหาด้านสุขภาพทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค - เกษตรกรรายย่อยสามารถพึงพาตนเองได้ในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโดยการจัดการศัตรูข้าวแบบบูรณาการภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง - เกิดความเข้มแข้งและความยั่งยืนในการประกอบอาชีพของชุมชนท้องถิ่น 11.5 ด้านการเผยแพร่ - ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการศัตรูข้าวแบบบูรณาการสู่ชุมชน - ตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :9.1 ข้าว ข้าว (rice) เป็นธัญพืชอาหารหลักของชาวโลก จัดเป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับหญ้าซึ่งนับได้ว่าเป็นหญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและมีความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถปลูกขึ้นได้ง่ายมีความทนทานต่อทุกสภาพภูมิประเทศในโลกไม่ว่าจะเป็นถิ่นแห้งแล้งแบบทะเลทราย พื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง หรือแม้กระทั่งบนเทือกเขาที่หนาวเย็น พันธุ์ข้าวที่รู้จักและนำมาปลูกสามารถแบ่งออกได้ เป็น 2 ชนิดคือ Oryza sativa L. ที่นิยมปลูกในทวีปเอเชีย และ O. glaberrina ที่นิยมเพาะปลูก ในทวีปแอฟริกา แต่ข้าวที่ปลูกและซื้อขายกันในตลาดโลกเกือบทั้งหมดจะเป็นข้าวจากทวีปเอเชีย แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะและพื้นที่ปลูกได้ดังนี้ 1) ข้าวอินดิกา (Indica) หรือข้าวเจ้า เป็นข้าวที่มีลักษณะเม็ดเรียวยาวรี ลำต้นสูง ตั้งชื่อมาจากแหล่งที่ค้นพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย เป็นข้าวที่นิยมเพาะปลูกในทวีปเอเชียเขตมรสุม ตั้งแต่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย ไปจนถึงอินเดียและศรีลังกา 2) ข้าวจาปอนิกา (Japonica) เป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อม กลมรี มีแหล่งกำเนิดจากทางภาคเหนือ แล้วผ่าน มาทางลุ่มแม่น้ำโขง ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 หลังจากนั้นลดจำนวนลงไปแพร่หลายในเขตอบอุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ยุโรป และอเมริกา 3) ข้าวจาวานิกา (Javanica) เป็นข้าวลักษณะเมล็ดป้อมใหญ่สันนิษฐานว่า เป็นข้าวพันธุ์ผสมระหว่างข้าวอินดิกาและจาปอนิกา นิยมเพาะปลูกใน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน หมู่เกาะริวกิว และญี่ปุ่น แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนักเพราะให้ผลผลิตต่ำ ประเภทของข้าวแบ่งตามระยะความยาวของกลางวันออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงและข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง 9.1.1 ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ข้าวพวกนี้ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้น ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงในประเทศไทยมักจะเริ่มสร้างช่อดอกและออกดอกในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 40 นาที หรือสั้นกว่านี้ โดยพันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกเป็นข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ ซึ่งการปลูกข้าวพวกที่ไวต่อช่วงแสงจะต้อง ปลูกในฤดูนาปี ที่เรียกว่า ข้าวนาน้ำฝน และจะออกดอกในเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคมที่มีความยาวของกลางวันสั้นเท่านั้น ไม่ว่าจะปลูกในเดือนอะไรก็ตาม ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงจึงมีประโยชน์สำหรับชาวนาในบางท้องที่ เช่นในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ บางปีฝนก็มาเร็วและบางปีฝนก็มาช้า การปลูกข้าวด้วยพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงและเป็นข้าวเบาหรือข้าวกลาง ถึงแม้จะปลูกช้ากว่าปกติ มันก็จะออกดอกให้เก็บเกี่ยวได้ แต่ผลิตผลอาจลดต่ำลงบ้าง และพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อการค้าคือข้าวหอมมะลิ 105 9.1.2 ข้าวที่ไม่ไวต่อแสง การออกดอกของข้าวพวกนี้ไม่ขึ้นอยู่กับความยาวของกลางวัน เมื่อต้นข้าวได้มีระยะเวลาการเจริญเติบโตครบตามกำหนด ต้นข้าวก็จะออกดอกทันทีไม่ว่าเดือนนั้นจะมีกลางวันสั้นหรือยาว ฉะนั้น พันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงใช้ปลูกได้ผลดีทั้งในฤดูนาปรังและนาปี แต่ อย่างไรก็ตามพวกไม่ไวต่อช่วงแสงมักจะให้ผลิตผลสูงเมื่อปลูกในฤดูนาปรัง (ประพาส, 2553) ซึ่งข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงที่นิยมปลูก ได้แก่ ข้าวหอมปทุมธานี 1, กข.31, กข.47 และ กข.49 การเลือกพันธุ์ข้าวควรพิจารณาในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านราคาผลผลิต ด้านปริมาณผลผลิตต่อไร่ ความต้านทานโรคและแมลงศัตรู ความทนทานต่อสภาพดินที่เป็นกรดด่างหรือดินเค็ม ความทนทานต่อสภาพน้ำท่วม ความทนทานต่อสภาพอากาศ และความนิยมของผู้บริโภค อาทิเช่น 1) ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่มีราคาสูงสุด ทนแล้งได้ดีพอสมควร ทนต่อสภาพดินเปรี้ยวและดินเค็ม มีคุณภาพขัดสีได้เมล็ดข้าวสารใสและแกร่งเรียวยาว คุณภาพการหุงต้มดีมีกลิ่นหอมและอ่อนนุ่ม แต่ปริมาณผลผลิตต่อไร่ไม่สูง ประมาณ 365 – 515 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกได้เพียงในฤดูนาปีเพราะเป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น และหนอนกอ 2) ข้าวปทุมธานี 1 เป็นข้าวหอมสามารถปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง มีปริมาณผลผลิตประมาณ 650 – 774 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง แต่ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว โรคใบหงิกและใบสีส้ม คุณภาพข้าวสุกนุ่มค่อนข้างเหนียวมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีราคาสูงกว่าข้าวขาวทั่วไปแต่ต่ำกว่าข้าวหอมมะลิ 105 3) ข้าว กข.31 เป็นข้าวเจ้าขาวไม่ไวต่อช่วงแสง ปริมาณผลผลิตประมาณ 738 – 745 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง และโรคเมล็ดด่าง เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่อ่อนแอต่อโรคใบหงิก โรคไหม้ และโรคใบสีส้ม 4) ข้าว กข.49 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงมีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงถึง 939 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชนิดใหม่ ต้านทานต่อโรคไหม้ในเขตภาคกลาง แต่ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และอ่อนแอต่อโรคไหม้ในเขตจังหวัดพิษณุโลก คุณภาพการสีดีมากสามารถผลิตเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้ 5) ข้าวหอมชลสิทธิ์ เป็นข้าวหอมที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ทนน้ำท่วมแบบฉับพลัน ผลผลิตประมาณ 820-1000 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพหุงต้มหอมนุ่มเหนียวคล้ายข้าวหอมมะลิ 105 (ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์, 2557) 9.2 การปลูกข้าว การปลูกข้าวหรือการทำนาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้ 9.2.1 การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า “ข้าวไร่” พื้นที่ดอนส่วนมากเช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้น ชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก แล้วใช้หลักไม้ปลาย แหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที่หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว แล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน ดังนั้นการ ปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝนและแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่น กำจัด วัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้ 9.2.2 การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำ (Indirect seeding) ซึ่งต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ มีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ 1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจาก แปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร การทำนาในระบบการผลิต “เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” เป็นนวัตกรรมทางเลือกยามน้ำมีน้อย มีวิธีการดังต่อไปนี้ 1) การเตรียมดิน ควรไถ หรือตีดินให้ลึก 20-25 ซ.ม. (เพราะต้องฝังท่อแกล้งข้าวลงไปในดิน 20 ซ.ม.) พื้นนาต้องเรียบสม่ำเสมอทั้งแปลง 2) ใช้วิธีปลูกข้าวแบบปักดำด้วยเครื่องระยะห่างระหว่างแถว 30 ซ.ม. (กล้าอายุไม่เกิน 25 วัน) 3) วิธีแกล้งข้าว ใช้ท่อ PVC หน้า 4 นิ้ว ความยาว 4 เมตร แบ่งความยาวท่อนละ 25 ซม. ได้ทั้งหมด 16 ท่อน (1ไร่ ใช้ประมาณ 5 – 8 ท่อน) นำไปเจาะรู จำนวน 40 รู ต่อท่อน โดยแถวบนสุดห่างจากขอบบน 5 เซนติเมตร และแถวถัดไปห่างแถวละ 5 เซนติเมตร หลังปักดำแล้วนำท่อไปปักในนาตามแนวตั้ง กระจายให้ทั่วแปลงนา โดยให้ขอบบนสูงจากดิน 5 เซนติเมตรแล้วใช้มือควักขี้เลนออกจากท่อให้หมดไว้เพื่อวัดระดับน้ำในเเปลงนาว่าระดับน้ำใต้ผิวดินเเห้งลงไปเท่าไร ซึ่งในระยะแรกต้องรักษาระดับน้ำ สูง 3 – 10 เซนติเมตร เพื่อควบคุมวัชพืช ปล่อยให้ระดับน้ำในนาแห้ง 2 ครั้ง ช่วงข้าวอายุ 40-50 วัน และ 50-60 วัน จนดินแตกระแหง สังเกตระดับน้ำในท่อจนถึงระดับลึก 15 เซนติเมตร (ระยะจุดเฉาข้าวหรือจุดเป็นตายเท่ากัน) จึงเปิดน้ำเข้านาใหม่ ในระหว่างที่น้ำแห้งสามารถลงไปจัดการในแปลงนาได้สะดวก(โดยที่เท้าไม่เปื้อน) เช่น กำจัดวัชพืช ตัดพันธุ์ปน และหว่านปุ๋ย(ให้ปุ๋ยลงไปตามซอกระแหง ถึงราก โดยตรง) ก่อนเปิดน้ำเข้านา (สุภชัย, 2555) 9.2.3 การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงไปในพื้นที่นาที่ได้ไถเตรียมดินไว้ การเตรียมดินก็มีการไถดะและไถแปรปกติชาวนาจะเริ่มไถนา เพื่อปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีคันนากั้นแบ่งออกเป็นผืนเล็กๆ จึงสะดวกแก่การไถด้วยรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ยังมีชาวนาอีกจำนวนมากที่ใช้แรงวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ การหว่านหลังขี้ไถ และการหว่านน้ำตม 1) การหว่านสำรวย การหว่านวิธีนี้ชาวนาจะต้องเริ่มไถนาเตรียมดินตั้งแต่เดือนเมษายนซึ่งมีการไถดะและไถแปรแล้วเอาเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เพาะให้งอกหว่านลงไปโดยตรง ปกติใช้เมล็ดพันธุ์ 1-2 ถัง/ไร่ เมล็ด พันธุ์ที่หว่านลงไปบางส่วนจะตกลงไปอยู่ตามซอก ระหว่างก้อนดินและรอยไถ เมื่อฝนตกลงมา ทำให้ดินเปียกและเมล็ดที่ได้รับความชื้น ก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้นกล้า การหว่านวิธีนี้ใช้เฉพาะในท้องที่ที่ฝนตกตามฤดูกาล 2) การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ ในก
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวแบบบูรณาการเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าวในครั้งนี้ใช้วิธีการใหม่ ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนและนักวิชาการ ซึ่งบางวิธีการได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพทั้งในห้องปฏิบัติการและแปลงปลูกจากโครงการเรื่อง “บูรณาการการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตโดยใช้จุลินทรีย์และสารสกัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง” (ปัณณวิชญ์และคณะ, 2556) และในการวิจัยครั้งนี้จะทำการศึกษาสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวและการแพร่ระบาดของศัตรูข้าวเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและจัดการ ศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงนำไปสู่ความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวแบบบูรณาการในครั้งนี้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :13.1 การปลูกข้าวและการจัดการศัตรูพืชของเกษตรกรในพื้น เก็บรวบรวมวิธีการปลูกและการจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ จ. นครสวรรค์ และ จ. สิงห์บุรี โดยลงพื้นที่เพื่อทำการสอบถามข้อมูล (แบบสอบถาม) องค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีอยู่ ดั้งเดิมและรับเข้ามาใหม่ รวมทั้งต้นทุนกำไร ปัญหาและอุปสรรค์ ตลอดจนข้อมูลในครัวเรือนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าว ก่อนน้ำข้อมูลดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์ผลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการวางแผนการทดลองการผลิตข้าวแบบบูรณาการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 13.2 สภาพดิน สภาพอากาศ และปริมาณศัตรูพืชในพื้นที่ 13.2.1 สภาพดิน : เก็บตัวอย่างดินไปทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร เช่น ไนโตเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซี่ยม (Ca) กำมะถัน (S) อินทรียวัตถุ (OM) และความเป็นกรดเป็นด่างของดินก่อนทำการทดลองเพื่อใช้ในการวางแผนการให้ปุ๋ยแก่ข้าวได้อย่างถูกต้อง และหลังจากทำการทดลองเสร็จสิ้นทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารอีกครั้งเพื่อใช้เป็นข้อเปรียบเทียบในการใช้กรรมวิธีแบบบูรณาการต่าง ๆ ที่ส่งผลถึงคุณภาพของดินปลูกภายหลังการทำการทดลอง 13.2.2 สภาพอากาศ : ศึกษาข้อมูลสภาพอากาศในพื้นที่ในปีที่ผ่านมาจากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาและสอบถามจากชุมชนในพื้นที่นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านปริมาณและคุณภาพของผลผลิตข้าว และการแพร่ระบาดของศัตรูข้าว เพื่อใช้ในการวางแผนการปลูกข้าวได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ทำการเก็บข้อมูลสภาพอากาศในระหว่างทำการทดลองโดยใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้นในพื้นที่ปลูกทุกๆ สัปดาห์ 13.2.3 ปริมาณศัตรูพืช : ทำการสุ่มตรวจนับประชากรของศัตรูข้าวทุก 14 วัน ดังนี้ 1) สุ่มสำรวจตรวจนับประชากรของแมลงศัตรูข้าวได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้กล้า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงบั่ว หนอนกอ หนอนม้วนใบ แมลงสิง และหนอนกระทู้คอรวง และศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แตนเบียน แมลงปอ มวนเขียวดูดไข่ ด้วงกันกระดก แมลงมุม ฯลฯ โดยสุ่ม หลังหว่านข้าวแล้ว 25 วัน จนถึงระยะข้าวออกรวง มีวิธีการ 2 วิธี คือโดยปักไม้แต่ละจุด แต่ละจุดห่างกันประมาณ 10 ก้าว ในแนวทแยงมุมของแปลง บันทึกจำนวนแมลงต่อกอข้าว และสุ่มนับโดยใช้สวิงโฉบตามแนวเส้นทางเดินแบบทแยงมุมของแปลงนา แปลงละ 20 จุดๆ 1 โฉบ หมายถึง ใช้สวิงโฉบไปและกลับ แต่ละจุดห่างกัน 10 ก้าว แต่ละแปลงใช้ จำนวน 2 ซ้ำ 2) สุ่มสำรวจโรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่ โรคไหม้ โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคดอกกระถิน โรคกาบใบแห้ง โรคขอบใบแห้ง โรคเน่าคอรวง โรคเมล็ดด่าง สุ่มสำรวจในแปลงนาทุก 7 วัน จนถึงระยะข้าวออกรวง โดยสุ่มตามแนวเส้นทางเดิน 2 ด้าน และกลางแปลงนา แต่ละด้าน 20 จุด โดยปักไม้แต่ละจุด (1 จุด ขนาดพื้นที่ 25 x 25 ซม.) แต่ละจุดห่างกันประมาณ 10 ก้าว บันทึกการทำลายของโรคข้าว โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์พื้นที่ต้นที่ถูกทำลาย (% incidence) และหาเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคต่อพื้นที่ปลูกที่ถูกทำลาย (% severity) 3) สุ่มสำรวจสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญ ได้แก่ หอยเชอรี่ และหนูนา ทำการป้องกันหอยเชอรี่โดยใช้เฝือกหรือตาข่ายถี่กั้นทางน้ำเข้าออกแปลงนา เก็บตัวหอยและกลุ่มไข่นาไปทำลายทุกสัปดาห์ หลังปล่อยน้ำเข้าแปลงนา หากพบปริมาณมากใช้กากชาหว่านหรือสารเคมีสังเคราะห์กำจัดตามคำแนะนำ สำหรับหนูทำการกำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก และพื้นที่ใกล้เคียง ใช้กับดัก และขุดรูหนู เพื่อทำลาย หากมีจำนวนประชากรหนูหนาแน่น ใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดตามคำแนะนำ หรือใช้กับดักร่วมกับเหยื่อพิษ บันทึกเปอร์เซ็นต์การทำลายของสัตว์ศัตรูข้าว 4) สุ่มสำรวจชนิดและความหนาแน่นของวัชพืชที่สำคัญ ได้แก่ หญ้าข้าวนก ขาเขียด หญ้านกสีชมพู กกขนาก หญ้าแดง กกทราย หญ้าดอกขาว หนวดปลาดุก ผักปอดนา ผักแว่น และข้าววัชพืช ที่ระยะข้าวแตกกอและระยะสร้างช่อดอก จำนวน 10 จุด จำนวน 2 ซ้ำ ชั่งน้ำหนักสด (สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว, 2552) 13.3 วางแผนการทดลองและเตรียมพื้นที่ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลของวิธีการเตรียมแปลงปลูกและการควบคุมวัชพืช ต่อความหน้าแน่นของวัชพืชแต่ละชนิดและการเจริญเติบโตของข้าวในระยะกล้า การทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาผลของวิธีการใส่ปุ๋ยและการควบคุมระดับน้ำต่อความหน้าแน่นของวัชพืชแต่ละชนิดและการเจริญเติบโตของข้าวในระยะแตกกอ และการทดลองที่ 3 เป็นการศึกษาผลของวิธีการควบคุมแมลงศัตรูและโรคข้าวต่อจำนวนประชากรแมลงศัตรูแต่ละชนิด การเกิดโรคแต่ละชนิด และการเจริญเติบโตของข้าว ทุกกรรมวิธีทำการสำรวจและกำจัดสัตว์ศัตรูข้าวดังในข้อ 13.2.3 สำหรับการเตรียมพื้นที่ในแต่ละการทดลองโดยใช้รถไถทำคันดินขนาดกว้างและสูงเป็น 50 และ 30 เซนติเมตร ตามลำดับ กั้นรอบแปลง ขุดดินที่ฐานคันดิน แล้วปูพลาสติกคลุมคันดิน ฝังชายพลาสติกลึกในดิน 30 เซนติเมตร กลบดินทับ เพื่อป้องกันการซึมน้ำเข้าหรือสูญเสียน้ำไปยังแปลงทดลองข้างเคียง โดยแบ่งเป็นแปลงย่อย ขนาด 400 ตารางเมตร จำนวน 12 แปลง ทำการปลูกข้าว กข49 โดยวิธีการปักดำ ระยะ 25 ? 25 เซนติเมตร 13.3.1 การทดลองที่ 1 ผลของวิธีการเตรียมแปลงปลูกและการควบคุมวัชพืช วางแผนการทดลองแบบ 2 x 2 Factorial in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 (A) เป็นการเตรียมแปลงปลูก 2 วิธีการ คือ 1) ไถกลบตอซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยวแล้วใช้โรตารี่ตีฟางทันที และ 2) การหมักย่อยสลายตอซังข้าวด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ แล้วใช้โรตารี่ตีฟาง ปัจจัยที่ 2 (B) เป็นการควบคุมวัชพืช 2 วิธีการ คือ 1) หว่านแหนแดงหลังปักดำ อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ และ 2) หว่านยาคุมฆ่าหญ้าดาราท๊อก (2,4-ดี ไอโซบิวทิลเอสเตอร์+บิวทาคลอร์) อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ สุ่มสำรวจชนิดและความหนาแน่นของวัชพืชที่สำคัญ ทุกๆ 14 วัน ดังในข้อ 13.2.3 และทำการสุ่มตรวจวัดความสูงของต้นข้าว ดังในข้อ 13.5.6 และหากพบว่ามีวัชพืชหลงเหลือจะใช้วิธีการตัดต้นหญ้าทำลายตามร่องนาดำ 1.3.3.2 การทดลองที่ 2 ผลของวิธีการใส่ปุ๋ยและการควบคุมระดับน้ำ วางแผนการทดลองแบบ 2 x 2 Factorial in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 (A) เป็นการใส่ปุ๋ย 2 วิธีการ คือ 1) ใส่ปุ๋ยมูลวัวอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ หลังทำการปักดำ ร่วมกับใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ หลังข้าวแตกกอ และ 2) ใส่ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หลังทำการปักดำ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ หลังข้าวแตกกอ ปัจจัยที่ 2 (B) เป็นการควบคุมระดับน้ำ 2 วิธีการ คือ 1) ควบคุมระดับน้ำแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว และ2) ควบคุมระดับน้ำประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตลอดระยะการปลูก ทุกกรรมวิธีใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-21 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะกำเนิดช่อดอก สุ่มสำรวจชนิดและความหนาแน่นของวัชพืช ทุกๆ 14 วัน ดังในข้อ 13.2.3 ทำการสุ่มตรวจวัดความสูงและ จำนวนต้นต่อกอ หาเปอร์เซ็นต์ของเมล็ดดี และหาน้ำหนักเฉลี่ยผลผลิตต่อรวงและต่อพื้นที่ ดังในข้อ 13.5.6 1.3.3.3 การทดลองที่ 3 ผลของวิธีการควบคุมแมลงศัตรูและโรคข้าว วางแผนการทดลองแบบ 2x2 Factorial in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 (A) เป็นการควบคุมแมลงศัตรู ด้วย 2 วิธีการ 1) ควบคุมแมลงศัตรูโดยวิธีทางชีวภาพ 2) ควบคุมแมลงศัตรูโดยใช้สารเคมี ปัจจัยที่ 2 (B) เป็นการควบคุม 2 วิธีการ 1) ควบคุมโรคข้าวโดยวิธีทางชีวภาพ 2) ควบคุมโรคข้าวโดยสารเคมีสังเคราะห์ การใช้วิธีทางชีวภาพตามแมลงศัตรูและโรคข้าวที่ตรวจพบในระดับเศรษฐกิจที่กรมวิชาการกำหนด ซึ่งหากพบเพลี้ยจะใช้ราขาว Beauveria bassiana หากพบหนอนแมลงจะใช้แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis หากพบมวนและด้วงจะใช้ Metarhizium anisopliae หากพบโรคถอดฝักดาบ โรคเมล็ดด่าง โรคกาบใบแห้ง จะใช้ Trichoderma harzianum ร่วมกับน้ำหมักสมุนไพร หากพบโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคเน่าคอรวง โรคขอบใบแห้งจะใช้ Bacillus subtillis ร่วมกับน้ำหมักสมุนไพร การใช้สารเคมีตามแมลงศัตรูและโรคข้าวที่ตรวจพบในระดับเศรษฐกิจที่กรมวิชาการกำหนด ซึ่งหากพบเพลี้ยไฟจะใช้อะบาเม็กติน หากพบเพลี้ยกระโดดจะใช้อีโทเฟนพรอกซ์ หากพบเพลี้ยจักจั่นจะใช้คาร์โบซัลแฟน หากพบหนอนกอ หนอนม้วนใบ แมลงสิง บั่ว จะใช้คลอร์ไพริฟอส หากพบโรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล จะใช้คาร์เบนดาซิม หากพบโรคไหม้ โรคเน่าคอรวง จะใช้ไตรไซคลาโซล หากพบโรคกาบใบแห้ง โรคเมล็ดด่าง จะใช้ไดฟีโนโคลนาโซล+โพรพิโคนาโซล (อามูเร่) และหากพบโรคขอบใบจะใช้เสตร็พโตมัยซินซัลเฟต+ออกซีเตทตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์ (แคงเกอร์เอ็กซ์) ทำการสุ่มสำรวจตรวจนับจำนวนแมลงและโรคข้าวแต่ละชนิด ทุกๆ 14 วัน ดังในข้อ 13.2.3 หาเปอร์เซ็นต์ของเมล็ดที่เป็นโรค ดังในข้อ 13.5.6 13.4 เตรียมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ น้ำหมักสมุนไพร และน้ำหมักย่อยสลาย 13.4.1 เตรียมจุลินทรีย์ : เชื้อปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ Metarhizium anisopliae Beauveria bassiana และ Bacillus thuringiensis ส่วนเชื้อปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคข้าว ได้แก่ Trichoderma harzianum และ Bacillus subtillis (ได้รับความอณุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และจุลินทรีย์ย่อยสลาย Trichoderma sp. เป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ท้องถิ่นที่แยกได้ในจังหวัดนครสวรรค์ ทำการผลิตในรูปแบบผงเชื้อ (powder) โดยเลี้ยงจุลินทรีย์ในอาหารเหลว (Potato Dextrose Broth; PDB และ Nutrient Glucose Broth; NGB) เป็นเวลา 5-10 วัน ที่อุณหภูมิห้อง ปั่นเชื้อด้วยเครื่องปั่น (blender) ปรับความเข้มข้นของเชื้อเท่ากับ 1.0 x 108 สปอร์หรือเซลล์ต่อมิลลิลิตร นำสารแขวนลอยเชื้อปริมาณ 15 มิลลิลิตร หยดลงในขวดแก้วที่บรรจุสารพาผงทัลคั่ม (Talc powder) จำนวน 30 กรัม และสารเหนียว (Carboxyl methyl cellulose; C
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :697 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
-ธิดา เดชฮวบ บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
รองศาสตราจารย์วาริน อินทนา บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด