รหัสโครงการ : | R000000383 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | หุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Spraying Chemical Robot Controlled by Android Operating System |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | หุ่นยนต์, ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 285400 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 285,400.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 ตุลาคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 ตุลาคม 2561 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ประเทศไทยมีพื้นที่และสภาพอากาศที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ 2 ใน 3 ประกอบอาชีพเกษตรกร แบบดั้งเดิม คือการเพาะปลูกพืชตามฤดูกาล การใช้สารเคมีในรูปแบบต่างๆเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การป้องกันโรคพืชและแมลงต่างๆจึงเข้ามามีบทบาทต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรส่วนใหญ่ จนเกิดเป็นความเคยชินของการประกอบอาชีพ ฉะนั้นระดับสารเคมีตกค้างที่สูงในภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงมีส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการ ฉีดพ่นที่ใช้ความดันสูงผลักดันสารเคมีผ่านหัวฉีด ทำให้ละอองอนุภาคสารเคมีมีระดับโมเมนตัมสูง มีปริมาณสารเคมีจำนวนมากที่ไม่สามารถเกาะติดต้นพืชได้ กลายเป็นสารตกค้างทั้งในพืช ดินและ น้ำทั่วพื้นที่การเกษตรของประเทศ มีข้อมูลบ่งชี้ถึงปริมาณสารเคมี ที่ประเทศไทยนำเข้าจากต่างประเทศสูงขึ้นหลายปีติดต่อกัน โดยเฉพาะช่วง 10 ปีหลัง (พ.ศ. 2547-2556) แต่ผลผลิตต่อพื้นที่การผลิตไม่ได้เพิ่มขึ้นตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
สมาร์ท ฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) หรือ “ผู้นำด้านการเกษตร” เป็นแนวนโยบายของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเร่งรัดให้สร้างและ พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ทดแทนเกษตรกรรุ่นเก่า โดยมุ่งเน้นให้มีความรู้ความสามารถเข้มแข็งและมีศักยภาพ เป็นคลื่นลูกใหม่ของวงการเกษตรกรรมไทย เพื่อสืบสานงานการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต โดยมอบหมายให้ กรมส่งเสริมการเกษตรรับหน้าเสื่อนำโครงการไปดำเนินการ ให้ทะลุทะลวงตามเป้าหมายที่วางแนวไว้กรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมขับเคลื่อนด้วย“โครงการสร้างและพัฒนายุวเกษตรกร สู่ความเป็นผู้นำด้านการเกษตร” ซึ่งจะมุ่งเน้นพัฒนาเด็ก (อายุระหว่าง 10 ถึง 14 ปี) และเยาวชน (15 ถึง 25 ปี) ทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบ ให้มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพการเกษตรและ เสริมสร้างทักษะการเกษตรในระดับพื้นฐานเพื่อให้เกิดความตระหนักต่อศาสตร์เกษตร และเสริมส่งให้มีการทำงานในรูปแบบกลุ่ม เพื่อให้เกิด ความพร้อมที่จะพัฒนาการเข้าสู่การเป็น Smart Farmer เบื้องต้นได้จัดอบรมกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกรอำเภอละ 1 กลุ่ม รวม 882 กลุ่มทั่วประเทศ จากนั้นก็ฝึกให้ปฏิบัติงานปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์สร้างทักษะการเกษตรขั้นพื้นฐาน แล้วคัดแยกผลงานจังหวัดละ 3 กลุ่ม เพื่อสร้างความชัดเจนให้เห็นเด่นชัด อย่างเช่น กลุ่มที่มีศักยภาพดี กลุ่มที่มีศักยภาพปานกลาง และ กลุ่มที่ต้องปรับปรุง ขณะเดียวกันก็จัดทำระบบฐานข้อมูลยุวเกษตรกร Smart Farmer พร้อมส่งเสริมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ในหัวข้อ “ยุวเกษตรกรก้าวหน้า พัฒนาเกษตรไทย” และ ส่งเสริมการจัดงานชุมนุมยุวเกษตรกรและที่ปรึกษายุวเกษตรกร เพื่อแสดงและประกวดผลงานยุวเกษตรกรระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ แบบปีเว้นปี และมีการ พัฒนาต่อยอดความรู้ ทักษะ และสร้างประสบการณ์ใหม่ในอาชีพการเกษตรให้แก่ยุวเกษตรกร เกษตรกร หรืออาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ที่มีคุณสมบัติ ตลอดจน สนับสนุนสิ่งจำเป็นในการเป็นSmart Farmerอย่างสมบูรณ์แบบ
คณะผู้วิจัยเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความมุ่งประสงค์ในการ วิจัยเพื่อให้การใช้สารเคมีในประเทศลดลงและให้เกิดความปลอดภัยต่อเกษตรกรด้วยการเปลี่ยนกระบวนการฉีดพ่นได้ในระยะไกล ควบคุมการทำงานผ่านระบบปฏิบัติการแอนแอนดรอยด์ โดยหุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีจะควบคุมผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จะสามารถควบคุมได้ในระยะไกลผ่านโทรศัพท์ของอุปกรณ์แอนดรอยด์ ต่างๆได้ ทำให้เกษตรกรสามารถสั่งการทำงานได้โดยไม่ได้รับสารเคมีโดยตรง และยังสามรถปรับระดับการฉีดพ่นสารเคมีได้ในระดับต่างๆ ทำให้การพ่นสารเคมีพ่นในทิศทางที่ต้องการได้เป็นอย่างดีรวมถึงยังลดอันตรายจากพิษของสารเคมีให้กับเกษตรกรผู้ฉีดพ่นได้อีก และยังสามารถนำไปใช้กับผู้พิการ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นการลดแรงงาน และทุ่นแรง อีกทางหนึ่งด้วย |
จุดเด่นของโครงการ : | หุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีจะควบคุมผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จะสามารถควบคุมได้ในระยะไกลผ่านโทรศัพท์ของอุปกรณ์แอนดรอยด์ ต่างๆได้ ทำให้เกษตรกรสามารถสั่งการทำงานได้โดยไม่ได้รับสารเคมีโดยตรง และยังสามรถปรับระดับการฉีดพ่นสารเคมีได้ในระดับต่างๆ ทำให้การพ่นสารเคมีพ่นในทิศทางที่ต้องการได้เป็นอย่างดีรวมถึงยังลดอันตรายจากพิษของสารเคมีให้กับเกษตรกรผู้ฉีดพ่นได้อีก และยังสามารถนำไปใช้กับผู้พิการ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นการลดแรงงาน และทุ่นแรง อีกทางหนึ่งด้วย |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. ออกแบบสร้างและทดสอบหุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
2. เพื่อประยุกต์ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับการบังคับหุ่นยนต์กับงานทางการเกษตร
3. สร้างหุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อนำไปสาธิตหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร ชมชุน หรือหน่วยงานของรัฐด้านการเกษตร |
ขอบเขตของโครงการ : | ออกแบบ สร้างและทดสอบหุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 12 V 350 Hp จำนวน 2 ตัว ระบบส่งกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยเพลาและโซ่ ระบบควบคุมประกอบด้วยชุดโมดูลรับส่งสัญญาณกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ระบบการขับเคลื่อนอัตโนมัติจากโปรแกรม Arduino 1.6.7
ชุดขับเคลื่อนหัวฉีดพ่นสารเคมี ใช้มอเตอร์ปั๊มน้ำ ไฟฟ้ากระแสตรง 12 V ทำงานผ่านระบบควบคุมประกอบด้วยชุดโมดูลรับส่งสัญญาณ กับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ระบบการขับเคลื่อนอัตโนมัติจากโปรแกรม Arduino 1.6.7 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. เป็นเครื่องมือโครงการวิจัยด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้มีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุน และงานสร้างสรรค์ ให้สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
2. ได้หุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในการสาธิตการใช้เทคโนโลยี พ่นสารเคมีให้กับเกษตรกร และ ชุมชน |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 1. เครื่องพ่นสารเคมีแบบสะพายหลัง
เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลังชนิดสูบโยก เป็นเครื่องพ่นยาขนาดเล็กที่นิยมใช้กันแพร่หลายแบบหนึ่ง เครื่องพ่นยาแบบนี้ประกอบด้วยถังน้ำยา ซึ่งวางตั้งบนพื้นได้ ทำให้การเท น้ำยาเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชลงไปในถังได้สะดวก อีกทั้งยังมีรูปร่างที่เหมาะสมสำหรับใช้สะพายหลังผู้ ทีพ่นยา นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ปั๊ม ห้องเก็บความดัน ก้านฉีดพร้อมมือบีบพ่นน้ำยา และ หัวฉีด ถังน้ำยาอาจจะทำมาจากสแตนเลส ทองเหลือหรือเหล็กเคลือบสังกะสี แต่ในปัจจุบันถังที่ ทำจากโลหะเหล่านี้มีราคาสูงขึ้น ความนิยมใช้จึงลดลงและเปลี่ยนไปใช้ถังที่ทำจากพลาสติกแทน ทั้งนี้เพราะเมื่อสะพายหลังแล้วรู้สึกสบายและเบากว่าถังที่ทำจากโลหะ ถังน้ำยาส่วนใหญ่มีความจุ ประมาณ 15 ลิตร และที่ด้านข้างถังจะมีขีดบอกระดับน้ำยาเป็นเครื่องหมายไว้ด้วย เมื่อบรรจุน้ำยา แล้วน้ำหนักรวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 20 กิโลกรัม ไม่เช่นนั้นแล้วผู้ใช้จะแยกน้ำหนักมากเกินไป โดยทั่วไปปากถังจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการเทน้ำยา หรือใช้มือล้วงลงไปทำความสะอาดภายในถัง นอกจากนั้นยังมีฝาที่ปิดปากถังได้สนิทไม่ให้ น้ำยากระเด็นออกมากถูกหลังผู้ที่กำลังพ่นยา และมีตะแกรงกรองซึ่งเกี่ยวไว้กับปากถัง โดยยื่นลงไป ภายในถังไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร สำหรับกรองสิ่งสกปรกที่อาจจะติดมากับน้ำยา ปั๊มที่ใช้เครื่องพ่นยาชนิดสูบโยกนี้มี 2 แบบ คือแบบลูกสูบ และแบบแผ่น แบบลูกสูบใช้ กับหัวที่ต้องการความดันสูงเหมาะสำหรับพ่นยาฆ่าแมลงและยากำจัดเชื้อรา ส่วนแบบแผ่นนั้น นิยมใช้สำหรับนำยาที่มีตะกอนซึ่งอาจจะขูดข่วนทำความสึกหรอแก่ตัวปั๊มได้ ปั๊มนี้ต่อเข้ากับระบบ กลไกของคันโยกซึ่งติดตั้งอยู่ด้านบนใกล้กับปากถัง หรือด้านล่างข้างพัง เวลาพ่นยาก็ใช้มือจับคัน โยกและแขนจะต้องยกสูงอยู่ตลอดเวลา เครื่องพ่นยาที่ใช้คันโยกแบบนี้เหมาะสำหรับแถวพืชที่ไม่สูง และปลูกห่างกันพอควร เพราะเวลาโยก คันโยกจะได้ไม่ไปชนกับกิ่งหรือใบของพืชที่อยู่ในแถว ข้างเคียง อย่างไรก็ตามเมื่อโยกคันโยกบ่อย ๆ ผู้พ่นยาจะรู้สึกชาและล้า เนื่องจากเลือดภายใน ร่างกายขึ้นไปหล่อเลี้ยงลำแขนไม่ทัน ดังนี้จึงมีการนิยมใช้เครื่องพ่นยาที่มีคันโยกติดอยู่ด้านล่างข้าง ถัง ซึ่งอยู่ในระดับเอวกันมาก โดยมีแบบให้เลือกใช้ทั้งชนิดที่มียกติดอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขาว แล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้
2. หุ่นยนต์หรือ โรบอต (robot)
หุ่นยนต์หรือ โรบอต (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบ ต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวง จันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้าน ต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการ แพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน
2.1 หุ่นยนต์ แบ่งตาม ลักษณะการใช้งาน
1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed Robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์
2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Robot) หุ่นยนต์ประเภท นี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้อง ทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่าปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่ หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่าง มนุษย์ เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทย สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของ ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต
2.3 ประโยชน์และ ความสามารถของหุ่นยนต์
ความสามารถในด้านการแพทย์ ในงานด้านการแพทย์ เริ่มนำเอาหุ่นยนต์แขนกลเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยทำการผ่าตัดคนไข้ เนื่องจากหุ่นยนต์นั้นสามารถทำงานในด้านที่มีความละเอียดสูงที่เกินกว่า มนุษย์จะทำได้ เช่น การนำเอาหุ่นยนต์มาใช้งานด้านการผ่าตัดสมอง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องการความละเอียดในการผ่าตัด หุ่นยนต์แขนกลจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการผ่าตัดในด้านการแพทย์ การทำงานของหุ่นยนต์แขนกลในการผ่าตัด จะเป็นลักษณะการทำงานของการควบคุมการผ่าตัดโดยผ่านทางแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด อีกที ซึ่งการผ่าตัดโดยมีหุ่นยนต์แขนกลเข้ามามีส่วนร่วมนั้นจะเน้นเรื่องความ ปลอดภัยเป็นอย่างสูง รวมทั้งความสามารถในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ รวมถึงงานเภสัชกรรมที่มีบางโรงพยาบาลนำหุ่นยนต์มาใช้ในการจ่ายยา
ความสามารถ ในงานวิจัย หุ่นยนต์สามารถทำการสำรวจงานวิจัยทาง ด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับมนุษย์ เช่น การสำรวจท้องทะเลหรือมหาสมุทรที่มีความลึกเป็นอย่างมาก หรือการสำรวจบริเวณปากปล่องภูเขาไฟเพื่อ เก็บบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานเสี่ยงอันตรายที่เกินขอบเขตความสามารถของมนุษย์ที่ไม่สามารถ ปฏิบัติงานสำรวจเช่นนี้ได้ ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในงานวิจัยและสำรวจ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและสามารถทำการควบคุมหุ่นยนต์ได้ใน ระยะไกลด้วยระบบคอนโทรล โดยมีเซนเซอร์ติดตั้งที่ตัวหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการวัดระยะทางและเก็บข้อมูลใน ส่วนต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์
ความสามารถ ในงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มจำนวนสูงขึ้น และงานอุตสาหกรรมบางงานไม่สามารถที่จะใช้แรงงงานเข้าไปทำได้ ซึ่งบางงานนั้นอันตรายและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก หรือเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตรวมทั้งเป็นการประหยัด ระยะเวลา ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นทางออกของงานด้านอุตสาหกรรม
ความสามารถ ในด้านความมั่นคง สร้างเครื่องบินสอดแนมผู้ก่อการร้าย โดยติดตั้งเรดาร์คอยตรวจจับเหตุที่อาจไม่มาพากล โดยไม่ต้องใช้คนขับ
3. ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
Android คือ ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance[2] ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น โดยแอนดรอยด์ (Android) ถูกตั้งชื่อเลียนแบบหุ่นยนต์ในเรื่อง สตาร์วอร์ส ที่ชื่อดรอยด์ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมนุษย์เป็นซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการที่มีโครงสร้างแบบเรียงทับซ้อนหรือแบบสแต็ก (Stack) โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล(Linux Kernel) เป็นพื้นฐานของระบบ และใช้ภาษา Java ในการพัฒนา มี Android SDK เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อีกทีหนึ่ง โดยระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยบริษัทแอนดรอย์ดร่วมกับ Google จากั้นเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้มีการร่วมมือกันกว่า 30 บริษัทชั้นนำเพื่อพัฒนาระบบ
ประเภทของชุดซอฟท์แวร์ เนื่องจากแอนดรอยด์ (Android) เปิดให้นักพัฒนาเข้าไปชมรหัสต้นฉบับได้ทำให้มีผู้พัฒนาจากหลายฝ่ายนำเอารหัสต้นฉบับมาปรับแต่ง และสร้างแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนเองขึ้นสามารถแบ่งประเภทของแอนดรอยด์ออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. Android Open SourceProject (AOSP) เป็นแอนดรอยด์ประเภทแรกที่กูเกิล (Google) เปิดให้สามารถนำต้นฉบับแบบเปิด ไปติดตั้งและใช้งานในอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
2. Open Handset Mobile (OHM) เป็นแอนดรอยด์ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์พกพา ที่เข้าร่วมกับกูเกิลในนาม Open Handset Alliances (OHA) บริษัทเหล่านี้จะพัฒนาแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนออกมา โดยรูปร่างหน้าตา การแสดงผล และพังก์ชั่นการใช้งาน จะมีความเป็นเอกลักษณ์ และมีลิขสิทธิ์เป็นของตน พร้อมได้รับสิทธิ์ในการมีบริการเสริมต่างๆ จากกูเกิล ที่เรียกว่า Google Mobile Service (GMS) ซึ่งเป็นบริ |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | คณะผู้วิจัยกำหนดกรอบแนวความคิดในการวิจัย ดังนี้
ระบบแอนดรอยด์มีความสามารถในการปฏิบัติการรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถพัฒนาในรูปแบบขอการเชื่อมต่อแบบ WiFi หรือ แบบ Bluetooth เพื่อการควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ในระยะไกลได้
1. หุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
2.รูปแบบขอการเชื่อมต่อแบบ WiFi หรือ แบบ Bluetooth เพื่อการควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ในระยะไกล
3. ผู้ใช้หุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ ที่มีประสิทธิภาพ |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research : PAR )เพื่อศึกษา โดยได้กำหนดขั้นตอนการวิจัยตามแนวคิดของเคมมิส และแมคแทกการ์ท(Kemmis and Me Taggart, 1991, pp.169-170 อ้างถึงใน องอาจ นัยพัฒน์, 2551, หน้า 301-303) ตามกรอบแนวคิดทั้ง 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
(1) จัดการประชุมคณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน และคัดเลือกตัวแทนและพื้นที่ในชุมชน
(2) ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยการศึกษาสำรวจข้อมูลพื้นฐาน เอกสารทางวิชาการต่างๆ และการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆโดยใช้แบบสอบถาม
(3) คณะผู้วิจัยร่วมกับแกนนำของชุมชมจัดสนทนากลุ่ม โดยสะท้อนข้อมูลได้รับรู้และตรวจสอบข้อมูลด้าน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์
ขั้นตอนที่ 2
(1) คณะผู้วิจัย จัดประชุมกลุ่ม นำเสนอข้อมูลทางวิชาการรูปแบบต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มชาวบ้านโดยวิธีการสนทนากลุ่ม
(2) คัดเลือกพื้นที่วิจัย กลุ่มผู้ปลูกพืชสวนภายในชุมชน
(3) คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน และชาวบ้าน ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาในชุมชนและศึกษาถึงข้อจำกัดและข้อดีของเทคโนโลยีพลังงานที่เลือกใช้ โดยร่วมกันวิเคราะห์เทคโนโลยีที่ศึกษาเพื่อนำสู่การปฏิบัติร่วมกันสร้างพื้นที่ในชุมชนเพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้และต้นแบบต่อไป
ขั้นตอนที่ 3
(1) ศึกษาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และการเชื่อมต่อในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากมีการเชื่อมต่อทั้งแบบ WiFi หรือ แบบ Bluetooth
(2) ออกแบบหุ่นยนต์โดยแบ่งเป็น ส่วนโครงสร้าง ระบบขับเคลื่อน ระบบฉีดพ่นสารเคมี ส่วนการรับส่งสัญญาณ
(3) ทดสอบการควบคุมหุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในลักษณะต่างๆ เพื่อใช้ในการพิจารณาเลือกรูปแบบให้เหมาะสมที่สุด รวมทั้งการเลือกโมดูลที่เหมาะสมกับการทำงานของหุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ พร้อมทั้งบันทึกระยะที่ดีที่สุดในการควบคุม
13.1 วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research : PAR ) เพื่อศึกษา โดยได้กำหนดขั้นตอนการวิจัยตามแนวคิดของเคมมิส และแมคแทกการ์ท (Kemmis and Me Taggart, 1991, pp.169-170 อ้างถึงใน องอาจ นัยพัฒน์, 2551, หน้า 301-303) ตามกรอบแนวคิดทั้ง 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
(1) จัดการประชุมคณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และคัดเลือกตัวแทนและพื้นที่ในชุมชน
(2) ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยการศึกษาสำรวจข้อมูลพื้นฐาน เอกสารทางวิชาการต่างๆ และการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานด้านศักยภาพและรูปแบบการทำเกษตรกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
(3) คณะผู้วิจัยร่วมกับแกนนำของชุมชนและตัวแทนชาวบ้าน เดินทางไปศึกษาตามศูนย์การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จที่ได้รับการยอมรับ
(4) คณะผู้วิจัยร่วมกับแกนนำของชุมชมจัดสนทนากลุ่ม โดยสะท้อนข้อมูลได้รับรู้และตรวจสอบข้อมูลด้าน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ รูปแบบ และเทคโนโลยีการรูปแบบการเกษตรกรรมของชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกร
ขั้นตอนที่ 2
(1) คณะผู้วิจัย จัดประชุมกลุ่ม นำเสนอข้อมูลทางวิชาการรูปแบบต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มชาวบ้านโดยวิธีการสนทนากลุ่ม
(2) คัดเลือกพื้นที่วิจัย ภายในชุมชน เพื่อสร้าง และศึกษาประสิทธิภาพ
(3) คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวบ้าน ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะเพื่อคืนข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและทดลอง มาตรวจสอบความถูกต้อง ศึกษาถึงข้อจำกัดและข้อดีของเทคโนโลยีที่เลือกใช้ โดยร่วมกันวิเคราะห์เทคโนโลยีที่ศึกษาเพื่อนำสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ให้กับคนในชุมชน
(4) คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน และชาวบ้าน ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาในชุมชนและร่วมกันสร้างพื้นที่ในชุมชนเพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้และต้นแบบต่อไป
ขั้นตอนที่ 3
(1) คณะผู้วิจัย นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ผ่านการสังเคราะห์ผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ ในลักษณะของการสื่อสารสาธารณะ ให้กับสังคมได้รับทราบถึงแนวทางการสร้างชุมชนต้นแบบการใช้หุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
(2) คณะผู้วิจัย จัดการถ่ายทอดและฝึกอบรมหุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ให้กับกลุ่มชาวบ้านมีโดยมีการติดตามและประเมินผล
13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน จากผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นแนวการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ร่วมกับวิธีสังเกต ฯลฯ
13.3 การเก็บรวบรวบข้อมูล ดังนี้
13.3.1 การเก็บข้อมูลภาคสนามลักษณะแนวกว้างและลึก โดยใช้ทั้งแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล ทั้งที่เป็นรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ
13.3.2 การเก็บข้อมูลจากจัดกิจกรรม การศึกษาดูงาน โดยการสังเกตรวบรวมจากการเข้าร่วมกิจกรรมกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
13.3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงประมาณและเชิงคุณภาพ
13.3.4 การเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในลักษณะการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยใช้แบบประเมิน ได้จากการสนทนากลุ่ม การทำเวทีประชาคม และกิจกรรมการมีส่วนร่วม |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | สมาร์ท ฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) หรือ “ผู้นำด้านการเกษตร” เป็นแนวนโยบายของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเร่งรัดให้สร้างและ พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ทดแทนเกษตรกรรุ่นเก่า โดยมุ่งเน้นให้มีความรู้ความสามารถเข้มแข็งและมีศักยภาพ เป็นคลื่นลูกใหม่ของวงการเกษตรกรรมไทย เพื่อสืบสานงานการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต การ วิจัยเพื่อให้การใช้สารเคมีในประเทศลดลงและให้เกิดความปลอดภัยต่อเกษตรกรด้วยการเปลี่ยนกระบวนการฉีดพ่นได้ในระยะไกล ควบคุมการทำงานผ่านระบบปฏิบัติการแอนแอนดรอยด์ โดยหุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีจะควบคุมผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จะสามารถควบคุมได้ในระยะไกลผ่านโทรศัพท์ของอุปกรณ์แอนดรอยด์ ต่างๆได้ ทำให้เกษตรกรสามารถสั่งการทำงานได้โดยไม่ได้รับสารเคมีโดยตรง และยังสามรถปรับระดับการฉีดพ่นสารเคมีได้ในระดับต่างๆ ทำให้การพ่นสารเคมีพ่นในทิศทางที่ต้องการได้เป็นอย่างดีรวมถึงยังลดอันตรายจากพิษของสารเคมีให้กับเกษตรกรผู้ฉีดพ่นได้อีก และยังสามารถนำไปใช้กับผู้พิการ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นการลดแรงงาน และทุ่นแรง อีกทางหนึ่งด้วย |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 2636 ครั้ง |