รหัสโครงการ : | R000000380 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The Development of the database sufficient economy village model in Nakhon Sawan Province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การพัฒนาระบบฐานข้อมูล หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 220200 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 220,200.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 ตุลาคม 2560 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 ตุลาคม 2561 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากแนวนโยบายของรัฐบาล ในการน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สนองนโยบายของรัฐบาล โดยตระหนักถึงภารกิจหน้าที่ในการสร้างรากฐานและพลังในการขับเคลื่อนของสังคมให้สามารถพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานความมั่นคงให้แก่เกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นทุนมนุษย์ที่จะนำพาให้เกิดทุนทางสังคม สร้างสังคมที่เข้มแข็ง ยั่งยืนต่อไป เพื่อให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมตามแนวทฤษฎีใหม่ ตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงขั้นที่สามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพึ่งพาตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในชุมชนให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ การพัฒนาที่จะก่อให้เกิดผลดังกล่าว เกษตรกรจะต้องเข้าใจปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง มีจิตสำนึกในการพึ่งตนเอง เปลี่ยนวิธีคิดและระบบการผลิตจากการพึ่งพาปัจจัยภายนอกโดยมุ่งเพิ่มรายได้เป็นหลัก มาเป็นการใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพเน้นการลดรายจ่ายเป็นสำคัญ (สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2550)
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตของสังคมไทย ได้ริเริ่มคิดค้นและพัฒนารูปแบบกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ ปี 2549 โดยดำเนินโครงการและปรับปรุงพัฒนาเป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” ในปี 2552 จำนวน 160 หมู่บ้าน จนถึงปี 2557 มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำนวน 5,427 หมู่บ้าน กระจายอยู่ ทุกอำเภอ ทุกจังหวัดทั่วประเทศอย่างน้อยอำเภอละ 6-7 หมู่บ้าน ที่พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงสำหรับถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่หมู่บ้านต่างๆ ที่ต้องการดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบโดยทุนของตนเองเป็น การขยายแนวคิดการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทั้งประเทศให้แผ่นดินไทยได้ชื่อว่า “แผ่นดิน แห่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” (กรมการพัฒนาชุมชน, 2557) กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และได้มอบหมายให้ทุกจังหวัด ได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหมู่บ้านโดยจัดกระบวนการเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนนำแนวทางการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน การเติบโตหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในระดับประเทศ (ปี 2552 - ปัจจุบัน) ขยายผลการทำงานสู่ความยั่งยืน โดย พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ มีศักยภาพ 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด คือ
1. ด้านจิตใจและสังคม มี 7 ตัวชี้วัด คือ สามัคคี มีข้อตกลง ข้อมูลหมู่บ้าน มีกองทุน ยึดหลักประชาธิปไตย มีคุณธรรม/จริยธรรม ชุมชนปลอดอบายมุข เชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ด้านเศรษฐกิจ มี 5 ตัวชี้วัด คือ จัดทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ รวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ มีการออม มีกลุ่มใน รูปแบบวิสาหกิจชุมชน
3. ด้านการเรียนรู้ มี ๗ ตัวชี้วัด คือ มีข้อมูลชุมชน มีและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างคุณค่ามีศูนย์ เรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างเครือข่ายการพัฒนา ปฏิบัติตาม หลักการพึ่งตนเอง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากแนวนโยบายของรัฐบาล ในการน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สนองนโยบายของรัฐบาล โดยตระหนักถึงภารกิจหน้าที่ในการสร้างรากฐานและพลังในการขับเคลื่อนของสังคมให้สามารถพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานความมั่นคงให้แก่เกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นทุนมนุษย์ที่จะนำพาให้เกิดทุนทางสังคม สร้างสังคมที่เข้มแข็ง ยั่งยืนต่อไป เพื่อให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมตามแนวทฤษฎีใหม่ ตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงขั้นที่สามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพึ่งพาตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในชุมชนให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ การพัฒนาที่จะก่อให้เกิดผลดังกล่าว เกษตรกรจะต้องเข้าใจปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง มีจิตสำนึกในการพึ่งตนเอง เปลี่ยนวิธีคิดและระบบการผลิตจากการพึ่งพาปัจจัยภายนอกโดยมุ่งเพิ่มรายได้เป็นหลัก มาเป็นการใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพเน้นการลดรายจ่ายเป็นสำคัญ (สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2550)
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตของสังคมไทย ได้ริเริ่มคิดค้นและพัฒนารูปแบบกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ ปี 2549 โดยดำเนินโครงการและปรับปรุงพัฒนาเป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” ในปี 2552 จำนวน 160 หมู่บ้าน จนถึงปี 2557 มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำนวน 5,427 หมู่บ้าน กระจายอยู่ ทุกอำเภอ ทุกจังหวัดทั่วประเทศอย่างน้อยอำเภอละ 6-7 หมู่บ้าน ที่พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงสำหรับถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่หมู่บ้านต่างๆ ที่ต้องการดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบโดยทุนของตนเองเป็น การขยายแนวคิดการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทั้งประเทศให้แผ่นดินไทยได้ชื่อว่า “แผ่นดิน แห่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” (กรมการพัฒนาชุมชน, 2557) กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และได้มอบหมายให้ทุกจังหวัด ได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหมู่บ้านโดยจัดกระบวนการเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนนำแนวทางการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน การเติบโตหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในระดับประเทศ (ปี 2552 - ปัจจุบัน) ขยายผลการทำงานสู่ความยั่งยืน โดย พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ มีศักยภาพ 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด คือ
1. ด้านจิตใจและสังคม มี 7 ตัวชี้วัด คือ สามัคคี มีข้อตกลง ข้อมูลหมู่บ้าน มีกองทุน ยึดหลักประชาธิปไตย มีคุณธรรม/จริยธรรม ชุมชนปลอดอบายมุข เชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ด้านเศรษฐกิจ มี 5 ตัวชี้วัด คือ จัดทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ รวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ มีการออม มีกลุ่มใน รูปแบบวิสาหกิจชุมชน
3. ด้านการเรียนรู้ มี ๗ ตัวชี้วัด คือ มีข้อมูลชุมชน มีและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างคุณค่ามีศูนย์ เรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างเครือข่ายการพัฒนา ปฏิบัติตาม หลักการพึ่งตนเอง
4. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี ๔ ตัวชี้วัด คือ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกลุ่มองค์กร ด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้พลังงานทดแทน มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การจัดระดับศักยภาพการพัฒนาหมู่บ้าน การจัดระดับศักยภาพการพัฒนาหมู่บ้าน เป็น ๓ ระดับ คือ
1. ระดับ “พออยู่ พอกิน” ผ่านเกณฑ์ 10-16 ตัวชี้วัด เป็นต้นแบบ ในการใช้ชีวิตพึ่งตนเอง เน้นการปฏิบัติทำกิน ทำใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และมีการออม
2. ระดับ “อยู่ดี กินดี”ผ่านเกณฑ์ 17-22 ตัวชี้วัด เป็นต้นแบบใน การบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มรายได้และขยายโอกาสคนในชุมชน
3. ระดับ “มั่งมี ศรีสุข”ผ่านเกณฑ์ 23 ตัวชี้วัด เป็นต้นแบบ การบริหารการพัฒนาในรูปแบบองค์กรเครือข่ายเพื่อใช้ศักยภาพในการ ดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อขยายโอกาสในการ ประกอบอาชีพและส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้กับคนในหมู่บ้านชุมชน
การแยกประเภทหมู่บ้านเป็น 3 ระดับ เพื่อใช้เป็นต้นแบบ การเรียนรู้ ให้กับหมู่บ้านที่มีพื้นฐาน หรือสถานการณ์ของหมู่บ้านใกล้เคียงกัน สามารถเรียนรู้ใช้เป็นแบบอย่างได้ โดยไม่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญ
ที่แตกต่างกันมากนัก
นครสวรรค์เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคกลางและภาคเหนือจึงเป็น “ประตูสู่ภาคเหนือ” และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง และมีความสำคัญตรงที่เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา ในบริเวณที่รู้จักกันในนาม “ปากน้ำโพ” จังหวัดนครสวรรค์มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดกำแพงเพชรและพิจิตรทางด้านทิศเหนือ ส่วนทิศตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ทิศใต้ติดกับจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ส่วนทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์จัดรูปการปกครองต |
จุดเด่นของโครงการ : | ได้ระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | เพื่อสำรวจ ศึกษา และจัดเก็บรวมรวมองค์ความรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ สำหรับเป็นแหล่งสืบค้นองค์ความรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์ผ่านเว็บไซต์
3. เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีมาตรฐาน
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้
7.1 ขอบเขตด้านการศึกษาข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์
- ข้อมูลทุติยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ข้อมูลปฐมภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้านต้นแบบ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ผู้นำ/ปราชญ์ชาวบ้าน ในด้านต่าง ๆ ความรู้/ภูมิปัญญา ทรัพยากรธรรมชาติ กองทุนต่าง ๆ หน่วยงาน/องค์กรที่สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนต้นแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนต้นแบบ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านต้นแบบ การจัดเก็บข้อมูลการจัดระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น
7.2 ขอบเขตด้านการพัฒนาฐานข้อมูล
- การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยจะใช้ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) ในการจัดการข้อมูล เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่นิยมใช้กันมากสำหรับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
- การพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ ได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้วิจัยจะทำการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมภาษาพีเอชพี (PHP) เนื่องจากเป็นโปรแกรมภาษาในรูปแบบโอเพนซอร์ส (Open Source) ที่ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
7.3 ขอบเขตด้านความพึงพอใจต่อการใช้งานฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์
- ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และองค์ความรู้การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้
- ตัวแปรตาม ประกอบด้วย ด้านการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล ด้านเสถียรภาพระบบด้านประโยชน์ของระบบต่อการสืบค้น ศึกษาและการนำไปประยุกต์ใช้และข้อเสนอแนะ
7.4 ขอบเขตด้านเวลา
ช่วงเวลาที่ศึกษา เดือนตุลาคม 2560 – ตุลาคม 2561 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. มีระบบสารสนเทศเพื่อรวบรวมข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ การพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองในชุมชนตลอดชีวิต ด้วยการใช้ระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์ และใช้การสร้างเครือข่ายเป็นเครื่องมือหรือสื่อกลางในการศึกษาเรียนรู้ต่อไป
2. มีระบบสารสนเทศที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้สนใจนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เพื่อการจัดการองค์ความรู้เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์ มาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
3. เผยแพร่ ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ที่มีมาตรฐานให้แก่ผู้สนใจทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
4. ได้ผลงานวิจัยที่สามารถเผยแพร่ผลการวิจัยในวารสารงานวิจัยหรือเวทีวิชาการ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยมีดังนี้
8.1 แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
8.2 แนวคิดเกี่ยวกับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
8.3 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
8.4 เทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
8.5 เทคโนโลยีด้านการจัดการฐานข้อมูล |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยมีดังนี้
8.1 แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
8.2 แนวคิดเกี่ยวกับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
8.3 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
8.4 เทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
8.5 เทคโนโลยีด้านการจัดการฐานข้อมูล
8.6 กรอบแนวคิดของโครงการวิจัย |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การวิจัยในครั้งนี้ มีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้
1. ศึกษาเอกสาร งานวิจัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์
2. ศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษาข้อมูลในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ และทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
3. นำผลที่ได้จากการศึกษาเอกสารงานวิจัย ทฤษฎี และจากการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์
4. เผยแพร่ระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์ ให้แก่ ผู้นำ/ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มผู้สนใจเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้วิธีการแนะนำการใช้งานเว็บไซต์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ โดยวิทยากรคณะผู้วิจัย
5. การศึกษาความพึงพอใจของระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้นำ/ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มผู้สนใจเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนครสวรรค์โดยทำการแจกแบบสอบถามและเรียกคืนโดยคณะผู้วิจัย |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | การพัฒนาระบบสารสนเทศหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำเอาองค์ความรู้และสารสนเทศที่เกิดจากการสำรวจ ศึกษา และรวบรวมจากการวิจัย ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อมูลพื้นฐาน เอกสาร ตำรา มาทำการวิเคราะห์ จัดเก็บในฐานข้อมูลดิจิตอลด้วยโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสม ตลอดจนจัดรูปแบบเพื่อให้เหมาะแก่การเผยแพร่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดนครสวรรค์มาขยายผลให้กับคนในชุมชน นักเรียน นักศึกษา ชุมชนต่างพื้นที่ที่สนใจได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่และโครงการสืบสานอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาขยายผลในการพัฒนาเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือหรือเป็นสื่อกลางต่อไป |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 649 ครั้ง |