รหัสโครงการ : | R000000379 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดกล้วยในเขตภาคเหนือตอนล่าง |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Study the Marketing Information System Guideline of the Banana Trade in the Lower North of Thailand. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ระบบสารสนเทศทางการตลาด กล้วย |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 150000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 150,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2556 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2557 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | การดำเนินกิจกรรมด้านการขายและการตลาดจะถือเป็นภาระงานที่สำคัญภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การที่สืบเนื่องจากแนวคิดการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน มักเน้นที่ความพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ องค์การจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการตลาด รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรของทุกหน่วยงาน ในการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบต่อลูกค้าทุกราย อันจะนำไปสู่ระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้ตระหนักถึงศักยภาพอันมหาศาลของเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีการส่งเสริมระบบสารสนเทศทางการตลาด เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศเพื่อใช้สำหรับงานด้านการตลาดในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโปรแกรมทางการตลาดที่ดี จึงจำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน ผู้ขาย ตลอดจนผู้ที่มีบทบาทอื่นทางการตลาดด้วย เนื่องจากในปัจจุบัน ขนาดของตลาดใหญ่ขึ้น ผู้ซื้อมีทางเลือกเพิ่มขึ้น วิธีการทางการตลาดมีความซับซ้อนขึ้น อีกทั้งธุรกิจยังจำเป็นต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง ด้วยเหตุนี้ การใช้สารสนเทศที่ทันต่อเหตุการณ์จึงยิ่งจะทวีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น
คนไทยรู้จักกล้วยกันมาตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นแหล่งกำเนิดกล้วยจึงมีกล้วยป่า และกล้วยปลูกอยู่ทั่วไป คนไทยจึงรู้จักการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของกล้วยเป็นอย่างดี การปลูกกล้วยในสมัยโบราณเป็นการปลูกเพื่อไว้ใช้สอยภายในบ้าน ต่อมาเริ่มมีการค้าขายผลไม้ กล้วยจึงเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีการปลูกขายกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน โดย วัฒนา เสถียรสวัสดิ์และปวิณ ปุณศรี (2510)
ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพันธุ์และชนิดของกล้วย โดยรวบรวมพันธุ์กล้วยที่พบในประเทศได้ 125 สายพันธุ์ และจากการจำแนกจัดกลุ่มแล้ว พบว่ามี 20 พันธุ์ หลังจากนั้นในระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2526 เบญจมาศ ศิลาย้อย และฉลองชัย แบบประเสริฐ แห่งภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้ทำการสำรวจพันธุ์กล้วยในประเทศไทย และรวบรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวบรวมได้ทั้งหมด 323 สายพันธุ์ แต่เมื่อจำแนกชนิดแล้ว พบว่ามีอยู่เพียง 53 พันธุ์ หลังจากสิ้นสุดโครงการ ยังได้ทำการรวบรวมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน พบว่ามีอยู่ 71 พันธุ์ รวมทั้งกล้วยป่าและกล้วยประดับ ทั้งนี้ไม่นับรวมพันธุ์กล้วยที่ได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งมีอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์กล้วย
ที่สำคัญของไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ปลูกกันมากที่สุดในจังหวัดเลย หนองคาย และระนอง ตามลำดับ รองลงมาได้แก่กล้วยไข่ ซึ่งปลูกกันมากที่สุดที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก และนครสวรรค์ กล้วยในเมืองไทยสามารถปลูกกล้วยได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยวัตถุประสงค์ของการปลูกกล้วยจะมีอยู่ 2 ประเด็นหลัก คือ การปลูกไว้รับประทานเอง และการปลูกเชิงการค้า แต่เนื่องการเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยยังมีช่องทาง และความรู้ในการดำเนินงานทางด้านการตลาดน้อยทำให้ประสบภาวะขาดทุน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยบางรายหันไปหาแนวทางในการสร้างอาชีพอื่นๆ ทำให้ผลผลิตกล้วยในประเทศไทยลดลง ซึ่งขัดกับความต้องการบริโภคกล้วยในตลาดภายในและภายนอกประเทศ
จากแนวคิดข้างต้นจะเห็นได้ว่า การนำระบบสารสนเทศทางการตลาดมาช่วยในการบริหารการตลาดกล้วยจะช่วยแก้ปัญหาด้านผลการดำเนินงานของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยที่ประสบภาวะขาดทุน โดยดำเนินโปรแกรมการตลาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์และบริการ และอาศัยการวิจัยการตลาดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาด้านการครอบครองส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น และช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยมีพื้นฐานและประสบการณ์ทางการตลาดประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในอาชีพต่อไปได้
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดกล้วยในเขตภาคเหนือตอนล่าง กรณีศึกษา การตลาดกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรและลดราคาการขนส่ง เพิ่มราคาขายส่งและเพิ่มยอดขายให้แก่เกษตรกร และลดจำนวนพ่อค้าคนกลางที่คอยกดราคาให้แก่เกษตรกร
|
ขอบเขตของโครงการ : | การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดกล้วยในเขตภาคเหนือตอนล่าง และและสารสนเทศทางการตลาดกล้วยที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการทางการตลาดในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดกล้วยในเขตภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรผู้ปลูกกล้วย ผู้ค้ากล้วย และผู้บริโภคกล้วย ในเขตภาคเหนือตอนล่าง และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการศึกษาเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาด เอกสารที่เกี่ยวข้องการตลาดกล้วย รวมทั้งข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ทราบถึงแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดกล้วยในเขตภาคเหนือตอนล่าง กรณีศึกษา การตลาดกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์
2. ทราบถึงข้อมูลและสารสนเทศทางการตลาดกล้วยที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการทางการตลาดในเขตภาคเหนือตอนล่าง
3. เข้าใจปัญหาและข้อขัดข้องในการนำระบบสารสนเทศทางการตลาดกล้วยมาใช้ในการบริหารจัดการด้านการตลาด
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | สารสนเทศทางการตลาด
สารสนเทศทางการตลาด หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการตลาด ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร โดยใช้สนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด ทั้งในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่าย การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจทางการตลาด การสื่อสารการตลาด และการพยากรณ์ยอดขาย ในส่วนการทำสารสนเทศทางการตลาดมักจะต้องอาศัยเครื่องมืออัตโนมัติเพื่อสร้างหลักฐาน หรือสัญญาด้านการขาย เช่น ระบบอีเมล์ ประชุมผ่านวีดิทัศน์ โดยเฉพาะในส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการตลาด ทั้งด้านการโฆษณาและการขายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์เพื่อจัดเก็บข้อมูลลูกค้า และสนองตอบการสร้างความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของธุรกิจในระยะยาว
5.1.5 ประเภทสารสนเทศทางการตลาด
สารสนเทศทางการตลาด สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1) สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการตลาด เพื่อสร้างยอดขายสินค้าให้กับธุรกิจ ดังนี้
1.1) สารสนเทศด้านลูกค้า เป็นการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัว ประวัติการซื้อสินค้าและบริการตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า การจัดหาสารสนเทศนี้ อาจใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้พนักงานขาย สำหรับผู้เป็นลูกค้าเดิม หรือการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยตลาด สำหรับลูกค้าที่เป็นเป้าหมายสำหรับการซื้อสินค้าหรือบริการในอนาคต ซึ่งสารสนเทศนี้ มักถูกนำไปใช้ในงานด้านการขายและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
1.2) สารสนเทศด้านการขาย เป็นการจัดเก็บข้อมูลธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าหรือบริการ โดยอาจเป็นสารสนเทศที่เป็นรายละเอียดการขายรายวัน หรือเป็นรายงานสรุปการขายรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปีก็ได้ และในส่วนการออกรายงานการขายดังกล่าว อาจเลือกให้จำแนกตามพนักงานขาย ตามเขตพื้นที่การขาย หรืออื่นๆ ก็อาจจะเป็นได้
1.3) สารสนเทศด้านสินค้า เป็นสารสนเทศซึ่งนำเสนอรายละเอียดสินค้าที่มีไว้ขาย โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าของระบบสารสนเทศทางการผลิต นำมาใช้ประกอบกับข้อมูลการขาย เพื่อให้ข้อมูลสินค้ากับลูกค้าเป้าหมาย โดยสารสนเทศนี้ อาจจะปรากฏอยู่ในใบรายการสินค้า เว็บไซต์สินค้าหรือหน้าจอโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าก็ได้
2) สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศ ที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารการตลาด และ
การพัฒนาส่วนประสมการตลาด ซึ่งจำแนกประเภทได้ดังนี้
2.1) สารสนเทศด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ สารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสภาพ วัตถุดิบ เป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือบริการ ตลอดจนความมุ่งหวังในคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ โดยจะต้องอาศัยข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยตลาด
2.2) สารสนเทศด้านสื่อสารการตลาด คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการโฆษณา และส่งเสริมการขายหรือวิธีการสื่อสารการตลาดอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจ โดยใช้โปรแกรมการโฆษณาหรือส่งเสริมการขายเข้าช่วย ซึ่งสารสนเทศที่ได้รับ คือ สารสนเทศด้านโฆษณาและผลสำเร็จของการโฆษณา สารสนเทศด้านการส่งเสริมการขายและผลสำเร็จของการส่งเสริมการขาย ตลอดจนสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3) สารสนเทศด้านการตั้งราคาสินค้าหรือบริการ คือ สารสนเทศที่ได้จากการวางแผนด้านราคาสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญและมีความซับซ้อนสำหรับการตั้งราคาขายปลีกขายส่งตลอดจนส่วนลดต่างๆ และยังต้องอาศัยการวิเคราะห์อุปสงค์ของสินค้าในตลาด การกำหนดราคาที่สัมพันธ์กับยอดขาย และการพัฒนานโยบายด้านราคาเพื่อให้ยอดขายรวมสูงสุด โดยใช้โปรแกรมการตั้งราคาเข้าช่วย สารสนเทศที่ได้รับคือ ราคาสินค้าหรือบริการของแต่ละรายการ เส้นโค้งแสดงอุปสงค์และอุปทานในตลาด ตลอดจนเป้าหมายในการขาย
2.4) สารสนเทศด้านพยากรณ์ยอดขาย คือ สารสนเทศซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงสินค้าหรือบริการ การปฏิบัติงานของพนักงานขาย ตลอดจนพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าที่นำมาซึ่งผลกำไรของธุรกิจ โดยใช้โปรแกรมพยากรณ์ยอดขาย วิเคราะห์อุปสงค์ของตลาดในอนาคตและใช้ร่วมกับข้อมูลยอดขายสินค้าในอดีต เพื่อนำเสนอรายงานพยากรณ์ยอดขายให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจด้านการขายสินค้าหรือบริการต่อไป
3) สารสนเทศนอกองค์กร คือ สารสนเทศที่ได้มาจากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
3.1) สารสนเทศด้านวิจัยการตลาด คือ สารสนเทศที่เก็บรวบรวมได้จากการสำรวจ แบบสอบถาม การศึกษานำร่องตลอดจนการสัมภาษณ์ โดยใช้โปรแกรมวิจัยตลาดเข้าช่วยในการเก็บรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตลาดและบ่งชี้ให้เห็นถึงลูกค้าที่มีศักยภาพ รวมถึงความต้องการสินค้าหรือบริการในอนาคต
3.2) สารสนเทศด้านข่าวกรองทางการตลาด คือ สารสนเทศที่จัดเก็บและรวบรวมได้จากสภาพแวดล้อมทางการตลาด โดยเฉพาะข้อมูลของผู้แข่งขัน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายฝ่าย เช่น ลูกค้า พนักงานขาย หรือตัวแทนขาย เป็นต้น ซึ่งการใช้ข่าวกรองนี้จะมีผลให้ธุรกิจสามารถทำการตัดสินใจทางการตลาดได้ถูกต้องยิ่งขึ้น อีกทั้งนำมาซึ่งความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีกระบวนการในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
3.3.1 ศึกษารวบรวมข้อมูลการทำการตลาดกล้วยในเขตภาคเหนือตอนล่าง และการจัดการระบบสารสนเทศทางการตลาด จากตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.3.2 ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันจากส่วนผสมทางการตลาดกล้วยเขตภาคเหนือตอนล่างในปัจจุบัน และแนวทางประยุกต์ใช้องค์ประกอบการตลาดดั้งเดิมกับความสามารถพิเศษของเทคโนโลยี โดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างที่ 1 และการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย หนังสือ วารสาร บทความต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.3.3 วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาปัจจุบันจากส่วนผสมทางการตลาดกล้วยเขตภาคเหนือตอนล่างในปัจจุบัน และแนวทางประยุกต์ใช้องค์ประกอบการตลาดดั้งเดิมกับความสามารถพิเศษของเทคโนโลยีเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแบบสอบถามปลายปิดสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่ 1 และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 ในรูปแบบฟอร์มเดียวกัน
3.3.4 วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาปัจจุบันจากส่วนผสมทางการตลาดกล้วยเขตภาคเหนือตอนล่างในปัจจุบัน และแนวทางประยุกต์ใช้องค์ประกอบการตลาดดั้งเดิมกับความสามารถพิเศษของเทคโนโลยี เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหาปัจจุบันและแนวทางประยุกต์ใช้ความสามารถพิเศษของเทคโนโลยีกับการทำตลาดกล้วยในเขตภาคเหนือตอนล่าง และนำมาเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดกล้วยในเขตภาคเหนือตอนล่าง
3.3.5 ดำเนินการเก็บรวมรวมข้อมูลแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดกล้วยในเขตภาคเหนือตอนล่าง ทำการตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
3.3.6 รายงานผลการวิจัย โดยจัดทำรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อเครือข่ายการวิจัยภาคเหนือตอนล่าง
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 1022 ครั้ง |