รหัสโครงการ : | R000000378 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Electronic Commerce System for Small and Micro Community Enterprise Safety Rice Group in service area Nakhon Sawan Rajabhat University. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัย, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 30000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 30,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 มกราคม 2557 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 31 ธันวาคม 2557 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | การนำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจชุมชนนั้น สามารถที่จะดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการนำเสนอสินค้าผ่านเว็บไซต์ การสั่งจองผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนแบบออนไลน์ การสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น ซึ่งจากการจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคม เรื่อง การซื้อ – ขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยส่วนใหญ่ให้ความสนใจและมีความต้องการในการพัฒนาระบบพาณิชย์เล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ทราบถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ระบบการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยที่รวมตัวกันเพื่อผลิตข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic- agriculture หรือ Organic Farming) นั้น มีการจัดจำหน่ายเฉพาะในร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน หรือ ตามงานแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เท่านั้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยจึงมีความต้องการในการนำเสนอสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้า ระบบจองสินค้า ระบบชำระเงิน ระบบสินค้าคงคลัง การติดต่อกับลูกค้า และคู่ค้าผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการขยายตลาดให้กับผลิตภัณฑ์
ข้าวปลอดภัย ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวปลอดภัยในเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการขาย สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น ลดต้นทุนและเวลาในการจัดจำหน่าย สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าได้กว้างขวางขึ้น และสามารถทำตลาดและให้บริการกับลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปใช้เป็นแนวทางหรือต้นแบบในการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจอื่นๆ ต่อไป
|
จุดเด่นของโครงการ : | ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2. เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
3. เพื่อประเมินผลประสิทธิภาพการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
|
ขอบเขตของโครงการ : | ขอบเขตด้านข้อมูล
ผู้ศึกษาได้เลือกข้อมูลในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดภัยผ่านเว็บไซต์ การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนแบบออนไลน์ การให้ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน สถานที่ตั้ง ประเภทวิสาหกิจชุมชน การติดต่อกับลูกค้าผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการชำระเงินผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ขอบเขตด้านประชากร
ผู้ศึกษาได้เลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท จำนวน 300 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เนื่องจากเป็นพื้นที่มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สามารถติดต่อสอบถามได้สะดวก
ขอบเขตด้านเทคโนโลยี
ผู้ศึกษาได้พัฒนาระบบโดยใช้ภาษา PHP เป็นภาษาในการพัฒนาระบบ และใช้ MySQL ในการจัดการฐานข้อมูลให้ง่ายต่อการจัดเก็บทั้งระบบ และใช้ Apache ทำหน้าที่เป็น Web Server ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก โดยเนื่องจากภาษา PHP และ MySQL เป็นโอเพ่นซอร์ส ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี ในส่วน Apache ปัจจุบันจัดได้ว่าเป็น Web Server ที่มีความน่าเชื่อถือมาก
ขอบเขตด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยทำการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดภัยผ่านเว็บไซต์ การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนแบบออนไลน์ การให้ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน สถานที่ตั้ง ประเภทวิสาหกิจชุมชน การติดต่อกับลูกค้าผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการชำระเงินผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ทราบถึงความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2. ได้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
3. ทราบถึงประเมินผลประสิทธิภาพการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : |
ณฐมน อังกูรธนโชติ (2555) กล่าวใน การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของร้าน
บ้านหม้อแฮนดิคราฟท์ ว่า การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของร้านบ้านหม้อแฮนดิคราฟท์
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อขยายฐานลูกค้า เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางเครือขายอินเทอร์เน็ต อีกทั้งลดขั้นตอนในการสั่งซื้อสินค้า การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของร้านบ้านหม้อแฮนดิคราฟท์ได้พัฒนาขึ้นในรูปแบบเว็บเพจ บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พี ใช้ภาษาพีเอชพีในการออกแบบและพัฒนาส่วนติดต่อผู้ใช้ และใช้โปรแกรมมายเอส-คิวเอลในการจัดการฐานข้อมูล แบ่งผู้ใช้งานระบบออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนลูกค้า แบ่งการทำงานเป็น 5 ระบบคือ คือ ระบบสมาชิก ระบบตะกร้าสินค้า ระบบค้นหาสินค้า ระบบแจ้งโอนเงิน และระบบตอบคำถาม ส่วนผู้ดูแลระบบและพนักงาน แบ่งการทำงานเป็น 5 ระบบคือ ระบบบริหารร้านค้า ระบบควบคุมร้าน ระบบดูแลสมาชิก ระบบตรวจสอบคำสั่งซื้อ และระบบตอบคำถาม การประเมินผลระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้แบบสอบถามจากผู้ใช้ 22 คน ผลการประเมินจากพนักงาน 2 คน ลูกค้าสมาชิก 10 คน ลูกค้าทั่วไป 10 คน ผู้ใช้มีความพึงพอใจด้านสามารถสามารถลดขั้นตอนกระบวนการสั่งซื้อที่เคยทำประจำอยู่ ความถูกต้องของการประมวลผลข้อมูล ความพร้อมของข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ ระบบสามารถบริการผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ได้สารสนเทศที่ตรงกับ
ความต้องการ
รติวัฒน์ ปารีศรี (2554) กล่าวใน ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
จ.พิษณุโลก ว่า การดำเนินธุรกิจการค้ากับสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีการส่งเสริมการขาย การตลาด การประชาสัมพันธ์ หน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ใช้วิธีออกร้าน จัดงานแสดงสินค้า ทั้งในระดับชาติ จังหวัด อำเภอ ชุมชน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เพื่อเป็นการขยายช่องทางการตลาด ส่งเสริมอนุรักษ์ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานวิจัยนี้จึงทำการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(e-commerce) มาใช้กับสินค้า OTOP เน้นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.พิษณุโลก 9 อำเภอ คัดเลือกทั้งแบบ 5 4 3 ดาว แบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ โดยการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP และ
ใช้ MySQL บริหารจัดการฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล จำหน่ายสินค้า ประชาสัมพันธ์
ชำระเงิน และขนส่ง จากนั้นประเมินประสิทธิภาพของระบบ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มลูกค้า ผู้ผลิต และผู้ดูแลระบบ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบพบว่า ทาง
ด้าน Functional Requirement Test ค่าเฉลี่ย กลุ่มลูกค้า 4.37 (SD=0.55) กลุ่มผู้ผลิต 4.48 (SD=0.51) กลุ่มผู้ดูแลระบบ 4.60 (SD=0.35) ด้าน Functional Test ค่าเฉลี่ย กลุ่มลูกค้า 4.43 (SD=0.59) ผู้ผลิต 4.52(SD=0.56) ผู้ดูแลระบบ 4.53 (SD=0.35) ด้าน Usability Test ค่าเฉลี่ย
กลุ่มลูกค้า 4.28 (SD=0.67) ผู้ผลิต 4.58 (SD=0.57) ผู้ดูแลระบบ 4.64 (SD=0.57) ด้าน Security Test ค่าเฉลี่ย กลุ่มลูกค้า 4.14 (SD=0.71) ผู้ผลิต 4.30 (SD=0.70) ผู้ดูแลระบบ 3.85 (SD=0.36) โดยรวมระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี อำนวยความสะดวกและทำงานได้ครบถ้วนตามขอบเขตที่วางไว้
ชนินทร์ ดอนตุ้มไพรและ วศิน เหลี่ยมปรีชา(2554) กล่าวใน การจัดการความรู้ลูกค้าของผู้ประกอบ-การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ว่า ในปัจจุบันความรู้ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกองค์กรนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการความรู้จึงมีบทบาทที่จะช่วยให้องค์กรสามารถนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่นเดียวกับความรู้ลูกค้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ในองค์กรที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยเฉพาะสำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หรือการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในการทำธุรกิจและมีผู้บริโภคใช้สินค้าและบริการเป็นจำนวนมากผ่านช่องทางนี้ การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการความรู้ภายในและภายนอกองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ และศึกษาการจัดการความรู้ลูกค้าเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตภาคเหนือจำนวน 784 ราย โดยใช้ แบบสอบถามออนไลน์ และได้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิโดยศึกษาค้นคว้าเอกสารและบทความทางวิชาการ งานวิจัย และทฤษฏีต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ร่วมงานนั้นช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งการรวมความรู้ลูกค้าสู่พื้นฐานความรู้ขององค์กรนั้นจะช่วยพัฒนาสินค้าและบริการ กระบวนการทางธุรกิจที่เหมาะสม และจำนวนนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดการความรู้ลูกค้าจึงมีผลต่อความสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
อัญชลี บุญอ่อน (2553) กล่าวใน การพัฒนาต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริษัท
โอซีซี จำกัด ว่า การพัฒนาต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อออกแบบและ
สร้างต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในรูปแบบต่าง ๆ โดยโปรแกรมได้ถูกสร้างขึ้นจากความต้องการของผู้บริหาร โดยเป็นการออกแบบและพัฒนาต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มช่องทางการขายและการบริการให้กับผู้บริโภคอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งผู้วิจัยได้ยกกรณีตัวอย่างเพื่อศึกษาระบบธุรกิจของ บริษัท โอซีซี จำกัด(มหาชน) โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต การใช้งานระบบประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้ใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถเข้าชมเว็บไซต์ เลือกซื้อสินค้า และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ 2) ผู้บริหาร สามารถดูรายงานต่าง ๆ ได้ 3) ผู้ดูแลระบบ สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข
ข้อมูลต่าง ๆ และ ทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ จากผลการประเมินการทำงานของระบบ จากผู้ใช้
3 กลุ่ม จำนวนทั้งหมด 20 คน คือผู้ใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริหาร และ ผู้ดูแลระบบ พบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจในการสร้าง ปรับปรุง แก้ไข และลบข้อมูลในเว็บเพจต้นแบบอยู่ในระดับปานกลางถึงดี และส่วนประเมินด้านความสวยงามและความเข้าใจง่ายของการใช้งานอยู่ในระดับดี
ฐานัช อังศุภัทร์และคณะ (2553) กล่าวใน การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับ
ร้านขายสินค้าไอที กรณีศึกษา บริษัท อนาคอม ทู จำกัด ว่า โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับร้านขายสินค้าไอที กรณีศึกษา บริษัท อนาคอม ทู จำกัด เป็นการนำระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์การใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้บุคคลที่สนใจสินค้าไอที สามารถเข้าชมรายละเอียด และทำการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความต้องการ การพัฒนาระบบได้นำเทคโนโลยีในเรื่องของ Microsoft Visual Studio 2008 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเว็บด้วย ภาษา ASP.NET ช่วยในการออกแบบเว็บไซต์
ให้สวยงาม มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น และใช้ SQL Server 2008 ในการจัดการฐานข้อมูลให้ง่ายต่อ
การจัดเก็บข้อมูลทั้งระบบไว้ โดยโครงการวิจัยเรื่องนี้ ได้ถูกออกแบบมาให้ตรงตามวัตถุประสงค์ใน
การใช้งานของผู้ใช้ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากเป็นการสร้างรูปแบบใหม่ของการขายสินค้าไอทีแล้ว
ยังถือได้ว่าระบบมีส่วนในการสร้างความน่าสนใจ เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าสนใจสินค้า และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าไอที ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ผ่านทางเว็บไซต์ได้ เสมือนเป็นการเดินทางไปเลือกซื้อสินค้าจากที่ร้าน เพิ่มความสะดวกสบาย อันส่งผลให้เกิดความคิดที่มีความแปลกใหม่จากรูปแบบเดิม
พิษณุ สุขเสริฐ (2551) กล่าวใน ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการขายของร้านไม้เงินไม้ทอง ว่า ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการขายของร้านไม้เงินไม้ทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนการขายของร้านไม้เงินไม้ทอง ระบบนี้ถูกพัฒนาบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พี ใช้ภาษาพีเอชพีและจาวาสคริปส์ในการพัฒนาระบบ ส่วน
การติดต่อกับผู้ใช้ โปรแกรมมายเอสคิวเอลเป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ระบบประกอบด้วยระบบงานย่อย 5 ระบบ จัดการสมาชิก บริหารและจัดการระบบ ประมวลผลการสั่งซื้อ จัดการรายงาน จัดการชำระเงินและจัดส่งสินค้าการประเมินผลระบบใช้แบบสอบถามจากผู้ใช้ 22 คน ผลการประเมินจากพนักงาน 2 คน ลูกค้าสมาชิก 10 คน ลูกค้าทั่วไป 10 คน ผู้ใช้มีความพึงพอใจด้านสามารถ
ลดขั้นตอนการทำงานที่เคยปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ความถูกต้องของการประมวลผลข้อมูล รูปแบบและความถูกต้องของข้อมูลที่มีอยู่ในรายงานได้สารสนเทศตรงกับความต้องการ ใช้คู่มือการใช้งานระบบ
มีความชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายและสะดวกต่อการใช้งานอยู่ในระดับดีมาก
ประดิษฐ์ สมจันทร์และคณะ (2551) กล่าวใน แนวทางการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ว่า การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประธานและคณะกรรมการกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์ความต้องการของคณะกรรมการกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนามีความต้องการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ให้เป็นที่รู้จักในสังคมมากขึ้น
2) ต้องการช่องทางการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของตลาดและนำมาประยุกต์ให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาตินั้นตรงกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีกระบวนการดังนี้
1. ศึกษารวบรวมข้อมูลข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
จากตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษาความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของวิสาหกิจชุมชนในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย หนังสือ วารสาร บทความต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชน
กลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยวิเคราะห์ผลจากสถิติพื้นฐาน เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไปออกแบบ และพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด
4. ออกแบบระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยการออกแบบระบบฐานข้อมูล แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลพจนานุกรมข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5. พัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยการใช้ภาษา PHP
6. ทดสอบและทำการติดตั้งระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
7. สร้างและเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยการสร้างแบบสอบถามที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการประเมินผลการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
8. เก็บรวมรวมข้อมูลแบบประเมินผลการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
9. วิเคราะห์ผลการประเมินจากการประเมินการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยวิเคราะห์ผลจากสถิติพื้นฐาน เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น
10. สรุปผลการวิจัย และจัดทำรูปเล่มและนำเสนองานวิจัย
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 543 ครั้ง |